แท็ก
รัฐวิสาหกิจ
การดำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2543 มุ่งกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้ ข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายการเงิน
โดย การจัดทำงบประมาณขาดดุล 110 พันล้านบาท ผลการดำเนินงานตลอดปีงบประมาณปรากฏว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสด 115.9 พันล้านบาท ลดลง
จากปีก่อน 18.5 พันล้านบาท ประกอบกับงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายได้ลดลง ส่งผลให้แรงกระตุ้น จากภาครัฐ (Public Sector) ซึ่งสะท้อน
จาก การขาดดุลน้อยลงจากปีงบประมาณก่อน โดยทั้งปี งบประมาณ 2543 ภาครัฐขาดดุล 197.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.1 ของ GDP ลดลง
จาก ปีงบประมาณก่อนที่ขาดดุล 258.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ของ GDP
ฐานะการคลัง
รัฐบาล
ด้านรายได้ รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 748.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากปี งบประมาณก่อน เนื่องจากมีการขยายตัวของ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลถึงร้อยละ 35.6 ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นในปี 2542 เปรียบเทียบกับที่หดตัวมากในปี 2541 และธุรกิจบางภาค
อาทิ การส่งออกและพาณิชย์กรรม มีความสามารถ ในการทำกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มีการจัดเก็บได้สูงขึ้นทั้งภาษีจากการนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
(แม้จะมีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542) อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายัง
คงหดตัว เนื่องจาก ดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงต่ำมาก และ รายได้ภาษีธุรกิจเฉพาะลดลงมาก เนื่องจากผลของมาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาค
อสังหาริมทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดต่ำลง
ด้านรายจ่าย รายจ่ายจากงบประมาณ เบิกจ่ายได้ 850.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนร้อยละ 3.5 เป็นผลจากการเร่งตัว
ของการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.4 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 88.0 ขณะที่รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนลดลงร้อยละ 22.2 จากวงเงินงบประมาณปีก่อนๆ
เหลือจ่ายน้อยลง รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นรายจ่ายประจำที่มิใช่เงินเดือนและค่าจ้าง ได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ยและรายจ่าย ซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 30.4 และ 5.7 ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายลงทุนได้ปรับลดจาก ปีงบประมาณก่อนมาก คิดเป็นร้อยละ 12.5 เนื่องจาก การจำกัดวงเงิน
งบประมาณ และวงเงินงบประมาณ ปีก่อนที่ลดลง สำหรับรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศเบิกจ่ายได้ลดลง โดยเฉพาะรายจ่ายจากมาตรการการ
เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการเงินกู้มิยาซาวา) เนื่องจากเป็นช่วงท้ายของโครงการทำให้ตลอดปีงบประมาณเบิกจ่ายได้
ทั้งสิ้น 16.9 พันล้านบาท เทียบกับที่เบิกจ่ายได้ 33.3 พันล้านบาทในปีงบประมาณก่อน ส่งผลให้การขาดดุลของรัฐบาลลดลงจากปีงบประมาณก่อน
ที่ขาดดุล ร้อยละ 3.6 ของ GDP เหลือร้อยละ 2.9 ของ GDP
การชดเชยการขาดดุล
รัฐบาลชดเชยการขาดดุลเงินสดจำนวน 115.9 พันล้านบาท ด้วยการกู้ยืมในประเทศเป็นส่วนใหญ่จำนวน 107.9 พันล้านบาท จำแนก
เป็นพันธบัตร 40.0 พันล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 20.0 พันล้านบาท และเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้าง 47.9 พันล้านบาท นอกจากนี้ มีการนำ
