เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2542 เริ่มกระเตื้องขึ้นจากที่หดตัวถึงร้อยละ 3.5 เมื่อปีที่แล้ว และจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ผลผลิตภาคการเกษตร ยังคงขยายตัวร้อยละ 3.0 แม้ว่าจะประสบปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ สภาพภูมิอากาศในปีนี้เอื้ออำนวย การกระจายของฝนอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีปัญหาฝนทิ้งช่วง ยกเว้นแถบตอนล่างของภาค
การผลิตนอกภาคการเกษตรไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนมากนัก โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม การค้า มีการลงทุนเพิ่มการผลิตในกิจการเดิม แต่การลงทุนประกอบกิจการใหม่ยังมีน้อย ส่วนการก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังค่อนข้างซบเซา ประชาชนในชนบทมีรายได้จากการเกษตรและมีรายได้จากเงินโอนกลับจากต่างประเทศสูงขึ้น ขณะที่เงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนปี 2542 จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งใหม่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าปีก่อน แต่มีการขยายการลงทุนในกิจการเดิมมากขึ้น ทำให้มีการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปี 2542 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 8.3 แม้ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 ตามดัชนีราคาขายส่ง แต่หมวดอื่นที่มิใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.7
ด้านการเงิน ณ สิ้นปี 2542 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 526 แห่ง (รวมสาขาย่อย 56 แห่ง) มีการยุบรวมสาขาย่อยและถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) เงินฝากคงค้างลดลงร้อยละ 0.3 ขณะที่สินเชื่อคงค้างลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.0 อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเท่ากับร้อยละ 102 ธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อรายใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขณะเดียวกันยังต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน
เพียงสิ้นเดือนตุลาคม 2542 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภาคส่วนที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 228 ราย เป็นมูลหนี้ 12,710 ล้านบาท แยกเป็นลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของ Debtor-Creditor Agreement จำนวน 21 ราย 10,398 ล้านบาท ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 3 ราย 160 ล้านบาท ลูกหนี้ที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของ Simplified Agreement 207 ราย 2,312 ล้านบาท มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 63 ราย 642 ล้านบาท แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญจากความร่วมมือในการเจรจา การประมาณกระแสเงินสดของกิจการส่งผลกระทบถึงความเพียงพอของรายได้ที่จะชำระค่าดอกเบี้ย
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 โดยการส่งออกยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0 ไทยได้เปรียบดุลการค้าลาว 12,000 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งเกินดุลการค้า 9,711.4 ล้านบาท
การเงินและการธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นธันวาคม 2542 ทั้งสิ้น 232,065.3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.3 โดยมีโครงสร้างเงินฝากดังนี้ เงินฝากกระแสรายวัน สัดส่วนร้อยละ 2.3 เงินฝากออมทรัพย์ สัดส่วนร้อยละ 27.8 และเงินฝากประจำ สัดส่วนร้อยละ 69.9 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่เกิดแรงจูงใจแก่ผู้ฝากเงินนัก ประกอบกับผู้ฝากเงินบางส่วนได้นำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ทางด้านสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 236,730.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.0 ขณะที่ปีก่อนลดลงร้อยละ 10.1 จะเห็นได้ว่าในปี 2542 ยอดสินเชื่อคงค้างลดลงในอัตราที่น้อยลงจากปีก่อน และเมื่อพิจารณาจาก 3 เดือนสุดท้ายของปี 2542 ยอดสินเชื่อคงค้างเริ่มมีแนวโน้มในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะไม่มากนักก็ตาม และเมื่อพิจารณาในด้านโครงสร้างสินเชื่อ ประกอบด้วย เงินให้กู้ยืม สัดส่วนร้อยละ 47.9 เงินเบิกเกินบัญชี สัดส่วนร้อยละ 38.2 ตั๋วเงินและอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 13.9 จะเห็นว่าสัดส่วนเงินให้กู้ยืมในปีนี้สูงขึ้นจากปีก่อน ในขณะที่เงินเบิกเกินบัญชี ตั๋วเงินและอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้มีการลดวงเงินเบิกเกินบัญชี
ด้านอัตราดอกเบี้ยในภาคฯ ปีนี้ จากข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2541 จากนโยบายการผ่อนคลายทางด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะยังไม่ได้ผลมากนัก แต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เริ่มจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ณ สิ้นปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.50-4.50 ต่อปี ในขณะที่สิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.75-7.50 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.25-4.25 ต่อปี จากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.75-7.25 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.25-4.25 ต่อปี ในขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ย MLR ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.00-10.00 ต่อปี จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 11.50-15.00 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับลูกค้าทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 11.50-13.75 ต่อปี จากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 14.75-18.25 ต่อปี จะเห็นได้ว่าในปีนี้แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงมาก แต่การให้สินเชื่อยังมีน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ด้านเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศ ปีนี้มีเงินโอนกลับภูมิลำเนาผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ทั้งปีจากข้อมูลเบื้องต้น 24,236.