ปาฐกถา เรื่อง
"ทิศทางเศรษฐกิจโดยรวม"*
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2544
___________________________
ผมเพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่นเมื่อคืนนี้ เรามีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงของไมตรีจิตที่มีต่อกัน หลาย ๆ ประเด็นที่ได้จากการสรุป อาทิ เรื่องของ FTA ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเองก็ค่อนข้างมีแนวคิดในเชิงบวก ตอนรับค่อนข้างดี ซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติงานในอนาคตข้างหน้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ไทยกับจีน และก็ไทยกับทางด้าน BIMST-EC ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปในวันจันทร์นี้ไปที่อินเดีย แต่ที่ผมมีความรู้สึกประทับใจที่สุดก็คือว่า การที่ได้มีโอกาสไปพบปะกับนักธุรกิจและนักลงทุนจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ได้พบเลยก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีและพวกเราทุกคนได้มีโอกาสพบปะกับนักลงทุนญี่ปุ่นประมาณ 1,000 คน นักลงทุนเหล่านี้มานั่งรอฟังการปราศรัยของท่านนายกฯ ได้มาซักถามเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทยด้วยความกระตือรือร้นอย่างยิ่ง ผมไม่ได้เห็นนักลงทุนญี่ปุ่นคนใดเลยที่จะบอกว่า ไม่อยากมาลงทุนในเมืองไทย ตรงกันข้ามดูเหมือนกับว่านักลงทุนญี่ปุ่นทั้งหลายที่นั่งอยู่ในห้องเกือบ 1,000 คน ซึ่งมาจากบริษัทนานาประการ มีความรู้สึกและตัดสินใจอยู่ในใจอยู่แล้วว่า เขาสนใจที่จะมาเมืองไทย เขาเพียงแต่ต้องการรับฟังคำยืนยันจากปาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีว่า เมืองไทยเรานั้นมีนโยบายการลงทุนที่แน่นอน และต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสิ่งนี้ ฯพณฯ นายกฯ ก็ได้กล่าวยืนยันอย่างแน่วแน่ว่าเมืองไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่มีคุณภาพ
ที่น่าดีใจไปกว่านั้นก็คือว่า ในงานวันนั้น มีนักธุรกิจญี่ปุ่นเองหลายท่านได้ขึ้น Panel เพื่อพูดอภิปรายให้ชาวญี่ปุ่นฟังว่า การลงทุนของเขาในเมืองไทยเป็นอย่างไร มีอยู่รายหนึ่ง ผมขออนุญาตเอ่ยนามในที่นี้ก็คือ ประธาน Canon ของเมืองไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยกับในประเทศจีน ซึ่งในขณะนี้มีหลายคนทีเดียวที่เป็นห่วงว่า จีนนั้นเหมือนกับเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ ที่กำลังจะดูดการลงทุนไปอยู่ที่ประเทศนั้นจนหมดสิ้น ประธานท่านนี้ได้กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว ในเชิงของการลงทุน การลงทุนในเมืองไทยมีหลายแง่มุมเหนือกว่าการลงทุนในจีนเสียอีก เขายกตัวอย่าง Case ของเขาให้ฟังต่อหน้านักธุรกิจญี่ปุ่นเกือบ 1,000 คนว่า ค่าไฟก็ดี ในระหว่างที่มาลงทุนในไทยเทียบกับทีมในเมืองจีน ที่นี้ Save กว่า ประหยัดได้มากกว่า การคมนาคม ถึงแม้ว่าในอดีตจะติดขัดแต่ในปัจจุบันนี้เขาใช้คำว่า Flexibility ก็คือสามารถคำนวณได้เลยว่า จะไปถึงท่าอากาศยานได้เมื่อไร สิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็ง แรงงานเมืองไทยถึงแม้ว่า จะมีต้นทุนแพงกว่าประเทศจีน แต่ในเรื่องของความหาได้ง่าย ในเชิงของวินัยการทำงาน ในเชิงของการฝึกฝน ล้วนแล้วแต่ไม่แพ้ประเทศจีนแต่ประการใด ที่สำคัญถึงแม้ว่าวิศวกรในเมืองไทยจะขาดแคลน แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาได้ และพัฒนาได้เร็ว และที่สำคัญที่สุด เมื่อเขาประสบปัญหาใด ๆ ก็แล้วแต่ เมื่อได้มีการร้องเรียนต่อทางรัฐบาล ผ่านทาง BOI รัฐบาลก็พร้อมที่จะให้การแก้ไขโดยรวดเร็วทุกครั้งไป นี่คือสิ่งที่เราได้รับทราบจากนักลงทุนเกือบ 1,000 คนที่ประเทศญี่ปุ่น
ไม่เพียงเท่านั้น UFJ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมกันระหว่าง 2 แบงก์ญี่ปุ่น เขาอาสาที่จะโปรโมตการลงทุนให้นักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในเมืองไทย และขณะนี้เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งองค์กรอื่นๆ ของญี่ปุ่น กำลังเลียนแบบ เพราะเขาต้องการให้นักลงทุนญี่ปุ่นมาที่ประเทศไทย แต่จะไปจีนหรือเปล่านั้น ผมไม่สนใจและไม่ถาม เพราะผมถือว่าในเชิงของการลงทุน ถ้าเราเป็นนักธุรกิจ เราจะมี 2 ปัจจัยที่สำคัญ 1 คือ Expected return หรือความคาดคะเนว่าจะได้กำไรเท่าไร และ 2 คือ Perceived risk คือความรู้สึกเสี่ยงภัยต่อการลงทุน ในเชิงของเมืองไทยผมเชื่อว่า Expected return ไม่ได้ด้อยกว่าใคร แต่ในเชิงของ Perceived risk นั้น เมืองไทยเรามีหลาย ๆ ปัจจัยที่เหนือกว่าประเทศอื่นเสียด้วยซ้ำไป การเมืองของเรามีเสถียรภาพ ค่าเงินของเราค่อนข้างนิ่ง และมีเสถียรภาพ ประเทศไทยเราไม่เคยมีอะไรที่ขัดแย้งที่รุนแรงจนกระทั่งเป็นภัยต่อนักลงทุนแต่ประการใด ฉะนั้นในภาวะซึ่งมีการแย่งชิงเงินทุนระหว่างโลก หรือกล่าวง่ายๆ การตัดสินใจลงทุนในระหว่างไปที่เมืองจีน หรือมาที่อาเซียน เมืองไทยในฐานะที่เป็น Gateway สู่อินโดจีน ดีไม่ดีจะเป็น Springboard ของการลงทุน เพื่อไปลงทุนในจีนในอนาคตข้างหน้า จึงมิได้ยิ่งหย่อนแต่ประการใด
ในด้านของการท่องเที่ยว ผมได้พบกับองค์กรท่องเที่ยวของญี่ปุ่น คือ JATA และ JAL รวมถึง Nippon Airlines ทุกเสียงกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าขณะนี้ตัวเลขการท่องเที่ยวเริ่ม Recover แล้ว หลังจากที่ช็อกไปประมาณเดือน แต่สำหรับกรณีเมืองไทยนั้นเขาไม่เป็นห่วงเลย เขายินดีที่จะมาพัฒนาร่วมกับท่านอาจารย์วีระพงษ์ฯ ด้วยซ้ำไปว่า จะทำอย่างไร จึงจะมี Joint promotion ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ขออย่างเดียวก็คือว่าขอให้ทางการไทยสื่อความให้กับคนญี่ปุ่นชัดเจนว่า เมืองไทยเรานั้นสงบสุข เมืองไทยเรานั้นไม่มีเภทภัย เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายใหญ่ของเขาก็คือ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มคนที่มีอายุ เขาต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราทำให้ได้อยู่แล้ว
แต่ที่น่าดีใจไปกว่านั้นก็คือว่า ในขณะที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ข้อมูลที่ได้มาสู่ผม ถึงเรื่องการแปรรูป ปตท. แต่เดิมผมตั้งธงไว้ว่า ปตท. จะต้องเป็นเสาหลัก เป็นธงชัยที่ให้ต่างชาติเห็นว่า เมืองไทยเรานั้น เราจริงจังกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพราะการที่มีสินทรัพย์เกือบ 4 ล้านล้าน และหนี้สินใกล้เคียงกันนั้น เราต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้ดี และเรา Serious กับ Privatization อย่างแท้จริง ข้อมูลล่าสุดก็คือว่า ความต้องการหุ้น ปตท. ในหมู่นักลงทุนต่างประเทศมีอยู่สูงมากทีเดียว มียอด Accumulated demand สูงถึง 6 เท่า แล้วก็มีรวมมูลค่าแล้วกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นักลงทุนที่เข้าคิวกันขอจองหุ้น ปตท. ไม่ใช่นักลงทุนประเภทนกกระจอก แต่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจโลกเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่เมืองไทยบาดเจ็บจากวิกฤตการณ์เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แต่การที่เขามุ่งมั่นเช่นนี้ มันหมายความว่าฝรั่งเขามองข้ามช็อต เขารู้ว่าเสถียรภาพเมืองไทยใช้ได้ ปัญหาอยู่ที่การจัดการเท่านั้นเองว่า จะบริหารจัดการอย่างไรกับประเทศของเรา