เงินกู้ต่างประเทศฝากบัญชีเงินคงคลัง 33.1 พันล้านบาท ในด้าน การชำระคืนต้นเงินกู้มีทั้งสิ้น 25.9 พันล้านบาท โดยเป็นพันธบัตร 4.1 พันล้าน
บาท ตั๋วสัญญา ใช้เงิน 15.0 พันล้านบาท (เป็นการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดของรุ่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงคือร้อยละ 12 ต่อปี โดยตั๋วสัญญา
ใช้เงินดังกล่าวเป็นตั๋วฯ ในปีงบประมาณ 2530 และ 2531 ที่ได้ต่ออายุมาแล้วและจะครบกำหนดในปีงบประมาณ 2544 และ 2546) และเงินกู้
ต่างประเทศ 6.8 พันล้านบาท โดยนำเงินคงคลังออกใช้จำนวน 7.6 พันล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
ในปีงบประมาณ 2543 รัฐวิสาหกิจมีรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 177.2 พันล้านบาท ลดลงจาก ปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8.0 เนื่องจากมี
รัฐวิสาหกิจหลายแห่งเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมีความล่าช้าของโครงการร่วมทุน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทยมีความล่าช้าของโครงการระบบขนส่งไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิมีความล่าช้าของ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และรถไฟฟ้า
มหานคร มีความล่าช้าในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ Retained Income ของรัฐวิสาหกิจในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 19.1
พันล้านบาท เป็น 120.2 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจขาดดุลลดลงเหลือร้อยละ 1.2 ของ GDP เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP
หนี้สาธารณะคงค้าง
ณ สิ้นปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลมีหนี้สาธารณะประมาณ 2,804.2 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 55.7 ของ GDP เพิ่มขึ้นสุทธิเล็กน้อย
เทียบกับยอด ณ สิ้นปี 2542 ที่ร้อยละ 54.3 ของ GDP ในจำนวนนี้ เป็นหนี้โดยตรงของรัฐบาล 1,113.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1 ของ GDP
และภาระผูกพัน ได้แก่ หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและ ไม่ค้ำประกัน 908.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.1
ของ GDP และยอดหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 781.4 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 15.5 ของ GDP
แนวนโยบายปี 2544
นโยบายการคลังปีงบประมาณ 2544 ยังคง มีความจำเป็นต้องกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่
นโยบายการเงินยังขาดความคล่องตัว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็น การรักษาวินัยการคลังและเพื่อให้ฐานะการคลัง มีความมั่นคงในระยะยาวและ
เพื่อควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ รัฐบาลควรควบคุมมิให้ขนาดการขาดดุลสูงกว่าปีงบประมาณก่อน นอกจากนี้การสร้างวินัย การคลังโดยการควบคุม
รายจ่ายประจำที่มิใช่ ดอกเบี้ย อาจจะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดทำงบประมาณรายจ่ายที่เน้นรายจ่าย ลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้
เพื่อเอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง
ฐานะการคลัง
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ
2541 2542 2543
รายได้ 727.4 709.9 748.1
(อัตราเพิ่ม) -13.8 -2.4 5.4
รายจ่าย 1/ 835.6 821.6 850.6
(อัตราเพิ่ม) -11.5 -1.7 3.5
ปีงบประมาณปีปัจจุบัน 666.4 690.8 748.8
ปีงบประมาณก่อนๆ 160.1 128.4 100.0
ดุลในงบประมาณ -108.2 -111.6 -102.5
ดุลนอกงบประมาณ -7.1 -22.8 -13.4
รายจ่ายมิยาซาวา 0 33.3 16.9
ดุลเงินสด -115.3 -134.4 -115.9
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 2.5 3 2.4
รายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ 2/ 58.2 21.6 21.1
