แท็ก
กรมพัฒนาที่ดิน
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต
กรมพัฒนาที่ดินเร่งจัดทำโซนนิ่งการเลี้ยงกุ้งและฟื้นฟูพื้นที่น้ำจืดที่ผ่านการเลี้ยงกุ้ง
รายงานข่าวจากกรมพัฒนาที่ดิน แจ้งว่า ขณะนี้ กรมพัฒนาที่ดินกำลังเร่งจัดทำโซนนิ่งในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งคาดว่าหลังจากจัดทำโซนนิ่งการเลี้ยงดังกล่าวแล้วจะทำให้การเลี้ยงส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน น้ำและการเจริญเติบโตของพืชอื่น ๆน้อยที่สุด สำหรับพื้นที่ราบภาคกลางทั้ง 14 จังหวัด และพื้นที่น้ำจืดของจังหวัดชายทะเลรวมประมาณ 7,000 ไร่ หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการปรับปรุงฟื้นฟูที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรารัฐบาลยังมีการผ่อนผันให้สามารถเลี้ยงกุ้งได้จนถึงสิ้นปี 2543 ส่วนที่ราบภาคกลางทั้ง 14 จังหวัด และพื้นที่น้ำจืดของจังหวัดที่ติดชายทะเลจะต้องหยุดเลี้ยงอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย สำหรับการฟื้นฟูพื้นที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำนั้น กรมพัฒนาที่ดินจะช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่เกษตรกร แต่ไม่เกินรายละประมาณ 15 ไร ่
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 มค.- 1 กพ. 43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,246.17 ตันแยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 568.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 677.77 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.26 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.80 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.75 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.56 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ความคืบหน้าการตั้งตลาดกลางกุ้งที่ จ.นครศรีธรรมราช
นายสุริยา ลีลาธรรม ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งตลาดกลางกุ้งกุลาดำที่ จ.นครศรีธรรมราชว่าขณะนี้องค์การสะพานปลาได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดตั้งตลาดกลางกุ้งกุลาดำไว้เรียบร้อยแล้ว โดยใช้พื้นที่ของท่าเทียบเรือประมงนครศรีฯ บริเวณโรงคลุมโดยทำการปรับปรุงและแบ่งล็อกพื้นที่สำหรับการซื้อขายกุ้งให้แต่ละแพกุ้ง
ส่วนการกำหนดวันเปิดให้บริการซื้อขายกุ้งกุลาดำนั้น คาดว่าจะเปิดให้บริการได้เร็ว ๆ นี้ คาดว่าหลังเปิดดำเนินการจะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่ จ.นครศรีฯและในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ลดค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการขนส่ง กุ้งกุลาดำ อีกทั้งยังส่งผลให้คุณภาพกุ้งกุลาดำมีความสดทำให้ราคาดีขึ้นที่สำคัญกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งย่อมจะได้รับความเป็นธรรมจากตลาดกลางทั้งเรื่องคุณภาพราคามากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างธุรกิจต่อเนื่องให้ชาวนครศรีฯ อีกมากมายอันจะส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีฯ และจังหวัดใกล้เคียงดีขึ้นตามไปด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 303.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 313.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 365.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 368.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.04 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 19.74 บาท สูงขึ้นจาก 17.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 46.66 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 31 มค.-4 กพ. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำสัปดาห์ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 2543--
1. สถานการณ์การผลิต
กรมพัฒนาที่ดินเร่งจัดทำโซนนิ่งการเลี้ยงกุ้งและฟื้นฟูพื้นที่น้ำจืดที่ผ่านการเลี้ยงกุ้ง
รายงานข่าวจากกรมพัฒนาที่ดิน แจ้งว่า ขณะนี้ กรมพัฒนาที่ดินกำลังเร่งจัดทำโซนนิ่งในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งคาดว่าหลังจากจัดทำโซนนิ่งการเลี้ยงดังกล่าวแล้วจะทำให้การเลี้ยงส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน น้ำและการเจริญเติบโตของพืชอื่น ๆน้อยที่สุด สำหรับพื้นที่ราบภาคกลางทั้ง 14 จังหวัด และพื้นที่น้ำจืดของจังหวัดชายทะเลรวมประมาณ 7,000 ไร่ หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการปรับปรุงฟื้นฟูที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรารัฐบาลยังมีการผ่อนผันให้สามารถเลี้ยงกุ้งได้จนถึงสิ้นปี 2543 ส่วนที่ราบภาคกลางทั้ง 14 จังหวัด และพื้นที่น้ำจืดของจังหวัดที่ติดชายทะเลจะต้องหยุดเลี้ยงอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย สำหรับการฟื้นฟูพื้นที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำนั้น กรมพัฒนาที่ดินจะช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่เกษตรกร แต่ไม่เกินรายละประมาณ 15 ไร ่
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 มค.- 1 กพ. 43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,246.17 ตันแยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 568.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 677.77 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.26 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.80 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.75 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.56 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ความคืบหน้าการตั้งตลาดกลางกุ้งที่ จ.นครศรีธรรมราช
นายสุริยา ลีลาธรรม ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งตลาดกลางกุ้งกุลาดำที่ จ.นครศรีธรรมราชว่าขณะนี้องค์การสะพานปลาได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดตั้งตลาดกลางกุ้งกุลาดำไว้เรียบร้อยแล้ว โดยใช้พื้นที่ของท่าเทียบเรือประมงนครศรีฯ บริเวณโรงคลุมโดยทำการปรับปรุงและแบ่งล็อกพื้นที่สำหรับการซื้อขายกุ้งให้แต่ละแพกุ้ง
ส่วนการกำหนดวันเปิดให้บริการซื้อขายกุ้งกุลาดำนั้น คาดว่าจะเปิดให้บริการได้เร็ว ๆ นี้ คาดว่าหลังเปิดดำเนินการจะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่ จ.นครศรีฯและในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ลดค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการขนส่ง กุ้งกุลาดำ อีกทั้งยังส่งผลให้คุณภาพกุ้งกุลาดำมีความสดทำให้ราคาดีขึ้นที่สำคัญกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งย่อมจะได้รับความเป็นธรรมจากตลาดกลางทั้งเรื่องคุณภาพราคามากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างธุรกิจต่อเนื่องให้ชาวนครศรีฯ อีกมากมายอันจะส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีฯ และจังหวัดใกล้เคียงดีขึ้นตามไปด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 303.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 313.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 365.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 368.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.04 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 19.74 บาท สูงขึ้นจาก 17.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 46.66 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 31 มค.-4 กพ. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำสัปดาห์ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 2543--