สามสิ่งนี้ทำให้ตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นผมรู้สึกมีความมั่นใจและสบายใจ เพียงแต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือว่าต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่า ทำไมต่างประเทศถึงมองเราดีกว่าที่เราดูตัวเราเอง ทั้ง ๆ ที่ในขณะนี้ ความเชื่อมั่นในตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด สังคมที่ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง มันก็เหมือนสังคมที่ไม่มีพลัง เหมือนตะเกียงที่ขาดน้ำมัน การขับเคลื่อนทำได้ยาก ผมจึงได้นำเรียนเสนอในช่วงต้นว่าต่างประเทศเขามองไทยอย่างไร ผมเข้าใจดีว่าผู้ที่ปรารถนาดีหลายๆ ฝ่ายมีความรู้สึกเป็นห่วง มีความกังวลกับสถานการณ์ของประเทศ จะไม่ให้ห่วงได้อย่างไร ผมก็ห่วง รัฐบาลก็ห่วง แต่รัฐบาลอยู่ในวิสัยที่ต้องทำงานไม่ใช่อยู่ในวิสัยที่มีหน้าที่แสดงความเป็นห่วง
หน้าที่ของรัฐบาลก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะสื่อความให้เข้าใจกัน ผมรู้สึกมั่นใจและไม่กังวลเท่าที่ควร รู้สึกพอใจกับตัวเลข GDP ที่ทางแบงก์ชาติหรือที่ทางสภาพัฒน์ฯ ได้ประเมินออกมา ว่าปีนี้จะอยู่ประมาณ 1.3, 1.5, 1.6% ไม่เป็นไร เพราะผมถือว่า ภายใต้วิกฤตการณ์เช่นนี้ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างนี้ แถมภายใต้มรดกที่ได้มาจาก 3-4 ปีที่แล้ว ทั้งภาระงบประมาณและภาระหนี้สิน มีตัวเลขเป็นบวกอย่างนี้ ถือว่าน่าพอใจ และน่าพอใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศข้างๆ เรา สิงคโปร์ปี 2543 GDP เติบโตประมาณ 9% กว่า ปีนี้ติดลบ 2% ไต้หวันปี 2543 เติบโตประมาณ 6.9 หรือ 7% ถ้าจำไม่ผิดปีนี้ติดลบ 2% มาเลเซียเติบโตปีที่แล้ว 10.5% ปีนี้เหลือประมาณ 0.5% ไต้หวันปีที่แล้วเติบโตพอสมควร ปีนี้เหลือประมาณ 1.1% ประเทศไทยปีที่แล้วแค่ 4% ปีนี้ได้ถึง 1 กว่าเปอร์เซ็นต์ แถมมีมรดกอีก 2.8 ล้านล้าน ภาระหนี้สินดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายปีละแสนล้าน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ถือว่าประเทศไทยโชคดี โชคดีที่เรามีสินค้าที่หลากหลายในการส่งออก ไม่ถูกกระทบ โดย Sector หนึ่ง Sector ใดมากจนเกินไป โชคดีที่เรามีประเทศคู่ค้ากระจายได้ดีพอ ไม่ได้ไปกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศอเมริกาอย่างเดียว โชคดีที่อย่างน้อยที่สุด ประเทศไทยเรามีความสงบสุข มีการท่องเที่ยวที่ถือว่าใช้ได้ทีเดียว นี่คือสิ่งแรกที่ทำให้ผมรู้สึกว่าน่าพอใจ
ปัจจัยข้อที่ 2 ที่ทำให้ผมมั่นใจมากกว่านั้นก็คือว่า ในฐานะของคนทำงาน แม้ว่า GDP จะเติบโตเพียง 1กว่าเปอร์เซ็นต์ในปีนี้ตามที่คาดการณ์ แต่ภายใต้ตัวเลข GDP นั้น เราเห็นการขับเคลื่อนของกลไก เครื่องยนต์ที่ไม่เคยเดินมานานแล้ว มันเริ่มเดิน เป็นสิ่งที่รู้สึกสัมผัสได้ กระทรวงทบวงกรมซึ่งต่างคนต่างพายในอดีต วันนี้หันหน้าเข้าหากัน Efficiency มันเริ่มเกิด ประสิทธิภาพมันเริ่มเกิด ซึ่งประสิทธิภาพในวงการราชการนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันก่อให้เกิดต้นทุนที่ไม่ควรจะเกิด วันนี้อะไรต้องการที่กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ จับมานั่งคุยกันแป๊บเดียวแก้ไขปัญหาได้ กลไกมันเริ่มเดินเครื่อง สินเชื่อที่ไม่เคยปล่อยมาเลย ไม่เคยขยายตัวมาหลาย ๆ ปี แบงก์ชาติให้ตัวเลขผมดู มันเริ่มเป็นบวก 3-4 เดือนต่อกัน ธนาคารเริ่มกล้าที่จะปล่อยสินเชื่อ ไม่ต้องตัวเกร็งจนกระทั่งไม่กล้าปล่อย วิถีทางที่ใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ มันเริ่มหายไป บสท. ซึ่งเป็นตัวสำคัญ เพราะนั่นคือการที่ทำอย่างไรที่จะให้หนี้ด้อยคุณภาพ กลับเป็นหนี้ที่ดี และมีการจ้างงานมีการผลิต ตรงนี้เราได้เริ่มแล้ว ถึงแม้ในระยะที่เริ่มต้น ความขลุกขลักเริ่มมีบ้าง การสื่อสารการสื่อความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน สินทรัพย์นับล้านล้านบาท แน่นอนที่สุดทุกคนก็เป็นห่วง แต่เรารู้ว่ามันเริ่มเดิน การปรับโครงสร้างมันจะเริ่มเดิน การปรับโครงสร้างมันจะเริ่มเกิด แต่ต้องให้เวลากับคณะกรรมการ ต้องให้ความเชื่อมั่นแก่เขา ไม่ใช่ให้แต่ภาระแล้วเราก็ไปโจมตีเขาอย่างเดียว แล้วใครจะมีกำลังใจในการทำงาน ค่าตอบแทนกรรมการมีไม่ถึง 20,000 บาท แต่ภาระมหาศาลทีเดียว
สังคมไทยต้องการกำลังใจ ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการการตำหนิเท่านั้น ในฐานะของคนทำงานเราเริ่มเห็นกลไกของการเดินเครื่อง แรงขับเคลื่อนที่เริ่มเกิดขึ้นมา เรารู้ว่านี่เราไปถูกทางแล้ว แต่ในฐานะของคนที่อยู่ภายนอกวงการ ได้รับฟังข่าว เห็นตัวเลขเศรษฐกิจโลก ก็แน่นอนที่สุดเขาก็ต้องเป็นห่วง อย่างที่ผมกราบเรียนว่า เขาเป็นห่วง ผมก็เป็นห่วง แต่เรามีฐานะที่ต้องทำงาน มีหลายท่านเป็นห่วง ต้องการให้มีการอัดฉีดเงินเข้าไปสู่ระบบ เพิ่มงบประมาณขาดดุลให้มากๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ผมกราบเรียนว่า แนวความคิดของการเน้น Quantity growth ที่เน้นเชิงปริมาณ ผมไม่ต้องการ ผมต้องการการเติบโตที่เน้นเชิงคุณภาพ World Bank เพิ่งออก Report มาบอกว่าคนจนเพิ่มสูงขึ้นในเมืองไทย แต่คนจนที่เพิ่มสูงขึ้นในเมืองไทยมิใช่ผลบวกของรัฐบาลนี้ มิใช่ผลบวกของรัฐบาลที่แล้ว แต่เป็นผลพวงของการสั่งสมกันมาโดยตลอดเป็นสิบๆ ปีว่า นโยบายการเติบโตที่เน้นเชิงปริมาณอย่างเดียวนั้น มันผิดพลาด มันผิดทาง คนจนถึงจนมากขึ้น ถ้ามันมาถูกทางป่านนี้เศรษฐกิจไทยไม่ล้มระเนระนาดอย่างนี้ จะมาชี้บอกว่ารัฐบาลทักษิณทำให้คนจนเพิ่มขึ้น ผมรู้สึกว่าจะไม่ค่อยยุติธรรมนัก เพราะทุกคนมีส่วนร่วมทั้งสิ้น
ผมเรียนในที่ประชุมที่ผมไปพูดมาเมื่อเช้านี้ว่า ผมเดินทางไปกับท่านนายกฯ ไปที่โออิตะที่ญี่ปุ่น ผู้ว่าฯ โออิตะคนนี้เป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของ MITI เป็นคนวางนโยบาย IT Policy ของญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจญี่ปุ่น Emerge ขึ้นมาในฐานะของผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ของโลก และทุกธุรกิจ IT และเป็นคนที่พัฒนานโยบาย SMEs ขึ้นมาเป็นคนแรกของญี่ปุ่น เมื่อเขารีไทร์แล้วมาเป็นผู้ว่าฯ โออิตะ แต่ด้วยบุคลิกที่มีความเป็นผู้นำสูง เขาสามารถทำให้โออิตะจากเมืองเล็ก ๆ ที่ยากจน วันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปที่นั้น ปีละกว่า 1 ล้านคน ไปถึงที่นั่น สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือว่า เมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ชุมชนเขาเข้มแข็งมาก ทุกคนมีสินค้ามีบริการ เขาเลือกสโลแกนมาว่า "One Village, One Product" 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์ แต่ความหมายของเขานั้น สื่อชัดเจนก็คือว่า เป็นการคัดเลือกสินค้าที่ดีที่สุด ที่เป็น Champion ของหมู่บ้าน