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 1.2 0.5 0.5
ดุลรัฐวิสาหกิจ 59.8 91.6 57
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 1.3 2 1.2
ดุลภาครัฐ 225.8 258 197.6
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 5 5.5 4.1
1/ ไม่รวมชำระคืนต้นเงินกู้
2/ ไม่รวมเงินกู้มิยาซาวา
ที่มา : สายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายได้รัฐบาล
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ อัตราเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2541 2542 2543 2541 2542 2543
รายได้ทั้งหมด 727.4 709.9 748.1 -13.8 -2.4 5.4
ภาษี 649.4 620.1 661.4 -14.4 -4.5 6.7
- ฐานรายได้ 214.9 213.7 235.4 -22.2 -0.6 10.2
บุคคลธรรมดา 118.9 101.2 87.4 6.6 -14.8 -13.7
นิติบุคคล 90.8 101.3 137.4 -43.1 11.6 35.6
ปิโตรเลียม 5.3 11.1 10.6 -0.1 111.7 -4.6
- ฐานการบริโภค 349.1 316.4 300.9 -0.1 -9.4 0.4
มูลค่าเพิ่มและการค้า 162.7 132.1 137.9 17 -18.8 4.4
ธุรกิจเฉพาะ 34 20.8 16.6 3.1 -39 -20.1
สรรพสามิต 152.4 163.6 163.1 -14.2 7.3 -0.3
- ฐานการค้าระหว่างประเทศ 65.7 66.4 84.4 -36.4 1.0 27.2
- ภาษีอื่น 19.7 23.4 24.1 -33.5 19.9 1.8
รายได้อื่นๆ 77.9 89.8 86.7 -8.8 15.2 -3.5
ที่มา : กรมบัญชีกลาง
รายจ่ายรัฐบาล จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2541 2542 2543
รายจ่ายรวม 835.6 821.6 850.6
รายจ่ายประจำ 534.9 587.4 645.8
( D %) -2.1 -9.8 -9.9
เงินเดือนและค่าจ้าง 280.3 297.4 303.7
ซื้อสินค้าและบริการ 160.4 144.7 153.0
ดอกเบี้ยจ่าย 8.7 44.7 58.3
รายจ่ายลงทุน 300.7 234.2 204.8
( D %) (-28.5) (-22.1) (-12.5)
ที่มา : สายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่ายรัฐบาล จำแนกตามลักษณะงาน
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2541 2542 2543
การบริหารทั่วไป 91.2 90.3 95.4
( D %) (-9.0) (-1.0) -5.6
การป้องกันประเทศ 88.3 76.4 73.6
( D %) (-15.3) (-13.5) (-3.7)
การบริการชุมชนและสังคม 369.4 368.6 378.4
( D %) -1.0 (-0.2) -2.6
การศึกษา 212.2 215.3 218.6
การสาธารณสุข 68.3 64.3 62.9
การสังคมสงเคราะห์ 38.6 38.9 51
การเศรษฐกิจ 226.8 197.2 194.9
( D %) (-28.3) (-13.1) (-1.1)
อื่นๆ 59.9 89.1 108.3
( D %) -3.5 -48.8 -21.6
รวม 835.6 821.6 850.6
( D %) (-11.5) (-1.7) -3.5
ที่มา : สายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดุลรัฐวิสาหกิจ
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2541 2542 2543P
รายจ่ายลงทุน 198.9 192.7 177.2
% D 6.9 -3.1 -8
Retained Income 139.1 101.1 120.2
% D 9.8 -27.3 18.9
ดุลรัฐวิสาหกิจ 59.8 91.6 57
% D 0.7 53.2 -37.8
P/ ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หนี้สาธารณะคงค้าง
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 1/12/83 1/12/84 1/12/85 1/9/86
1. หนี้รัฐบาลกู้โดยตรง 328.13 695.22 988.87 1.113.9
( % ของ GDP) -6.9 -15 -21 -22.14
1.1 หนี้ต่างประเทศ 296.46 268.49 346.59 395.2
1.2 หนี้ในประเทศ 31.67 426.73 642.28 718.7
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 680.11 645.8 787.16 908.9
( % ของ GDP) -14.4 -13.9 -16.7 -18.07
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 575.07 559.12 688.6 775.7
หนี้ต่างประเทศ 370.36 328.53 401.93 422.6
หนี้ในประเทศ 204.71 230.59 286.67 353.1
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 105.04 86.68 98.56 133.2
หนี้ต่างประเทศ 67.32 50.56 49.62 48.5
หนี้ในประเทศ 37.72 36.12 48.94 84.7
3. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 893.11 986.72 777.43 781.4
( % ของ GDP) -18.9 -21.3 -16.5 -15.53
รวม 1,901.35 2,327.74 2,553.46 2,804.20
