ปัญหาปี ค.ศ. 2000 หรือปัญหา Y2K เป็นปัญหาที่เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์แบบเก่าเก็บข้อมูลปี ค.ศ. เป็นเลข 2 หลักท้ายแทนตัวเลขเต็ม 4 หลัก เพื่อประหยัดเนื้อที่ หน่วยความจำ ทำให้เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจมีปัญหาในการทำงานเพราะเลขปี ค.ศ. “00” ที่ใช้อาจหมายถึงปี 1900 หรือปี 2000 ก็ได้ ทำให้อาจเกิดการคำนวณผิดพลาดและมีผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงโปรแกรมการทำงานร่วมกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะที่มีหน้าที่กำกับดูแลระบบการเงินของประเทศได้ตระหนักถึงผลเสียหายต่อความเชื่อมั่นที่อาจเกิดขึ้นในระบบการเงินไทย ได้ดำเนินการศึกษา ผลกระทบ และเตรียมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2540 มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุด ทำหน้าที่ควบคุมดูแล การแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้
การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบงานภายในธนาคาร แห่งประเทศไทย 2 ด้าน คือ
ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ประกอบด้วยปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย โปรแกรม ระบบงานและโปรแกรมสำเร็จรูป ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับระบบงานภายในที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือ บุคคลภายนอก ได้แก่ กลุ่มระบบงานด้านการชำระเงิน กลุ่มระบบงานเงินสำรองทางการ และกลุ่มระบบงานเงินฝากและพันธบัตร โดยได้จัดให้มีการทดสอบ ระบบงานเหล่านี้ ร่วมกับสถาบันการเงิน และดำเนินการแก้ไขปัญหา IT เสร็จสมบูรณ์ทุกระบบงานเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ปัญหาด้านอุปกรณ์ที่มีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ฝังภายใน (Embedded System หรือ Non-IT) ไม่มีผลกระทบ ได้แก่ ระบบโทรศัพท์ ระบบควบคุมอาคาร ระบบจัดเก็บธนบัตร ระบบปรับอากาศ และระบบลิฟต์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทย แก้ไขปัญหาด้าน Non-IT เสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2542
การกำกับตรวจสอบการแก้ไขปัญหา Y2K ของ สถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มสำรวจความพร้อมและติดตามความคืบหน้า โดยเฉพาะระบบงานที่จะมีผลกระทบต่อ ลูกค้าได้แก่ ระบบเงินฝาก ระบบสินเชื่อ ระบบ ATM และระบบบัตรเครดิต
การจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อรองรับปัญหา Y2K
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดผล กระทบจาก Y2K เพื่อให้ธุรกรรมต่างๆ สามารถ ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงักและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด แผนสำรองฉุกเฉินถูกจัดทำขึ้นทุกระบบงานโดยกำหนดให้สถาบันการเงินจัดทำแผนฉุกเฉินต่างๆ ให้แล้วเสร็จ และได้มีการทดสอบการใช้แผนฯ ในกลางปี 2542
การจัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหา Y2K ในช่วง วิกฤต (ศบป.)
การจัดตั้ง ศบป. เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการแผน สำรองฉุกเฉินเพื่อติดตามควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ Y2K ในภาพรวมของภาคการเงินธนาคาร อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยมีการปฏิบัติการใน 3 ช่วงวิกฤต ได้แก่ ช่วงแรก ปัญหาวันที่ 9/9/1999 (Magic Number) ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2542 ช่วงที่ 2 ปัญหาการเปลี่ยนปี ค.ศ. (Century Rollover) ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2542-7 มกราคม 2543 และช่วงที่ 3 ปัญหาปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2543
ศบป. ได้มีการเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ในด้านสภาพคล่อง ด้านระบบการชำระเงิน ด้านสถาบันการเงิน ด้าน IT และ Non-IT ของธนาคารแห่งประเทศไทย และด้านการประชาสัมพันธ์
ผลการดำเนินงานของ ศบป. ปรากฏว่าไม่พบปัญหาใดๆ โดยระบบงานด้าน IT และ Non-IT ของธนาคารแห่งประเทศไทยและระบบงานของสถาบันการเงิน ทั้งหมดสามารถดำเนินการได้ตามปกติ สถานการณ์ทั่วไปของสถาบันการเงินไม่มีความผิดปกติ ประชาชนมีการถอนเงินสดตามปกติ
การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา Y2K ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและนักธุรกิจจำนวน 2,126 ราย ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น และหาดใหญ่ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542 ผลการสำรวจสรุปได้ว่าประชาชนและนักธุรกิจค่อนข้างเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหา Y2K ของสถาบันการเงิน โดยกว่าร้อยละ 70 ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินในระดับปานกลางถึงมาก และส่วนใหญ่ (ราวร้อยละ 75) จะถอนเงินสดในช่วงเดือนธันวาคมเป็นปกติ ส่วนผู้ที่จะถอนเงินมากกว่าปกติ ร้อยละ 70-75 จะถอนเงินเพิ่มไม่เกินกึ่งหนึ่งของปกติ ซึ่งทำให้จำนวนเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมสำรองไว้ประมาณ 40,000 ล้านบาท เพียงพอกับความต้องการถอนเงินในช่วงสิ้นปี
ในต้นเดือนมกราคม 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สำรวจเพิ่มเติมจากปัญหา Y2K ถึงพฤติกรรมการถอนเงิน และการใช้จ่ายจริงของประชาชนในช่วงสิ้นปี โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 2,045 ราย ทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น และหาดใหญ่ พบว่าร้อยละ 87 ถอนเงินในช่วงสิ้นปีเป็นปกติ ส่วนผู้ถอนเงินมากกว่าปกตินั้นเกือบร้อยละ 50 มีการฝากคืนแต่เป็นการฝากคืนเพียงร้อยละ 33 ของเงินที่เบิกถอนเท่านั้น เงินที่ไม่ได้ฝากคืนส่วนใหญ่ร้อยละ 51 นำไปใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ท่องเที่ยว และบันเทิง ตามลำดับ ร้อยละ 43 นำไปเก็บสำรองไว้ซึ่ง ส่วนใหญ่เพื่อใช้จ่ายในเดือนถัดไป และร้อยละ 6 นำไปลงทุน
ในส่วนของการสำรวจในเขตภาคเหนือทั้งการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา Y2K จำนวน 531 ราย และการสำรวจพฤติกรรมการถอนเงินและใช้จ่ายของ ประชาชนจำนวน 313 ราย พบว่าผลสำรวจไม่แตกต่างจากการสำรวจในภาพรวมของทั้งประเทศมากนัก โดยกว่าร้อยละ 70 ของประชาชนให้ความมั่นใจในความพร้อมของ สถาบันการเงินในระดับกลางถึงมาก และร้อยละ 75 จะถอนเงินในช่วงสิ้นปีเป็นปกติ ส่วนพฤติกรรมการถอนเงินจริงในช่วงสิ้นปีปรากฏว่าร้อยละ 84 ถอนเงินเป็นปกติ ผู้ถอนเงินมากกว่าปกติร้อยละ 52 ฝากเงินคืนสถาบันการเงินโดยฝากคืนสูงถึงร้อยละ 85 ของยอดเงินที่ถอนมา เงินที่ไม่ได้ฝากคืนร้อยละ 67 นำไปใช้จ่าย โดยมีลำดับวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเช่นเดียวกับภาพรวมประเทศ และที่เหลือร้อยละ 33 นำไปเก็บไว้เพื่อสำรองใช้จ่ายในเดือนถัดไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะที่มีหน้าที่กำกับดูแลระบบการเงินของประเทศได้ตระหนักถึงผลเสียหายต่อความเชื่อมั่นที่อาจเกิดขึ้นในระบบการเงินไทย ได้ดำเนินการศึกษา ผลกระทบ และเตรียมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2540 มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุด ทำหน้าที่ควบคุมดูแล การแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้
การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบงานภายในธนาคาร แห่งประเทศไทย 2 ด้าน คือ
ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ประกอบด้วยปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย โปรแกรม ระบบงานและโปรแกรมสำเร็จรูป ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับระบบงานภายในที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือ บุคคลภายนอก ได้แก่ กลุ่มระบบงานด้านการชำระเงิน กลุ่มระบบงานเงินสำรองทางการ และกลุ่มระบบงานเงินฝากและพันธบัตร โดยได้จัดให้มีการทดสอบ ระบบงานเหล่านี้ ร่วมกับสถาบันการเงิน และดำเนินการแก้ไขปัญหา IT เสร็จสมบูรณ์ทุกระบบงานเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ปัญหาด้านอุปกรณ์ที่มีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ฝังภายใน (Embedded System หรือ Non-IT) ไม่มีผลกระทบ ได้แก่ ระบบโทรศัพท์ ระบบควบคุมอาคาร ระบบจัดเก็บธนบัตร ระบบปรับอากาศ และระบบลิฟต์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทย แก้ไขปัญหาด้าน Non-IT เสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2542
การกำกับตรวจสอบการแก้ไขปัญหา Y2K ของ สถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มสำรวจความพร้อมและติดตามความคืบหน้า โดยเฉพาะระบบงานที่จะมีผลกระทบต่อ ลูกค้าได้แก่ ระบบเงินฝาก ระบบสินเชื่อ ระบบ ATM และระบบบัตรเครดิต
การจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อรองรับปัญหา Y2K
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดผล กระทบจาก Y2K เพื่อให้ธุรกรรมต่างๆ สามารถ ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงักและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด แผนสำรองฉุกเฉินถูกจัดทำขึ้นทุกระบบงานโดยกำหนดให้สถาบันการเงินจัดทำแผนฉุกเฉินต่างๆ ให้แล้วเสร็จ และได้มีการทดสอบการใช้แผนฯ ในกลางปี 2542
การจัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหา Y2K ในช่วง วิกฤต (ศบป.)