แน่นอนอาจจะมีการล้มเหลวบ้าง บางครั้งบางคราว แต่เขาต้องการคัดเลือกที่ดีที่สุด และเอาตัวนั้นมาพัฒนาเป็นสินค้าที่หลากหลายเป็นร้อยเป็นพันชนิด ยกตัวอย่างถ้าเขาผลิตเหล้าสาเก เขาจะพัฒนาสินค้าเหล้าสาเกตัวนี้ เป็นร้อยเป็นพันประเภท ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ธรรมดา ๆ เขาสามารถ Develop ขึ้นมาเป็นสิบๆ ประเภทของไม้ไผ่ในเชิงของสินค้าหัตถกรรม และที่สำคัญกว่านั้น เกษตรกรเขาไม่จน ไม่จนเพราะอะไร? เพราะเขามีสินค้าหลากหลาย เกษตรกรทำมาหากิน หลังจากที่มีการปลูกข้าวเสร็จแล้วเขามีการเจรจากับบรรดาร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั้งหลาย มีมุมพิเศษเป็นตลาดขายสินค้าให้กับเกษตรกรเหล่านี้ เกษตรกรแต่ละคนไม่ได้ต่างคนต่างอยู่ แต่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกัน ทุกคนใส่เสื้อคลุม เขียนชื่อสหกรณ์ของเขา มายืนอยู่ที่ร้านขายสินค้า นี่คือวิถีทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่เกษตรกรทั้งประเทศ หรือส่วนใหญ่ประเทศ ผลิตข้าวอย่างเดียว พอหมดหน้าข้าว ไม่มีอาชีพอื่นให้ทำ ไม่มีสินค้าอื่นให้ขาย ทุกคนนั่งว่างงานอยู่กับบ้าน แล้วรอเพียงแต่ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นหรือเปล่า โดยที่ไม่อำนาจต่อรอง โดยที่กระทรวงเกษตรฯ ในฐานะผู้ผลิต กระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้ขาย ในอดีตไม่เคยมีการ Share ข้อมูลกัน ทำให้ผลผลิตนั้น Over supply ตลอดเวลา แสดงว่าสิ่งที่ผ่านมา ที่เราบอกว่าจนมากขึ้น จนมากขึ้นนั้น แปลว่าการปฏิบัติมีปัญหา ประเทศไทยเราคิดเป็นอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้ทำไมจะคิดอย่างโออิตะไม่เป็น แต่การนำไปสู่การปฏิบัติมีปัญหา
ในสิ่งเหล่านี้เมื่อเราหันกลับมามองดูสิ่งที่รัฐบาลทำ ผมถึงกราบเรียนว่า เราต้องการเน้น Quality-oriented growth การเติบโตอย่างมีคุณภาพ การแก้ไขปัญหาการยากจน เราถึงได้สื่อความบอกว่า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์คัดเลือกขึ้นมา สินค้าตัวแรกไม่ได้ผล ไม่เป็นไร เริ่มที่ตัวใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ากระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ต้องเข้าไปพัฒนาเขา หาตลาดให้เขา กองทุนหมู่บ้านต้องเข้าไป ธ.ก.ส. ต้องเข้าไป ออมสินในอนาคตก็ต้องเข้าไป เพื่ออะไร? เพื่อให้การช่วยเหลือทั้ง Package เกิดขึ้นมา ให้มีการรวมตัวระดับชุมชน และเมื่อชุมชนเข้มแข็ง เกษตรกรแต่ละคนก็มีความเข้มแข็ง ถ้าเขาเข้มแข็ง อำนาจซื้อในประเทศก็มั่นคงมากขึ้น ตัว C Consumption มันถึงจะเกิด มันไม่ใช่ Consumption เฉพาะแต่คนในเมือง กระจุกตัวอยู่แค่นี้นิดเดียว ในขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นคือเกษตรกร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะนำเสนอ แต่เนื่องมาจากว่า มันเพิ่งจะเริ่มต้น ความขลุกขลักบ้าง ผิดพลาดบ้างย่อมมีธรรมดา ในฐานะที่เรารับเลือกตั้งเข้ามา หน้าที่เราทำให้มันบังเกิดผล ให้เวลาสักนิด การ Tuning การปฏิบัติน่าจะดีกว่านี้ และมันเป็นจุดเริ่มต้น อย่างน้อยมันเป็นจุดเริ่มต้นของความตั้งใจจริงของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างชุมชนให้ยืนอยู่ได้ด้วยตัวของเขาเอง อินเตอร์เน็ตตำบลมีหน้าที่เชื่อมระหว่างตำบลต่อตำบล จังหวัดต่อจังหวัดและจังหวัดต่อโลก โดยที่ไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ อีกต่อไปในอนาคตข้างหน้า นี่คือ Quality-oriented growth ที่เราต้องการ
การผลิตเราไม่ต้องการให้เมืองไทยมีเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่เราต้องให้มีความสมดุลระหว่างรายใหญ่ รายกลาง รายย่อย จะปลูกป่านั้นมันต้องมีต้นไม้หลาย ๆ ประเภท มีต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ต้น เจอพายุทีเดียวเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาต้นไม้หัก ต้นไม้ล้ม ที่ยืนอยู่ได้ก็เพราะมีเสาค้ำอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ในเชิง SMEs รัฐบาลนี้ก็เริ่มทำอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากมันเป็นจุดเริ่มต้นก็ต้องใช้เวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดา เวลาที่เราต้องการโปรโมทการลงทุนจากต่างประเทศ เราต้องการการลงทุนที่มีคุณภาพ เราก็สื่อว่าเรามีอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมที่มันไม่อยู่ในเป้าหมาย เราเฉย ๆ เรา Serious กับการปรับปรุงสร้างกิจการของ NPL เพราะเรารู้ว่าในอนาคตข้างหน้า Good governance หรือธรรมาอภิบาล คือหัวใจสำคัญที่สุด เราจะใช้ในการปรับโครงสร้าง NPL ของ บสท. ครั้งนี้นี่แหละเป็นจุดเริ่มต้น ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ต้องถือสิ่งเหล่านี้ เป็นหน้าที่หลักของเขาเลย
การแปรรูปวิสาหกิจ ตั้งแต่เริ่มต้นทุกคนบอกว่า ทำไม่ได้ กี่รัฐบาลต่อกี่รัฐบาลแล้ว แต่เราจะทำให้ได้ และจะทำให้ดู เพราะเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับคนทั้งประเทศ พนักงานก็ได้ประโยชน์ ประชาชนก็ได้ประโยชน์ บริษัทก็ได้ประโยชน์ และถ้าทำให้เขามี Efficiency ขึ้นมา รายได้ก็เกิดขึ้นมา เงินคงคลังก็มีเพิ่มมากขึ้น ต่างประเทศก็รู้ว่าเมืองไทยมีสินทรัพย์ที่มีรายได้ สามารถสร้างรายได้ เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่ล้มละลาย ไม่ต้องไปนั่งคิดคำนวณว่าปีหน้า จะมีรายได้ที่จะมาจ่ายหนี้เพียงพอไหม ก็ลองดูสิว่าปีหน้าองค์การโทรศัพท์ฯ กสท. และแบงก์ใหญ่ ๆ แปรรูปได้ จะมีคำถามเหล่านี้อีกหรือไม่? ตอนที่เราอยู่ในภาคธุรกิจเวลาหมุนเช็คไม่ทัน Banker จะตามจี้ทันที ถ้าเราบอกว่าหมุนเช็คไม่ทัน แต่ที่บ้านมีเครื่องสร้างเงิน ผันเงินได้ ธนาคารปล่อยกู้ต่อทันที ทุกสิ่งอยู่ที่ความเชื่อมั่นเท่านั้นเอง
อย่างที่ผมกราบเรียนเมื่อสักครู่นี้ ในเมื่อรัฐบาลชุดนี้เน้นที่ Quality-oriented growth ฉะนั้นการใช้งบประมาณแผ่นดิน ตัว G ก็ต้องพยายาม Design เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ปีหน้าผมรับประกันว่าการจัดงบประมาณต้องดีกว่าปีที่แล้ว เพราะจะไม่ให้ข้าราชการประจำเป็นคน Set ทิศทาง เรามีหน้าที่ Set ทิศทาง ข้าราชการประจำจะช่วยตีกรอบ ไม่ให้มีการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่าย เราจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไป การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรระบบราชการ ท่านผู้ว่าฯ แบงก์ชาติได้ช่วยงานนี้ค่อนข้างมาก มีครั้งไหนบ้างไหมที่กล้าทำอย่างนี้? นี่เป็นครั้งแรกและตุลาคม 2545 จะเริ่มต้น หลายคนบอกว่า เริ่มต้นเร็ว ผิดพลาดเร็ว แต่ในหลายสิ่งหลายอย่างมันต้องมีจุดเริ่มต้น เมื่อเริ่มแล้วถ้าผิดค่อยมาแก้กัน อย่างน้อยมันต้องมีการปรับเปลี่ยน ผมไม่เคยเชื่อว่าโลกนี้จะเป็น Linear solution หมายความว่า อดีตจะมาทำนายอนาคตได้ เป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตข้างหน้า หลายสิ่งหลายอย่าง แม้แต่ตัวเราเองยังไม่เข้าใจเลย จะเอาสิ่งที่เป็นอดีตในการสร้างนโยบายสู่อนาคตได้อย่างไร?