( % ของ GDP) -40.2 -50.2 -54.3 -55.74
ที่มา : สำนักบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
โดย การจัดทำงบประมาณขาดดุล 110 พันล้านบาท ผลการดำเนินงานตลอดปีงบประมาณปรากฏว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสด 115.9 พันล้านบาท ลดลง
จากปีก่อน 18.5 พันล้านบาท ประกอบกับงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายได้ลดลง ส่งผลให้แรงกระตุ้น จากภาครัฐ (Public Sector) ซึ่งสะท้อน
จาก การขาดดุลน้อยลงจากปีงบประมาณก่อน โดยทั้งปี งบประมาณ 2543 ภาครัฐขาดดุล 197.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.1 ของ GDP ลดลง
จาก ปีงบประมาณก่อนที่ขาดดุล 258.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ของ GDP
ฐานะการคลัง
รัฐบาล
ด้านรายได้ รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 748.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากปี งบประมาณก่อน เนื่องจากมีการขยายตัวของ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลถึงร้อยละ 35.6 ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นในปี 2542 เปรียบเทียบกับที่หดตัวมากในปี 2541 และธุรกิจบางภาค
อาทิ การส่งออกและพาณิชย์กรรม มีความสามารถ ในการทำกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มีการจัดเก็บได้สูงขึ้นทั้งภาษีจากการนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
(แม้จะมีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542) อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายัง
คงหดตัว เนื่องจาก ดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงต่ำมาก และ รายได้ภาษีธุรกิจเฉพาะลดลงมาก เนื่องจากผลของมาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาค
อสังหาริมทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดต่ำลง
ด้านรายจ่าย รายจ่ายจากงบประมาณ เบิกจ่ายได้ 850.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนร้อยละ 3.5 เป็นผลจากการเร่งตัว
ของการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.4 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 88.0 ขณะที่รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนลดลงร้อยละ 22.2 จากวงเงินงบประมาณปีก่อนๆ
เหลือจ่ายน้อยลง รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นรายจ่ายประจำที่มิใช่เงินเดือนและค่าจ้าง ได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ยและรายจ่าย ซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 30.4 และ 5.7 ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายลงทุนได้ปรับลดจาก ปีงบประมาณก่อนมาก คิดเป็นร้อยละ 12.5 เนื่องจาก การจำกัดวงเงิน
งบประมาณ และวงเงินงบประมาณ ปีก่อนที่ลดลง สำหรับรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศเบิกจ่ายได้ลดลง โดยเฉพาะรายจ่ายจากมาตรการการ
เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการเงินกู้มิยาซาวา) เนื่องจากเป็นช่วงท้ายของโครงการทำให้ตลอดปีงบประมาณเบิกจ่ายได้
ทั้งสิ้น 16.9 พันล้านบาท เทียบกับที่เบิกจ่ายได้ 33.3 พันล้านบาทในปีงบประมาณก่อน ส่งผลให้การขาดดุลของรัฐบาลลดลงจากปีงบประมาณก่อน
ที่ขาดดุล ร้อยละ 3.6 ของ GDP เหลือร้อยละ 2.9 ของ GDP
การชดเชยการขาดดุล
รัฐบาลชดเชยการขาดดุลเงินสดจำนวน 115.9 พันล้านบาท ด้วยการกู้ยืมในประเทศเป็นส่วนใหญ่จำนวน 107.9 พันล้านบาท จำแนก
เป็นพันธบัตร 40.0 พันล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 20.0 พันล้านบาท และเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้าง 47.9 พันล้านบาท นอกจากนี้ มีการนำ
เงินกู้ต่างประเทศฝากบัญชีเงินคงคลัง 33.1 พันล้านบาท ในด้าน การชำระคืนต้นเงินกู้มีทั้งสิ้น 25.9 พันล้านบาท โดยเป็นพันธบัตร 4.1 พันล้าน
