ผลกระทบ : ของการขึ้นราคาน้ำมันต่อต้นทุนการผลิตภาคเกษตร
จากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและต่อเนื่องถึงประเทศไทยในที่สุด ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ในระยะสั้นมีการเก็งกำไรราคาน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 ครั้งๆ ละ 30 สตางค์ต่อลิตร ทำให้น้ำมันดีเซลเดิมจากลิตรละ 13.94 บาท เป็นลิตรละ 4.24 และ 14.50 บาท ตามลำดับ
ในด้านการผลิตทางการเกษตร จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันในขบวนการผลิตในแต่ละสินค้าปริมาณที่ใช้ก็จะแตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น ก็จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในระดับที่แตกต่างกันตามปริมาณที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากค่าขนส่งปัจจัยการผลิตหรือจากค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ผลกระทบของน้ำมันทางตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ เป็นกลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก พืชสวน กุ้งกุลาดำ ปลาน้ำจืด สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ น้ำนมดิบ และกิจการประมงทะเล ซึ่งต้นทุนการผลิตมีสัดส่วนของน้ำมันที่ใช้อยู่ในต้นทุนทั้งหมดในระดับแตกต่างกัน
จากการวิเคราะห์ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 (จาก 14.00 บาทต่อลิตร เพิ่มเป็น 14.70 - 18.20 บาทต่อลิตร) จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตการเกษตรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (พืชและสัตว์) ประมาณร้อยละ 0.09 - 3.86 กล่าวคือ
- ข้าว ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 1,812.77 บาทต่อไร่ ร้อยละ 9.87 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 - 2.96 มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน
- พืชไร่ ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 2,583.42 บาทต่อไร่ ร้อยละ 9.89 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 - 2.97 มีจำนวนเกษตรกรกลุ่มพืชไร่ประมาณ 0.741 ล้านครัวเรือน
- กุ้งกุลาดำ(เพาะเลี้ยง) ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 151,139.96 บาทต่อไร่ ร้อยละ 12.87 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64 - 3.86 มีครัวเรือนผู้เลี้ยงประมาณ 0.456 ล้านครัวเรือน
- สุกร ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 34.86 บาทต่อกก. ร้อยละ 6.11 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.30 - 1.83 มีครัวเรือนผู้เลี้ยงประมาณ 26,000 ครัวเรือน
- สำหรับกิจกรรมทำประมงทะเล มีน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตเป็นส่วนใหญ่เฉลี่ยถึงร้อยละ 38 ของต้นทุนทั้งหมด เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 จะส่งผลต่อต้นทุนทำประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 - 5.54 ต้นทุนน้ำมันเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมของเรือประมงขนาดเล็ก
ข้อเสนอแนะ
1. การลดภาษีน้ำมันเป็นมาตรการที่ครอบคลุม โดยทุกกลุ่มได้รับผลประโยชน์จากการลดภาษี แต่มีข้อจำกัดที่ไม่อาจทำได้ในระยะยาว
2. ปรับปรุงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในการบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันให้ถึงกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มประมงขนาดเล็กกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มปลูกข้าว และกลุ่มพืชไร่
3. สนับสนุนและมีมาตรการจูงใจในการประหยัดพลังงาน หรือให้มีการใช้พลังงานทดแทนที่สามารถหามาได้ในประเทศให้มากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ เอทานอล ไบโอดีเซล ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น เช่น การลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำพลังงานดังกล่าวมาใช้ทดแทนน้ำมัน หรือการชดเชยราคาเพื่อจูงใจให้มีการใช้แทนน้ำมันมากขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 17-23 ก.ย. 2544--
-สส-
จากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและต่อเนื่องถึงประเทศไทยในที่สุด ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ในระยะสั้นมีการเก็งกำไรราคาน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 ครั้งๆ ละ 30 สตางค์ต่อลิตร ทำให้น้ำมันดีเซลเดิมจากลิตรละ 13.94 บาท เป็นลิตรละ 4.24 และ 14.50 บาท ตามลำดับ
ในด้านการผลิตทางการเกษตร จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันในขบวนการผลิตในแต่ละสินค้าปริมาณที่ใช้ก็จะแตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น ก็จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในระดับที่แตกต่างกันตามปริมาณที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากค่าขนส่งปัจจัยการผลิตหรือจากค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ผลกระทบของน้ำมันทางตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ เป็นกลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก พืชสวน กุ้งกุลาดำ ปลาน้ำจืด สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ น้ำนมดิบ และกิจการประมงทะเล ซึ่งต้นทุนการผลิตมีสัดส่วนของน้ำมันที่ใช้อยู่ในต้นทุนทั้งหมดในระดับแตกต่างกัน
จากการวิเคราะห์ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 (จาก 14.00 บาทต่อลิตร เพิ่มเป็น 14.70 - 18.20 บาทต่อลิตร) จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตการเกษตรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (พืชและสัตว์) ประมาณร้อยละ 0.09 - 3.86 กล่าวคือ
- ข้าว ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 1,812.77 บาทต่อไร่ ร้อยละ 9.87 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 - 2.96 มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน
- พืชไร่ ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 2,583.42 บาทต่อไร่ ร้อยละ 9.89 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 - 2.97 มีจำนวนเกษตรกรกลุ่มพืชไร่ประมาณ 0.741 ล้านครัวเรือน
- กุ้งกุลาดำ(เพาะเลี้ยง) ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 151,139.96 บาทต่อไร่ ร้อยละ 12.87 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64 - 3.86 มีครัวเรือนผู้เลี้ยงประมาณ 0.456 ล้านครัวเรือน
- สุกร ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 34.86 บาทต่อกก. ร้อยละ 6.11 เป็นสัดส่วนของต้นทุนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.30 - 1.83 มีครัวเรือนผู้เลี้ยงประมาณ 26,000 ครัวเรือน
- สำหรับกิจกรรมทำประมงทะเล มีน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตเป็นส่วนใหญ่เฉลี่ยถึงร้อยละ 38 ของต้นทุนทั้งหมด เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 จะส่งผลต่อต้นทุนทำประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 - 5.54 ต้นทุนน้ำมันเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมของเรือประมงขนาดเล็ก
ข้อเสนอแนะ
1. การลดภาษีน้ำมันเป็นมาตรการที่ครอบคลุม โดยทุกกลุ่มได้รับผลประโยชน์จากการลดภาษี แต่มีข้อจำกัดที่ไม่อาจทำได้ในระยะยาว
2. ปรับปรุงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในการบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันให้ถึงกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มประมงขนาดเล็กกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มปลูกข้าว และกลุ่มพืชไร่
3. สนับสนุนและมีมาตรการจูงใจในการประหยัดพลังงาน หรือให้มีการใช้พลังงานทดแทนที่สามารถหามาได้ในประเทศให้มากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ เอทานอล ไบโอดีเซล ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น เช่น การลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำพลังงานดังกล่าวมาใช้ทดแทนน้ำมัน หรือการชดเชยราคาเพื่อจูงใจให้มีการใช้แทนน้ำมันมากขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 17-23 ก.ย. 2544--
-สส-