รัฐบาลชุดหน้า หรือชุดใด ๆ ก็แล้วแต่ ต้องเข้าใจและทันเกม ดีไม่ดีถ้าหากว่าองค์กร กลไกต่างๆ เริ่มขับเคลื่อน การเกื้อกูลกัน Synergy ที่เกิดขึ้น มันอาจมีผลทำให้เกิดการก้าวกระโดดก็ได้ ไม่จำต้อง 1+1 = 2 แต่มันมีความเกื้อกูลกันขึ้นมา เราอยู่ในธุรกิจเรารู้ดี หลายท่านในห้องนี้มาจากภาคธุรกิจ ท่านจำได้ไหม? เมื่อใน 2 ปีที่แล้ว จากบริษัทเล็ก ๆ มีเงินไม่เท่าไร ท่านสามารถมีสินค้า ที่ดี 1 ตัว ทำให้บริษัทดีมีกำไร เอาเข้าตลาดหุ้น สามปีให้หลัง Wealth หรือว่าความมั่งคั่งของบริษัท ต่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ ถ้าไม่ถูกทำลายด้วยความโลภเสียก่อน Wealth อันนี้ที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่ Linear เส้นตรงเลย แต่มันเป็น Reaction ต่อกัน Synergy มันเกิด Growth มันเกิด ฉะนั้นควรเน้น Quality growth เน้นการขับเคลื่อนที่มีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่า เมื่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้นเมืองไทยจะ Take off แต่ถ้าเรามัวแต่คิดว่าต้องเน้นเชิงปริมาณทั้งวันคิดแต่คำว่า GDP โดยไม่รู้ข้างในเนื้อหา GDP นั้นคืออะไร แล้วไม่คิดเปลี่ยนแปลงสิ่งใดเลย ผมเชื่อว่าโลกดีขึ้น เมืองไทยจะถดถอยและถอยหลังเข้าคลอง ถ้าเราไม่เร่งปฏิรูปวันนี้ นายกญี่ปุ่น โคอิซูมิ กล่าวมาชัดเจน ที่ญี่ปุ่นไม่สามารถก้าวกระโดดได้ใน 10 ปีที่ผ่านมา เพราะขาดความกล้าในการปฏิรูปที่แท้จริง วันนี้ เราจะต้องไม่เลียนแบบญี่ปุ่น ต้องกล้าปฏิรูป แต่การปฏิรูปนั้น ธรรมชาติคนเราไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง มันต้องมีพลัง ยิ่งต้องการมีพลังมากในช่วงที่ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์ เวลาที่เรืออยู่ในทะเลยามมีพายุ สิ่งแรกคนที่อยู่ในเรือจะต้องตั้งสติได้ ต้องมี Positive attitude คิดเชิงบวก หาคำตอบในภาวะวิกฤตการณ์ว่าจะเดินเรือเส้นทางไหน ไม่ใช่ตื่นตระหนก มองแต่เชิงที่ไม่ดีตลอดเวลา แน่นอนตัวเลขไม่ดี มันมีแน่นอน เพราะว่าสภาวะอย่างนี้จะหาตัวเลขที่ดีมาจากไหน แต่อย่างน้อยเราต้องมั่นใจว่าข้างหน้ามีแสงสว่างหรือไม่ แล้วเดินตามเส้นทางนั้น
ข้อที่ 2 ในภาวะวิกฤตการณ์ ความเป็นผู้นำสำคัญมากที่สุด แต่ความเป็นผู้นำนั้นจะเกิดผลได้ ต้องมีผู้ตาม ต้องมีผู้เข้าใจ ให้กำลังใจ อันนี้สำคัญมาก เมื่อมีผู้ตาม ผู้ให้กำลังใจ และทำสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง พลังมันถึงจะเกิดขึ้น ในภาวะวิกฤตการณ์จะมานั่งอภิปรายทุกคนเป็นไปไม่ได้ เรือเจอพายุ จะมาบอกว่าคนที่ 1 คิดว่าอย่างไร คนที่ 2 คิดว่าอย่างไร เรือล่มพอดี กัปตันต้องชี้ทิศทาง คนที่เหลือถ้าเชื่อมั่นทำตาม และมันจะนำไปสู่อะไร การสนับสนุนนั้นไม่ใช่แค่จิตใจ ไม่ใช่แค่คำพูด แต่ต้องการ Action วันนี้สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอฯ เข้ามาช่วยแล้ว เราต้องการความช่วยเหลือ ความคิดอ่าน แล้วเขาจะ Take action อันนี้สิสำคัญ ในภาวะเช่นนี้ ผมอยากจะกราบเรียนว่า ไม่มีสิ่งใดที่ต้องหวั่นไหว ผมเชื่อว่าเมืองไทยมีคนที่มีความสามารถสูงมาก ไม่ต้องกลัวอะไรจนเกินเหตุ
สิ่งที่น่ากลัวก็คือความกลัวนั้นแหละ กลัวจนไม่คิดอะไร แล้วคิดแต่เชิงร้าย สิ่งสำคัญคือว่า หันหน้าเข้าหากัน มีอะไรเกื้อกูลกันได้เกื้อกูลกัน ชี้แนะกัน รัฐบาลพร้อมยินดีที่จะรับฟัง และผมเชื่อว่าเมืองไทยเรา ฐานะประเทศเราแข็งแกร่ง อนาคตข้างหน้าเราจะไปได้ สิ่งที่ผ่านมานั้น เป็นเพียงแต่การสะดุดถอยเท่านั้นเอง ตัวเลขในอนาคตข้างหน้า ท่านผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ที่ปรึกษาผมหลายท่าน ๆ ได้เตรียมตัวเลขเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่พูดออกมา เราดูว่าแต่ละปีจะเป็นอย่างไร และคอยติดตามอยู่อย่างสม่ำเสมอ เราเป็นทีมที่ดี มีความเข้าใจกัน มีการสื่อความกัน ฉะนั้นผมอยากใช้โอกาสนี้ใช้วิธีนี้ กราบเรียนท่าน ทุกท่านที่อยู่ในห้องนี้ว่า รัฐบาลดูแลเอาใจใส่ เราไม่ได้มีความมั่นใจเกินขอบเขต แต่เราติดตาม และเราเชื่อว่าเรามาถูกต้อง ขออย่างเดียวคือว่าต้องมีความอดทน อุตสาหะ และโปร่งใส มีความซื่อสัตย์สุจริต ผมเชื่อว่า เราจะเดินไปข้างหน้าได้ผมต้องกราบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ที่เชิญผมมากล่าวในวันนี้ ถือเป็นเกียรติอย่างสูงในฐานะของศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์ คนหนึ่ง ขอบคุณครับ
____________________
* งานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2545 จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ธีรพล ตอลีบี : ถอดเทป
กรองจิตร สุขเกื้อ : พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-
"ทิศทางเศรษฐกิจโดยรวม"*
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2544
___________________________
ผมเพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่นเมื่อคืนนี้ เรามีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงของไมตรีจิตที่มีต่อกัน หลาย ๆ ประเด็นที่ได้จากการสรุป อาทิ เรื่องของ FTA ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเองก็ค่อนข้างมีแนวคิดในเชิงบวก ตอนรับค่อนข้างดี ซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติงานในอนาคตข้างหน้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ไทยกับจีน และก็ไทยกับทางด้าน BIMST-EC ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปในวันจันทร์นี้ไปที่อินเดีย แต่ที่ผมมีความรู้สึกประทับใจที่สุดก็คือว่า การที่ได้มีโอกาสไปพบปะกับนักธุรกิจและนักลงทุนจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ได้พบเลยก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีและพวกเราทุกคนได้มีโอกาสพบปะกับนักลงทุนญี่ปุ่นประมาณ 1,000 คน นักลงทุนเหล่านี้มานั่งรอฟังการปราศรัยของท่านนายกฯ ได้มาซักถามเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทยด้วยความกระตือรือร้นอย่างยิ่ง ผมไม่ได้เห็นนักลงทุนญี่ปุ่นคนใดเลยที่จะบอกว่า ไม่อยากมาลงทุนในเมืองไทย ตรงกันข้ามดูเหมือนกับว่านักลงทุนญี่ปุ่นทั้งหลายที่นั่งอยู่ในห้องเกือบ 1,000 คน ซึ่งมาจากบริษัทนานาประการ มีความรู้สึกและตัดสินใจอยู่ในใจอยู่แล้วว่า เขาสนใจที่จะมาเมืองไทย เขาเพียงแต่ต้องการรับฟังคำยืนยันจากปาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีว่า เมืองไทยเรานั้นมีนโยบายการลงทุนที่แน่นอน และต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสิ่งนี้ ฯพณฯ นายกฯ ก็ได้กล่าวยืนยันอย่างแน่วแน่ว่าเมืองไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่มีคุณภาพ