บาท ตั๋วสัญญา ใช้เงิน 15.0 พันล้านบาท (เป็นการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดของรุ่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงคือร้อยละ 12 ต่อปี โดยตั๋วสัญญา
ใช้เงินดังกล่าวเป็นตั๋วฯ ในปีงบประมาณ 2530 และ 2531 ที่ได้ต่ออายุมาแล้วและจะครบกำหนดในปีงบประมาณ 2544 และ 2546) และเงินกู้
ต่างประเทศ 6.8 พันล้านบาท โดยนำเงินคงคลังออกใช้จำนวน 7.6 พันล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
ในปีงบประมาณ 2543 รัฐวิสาหกิจมีรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 177.2 พันล้านบาท ลดลงจาก ปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8.0 เนื่องจากมี
รัฐวิสาหกิจหลายแห่งเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมีความล่าช้าของโครงการร่วมทุน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทยมีความล่าช้าของโครงการระบบขนส่งไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิมีความล่าช้าของ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และรถไฟฟ้า
มหานคร มีความล่าช้าในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ Retained Income ของรัฐวิสาหกิจในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 19.1
พันล้านบาท เป็น 120.2 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจขาดดุลลดลงเหลือร้อยละ 1.2 ของ GDP เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP
หนี้สาธารณะคงค้าง
ณ สิ้นปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลมีหนี้สาธารณะประมาณ 2,804.2 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 55.7 ของ GDP เพิ่มขึ้นสุทธิเล็กน้อย
เทียบกับยอด ณ สิ้นปี 2542 ที่ร้อยละ 54.3 ของ GDP ในจำนวนนี้ เป็นหนี้โดยตรงของรัฐบาล 1,113.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1 ของ GDP
และภาระผูกพัน ได้แก่ หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและ ไม่ค้ำประกัน 908.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.1
ของ GDP และยอดหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 781.4 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 15.5 ของ GDP
แนวนโยบายปี 2544
นโยบายการคลังปีงบประมาณ 2544 ยังคง มีความจำเป็นต้องกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่
นโยบายการเงินยังขาดความคล่องตัว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็น การรักษาวินัยการคลังและเพื่อให้ฐานะการคลัง มีความมั่นคงในระยะยาวและ
เพื่อควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ รัฐบาลควรควบคุมมิให้ขนาดการขาดดุลสูงกว่าปีงบประมาณก่อน นอกจากนี้การสร้างวินัย การคลังโดยการควบคุม
รายจ่ายประจำที่มิใช่ ดอกเบี้ย อาจจะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดทำงบประมาณรายจ่ายที่เน้นรายจ่าย ลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้
เพื่อเอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง
ฐานะการคลัง
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ
2541 2542 2543
รายได้ 727.4 709.9 748.1
(อัตราเพิ่ม) -13.8 -2.4 5.4
รายจ่าย 1/ 835.6 821.6 850.6
(อัตราเพิ่ม) -11.5 -1.7 3.5
ปีงบประมาณปีปัจจุบัน 666.4 690.8 748.8
ปีงบประมาณก่อนๆ 160.1 128.4 100.0
ดุลในงบประมาณ -108.2 -111.6 -102.5
ดุลนอกงบประมาณ -7.1 -22.8 -13.4
รายจ่ายมิยาซาวา 0 33.3 16.9
ดุลเงินสด -115.3 -134.4 -115.9
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 2.5 3 2.4
รายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ 2/ 58.2 21.6 21.1
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 1.2 0.5 0.5
ดุลรัฐวิสาหกิจ 59.8 91.6 57
