ศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรของสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ค้าสินค้าเกษตรสำคัญที่สุดของโลก มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11.31 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรโลก มีพื้นที่การเกษตร 190 ล้านเฮกเตอร์ หรือประมาณ 1,000 ล้านไร่ มากกว่าจีนหนึ่งเท่าตัว และมากกว่าออสเตรเลีย 4 เท่าตัว พื้นที่การเกษตร 1 ใน 3 ทำการผลิตเพื่อส่งออก
สหรัฐอเมริกามีเทคโนโลยี การจัดการด้านการผลิตและการตลาดในประเทศ รวมทั้งมีหน่วยงานช่วยเหลือรับผิดชอบด้านการเกษตรอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เช่น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ(USDA) ซึ่งทำการศึกษาวิจัยและนำความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ เช่น การศึกษาด้านพัฒนาพันธุกรรม(Genetically Modified Organisms : GMOs) ซึ่งช่วยให้สหรัฐฯ สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ผลผลิตต่อหน่วยสูง ปริมาณมาก และคุณภาพดี
อย่างไรก็ตาม การเกษตรของสหรัฐฯยังคง ประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต เนื่องจากค่าจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆสูง ทำให้สินค้าเกษตรหลายชนิดมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ สหรัฐฯจึงปรับปรุงโครงสร้างการใช้ที่ดินในการผลิตให้มีขนาดใหญ่และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปผลผลิต รวมทั้งการดำเนินนโยบาย/มาตรการให้การช่วยเหลือและอุดหนุนการเกษตรในด้านต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายการเกษตร ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น
การค้าสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ในตลาดโลก 2.1 การค้าสินค้าเกษตรของโลก มีมูลค่ารวมประมาณ 0.9-1.0 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรประมาณ 103,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 11.31 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของโลก ขณะที่ไทยมีสัดส่วนร้อยละ 0.79 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของโลก
2.2 สหรัฐฯ ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญอันดับหนึ่งของโลก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรปีละประมาณ 43,802-65,285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 ต่อปี สินค้าสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ ธัญพืช ใบยาสูบ เนื้อสัตว์ อาหารสัตว์ ผลไม้ พืชน้ำมัน และเนื้อสัตว์ต่างๆ ตลาดสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน
2.3 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากเยอรมนี โดยในช่วงปี 2533-2541 มูลค่านำเข้าปีละประมาณ 29,064-46,019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.34 ต่อปี สินค้านำเข้ามาก ได้แก่ ปลาและอาหารทะเล เครื่องดื่ม พริกไทย กาแฟและชา ผลไม้และผักต่างๆ และเนื้อสัตว์และอาหารปรุงแต่ง
นโยบายเกษตรของสหรัฐฯ สหรัฐอเมริกามีการอุดหนุนการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ Federal Agriculture Improvement and Reform Act of 1996 อันประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
3.1 การอุดหนุนการส่งออก ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญ ดังนี้
3.1.1 โครงการกระตุ้นการส่งออก (Export Enhancement Program : EEP) เป็นการให้เงินโบนัสแก่ผู้ส่งออกที่สามารถส่งออกไปตลาดเป้าหมายสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสหภาพยุโรปที่ให้การอุดหนุนการส่งออกในตลาดดังกล่าว ในสินค้า ข้าว ข้าวสาลี แป้งข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ แป้งทำจากข้าวบาร์เลย์ สัตว์ปีก ไข่ และน้ำมันพืช โดยกำหนดวงเงินงบประมาณการอุดหนุนไว้ ประมาณ 250-579 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-2002
3.1.2 โครงการประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Credit Guarantee Program) เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งออกของเอกชน โดยมีทั้งสินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี(GSM 102) วงเงิน 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี และสินเชื่อระยะปานกลาง เวลา 3-10 ปี (GSM 103) วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี
3.1.3 โครงการตลาดใหม่(Emerging Market Program : EMP) เพื่อกระจาย สินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ไปยังประเทศที่มีศักยภาพ โดยเน้นสาขาอาหารและธุรกิจการเกษตรในชนบทเป็นสำคัญ วงเงินที่กำหนดระหว่างปี 1996-2002 ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.1.4 โครงการเข้าสู่ตลาด (Market Access Program : MAP) เป็นโครงการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่มีชื่อของสหรัฐฯ ในวงเงินปีละ 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-2002
3.1.5 โครงการพัฒนาตลาดต่างประเทศ(Foreign Market Development Program) โดยการให้เงินสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรแบบขายในปริมาณมาก(Bulk) เช่น ธัญพืชและน้ำมันพืช เพื่อรักษาตลาดส่งออกเดิมและพัฒนาตลาดใหม่
3.1.6 แผนงานให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ต่างประเทศ(Overseas Food Assistance) ทั้งในรูปสินเชื่อ หรือเป็นการให้เปล่าแก่ประเทศพัฒนาน้อยสุดหรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยกำหนดไว้ในกฎหมาย Public Law 480 (PL 480) วงเงินประมาณปีละ 2,025 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.1.7 การจ่ายเงินชดเชยในกรณีที่ห้ามส่งออกสินค้า(Compensation for Trade Embargoes)
3.2 การอุดหนุนภายใน ที่สำคัญได้แก่
3.2.1 มาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูก ปี ค.ศ. 1996-2002
3.2.2 มาตรการสินเชื่อสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์(Commodity Loans) เพื่อให้แก่เกษตรกรที่ปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ธัญพืช ฝ้ายและถั่วเหลือง เป็นต้น โดยมีทั้งมาตรการสินเชื่อเพื่อการตลาดแบบไม่ต้องไถ่ถอน และแบบไถ่ถอน
3.2.3 โครงการสินเชื่อเพื่อการเกษตร จำแนกเป็นสินเชื่อเพื่อเกษตรกร สินเชื่อเพื่อการดำเนินการและสินเชื่อฉุกเฉิน
3.3 มาตรการสำรองพื้นที่เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์เพื่อรักษาพื้นที่ลุ่ม การให้สิ่งจูงใจเพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.4 มาตรการการนำเข้า ประกอบด้วย มาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร เช่น การกำหนดโควตานำเข้า และการควบคุมด้านสุขอนามัย โดยอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) และหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA)
บทบาทของสหรัฐฯ ในการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ 4.1 การเจรจาเกษตรรอบใหม่ของ WTO สหรัฐฯ ยังคงมีบทบาทอย่างมากโดยเสนอท่าทีการเจรจาในประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ คือ
4.1.1 การลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากร
4.1.2 การลดหรือยกเลิกการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้า
4.1.3 การจัดทำกฎเกณฑ์การเข้าสู่ตลาด ในด้านการค้าโดยรัฐ สินค้าเทคโนโลยี ชีวภาพ และความปลอดภัยด้านอาหาร ข้อจำกัดด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และการบริหารโควต้าภาษี
4.2 นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังนี้
4.2.1 ผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern-Technology) ซึ่งรวมถึงเรื่องสินค้าที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) โดยเสนอให้มีคณะทำงาน(Working Group) จัดทำ Working Paper เพื่อศึกษาความเป็นไปได้
4.2.2 จัดทำแนวทางการบริหารโควตาภาษี โดยองค์การค้าของรัฐ(State Enterprise)
4.2.3 ให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก
ผลกระทบจากนโยบายการเกษตรของสหรัฐฯ 5.1 การอุดหนุนการส่งออกของสหรัฐฯ ซึ่งมีการใช้งบประมาณดำเนินการด้านต่างๆ รวมกันปีละประมาณ 8,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอุดหนุนภายในปีละประมาณ 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกไม่เป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคาอ่อนตัวลงมาก ส่งผลให้ผู้ส่งออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ให้การอุดหนุนด้านเกษตร เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้
5.2 โครงการกระตุ้นการส่งออก(EEP) ของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย และอาร์เจนตินา เป็นต้น
5.3 ประเทศผู้นำเข้าได้รับประโยชน์ จากการซื้อสินค้าเกษตรได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ได้แก่ รัสเซีย ญี่ปุ่น และจีน
5.4 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายการเกษตรของสหรัฐฯ ดังนี้
5.4.1 ส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกลดลง เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะในสินค้าที่สหรัฐฯ ใช้โครงการกระตุ้นการส่งออก คือ ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และพืชน้ำมัน เป็นต้น
5.4.2 การพัฒนาตลาดภายใต้มาตรการส่งเสริมการตลาด(MPP) จะทำให้ไทยสูญเสียตลาด และส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปของไทย เช่น ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