ที่น่าดีใจไปกว่านั้นก็คือว่า ในงานวันนั้น มีนักธุรกิจญี่ปุ่นเองหลายท่านได้ขึ้น Panel เพื่อพูดอภิปรายให้ชาวญี่ปุ่นฟังว่า การลงทุนของเขาในเมืองไทยเป็นอย่างไร มีอยู่รายหนึ่ง ผมขออนุญาตเอ่ยนามในที่นี้ก็คือ ประธาน Canon ของเมืองไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยกับในประเทศจีน ซึ่งในขณะนี้มีหลายคนทีเดียวที่เป็นห่วงว่า จีนนั้นเหมือนกับเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ ที่กำลังจะดูดการลงทุนไปอยู่ที่ประเทศนั้นจนหมดสิ้น ประธานท่านนี้ได้กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว ในเชิงของการลงทุน การลงทุนในเมืองไทยมีหลายแง่มุมเหนือกว่าการลงทุนในจีนเสียอีก เขายกตัวอย่าง Case ของเขาให้ฟังต่อหน้านักธุรกิจญี่ปุ่นเกือบ 1,000 คนว่า ค่าไฟก็ดี ในระหว่างที่มาลงทุนในไทยเทียบกับทีมในเมืองจีน ที่นี้ Save กว่า ประหยัดได้มากกว่า การคมนาคม ถึงแม้ว่าในอดีตจะติดขัดแต่ในปัจจุบันนี้เขาใช้คำว่า Flexibility ก็คือสามารถคำนวณได้เลยว่า จะไปถึงท่าอากาศยานได้เมื่อไร สิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็ง แรงงานเมืองไทยถึงแม้ว่า จะมีต้นทุนแพงกว่าประเทศจีน แต่ในเรื่องของความหาได้ง่าย ในเชิงของวินัยการทำงาน ในเชิงของการฝึกฝน ล้วนแล้วแต่ไม่แพ้ประเทศจีนแต่ประการใด ที่สำคัญถึงแม้ว่าวิศวกรในเมืองไทยจะขาดแคลน แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาได้ และพัฒนาได้เร็ว และที่สำคัญที่สุด เมื่อเขาประสบปัญหาใด ๆ ก็แล้วแต่ เมื่อได้มีการร้องเรียนต่อทางรัฐบาล ผ่านทาง BOI รัฐบาลก็พร้อมที่จะให้การแก้ไขโดยรวดเร็วทุกครั้งไป นี่คือสิ่งที่เราได้รับทราบจากนักลงทุนเกือบ 1,000 คนที่ประเทศญี่ปุ่น
ไม่เพียงเท่านั้น UFJ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมกันระหว่าง 2 แบงก์ญี่ปุ่น เขาอาสาที่จะโปรโมตการลงทุนให้นักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในเมืองไทย และขณะนี้เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งองค์กรอื่นๆ ของญี่ปุ่น กำลังเลียนแบบ เพราะเขาต้องการให้นักลงทุนญี่ปุ่นมาที่ประเทศไทย แต่จะไปจีนหรือเปล่านั้น ผมไม่สนใจและไม่ถาม เพราะผมถือว่าในเชิงของการลงทุน ถ้าเราเป็นนักธุรกิจ เราจะมี 2 ปัจจัยที่สำคัญ 1 คือ Expected return หรือความคาดคะเนว่าจะได้กำไรเท่าไร และ 2 คือ Perceived risk คือความรู้สึกเสี่ยงภัยต่อการลงทุน ในเชิงของเมืองไทยผมเชื่อว่า Expected return ไม่ได้ด้อยกว่าใคร แต่ในเชิงของ Perceived risk นั้น เมืองไทยเรามีหลาย ๆ ปัจจัยที่เหนือกว่าประเทศอื่นเสียด้วยซ้ำไป การเมืองของเรามีเสถียรภาพ ค่าเงินของเราค่อนข้างนิ่ง และมีเสถียรภาพ ประเทศไทยเราไม่เคยมีอะไรที่ขัดแย้งที่รุนแรงจนกระทั่งเป็นภัยต่อนักลงทุนแต่ประการใด ฉะนั้นในภาวะซึ่งมีการแย่งชิงเงินทุนระหว่างโลก หรือกล่าวง่ายๆ การตัดสินใจลงทุนในระหว่างไปที่เมืองจีน หรือมาที่อาเซียน เมืองไทยในฐานะที่เป็น Gateway สู่อินโดจีน ดีไม่ดีจะเป็น Springboard ของการลงทุน เพื่อไปลงทุนในจีนในอนาคตข้างหน้า จึงมิได้ยิ่งหย่อนแต่ประการใด
ในด้านของการท่องเที่ยว ผมได้พบกับองค์กรท่องเที่ยวของญี่ปุ่น คือ JATA และ JAL รวมถึง Nippon Airlines ทุกเสียงกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าขณะนี้ตัวเลขการท่องเที่ยวเริ่ม Recover แล้ว หลังจากที่ช็อกไปประมาณเดือน แต่สำหรับกรณีเมืองไทยนั้นเขาไม่เป็นห่วงเลย เขายินดีที่จะมาพัฒนาร่วมกับท่านอาจารย์วีระพงษ์ฯ ด้วยซ้ำไปว่า จะทำอย่างไร จึงจะมี Joint promotion ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ขออย่างเดียวก็คือว่าขอให้ทางการไทยสื่อความให้กับคนญี่ปุ่นชัดเจนว่า เมืองไทยเรานั้นสงบสุข เมืองไทยเรานั้นไม่มีเภทภัย เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายใหญ่ของเขาก็คือ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มคนที่มีอายุ เขาต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราทำให้ได้อยู่แล้ว
แต่ที่น่าดีใจไปกว่านั้นก็คือว่า ในขณะที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ข้อมูลที่ได้มาสู่ผม ถึงเรื่องการแปรรูป ปตท. แต่เดิมผมตั้งธงไว้ว่า ปตท. จะต้องเป็นเสาหลัก เป็นธงชัยที่ให้ต่างชาติเห็นว่า เมืองไทยเรานั้น เราจริงจังกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพราะการที่มีสินทรัพย์เกือบ 4 ล้านล้าน และหนี้สินใกล้เคียงกันนั้น เราต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้ดี และเรา Serious กับ Privatization อย่างแท้จริง ข้อมูลล่าสุดก็คือว่า ความต้องการหุ้น ปตท. ในหมู่นักลงทุนต่างประเทศมีอยู่สูงมากทีเดียว มียอด Accumulated demand สูงถึง 6 เท่า แล้วก็มีรวมมูลค่าแล้วกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นักลงทุนที่เข้าคิวกันขอจองหุ้น ปตท. ไม่ใช่นักลงทุนประเภทนกกระจอก แต่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจโลกเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่เมืองไทยบาดเจ็บจากวิกฤตการณ์เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แต่การที่เขามุ่งมั่นเช่นนี้ มันหมายความว่าฝรั่งเขามองข้ามช็อต เขารู้ว่าเสถียรภาพเมืองไทยใช้ได้ ปัญหาอยู่ที่การจัดการเท่านั้นเองว่า จะบริหารจัดการอย่างไรกับประเทศของเรา
สามสิ่งนี้ทำให้ตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นผมรู้สึกมีความมั่นใจและสบายใจ เพียงแต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือว่าต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่า ทำไมต่างประเทศถึงมองเราดีกว่าที่เราดูตัวเราเอง ทั้ง ๆ ที่ในขณะนี้ ความเชื่อมั่นในตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด สังคมที่ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง มันก็เหมือนสังคมที่ไม่มีพลัง เหมือนตะเกียงที่ขาดน้ำมัน การขับเคลื่อนทำได้ยาก ผมจึงได้นำเรียนเสนอในช่วงต้นว่าต่างประเทศเขามองไทยอย่างไร ผมเข้าใจดีว่าผู้ที่ปรารถนาดีหลายๆ ฝ่ายมีความรู้สึกเป็นห่วง มีความกังวลกับสถานการณ์ของประเทศ จะไม่ให้ห่วงได้อย่างไร ผมก็ห่วง รัฐบาลก็ห่วง แต่รัฐบาลอยู่ในวิสัยที่ต้องทำงานไม่ใช่อยู่ในวิสัยที่มีหน้าที่แสดงความเป็นห่วง