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.7 เนื่องจากในปีนี้มีจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก จากข้อมูลที่มีอยู่ 10 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ามีจำนวนแรงงานเดินทางไปต่างประเทศ 89,584 คน ในขณะที่ทั้งปี 2541 มีเพียง 60,868 คน มากกว่าปีก่อนทั้งปีถึง 28,716 คน (ข้อมูลจากสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ) ซึ่งในช่วงปลายปี จะมีเดินทางเฉลี่ยประมาณ 10,000 คนต่อเดือน ดังนั้น ในปี 2542 คาดว่าจะมีแรงงานไทยในภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศทั้งสิ้นประมาณ 110,000 คน สำหรับประเทศที่แรงงานไทยนิยมไปทำงานมากสุด 5 อันดับแรก คือ ไต้หวัน รองลงมาได้แก่ สิงคโปร์ อิสราเอล มาเลเซีย และบรูไน ตามลำดับ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารออมสิน
ในปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาค 130 สำนักงาน รับฝากเงิน 46,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากปีก่อน รับฝากเงิน 45,811.7 ล้านบาท ขณะที่มีการถอนเงิน 45,788.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อน ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 26,165.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 จากปีก่อน 27,505.2 ล้านบาท
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในปีนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 48,571.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 จากปีก่อน ให้กู้ 38,796.3 ล้านบาท และได้รับชำระคืน 40,292.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากปีก่อน 36,435.6 ล้านบาท ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้าง 72,927.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 64,648.6 ล้านบาท
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 2,040.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากปีก่อน 1,894.8 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อคงค้าง 26,800.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 26,730.7 ล้านบาท โดยมีการปล่อยสินเชื่อมากในจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และอุดรธานี ตามลำดับ
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในปีนี้ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ถึง 125 ราย เป็นเงิน 1,739.9 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ปล่อยกู้เพียง 26 ราย เป็นเงิน 733.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว และร้อยละ 137.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเร่งปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ต้นปีตามนโยบายการสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางที่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องของรัฐบาล
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอนุมัติวงเงินในการปล่อยสินเชื่อทั้งปีเป็นเงิน 500 ล้านบาท ต้นทุนอัตราดอกเบี้ย(MLR) ประมาณร้อยละ 9.5 ต่อปี และคิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี โดยในปีนี้ปล่อยเงินกู้ 37 ราย เป็นเงิน 172.7 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปล่อยกู้ 38 ราย เป็นเงิน 217.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 และร้อยละ 20.7 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงพฤศจิกายน 2541 - มีนาคม 2542 อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการในการพิจารณาการให้สินเชื่อใหม่ ทำให้ในช่วงดังกล่าวไม่มีการอนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด
การคลัง
ในปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และอากรขาเข้า ได้ทั้งสิ้น 17,900 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2 จากปีก่อนซึ่งจัดเก็บได้ 19,079.9 ล้านบาท เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีศุลกากรได้ลดลง ขณะที่ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
ภาษีสรรพากร
ในปีนี้สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคจัดเก็บภาษีอากรได้ทั้งสิ้น 8,700 ล้านบาทเทียบกับปีก่อน 11,336 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.3 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลงทุกหมวด โดยเฉพาะภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคคืนภาษีได้ทั้งสิ้น 800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.5 จากปีก่อน ซึ่งมีการคืนภาษี 1,203.7 ล้านบาท
ภาษีสรรพสามิต
ในปีนี้สำนักงานสรรพสามิตในภาคจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ทั้งสิ้น 9,150 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 7,692.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุราเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ภาษีศุลกากร
ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บอากรขาเข้าในปีนี้ได้ทั้งสิ้น 50 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 51.1 ล้านบาท
ระดับราคา
ภาวะเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 8.3 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 ตามราคาที่ลดลงของข้าว แป้ง และน้ำตาล เป็นสำคัญ ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ตามราคาที่สูงขึ้นของยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การตรวจรักษาและการบริการส่วนบุคคล เป็นต้น
ดัชนีราคาขายส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้ลดลงร้อยละ 8.6 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังสูงขึ้นร้อยละ 5.9 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอสูงขึ้นร้อยละ 2.1 สินค้าเกษตรกรรมและอาหารลดลงร้อยละ 14.1 สินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.9 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 3.2 เคมีและผลิตภัณฑ์เคมีลดลงร้อยละ 7.0 ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดลดลงร้อยละ 3.8
ภาวะสินค้าเกษตรกรรม
สาขากสิกรรม
ในปีนี้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยฝนตกมากในจังหวัดนครพนม หนองคาย สกลนคร และเลย ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา จากการที่ปริมาณน้ำฝนมีการตกกระจายอย่างเหมาะสม ทำให้ปริมาณผลผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในปี 2541 อยู่ในเกณฑ์สูง จูงใจให้ทำการผลิตเพิ่มขึ้น
จากรายงานศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการผลิต 2542/2543 สรุปได้ดังนี้
ข้าวนาปี
เนื้อที่ทำนาในฤดูการผลิตปีนี้ 32,207,701 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 8,495,510 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.2 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 7,168 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.9 ข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 5,471 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.0 ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 4,721 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 34.6 และข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,386 บาท ลดลงร้อยละ 36.0
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวสารเจ้า 5% กระสอบละ 1,555 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20.2 ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 1,089 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 24.1 ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดยาว) กระสอบละ 1,026 บาท ลดลง 37.5 ข้าวสารเหนียว (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 954 บาท ลดลงร้อยละ 38.8
มันสำปะหลัง
เนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังปีนี้ 3,812,636 ไร่ ได้ผลผลิต 8,702,310 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.1 และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันกิโลกรัมละ 0.87 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 40.0 มันเส้นกิโลกรัมละ 2.07 บาท ลดลงร้อยละ 19.8 มันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.61 บาท ลดลงร้อยละ 18.9 เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก และการส่งออกผลผลิตลดลงสาเหตุจากค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีนี้ 2,228,570 ไร่ ได้ผลผลิต 1,106,465 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.3 และร้อยละ 8.8 ตามลำดับ ราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.19 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 32.3 เนื่องจากการขยายตัวของสาขาปศุสัตว์บางสินค้าลดลง ทำให้ความต้องการข้าวโพดเพื่อผลิตอาหารสัตว์ลดลง
อ้อยโรงงาน
เนื้อที่เพาะปลูกอ้อยในปีนี้ 2,170,578 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.7 ได้ผลผลิต 21,127,241 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น
ปอแก้ว
เนื้อที่ปลูกปอในปีนี้ 164,718 ไร่ ได้ผลผลิต 38,539 ตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 20.8 และร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.2 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีน้อย สาเหตุจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลง ตามราคาผลผลิตที่ตกต่ำในปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังไม่มีการลงทุนใหม่ เนื่องจากรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ประกอบกับสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ส่วนใหญ่เป็นการขยายโครงการเดิมที่มีลู่ทางการตลาดดี สำหรับผู้ประกอบการจากส่วนกลางยังให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก รวมทั้งนักลงทุนจากต่างชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศแถบยุโรปสนใจเข้ามาประกอบกิจการมากขึ้น ส่วนนักลงทุนจากญี่ปุ่นกลับชะลอการลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน
จากรายงานของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 43 โครงการ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี 44 โครงการ หรือลดลงร้อยละ 2.3 แต่ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 31,401 ล้านบาท เนื่องจากมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานี ใช้เงินลงทุนสูงถึง 25,770 ล้านบาท