5.4.3 กฎระเบียบ และมาตรการควบคุมการนำเข้าที่เข้มงวดของสหรัฐฯ เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การติดฉลาก และการคุ้มครองโรคพืช ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในสินค้าปลาและผลิตภัณฑ์ กุ้งทะเล ไก่และผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้สด เป็นต้น
5.4.4 ไทยจะได้รับประโยชน์จากบางโครงการ เช่น GSM 102 เนื่องจากสามารถนำเข้าสินค้าเกษตรในรูปวัตถุดิบมาแปรรูปได้ในราคาต่ำ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้ายและเนื้อสัตว์ ส่งผลให้ผู้ผลิตมีศักยภาพการแข่งขันสูงขึ้น และผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าในราคาถูก
ข้อเสนอแนะ6.1 ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง ควรร่วมกับกลุ่มเคร์นส์และสหรัฐฯผลักดันให้มีการเปิดตลาดอย่างจริงจังตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย และผลักดันให้มีการเริ่มเจรจาได้ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป เพื่อให้ประเทศสมาชิกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรให้มากสุด โดยมีข้อยกเว้นภายใต้กฎเกณฑ์ WTO ให้น้อยที่สุด ลดการบิดเบือนทางการค้าที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เช่น การอุดหนุนการผลิตภายใน และการอุดหนุนการส่งออก รวมทั้งการเปิดตลาดให้มากขึ้น โดยการลดภาษีและขยายปริมาณโควตาภาษีเพิ่มขึ้น อันจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดโลก
6.2 การเจรจาสินค้าเกษตร ไทยควรผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern-Technology) ซึ่งรวมถึง GMOs เพื่อป้องกันมิให้ประเทศผู้นำเข้ากำหนดกฎเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับความตกลง SPS และ TBT อันจะส่งผลกระทบต่อไทยด้วย
6.3 ไทยควรสนับสนุนให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย
6.4 ประเด็นที่ไทยควรพิจารณาท่าทีอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการเปิดตลาดสินค้าเกษตร เช่น เรื่องจัดทำแนวทางการบริหารโควตาภาษี โดยองค์การค้าของรัฐ(State Enterprise) ซึ่งประเทศต่างๆรวมทั้งไทยยังคงใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารการนำเข้า
6.5 ไทยจะต้องเตรียมความพร้อมภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต การให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการแปรรูปสินค้าเกษตรใหม่ๆ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สหรัฐอเมริกามีเทคโนโลยี การจัดการด้านการผลิตและการตลาดในประเทศ รวมทั้งมีหน่วยงานช่วยเหลือรับผิดชอบด้านการเกษตรอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เช่น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ(USDA) ซึ่งทำการศึกษาวิจัยและนำความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ เช่น การศึกษาด้านพัฒนาพันธุกรรม(Genetically Modified Organisms : GMOs) ซึ่งช่วยให้สหรัฐฯ สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ผลผลิตต่อหน่วยสูง ปริมาณมาก และคุณภาพดี
อย่างไรก็ตาม การเกษตรของสหรัฐฯยังคง ประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต เนื่องจากค่าจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆสูง ทำให้สินค้าเกษตรหลายชนิดมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ สหรัฐฯจึงปรับปรุงโครงสร้างการใช้ที่ดินในการผลิตให้มีขนาดใหญ่และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปผลผลิต รวมทั้งการดำเนินนโยบาย/มาตรการให้การช่วยเหลือและอุดหนุนการเกษตรในด้านต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายการเกษตร ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น
การค้าสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ในตลาดโลก 2.1 การค้าสินค้าเกษตรของโลก มีมูลค่ารวมประมาณ 0.9-1.0 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรประมาณ 103,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 11.31 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของโลก ขณะที่ไทยมีสัดส่วนร้อยละ 0.79 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของโลก
2.2 สหรัฐฯ ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญอันดับหนึ่งของโลก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรปีละประมาณ 43,802-65,285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 ต่อปี สินค้าสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ ธัญพืช ใบยาสูบ เนื้อสัตว์ อาหารสัตว์ ผลไม้ พืชน้ำมัน และเนื้อสัตว์ต่างๆ ตลาดสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน
2.3 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากเยอรมนี โดยในช่วงปี 2533-2541 มูลค่านำเข้าปีละประมาณ 29,064-46,019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.34 ต่อปี สินค้านำเข้ามาก ได้แก่ ปลาและอาหารทะเล เครื่องดื่ม พริกไทย กาแฟและชา ผลไม้และผักต่างๆ และเนื้อสัตว์และอาหารปรุงแต่ง
นโยบายเกษตรของสหรัฐฯ สหรัฐอเมริกามีการอุดหนุนการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ Federal Agriculture Improvement and Reform Act of 1996 อันประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
3.1 การอุดหนุนการส่งออก ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญ ดังนี้
3.1.1 โครงการกระตุ้นการส่งออก (Export Enhancement Program : EEP) เป็นการให้เงินโบนัสแก่ผู้ส่งออกที่สามารถส่งออกไปตลาดเป้าหมายสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสหภาพยุโรปที่ให้การอุดหนุนการส่งออกในตลาดดังกล่าว ในสินค้า ข้าว ข้าวสาลี แป้งข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ แป้งทำจากข้าวบาร์เลย์ สัตว์ปีก ไข่ และน้ำมันพืช โดยกำหนดวงเงินงบประมาณการอุดหนุนไว้ ประมาณ 250-579 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-2002
3.1.2 โครงการประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Credit Guarantee Program) เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งออกของเอกชน โดยมีทั้งสินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี(GSM 102) วงเงิน 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี และสินเชื่อระยะปานกลาง เวลา 3-10 ปี (GSM 103) วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี
3.1.3 โครงการตลาดใหม่(Emerging Market Program : EMP) เพื่อกระจาย สินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ไปยังประเทศที่มีศักยภาพ โดยเน้นสาขาอาหารและธุรกิจการเกษตรในชนบทเป็นสำคัญ วงเงินที่กำหนดระหว่างปี 1996-2002 ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.1.4 โครงการเข้าสู่ตลาด (Market Access Program : MAP) เป็นโครงการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่มีชื่อของสหรัฐฯ ในวงเงินปีละ 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-2002
3.1.5 โครงการพัฒนาตลาดต่างประเทศ(Foreign Market Development Program) โดยการให้เงินสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรแบบขายในปริมาณมาก(Bulk) เช่น ธัญพืชและน้ำมันพืช เพื่อรักษาตลาดส่งออกเดิมและพัฒนาตลาดใหม่
3.1.6 แผนงานให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ต่างประเทศ(Overseas Food Assistance) ทั้งในรูปสินเชื่อ หรือเป็นการให้เปล่าแก่ประเทศพัฒนาน้อยสุดหรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยกำหนดไว้ในกฎหมาย Public Law 480 (PL 480) วงเงินประมาณปีละ 2,025 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.1.7 การจ่ายเงินชดเชยในกรณีที่ห้ามส่งออกสินค้า(Compensation for Trade Embargoes)
3.2 การอุดหนุนภายใน ที่สำคัญได้แก่
3.2.1 มาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูก ปี ค.ศ. 1996-2002
3.2.2 มาตรการสินเชื่อสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์(Commodity Loans) เพื่อให้แก่เกษตรกรที่ปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ธัญพืช ฝ้ายและถั่วเหลือง เป็นต้น โดยมีทั้งมาตรการสินเชื่อเพื่อการตลาดแบบไม่ต้องไถ่ถอน และแบบไถ่ถอน
3.2.3 โครงการสินเชื่อเพื่อการเกษตร จำแนกเป็นสินเชื่อเพื่อเกษตรกร สินเชื่อเพื่อการดำเนินการและสินเชื่อฉุกเฉิน
3.3 มาตรการสำรองพื้นที่เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์เพื่อรักษาพื้นที่ลุ่ม การให้สิ่งจูงใจเพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.4 มาตรการการนำเข้า ประกอบด้วย มาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร เช่น การกำหนดโควตานำเข้า และการควบคุมด้านสุขอนามัย โดยอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) และหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA)
บทบาทของสหรัฐฯ ในการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ 4.1 การเจรจาเกษตรรอบใหม่ของ WTO สหรัฐฯ ยังคงมีบทบาทอย่างมากโดยเสนอท่าทีการเจรจาในประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ คือ
4.1.1 การลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากร
4.1.2 การลดหรือยกเลิกการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้า