หน้าที่ของรัฐบาลก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะสื่อความให้เข้าใจกัน ผมรู้สึกมั่นใจและไม่กังวลเท่าที่ควร รู้สึกพอใจกับตัวเลข GDP ที่ทางแบงก์ชาติหรือที่ทางสภาพัฒน์ฯ ได้ประเมินออกมา ว่าปีนี้จะอยู่ประมาณ 1.3, 1.5, 1.6% ไม่เป็นไร เพราะผมถือว่า ภายใต้วิกฤตการณ์เช่นนี้ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างนี้ แถมภายใต้มรดกที่ได้มาจาก 3-4 ปีที่แล้ว ทั้งภาระงบประมาณและภาระหนี้สิน มีตัวเลขเป็นบวกอย่างนี้ ถือว่าน่าพอใจ และน่าพอใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศข้างๆ เรา สิงคโปร์ปี 2543 GDP เติบโตประมาณ 9% กว่า ปีนี้ติดลบ 2% ไต้หวันปี 2543 เติบโตประมาณ 6.9 หรือ 7% ถ้าจำไม่ผิดปีนี้ติดลบ 2% มาเลเซียเติบโตปีที่แล้ว 10.5% ปีนี้เหลือประมาณ 0.5% ไต้หวันปีที่แล้วเติบโตพอสมควร ปีนี้เหลือประมาณ 1.1% ประเทศไทยปีที่แล้วแค่ 4% ปีนี้ได้ถึง 1 กว่าเปอร์เซ็นต์ แถมมีมรดกอีก 2.8 ล้านล้าน ภาระหนี้สินดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายปีละแสนล้าน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ถือว่าประเทศไทยโชคดี โชคดีที่เรามีสินค้าที่หลากหลายในการส่งออก ไม่ถูกกระทบ โดย Sector หนึ่ง Sector ใดมากจนเกินไป โชคดีที่เรามีประเทศคู่ค้ากระจายได้ดีพอ ไม่ได้ไปกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศอเมริกาอย่างเดียว โชคดีที่อย่างน้อยที่สุด ประเทศไทยเรามีความสงบสุข มีการท่องเที่ยวที่ถือว่าใช้ได้ทีเดียว นี่คือสิ่งแรกที่ทำให้ผมรู้สึกว่าน่าพอใจ
ปัจจัยข้อที่ 2 ที่ทำให้ผมมั่นใจมากกว่านั้นก็คือว่า ในฐานะของคนทำงาน แม้ว่า GDP จะเติบโตเพียง 1กว่าเปอร์เซ็นต์ในปีนี้ตามที่คาดการณ์ แต่ภายใต้ตัวเลข GDP นั้น เราเห็นการขับเคลื่อนของกลไก เครื่องยนต์ที่ไม่เคยเดินมานานแล้ว มันเริ่มเดิน เป็นสิ่งที่รู้สึกสัมผัสได้ กระทรวงทบวงกรมซึ่งต่างคนต่างพายในอดีต วันนี้หันหน้าเข้าหากัน Efficiency มันเริ่มเกิด ประสิทธิภาพมันเริ่มเกิด ซึ่งประสิทธิภาพในวงการราชการนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันก่อให้เกิดต้นทุนที่ไม่ควรจะเกิด วันนี้อะไรต้องการที่กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ จับมานั่งคุยกันแป๊บเดียวแก้ไขปัญหาได้ กลไกมันเริ่มเดินเครื่อง สินเชื่อที่ไม่เคยปล่อยมาเลย ไม่เคยขยายตัวมาหลาย ๆ ปี แบงก์ชาติให้ตัวเลขผมดู มันเริ่มเป็นบวก 3-4 เดือนต่อกัน ธนาคารเริ่มกล้าที่จะปล่อยสินเชื่อ ไม่ต้องตัวเกร็งจนกระทั่งไม่กล้าปล่อย วิถีทางที่ใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ มันเริ่มหายไป บสท. ซึ่งเป็นตัวสำคัญ เพราะนั่นคือการที่ทำอย่างไรที่จะให้หนี้ด้อยคุณภาพ กลับเป็นหนี้ที่ดี และมีการจ้างงานมีการผลิต ตรงนี้เราได้เริ่มแล้ว ถึงแม้ในระยะที่เริ่มต้น ความขลุกขลักเริ่มมีบ้าง การสื่อสารการสื่อความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน สินทรัพย์นับล้านล้านบาท แน่นอนที่สุดทุกคนก็เป็นห่วง แต่เรารู้ว่ามันเริ่มเดิน การปรับโครงสร้างมันจะเริ่มเดิน การปรับโครงสร้างมันจะเริ่มเกิด แต่ต้องให้เวลากับคณะกรรมการ ต้องให้ความเชื่อมั่นแก่เขา ไม่ใช่ให้แต่ภาระแล้วเราก็ไปโจมตีเขาอย่างเดียว แล้วใครจะมีกำลังใจในการทำงาน ค่าตอบแทนกรรมการมีไม่ถึง 20,000 บาท แต่ภาระมหาศาลทีเดียว
สังคมไทยต้องการกำลังใจ ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการการตำหนิเท่านั้น ในฐานะของคนทำงานเราเริ่มเห็นกลไกของการเดินเครื่อง แรงขับเคลื่อนที่เริ่มเกิดขึ้นมา เรารู้ว่านี่เราไปถูกทางแล้ว แต่ในฐานะของคนที่อยู่ภายนอกวงการ ได้รับฟังข่าว เห็นตัวเลขเศรษฐกิจโลก ก็แน่นอนที่สุดเขาก็ต้องเป็นห่วง อย่างที่ผมกราบเรียนว่า เขาเป็นห่วง ผมก็เป็นห่วง แต่เรามีฐานะที่ต้องทำงาน มีหลายท่านเป็นห่วง ต้องการให้มีการอัดฉีดเงินเข้าไปสู่ระบบ เพิ่มงบประมาณขาดดุลให้มากๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ผมกราบเรียนว่า แนวความคิดของการเน้น Quantity growth ที่เน้นเชิงปริมาณ ผมไม่ต้องการ ผมต้องการการเติบโตที่เน้นเชิงคุณภาพ World Bank เพิ่งออก Report มาบอกว่าคนจนเพิ่มสูงขึ้นในเมืองไทย แต่คนจนที่เพิ่มสูงขึ้นในเมืองไทยมิใช่ผลบวกของรัฐบาลนี้ มิใช่ผลบวกของรัฐบาลที่แล้ว แต่เป็นผลพวงของการสั่งสมกันมาโดยตลอดเป็นสิบๆ ปีว่า นโยบายการเติบโตที่เน้นเชิงปริมาณอย่างเดียวนั้น มันผิดพลาด มันผิดทาง คนจนถึงจนมากขึ้น ถ้ามันมาถูกทางป่านนี้เศรษฐกิจไทยไม่ล้มระเนระนาดอย่างนี้ จะมาชี้บอกว่ารัฐบาลทักษิณทำให้คนจนเพิ่มขึ้น ผมรู้สึกว่าจะไม่ค่อยยุติธรรมนัก เพราะทุกคนมีส่วนร่วมทั้งสิ้น
ผมเรียนในที่ประชุมที่ผมไปพูดมาเมื่อเช้านี้ว่า ผมเดินทางไปกับท่านนายกฯ ไปที่โออิตะที่ญี่ปุ่น ผู้ว่าฯ โออิตะคนนี้เป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของ MITI เป็นคนวางนโยบาย IT Policy ของญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจญี่ปุ่น Emerge ขึ้นมาในฐานะของผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ของโลก และทุกธุรกิจ IT และเป็นคนที่พัฒนานโยบาย SMEs ขึ้นมาเป็นคนแรกของญี่ปุ่น เมื่อเขารีไทร์แล้วมาเป็นผู้ว่าฯ โออิตะ แต่ด้วยบุคลิกที่มีความเป็นผู้นำสูง เขาสามารถทำให้โออิตะจากเมืองเล็ก ๆ ที่ยากจน วันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปที่นั้น ปีละกว่า 1 ล้านคน ไปถึงที่นั่น สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือว่า เมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ชุมชนเขาเข้มแข็งมาก ทุกคนมีสินค้ามีบริการ เขาเลือกสโลแกนมาว่า "One Village, One Product" 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์ แต่ความหมายของเขานั้น สื่อชัดเจนก็คือว่า เป็นการคัดเลือกสินค้าที่ดีที่สุด ที่เป็น Champion ของหมู่บ้าน แน่นอนอาจจะมีการล้มเหลวบ้าง บางครั้งบางคราว แต่เขาต้องการคัดเลือกที่ดีที่สุด และเอาตัวนั้นมาพัฒนาเป็นสินค้าที่หลากหลายเป็นร้อยเป็นพันชนิด ยกตัวอย่างถ้าเขาผลิตเหล้าสาเก เขาจะพัฒนาสินค้าเหล้าสาเกตัวนี้ เป็นร้อยเป็นพันประเภท ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ธรรมดา ๆ เขาสามารถ Develop ขึ้นมาเป็นสิบๆ ประเภทของไม้ไผ่ในเชิงของสินค้าหัตถกรรม และที่สำคัญกว่านั้น เกษตรกรเขาไม่จน ไม่จนเพราะอะไร? เพราะเขามีสินค้าหลากหลาย เกษตรกรทำมาหากิน