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมเบา ประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกระเป๋า จังหวัดนครราชสีมายังเป็นแหล่งที่ตั้งโรงงานมากที่สุด จำนวน 25 โครงการ สำหรับโครงการร่วมทุนกับต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และแคนาดา
โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่
1. บริษัท ซี-เกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 1,118 ล้านบาท จ้างคนงาน 8,500 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา
2. บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชุดถ่ายเลือดสำหรับโรคไตและชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบ ชุดสายน้ำเกลือ เงินลงทุน 372.5 ล้านบาท จ้างคนงาน 585 คน ที่จังหวัดขอนแก่น
3. บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตแร่โปแตช เงินลงทุน 25,770 ล้านบาท จ้างคนงาน 912 คน ที่จังหวัดอุดรธานี
4. บริษัท เพรส คราฟ (ประเทศไทย) จำกัด ทำการเคลือบผิวด้วยวิธี Electrostatic Painting เงินลงทุน 96 ล้านบาท จ้างคนงาน 72 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา
5. บริษัท เอเชียโมดิไฟด์ สตาร์ช จำกัด ผลิตแป้งแปรรูปจากมันสำปะหลัง เงินลงทุน 424 ล้านบาท จ้างคนงาน 80 คน ที่จังหวัดกาฬสินธุ์
6. บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทำเหมืองผลิตทองคำแท่ง เงินลงทุน 894 ล้านบาท จ้างคนงาน 66 คน ที่จังหวัดเลย
7. บริษัท ไทย-เยอรมัน โซล่า จำกัด ผลิตเครื่องทำน้ำพุ โคมไฟฟ้า เครื่องเติมออกซิเจนพลังแสงอาทิตย์ เงินลงทุน 5.5 ล้านบาท จ้างคนงาน 66 คน ที่จังหวัดขอนแก่น
ภาคการก่อสร้าง
ภาคการก่อสร้างอยู่ในสภาพซบเซา ธนาคารพาณิชย์ยังชะลอการให้สินเชื่อด้านการก่อสร้างรายใหม่ อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงกลางปี รวมทั้งโครงการก่อสร้างภาครัฐยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะถนน สะพาน และอาคารสำนักงานราชการ
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีนี้ 593,850 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 16.1 จากปีก่อนซึ่งมีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง 708,110.5 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (สัดส่วนร้อยละ 60.0) และอาคารพาณิชย์ (สัดส่วนร้อยละ 31.3) สำหรับการก่อสร้างภาคบริการ ได้แก่ หอพัก ปั้มน้ำมัน คาร์แคร์ อาคารเรียน คลีนิค โชว์รูมรถยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 6.2)
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และสกลนคร ตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ในจังหวัดนครราชสีมา มุกดาหาร มหาสารคาม และขอนแก่น นอกเหนือการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งหยุดดำเนินการไประยะหนึ่ง
การซื้อขายที่ดิน
ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้การซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น 13,939.9 ล้านบาท ลดลงจาก 10 เดือนแรกของปีก่อนร้อยละ 5.8 และจำนวนธุรกรรมการซื้อขายตลอด 10 เดือนแรกปี 2542 มี 90,535 ราย ลดลงร้อยละ 14.8 เช่นเดียวกัน ภาวะธุรกิจการซื้อขายที่ดินในภาคยังคงซบเซา
จังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงสุด รองลงมาเป็นขอนแก่น และอุดรธานี ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
จากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดว่าปี 2542 ชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใกล้เคียงกับปีก่อน และคาดว่าในอนาคตจะมีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปีนี้เป็นปีสิ้นสุดแห่งปีการท่องเที่ยวไทย อย่างไรก็ตาม ทางการควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวต่อไป เนื่องจากการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีจุดขายที่ชาวต่างประเทศให้ความสนใจ อาทิ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและประเพณี โบราณสถานและโบราณวัตถุ และทัศนียภาพที่สวยงามของธรรมชาติ เช่น แม่น้ำโขง
การจ้างงาน
การจ้างคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2542 มีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานทั้งสิ้น 53,928 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากปีก่อนที่มีผู้สมัครงานทั้งสิ้น 50,304 คน
ตำแหน่งงานว่างในปีนี้มีทั้งสิ้น 47,471 อัตรา ลดลงร้อยละ 26.8 จากปีก่อนที่มีตำแหน่งงานว่าง 64,871 อัตรา
การบรรจุงานมีทั้งสิ้น 22,474 คน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.0 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.3 ของผู้สมัครงาน และเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.3 ของความต้องการแรงงานทั้งสิ้น
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้มี 15,567.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 26.6 แยกเป็นการส่งออก 13,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เป็นการนำเข้า 1,867.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 ไทยเกินดุลการค้าลาวถึง 11,832.1 ล้านบาท
การส่งออก
ปีนี้มีการส่งออก 13,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 จากปีก่อนซึ่งส่งออก 11,006.5 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการสินค้าของลาวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุน ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค
การส่งออก 8,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่งออก 4,178.3 ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออกยานพาหนะและส่วนประกอบถึง 4,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ) 1,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.7
