1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ได้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 281,225 ราย มูลหนี้รวม 1,656,768 ล้านบาท โดยในเดือนกรกฎาคมสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้สำเร็จ จำนวน 12,355 ราย เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 67,399 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้อีก 71,477 รายมูลหนี้รวม 772,950 ล้านบาท ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 จำนวน 22,906 ราย หรือเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 47.16 สำหรับลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกรกฎาคมส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ คือ อุตสาหกรรม รองลงมาคือการสาธารณูปโภค และการค้าส่งค้าปลีก ตามลำดับ โดยเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคกลางเป็นสำคัญ (ตารางแนบ 1-4)
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 9,593 ราย มูลหนี้ 2,589,287 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 2,760 ราย มูลหนี้ 2,296,575 ล้านบาท ที่เหลือเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 6,833 ราย มูลหนี้ 292,712 ล้านบาท โดยสรุปความคืบหน้าได้ดังนี้
1) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 8,778 ราย มูลหนี้ 2,441,029 ล้านบาท หรือร้อยละ 92 ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,147 ราย มูลหนี้รวม 1,070,970 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76 ของลูกหนี้ที่ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในขบวนการทั้งสิ้น ที่เหลือ 3,571 ราย หรือประมาณร้อยละ 37 ของลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น เป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการหรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ ซึ่งสถาบันการเงินนำเข้าสู่กระบวนการทางศาล ในจำนวนนี้ แนวโน้มส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลแพ่ง ทั้งนี้ คาดว่าการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลแพ่งจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ได้ข้อยุติระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้อีกทางหนึ่งด้วย (ตาราง 5)
2) สำหรับลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคปน. ซึ่งต้องเร่งรัดการดำเนินการต่อไปนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 788 ราย มูลหนี้ 142,177 ล้านบาท (เป็นลูกหนี้รายใหญ่ 370 ราย มูลหนี้ 108,641 ล้านบาท และลูกหนี้รายย่อย 418 ราย มูลหนี้ 33,536 ล้านบาท) โดยลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามกรอบระยะเวลาของกระบวนการโดยต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2544 โดยส่วนใหญ่จะมีข้อสรุปภายในปี 2543
อนึ่ง ยังมีลูกหนี้รายย่อยกลุ่มสุดท้ายอีกจำนวน 27 ราย มูลหนี้ 6,081 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างพิจารณาลงนามเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) จำนวนลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่อยู่ในภาคการพาณิชย์คิดเป็นร้อยละ 25.30 ของจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และการอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จร้อยละ 24.11 และ 17.00 ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงมูลหนี้รวมของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ปรากฏว่าภาคธุรกิจที่มีผลสำเร็จสูงสุด จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.97 ของมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ การสาธารณูปโภค มีสัดส่วนร้อยละ 16.81 และ 9.84 ตามลำดับ โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งทอ เคมีภัณฑ์เวชภัณฑ์ พลาสติก อาหาร น้ำตาล ฯลฯ ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้เป็นธุรกิจที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงานธุรกิจ และเป็นลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยดี (ตาราง 6)
4) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ประสานงานกับสถาบันการเงิน เพื่อเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมทั้งจะได้ส่งเสริมให้สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีความพร้อมที่จะดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มากขึ้น โดยจัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ในรูปแบบต่างๆตามความเหมาะสมด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย4 กันยายน 2543--
-ยก-
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ได้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 281,225 ราย มูลหนี้รวม 1,656,768 ล้านบาท โดยในเดือนกรกฎาคมสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้สำเร็จ จำนวน 12,355 ราย เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 67,399 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้อีก 71,477 รายมูลหนี้รวม 772,950 ล้านบาท ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 จำนวน 22,906 ราย หรือเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 47.16 สำหรับลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกรกฎาคมส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ คือ อุตสาหกรรม รองลงมาคือการสาธารณูปโภค และการค้าส่งค้าปลีก ตามลำดับ โดยเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคกลางเป็นสำคัญ (ตารางแนบ 1-4)
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 9,593 ราย มูลหนี้ 2,589,287 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 2,760 ราย มูลหนี้ 2,296,575 ล้านบาท ที่เหลือเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 6,833 ราย มูลหนี้ 292,712 ล้านบาท โดยสรุปความคืบหน้าได้ดังนี้
1) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 8,778 ราย มูลหนี้ 2,441,029 ล้านบาท หรือร้อยละ 92 ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,147 ราย มูลหนี้รวม 1,070,970 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76 ของลูกหนี้ที่ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในขบวนการทั้งสิ้น ที่เหลือ 3,571 ราย หรือประมาณร้อยละ 37 ของลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น เป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการหรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ ซึ่งสถาบันการเงินนำเข้าสู่กระบวนการทางศาล ในจำนวนนี้ แนวโน้มส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลแพ่ง ทั้งนี้ คาดว่าการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลแพ่งจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ได้ข้อยุติระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้อีกทางหนึ่งด้วย (ตาราง 5)
2) สำหรับลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคปน. ซึ่งต้องเร่งรัดการดำเนินการต่อไปนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 788 ราย มูลหนี้ 142,177 ล้านบาท (เป็นลูกหนี้รายใหญ่ 370 ราย มูลหนี้ 108,641 ล้านบาท และลูกหนี้รายย่อย 418 ราย มูลหนี้ 33,536 ล้านบาท) โดยลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามกรอบระยะเวลาของกระบวนการโดยต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2544 โดยส่วนใหญ่จะมีข้อสรุปภายในปี 2543
อนึ่ง ยังมีลูกหนี้รายย่อยกลุ่มสุดท้ายอีกจำนวน 27 ราย มูลหนี้ 6,081 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างพิจารณาลงนามเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) จำนวนลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่อยู่ในภาคการพาณิชย์คิดเป็นร้อยละ 25.30 ของจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และการอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จร้อยละ 24.11 และ 17.00 ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงมูลหนี้รวมของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ปรากฏว่าภาคธุรกิจที่มีผลสำเร็จสูงสุด จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.97 ของมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ การสาธารณูปโภค มีสัดส่วนร้อยละ 16.81 และ 9.84 ตามลำดับ โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งทอ เคมีภัณฑ์เวชภัณฑ์ พลาสติก อาหาร น้ำตาล ฯลฯ ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้เป็นธุรกิจที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงานธุรกิจ และเป็นลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยดี (ตาราง 6)
4) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ประสานงานกับสถาบันการเงิน เพื่อเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมทั้งจะได้ส่งเสริมให้สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีความพร้อมที่จะดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มากขึ้น โดยจัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ในรูปแบบต่างๆตามความเหมาะสมด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย4 กันยายน 2543--
-ยก-