หลังจากที่มีการปลูกข้าวเสร็จแล้วเขามีการเจรจากับบรรดาร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั้งหลาย มีมุมพิเศษเป็นตลาดขายสินค้าให้กับเกษตรกรเหล่านี้ เกษตรกรแต่ละคนไม่ได้ต่างคนต่างอยู่ แต่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกัน ทุกคนใส่เสื้อคลุม เขียนชื่อสหกรณ์ของเขา มายืนอยู่ที่ร้านขายสินค้า นี่คือวิถีทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่เกษตรกรทั้งประเทศ หรือส่วนใหญ่ประเทศ ผลิตข้าวอย่างเดียว พอหมดหน้าข้าว ไม่มีอาชีพอื่นให้ทำ ไม่มีสินค้าอื่นให้ขาย ทุกคนนั่งว่างงานอยู่กับบ้าน แล้วรอเพียงแต่ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นหรือเปล่า โดยที่ไม่อำนาจต่อรอง โดยที่กระทรวงเกษตรฯ ในฐานะผู้ผลิต กระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้ขาย ในอดีตไม่เคยมีการ Share ข้อมูลกัน ทำให้ผลผลิตนั้น Over supply ตลอดเวลา แสดงว่าสิ่งที่ผ่านมา ที่เราบอกว่าจนมากขึ้น จนมากขึ้นนั้น แปลว่าการปฏิบัติมีปัญหา ประเทศไทยเราคิดเป็นอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้ทำไมจะคิดอย่างโออิตะไม่เป็น แต่การนำไปสู่การปฏิบัติมีปัญหา
ในสิ่งเหล่านี้เมื่อเราหันกลับมามองดูสิ่งที่รัฐบาลทำ ผมถึงกราบเรียนว่า เราต้องการเน้น Quality-oriented growth การเติบโตอย่างมีคุณภาพ การแก้ไขปัญหาการยากจน เราถึงได้สื่อความบอกว่า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์คัดเลือกขึ้นมา สินค้าตัวแรกไม่ได้ผล ไม่เป็นไร เริ่มที่ตัวใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ากระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ต้องเข้าไปพัฒนาเขา หาตลาดให้เขา กองทุนหมู่บ้านต้องเข้าไป ธ.ก.ส. ต้องเข้าไป ออมสินในอนาคตก็ต้องเข้าไป เพื่ออะไร? เพื่อให้การช่วยเหลือทั้ง Package เกิดขึ้นมา ให้มีการรวมตัวระดับชุมชน และเมื่อชุมชนเข้มแข็ง เกษตรกรแต่ละคนก็มีความเข้มแข็ง ถ้าเขาเข้มแข็ง อำนาจซื้อในประเทศก็มั่นคงมากขึ้น ตัว C Consumption มันถึงจะเกิด มันไม่ใช่ Consumption เฉพาะแต่คนในเมือง กระจุกตัวอยู่แค่นี้นิดเดียว ในขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นคือเกษตรกร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะนำเสนอ แต่เนื่องมาจากว่า มันเพิ่งจะเริ่มต้น ความขลุกขลักบ้าง ผิดพลาดบ้างย่อมมีธรรมดา ในฐานะที่เรารับเลือกตั้งเข้ามา หน้าที่เราทำให้มันบังเกิดผล ให้เวลาสักนิด การ Tuning การปฏิบัติน่าจะดีกว่านี้ และมันเป็นจุดเริ่มต้น อย่างน้อยมันเป็นจุดเริ่มต้นของความตั้งใจจริงของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างชุมชนให้ยืนอยู่ได้ด้วยตัวของเขาเอง อินเตอร์เน็ตตำบลมีหน้าที่เชื่อมระหว่างตำบลต่อตำบล จังหวัดต่อจังหวัดและจังหวัดต่อโลก โดยที่ไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ อีกต่อไปในอนาคตข้างหน้า นี่คือ Quality-oriented growth ที่เราต้องการ
การผลิตเราไม่ต้องการให้เมืองไทยมีเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่เราต้องให้มีความสมดุลระหว่างรายใหญ่ รายกลาง รายย่อย จะปลูกป่านั้นมันต้องมีต้นไม้หลาย ๆ ประเภท มีต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ต้น เจอพายุทีเดียวเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาต้นไม้หัก ต้นไม้ล้ม ที่ยืนอยู่ได้ก็เพราะมีเสาค้ำอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ในเชิง SMEs รัฐบาลนี้ก็เริ่มทำอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากมันเป็นจุดเริ่มต้นก็ต้องใช้เวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดา เวลาที่เราต้องการโปรโมทการลงทุนจากต่างประเทศ เราต้องการการลงทุนที่มีคุณภาพ เราก็สื่อว่าเรามีอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมที่มันไม่อยู่ในเป้าหมาย เราเฉย ๆ เรา Serious กับการปรับปรุงสร้างกิจการของ NPL เพราะเรารู้ว่าในอนาคตข้างหน้า Good governance หรือธรรมาอภิบาล คือหัวใจสำคัญที่สุด เราจะใช้ในการปรับโครงสร้าง NPL ของ บสท. ครั้งนี้นี่แหละเป็นจุดเริ่มต้น ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ต้องถือสิ่งเหล่านี้ เป็นหน้าที่หลักของเขาเลย
การแปรรูปวิสาหกิจ ตั้งแต่เริ่มต้นทุกคนบอกว่า ทำไม่ได้ กี่รัฐบาลต่อกี่รัฐบาลแล้ว แต่เราจะทำให้ได้ และจะทำให้ดู เพราะเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับคนทั้งประเทศ พนักงานก็ได้ประโยชน์ ประชาชนก็ได้ประโยชน์ บริษัทก็ได้ประโยชน์ และถ้าทำให้เขามี Efficiency ขึ้นมา รายได้ก็เกิดขึ้นมา เงินคงคลังก็มีเพิ่มมากขึ้น ต่างประเทศก็รู้ว่าเมืองไทยมีสินทรัพย์ที่มีรายได้ สามารถสร้างรายได้ เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่ล้มละลาย ไม่ต้องไปนั่งคิดคำนวณว่าปีหน้า จะมีรายได้ที่จะมาจ่ายหนี้เพียงพอไหม ก็ลองดูสิว่าปีหน้าองค์การโทรศัพท์ฯ กสท. และแบงก์ใหญ่ ๆ แปรรูปได้ จะมีคำถามเหล่านี้อีกหรือไม่? ตอนที่เราอยู่ในภาคธุรกิจเวลาหมุนเช็คไม่ทัน Banker จะตามจี้ทันที ถ้าเราบอกว่าหมุนเช็คไม่ทัน แต่ที่บ้านมีเครื่องสร้างเงิน ผันเงินได้ ธนาคารปล่อยกู้ต่อทันที ทุกสิ่งอยู่ที่ความเชื่อมั่นเท่านั้นเอง
อย่างที่ผมกราบเรียนเมื่อสักครู่นี้ ในเมื่อรัฐบาลชุดนี้เน้นที่ Quality-oriented growth ฉะนั้นการใช้งบประมาณแผ่นดิน ตัว G ก็ต้องพยายาม Design เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ปีหน้าผมรับประกันว่าการจัดงบประมาณต้องดีกว่าปีที่แล้ว เพราะจะไม่ให้ข้าราชการประจำเป็นคน Set ทิศทาง เรามีหน้าที่ Set ทิศทาง ข้าราชการประจำจะช่วยตีกรอบ ไม่ให้มีการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่าย เราจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไป การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรระบบราชการ ท่านผู้ว่าฯ แบงก์ชาติได้ช่วยงานนี้ค่อนข้างมาก มีครั้งไหนบ้างไหมที่กล้าทำอย่างนี้? นี่เป็นครั้งแรกและตุลาคม 2545 จะเริ่มต้น หลายคนบอกว่า เริ่มต้นเร็ว ผิดพลาดเร็ว แต่ในหลายสิ่งหลายอย่างมันต้องมีจุดเริ่มต้น เมื่อเริ่มแล้วถ้าผิดค่อยมาแก้กัน อย่างน้อยมันต้องมีการปรับเปลี่ยน ผมไม่เคยเชื่อว่าโลกนี้จะเป็น Linear solution หมายความว่า อดีตจะมาทำนายอนาคตได้ เป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตข้างหน้า หลายสิ่งหลายอย่าง แม้แต่ตัวเราเองยังไม่เข้าใจเลย จะเอาสิ่งที่เป็นอดีตในการสร้างนโยบายสู่อนาคตได้อย่างไร?