4.1.3 การจัดทำกฎเกณฑ์การเข้าสู่ตลาด ในด้านการค้าโดยรัฐ สินค้าเทคโนโลยี ชีวภาพ และความปลอดภัยด้านอาหาร ข้อจำกัดด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และการบริหารโควต้าภาษี
4.2 นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังนี้
4.2.1 ผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern-Technology) ซึ่งรวมถึงเรื่องสินค้าที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) โดยเสนอให้มีคณะทำงาน(Working Group) จัดทำ Working Paper เพื่อศึกษาความเป็นไปได้
4.2.2 จัดทำแนวทางการบริหารโควตาภาษี โดยองค์การค้าของรัฐ(State Enterprise)
4.2.3 ให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก
ผลกระทบจากนโยบายการเกษตรของสหรัฐฯ 5.1 การอุดหนุนการส่งออกของสหรัฐฯ ซึ่งมีการใช้งบประมาณดำเนินการด้านต่างๆ รวมกันปีละประมาณ 8,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอุดหนุนภายในปีละประมาณ 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกไม่เป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคาอ่อนตัวลงมาก ส่งผลให้ผู้ส่งออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ให้การอุดหนุนด้านเกษตร เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้
5.2 โครงการกระตุ้นการส่งออก(EEP) ของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย และอาร์เจนตินา เป็นต้น
5.3 ประเทศผู้นำเข้าได้รับประโยชน์ จากการซื้อสินค้าเกษตรได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ได้แก่ รัสเซีย ญี่ปุ่น และจีน
5.4 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายการเกษตรของสหรัฐฯ ดังนี้
5.4.1 ส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกลดลง เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะในสินค้าที่สหรัฐฯ ใช้โครงการกระตุ้นการส่งออก คือ ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และพืชน้ำมัน เป็นต้น
5.4.2 การพัฒนาตลาดภายใต้มาตรการส่งเสริมการตลาด(MPP) จะทำให้ไทยสูญเสียตลาด และส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปของไทย เช่น ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
5.4.3 กฎระเบียบ และมาตรการควบคุมการนำเข้าที่เข้มงวดของสหรัฐฯ เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การติดฉลาก และการคุ้มครองโรคพืช ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในสินค้าปลาและผลิตภัณฑ์ กุ้งทะเล ไก่และผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้สด เป็นต้น
5.4.4 ไทยจะได้รับประโยชน์จากบางโครงการ เช่น GSM 102 เนื่องจากสามารถนำเข้าสินค้าเกษตรในรูปวัตถุดิบมาแปรรูปได้ในราคาต่ำ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้ายและเนื้อสัตว์ ส่งผลให้ผู้ผลิตมีศักยภาพการแข่งขันสูงขึ้น และผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าในราคาถูก
ข้อเสนอแนะ6.1 ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง ควรร่วมกับกลุ่มเคร์นส์และสหรัฐฯผลักดันให้มีการเปิดตลาดอย่างจริงจังตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย และผลักดันให้มีการเริ่มเจรจาได้ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป เพื่อให้ประเทศสมาชิกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรให้มากสุด โดยมีข้อยกเว้นภายใต้กฎเกณฑ์ WTO ให้น้อยที่สุด ลดการบิดเบือนทางการค้าที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เช่น การอุดหนุนการผลิตภายใน และการอุดหนุนการส่งออก รวมทั้งการเปิดตลาดให้มากขึ้น โดยการลดภาษีและขยายปริมาณโควตาภาษีเพิ่มขึ้น อันจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดโลก
6.2 การเจรจาสินค้าเกษตร ไทยควรผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern-Technology) ซึ่งรวมถึง GMOs เพื่อป้องกันมิให้ประเทศผู้นำเข้ากำหนดกฎเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับความตกลง SPS และ TBT อันจะส่งผลกระทบต่อไทยด้วย
6.3 ไทยควรสนับสนุนให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย
6.4 ประเด็นที่ไทยควรพิจารณาท่าทีอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการเปิดตลาดสินค้าเกษตร เช่น เรื่องจัดทำแนวทางการบริหารโควตาภาษี โดยองค์การค้าของรัฐ(State Enterprise) ซึ่งประเทศต่างๆรวมทั้งไทยยังคงใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารการนำเข้า
6.5 ไทยจะต้องเตรียมความพร้อมภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต การให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการแปรรูปสินค้าเกษตรใหม่ๆ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-