การจัดตั้ง ศบป. เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการแผน สำรองฉุกเฉินเพื่อติดตามควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ Y2K ในภาพรวมของภาคการเงินธนาคาร อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยมีการปฏิบัติการใน 3 ช่วงวิกฤต ได้แก่ ช่วงแรก ปัญหาวันที่ 9/9/1999 (Magic Number) ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2542 ช่วงที่ 2 ปัญหาการเปลี่ยนปี ค.ศ. (Century Rollover) ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2542-7 มกราคม 2543 และช่วงที่ 3 ปัญหาปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2543
ศบป. ได้มีการเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ในด้านสภาพคล่อง ด้านระบบการชำระเงิน ด้านสถาบันการเงิน ด้าน IT และ Non-IT ของธนาคารแห่งประเทศไทย และด้านการประชาสัมพันธ์
ผลการดำเนินงานของ ศบป. ปรากฏว่าไม่พบปัญหาใดๆ โดยระบบงานด้าน IT และ Non-IT ของธนาคารแห่งประเทศไทยและระบบงานของสถาบันการเงิน ทั้งหมดสามารถดำเนินการได้ตามปกติ สถานการณ์ทั่วไปของสถาบันการเงินไม่มีความผิดปกติ ประชาชนมีการถอนเงินสดตามปกติ
การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา Y2K ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและนักธุรกิจจำนวน 2,126 ราย ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น และหาดใหญ่ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542 ผลการสำรวจสรุปได้ว่าประชาชนและนักธุรกิจค่อนข้างเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหา Y2K ของสถาบันการเงิน โดยกว่าร้อยละ 70 ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินในระดับปานกลางถึงมาก และส่วนใหญ่ (ราวร้อยละ 75) จะถอนเงินสดในช่วงเดือนธันวาคมเป็นปกติ ส่วนผู้ที่จะถอนเงินมากกว่าปกติ ร้อยละ 70-75 จะถอนเงินเพิ่มไม่เกินกึ่งหนึ่งของปกติ ซึ่งทำให้จำนวนเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมสำรองไว้ประมาณ 40,000 ล้านบาท เพียงพอกับความต้องการถอนเงินในช่วงสิ้นปี
ในต้นเดือนมกราคม 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สำรวจเพิ่มเติมจากปัญหา Y2K ถึงพฤติกรรมการถอนเงิน และการใช้จ่ายจริงของประชาชนในช่วงสิ้นปี โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 2,045 ราย ทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น และหาดใหญ่ พบว่าร้อยละ 87 ถอนเงินในช่วงสิ้นปีเป็นปกติ ส่วนผู้ถอนเงินมากกว่าปกตินั้นเกือบร้อยละ 50 มีการฝากคืนแต่เป็นการฝากคืนเพียงร้อยละ 33 ของเงินที่เบิกถอนเท่านั้น เงินที่ไม่ได้ฝากคืนส่วนใหญ่ร้อยละ 51 นำไปใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ท่องเที่ยว และบันเทิง ตามลำดับ ร้อยละ 43 นำไปเก็บสำรองไว้ซึ่ง ส่วนใหญ่เพื่อใช้จ่ายในเดือนถัดไป และร้อยละ 6 นำไปลงทุน
ในส่วนของการสำรวจในเขตภาคเหนือทั้งการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา Y2K จำนวน 531 ราย และการสำรวจพฤติกรรมการถอนเงินและใช้จ่ายของ ประชาชนจำนวน 313 ราย พบว่าผลสำรวจไม่แตกต่างจากการสำรวจในภาพรวมของทั้งประเทศมากนัก โดยกว่าร้อยละ 70 ของประชาชนให้ความมั่นใจในความพร้อมของ สถาบันการเงินในระดับกลางถึงมาก และร้อยละ 75 จะถอนเงินในช่วงสิ้นปีเป็นปกติ ส่วนพฤติกรรมการถอนเงินจริงในช่วงสิ้นปีปรากฏว่าร้อยละ 84 ถอนเงินเป็นปกติ ผู้ถอนเงินมากกว่าปกติร้อยละ 52 ฝากเงินคืนสถาบันการเงินโดยฝากคืนสูงถึงร้อยละ 85 ของยอดเงินที่ถอนมา เงินที่ไม่ได้ฝากคืนร้อยละ 67 นำไปใช้จ่าย โดยมีลำดับวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเช่นเดียวกับภาพรวมประเทศ และที่เหลือร้อยละ 33 นำไปเก็บไว้เพื่อสำรองใช้จ่ายในเดือนถัดไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-