รัฐบาลชุดหน้า หรือชุดใด ๆ ก็แล้วแต่ ต้องเข้าใจและทันเกม ดีไม่ดีถ้าหากว่าองค์กร กลไกต่างๆ เริ่มขับเคลื่อน การเกื้อกูลกัน Synergy ที่เกิดขึ้น มันอาจมีผลทำให้เกิดการก้าวกระโดดก็ได้ ไม่จำต้อง 1+1 = 2 แต่มันมีความเกื้อกูลกันขึ้นมา เราอยู่ในธุรกิจเรารู้ดี หลายท่านในห้องนี้มาจากภาคธุรกิจ ท่านจำได้ไหม? เมื่อใน 2 ปีที่แล้ว จากบริษัทเล็ก ๆ มีเงินไม่เท่าไร ท่านสามารถมีสินค้า ที่ดี 1 ตัว ทำให้บริษัทดีมีกำไร เอาเข้าตลาดหุ้น สามปีให้หลัง Wealth หรือว่าความมั่งคั่งของบริษัท ต่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ ถ้าไม่ถูกทำลายด้วยความโลภเสียก่อน Wealth อันนี้ที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่ Linear เส้นตรงเลย แต่มันเป็น Reaction ต่อกัน Synergy มันเกิด Growth มันเกิด ฉะนั้นควรเน้น Quality growth เน้นการขับเคลื่อนที่มีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่า เมื่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้นเมืองไทยจะ Take off แต่ถ้าเรามัวแต่คิดว่าต้องเน้นเชิงปริมาณทั้งวันคิดแต่คำว่า GDP โดยไม่รู้ข้างในเนื้อหา GDP นั้นคืออะไร แล้วไม่คิดเปลี่ยนแปลงสิ่งใดเลย ผมเชื่อว่าโลกดีขึ้น เมืองไทยจะถดถอยและถอยหลังเข้าคลอง ถ้าเราไม่เร่งปฏิรูปวันนี้ นายกญี่ปุ่น โคอิซูมิ กล่าวมาชัดเจน ที่ญี่ปุ่นไม่สามารถก้าวกระโดดได้ใน 10 ปีที่ผ่านมา เพราะขาดความกล้าในการปฏิรูปที่แท้จริง วันนี้ เราจะต้องไม่เลียนแบบญี่ปุ่น ต้องกล้าปฏิรูป แต่การปฏิรูปนั้น ธรรมชาติคนเราไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง มันต้องมีพลัง ยิ่งต้องการมีพลังมากในช่วงที่ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์ เวลาที่เรืออยู่ในทะเลยามมีพายุ สิ่งแรกคนที่อยู่ในเรือจะต้องตั้งสติได้ ต้องมี Positive attitude คิดเชิงบวก หาคำตอบในภาวะวิกฤตการณ์ว่าจะเดินเรือเส้นทางไหน ไม่ใช่ตื่นตระหนก มองแต่เชิงที่ไม่ดีตลอดเวลา แน่นอนตัวเลขไม่ดี มันมีแน่นอน เพราะว่าสภาวะอย่างนี้จะหาตัวเลขที่ดีมาจากไหน แต่อย่างน้อยเราต้องมั่นใจว่าข้างหน้ามีแสงสว่างหรือไม่ แล้วเดินตามเส้นทางนั้น
ข้อที่ 2 ในภาวะวิกฤตการณ์ ความเป็นผู้นำสำคัญมากที่สุด แต่ความเป็นผู้นำนั้นจะเกิดผลได้ ต้องมีผู้ตาม ต้องมีผู้เข้าใจ ให้กำลังใจ อันนี้สำคัญมาก เมื่อมีผู้ตาม ผู้ให้กำลังใจ และทำสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง พลังมันถึงจะเกิดขึ้น ในภาวะวิกฤตการณ์จะมานั่งอภิปรายทุกคนเป็นไปไม่ได้ เรือเจอพายุ จะมาบอกว่าคนที่ 1 คิดว่าอย่างไร คนที่ 2 คิดว่าอย่างไร เรือล่มพอดี กัปตันต้องชี้ทิศทาง คนที่เหลือถ้าเชื่อมั่นทำตาม และมันจะนำไปสู่อะไร การสนับสนุนนั้นไม่ใช่แค่จิตใจ ไม่ใช่แค่คำพูด แต่ต้องการ Action วันนี้สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอฯ เข้ามาช่วยแล้ว เราต้องการความช่วยเหลือ ความคิดอ่าน แล้วเขาจะ Take action อันนี้สิสำคัญ ในภาวะเช่นนี้ ผมอยากจะกราบเรียนว่า ไม่มีสิ่งใดที่ต้องหวั่นไหว ผมเชื่อว่าเมืองไทยมีคนที่มีความสามารถสูงมาก ไม่ต้องกลัวอะไรจนเกินเหตุ
สิ่งที่น่ากลัวก็คือความกลัวนั้นแหละ กลัวจนไม่คิดอะไร แล้วคิดแต่เชิงร้าย สิ่งสำคัญคือว่า หันหน้าเข้าหากัน มีอะไรเกื้อกูลกันได้เกื้อกูลกัน ชี้แนะกัน รัฐบาลพร้อมยินดีที่จะรับฟัง และผมเชื่อว่าเมืองไทยเรา ฐานะประเทศเราแข็งแกร่ง อนาคตข้างหน้าเราจะไปได้ สิ่งที่ผ่านมานั้น เป็นเพียงแต่การสะดุดถอยเท่านั้นเอง ตัวเลขในอนาคตข้างหน้า ท่านผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ที่ปรึกษาผมหลายท่าน ๆ ได้เตรียมตัวเลขเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่พูดออกมา เราดูว่าแต่ละปีจะเป็นอย่างไร และคอยติดตามอยู่อย่างสม่ำเสมอ เราเป็นทีมที่ดี มีความเข้าใจกัน มีการสื่อความกัน ฉะนั้นผมอยากใช้โอกาสนี้ใช้วิธีนี้ กราบเรียนท่าน ทุกท่านที่อยู่ในห้องนี้ว่า รัฐบาลดูแลเอาใจใส่ เราไม่ได้มีความมั่นใจเกินขอบเขต แต่เราติดตาม และเราเชื่อว่าเรามาถูกต้อง ขออย่างเดียวคือว่าต้องมีความอดทน อุตสาหะ และโปร่งใส มีความซื่อสัตย์สุจริต ผมเชื่อว่า เราจะเดินไปข้างหน้าได้ผมต้องกราบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ที่เชิญผมมากล่าวในวันนี้ ถือเป็นเกียรติอย่างสูงในฐานะของศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์ คนหนึ่ง ขอบคุณครับ
____________________
* งานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2545 จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ธีรพล ตอลีบี : ถอดเทป
กรองจิตร สุขเกื้อ : พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-