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 1.3 2 1.2
ดุลภาครัฐ 225.8 258 197.6
(%) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 5 5.5 4.1
1/ ไม่รวมชำระคืนต้นเงินกู้
2/ ไม่รวมเงินกู้มิยาซาวา
ที่มา : สายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายได้รัฐบาล
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ อัตราเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2541 2542 2543 2541 2542 2543
รายได้ทั้งหมด 727.4 709.9 748.1 -13.8 -2.4 5.4
ภาษี 649.4 620.1 661.4 -14.4 -4.5 6.7
- ฐานรายได้ 214.9 213.7 235.4 -22.2 -0.6 10.2
บุคคลธรรมดา 118.9 101.2 87.4 6.6 -14.8 -13.7
นิติบุคคล 90.8 101.3 137.4 -43.1 11.6 35.6
ปิโตรเลียม 5.3 11.1 10.6 -0.1 111.7 -4.6
- ฐานการบริโภค 349.1 316.4 300.9 -0.1 -9.4 0.4
มูลค่าเพิ่มและการค้า 162.7 132.1 137.9 17 -18.8 4.4
ธุรกิจเฉพาะ 34 20.8 16.6 3.1 -39 -20.1
สรรพสามิต 152.4 163.6 163.1 -14.2 7.3 -0.3
- ฐานการค้าระหว่างประเทศ 65.7 66.4 84.4 -36.4 1.0 27.2
- ภาษีอื่น 19.7 23.4 24.1 -33.5 19.9 1.8
รายได้อื่นๆ 77.9 89.8 86.7 -8.8 15.2 -3.5
ที่มา : กรมบัญชีกลาง
รายจ่ายรัฐบาล จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2541 2542 2543
รายจ่ายรวม 835.6 821.6 850.6
รายจ่ายประจำ 534.9 587.4 645.8
( D %) -2.1 -9.8 -9.9
เงินเดือนและค่าจ้าง 280.3 297.4 303.7
ซื้อสินค้าและบริการ 160.4 144.7 153.0
ดอกเบี้ยจ่าย 8.7 44.7 58.3
รายจ่ายลงทุน 300.7 234.2 204.8
( D %) (-28.5) (-22.1) (-12.5)
ที่มา : สายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่ายรัฐบาล จำแนกตามลักษณะงาน
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2541 2542 2543
การบริหารทั่วไป 91.2 90.3 95.4
( D %) (-9.0) (-1.0) -5.6
การป้องกันประเทศ 88.3 76.4 73.6
( D %) (-15.3) (-13.5) (-3.7)
การบริการชุมชนและสังคม 369.4 368.6 378.4
( D %) -1.0 (-0.2) -2.6
การศึกษา 212.2 215.3 218.6
การสาธารณสุข 68.3 64.3 62.9
การสังคมสงเคราะห์ 38.6 38.9 51
การเศรษฐกิจ 226.8 197.2 194.9
( D %) (-28.3) (-13.1) (-1.1)
อื่นๆ 59.9 89.1 108.3
( D %) -3.5 -48.8 -21.6
รวม 835.6 821.6 850.6
( D %) (-11.5) (-1.7) -3.5
ที่มา : สายฐานข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดุลรัฐวิสาหกิจ
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2541 2542 2543P
รายจ่ายลงทุน 198.9 192.7 177.2
% D 6.9 -3.1 -8
Retained Income 139.1 101.1 120.2
% D 9.8 -27.3 18.9
ดุลรัฐวิสาหกิจ 59.8 91.6 57
% D 0.7 53.2 -37.8
P/ ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หนี้สาธารณะคงค้าง
(หน่วย : พันล้านบาท)
ปีงบประมาณ 1/12/83 1/12/84 1/12/85 1/9/86
1. หนี้รัฐบาลกู้โดยตรง 328.13 695.22 988.87 1.113.9
( % ของ GDP) -6.9 -15 -21 -22.14
1.1 หนี้ต่างประเทศ 296.46 268.49 346.59 395.2
1.2 หนี้ในประเทศ 31.67 426.73 642.28 718.7
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 680.11 645.8 787.16 908.9
( % ของ GDP) -14.4 -13.9 -16.7 -18.07
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 575.07 559.12 688.6 775.7
หนี้ต่างประเทศ 370.36 328.53 401.93 422.6
หนี้ในประเทศ 204.71 230.59 286.67 353.1
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 105.04 86.68 98.56 133.2
หนี้ต่างประเทศ 67.32 50.56 49.62 48.5
หนี้ในประเทศ 37.72 36.12 48.94 84.7
3. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 893.11 986.72 777.43 781.4
( % ของ GDP) -18.9 -21.3 -16.5 -15.53
รวม 1,901.35 2,327.74 2,553.46 2,804.20
( % ของ GDP) -40.2 -50.2 -54.3 -55.74
ที่มา : สำนักบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-