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญในหมวดนี้ที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ ยารักษาโรค 110 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.4 เครื่องแต่งกาย 82 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 อาหารสัตว์ 81 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.7
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
การส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 1,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.9 จากปีก่อนส่งออก 808.2 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในลาวค่อนข้างมาก วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนและอุปกรณ์ตัดเย็บ 910 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว กระดาษและกระดาษแข็ง 55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 สินค้าวัถตุดิบอื่น ๆ เช่น พืชไร่ เคมีภัณฑ์ สินแร่ เม็ดพลาสติก ฯลฯ 262 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 แต่มีการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าเพียง 73 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 65.0 จากปีก่อนส่งออก 208.3 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ส่งออก 1,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 จากปีก่อน ส่งออก 1,038.2 ล้านบาท
การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าจากลาวปี 2542 ขยายตัวสูงขึ้น โดยมีการนำเข้ารวม 1,867.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 1,295.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44.2 เนื่องจากทางการลาวให้สัมปทานการทำไม้เพิ่มขึ้น ทำให้การนำเข้าไม้ 1,361.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนนำเข้า 673.4 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าเศษโลหะ 69.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 โค-กระบือและผลิตภัณฑ์ 34.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ของป่า (ชันดิบ น้ำมันยางดิบ ลูกเร่ว เปลือกบง ฯลฯ) 37.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 188 ล้านบาท (เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องจักรใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2
การค้าผ่านแดน
สินค้านำเข้าลาวปี 2542 มูลค่า 12,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 25.7 เนื่องจากลาวนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2,400 ล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากเยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลี เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ 1,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ยานพาหนะและส่วนประกอบจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 910 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 2,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 บุหรี่จากสิงคโปร์ 3,560 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5
ด้านการส่งออกสินค้าจากลาวผ่านแดนไทยไปประเทศที่สาม 4,550 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 25.7 สินค้าที่จัดส่งไปสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ เมล็ดกาแฟดิบ 660 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.5 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 3,100 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0 แต่มีการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ไปญี่ปุ่น ไต้หวัน 520 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9
แนวโน้มปี 2543
สำหรับปี 2543 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น เป็นผลจากการผลิตนอกภาคเกษตร ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นน้อย สภาพคล่องทางการเงินสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ตลอดจนการเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งนโยบายการคลังที่เร่งการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาชน ส่วนผลผลิตภาคเกษตรชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากพืชผลสำคัญราคาไม่จูงใจ แต่ยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น รวมทั้งศักยภาพการผลิตปศุสัตว์และประมงยังสูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ผลผลิตภาคการเกษตร ยังคงขยายตัวร้อยละ 3.0 แม้ว่าจะประสบปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ สภาพภูมิอากาศในปีนี้เอื้ออำนวย การกระจายของฝนอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีปัญหาฝนทิ้งช่วง ยกเว้นแถบตอนล่างของภาค
การผลิตนอกภาคการเกษตรไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนมากนัก โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม การค้า มีการลงทุนเพิ่มการผลิตในกิจการเดิม แต่การลงทุนประกอบกิจการใหม่ยังมีน้อย ส่วนการก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังค่อนข้างซบเซา ประชาชนในชนบทมีรายได้จากการเกษตรและมีรายได้จากเงินโอนกลับจากต่างประเทศสูงขึ้น ขณะที่เงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนปี 2542 จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งใหม่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าปีก่อน แต่มีการขยายการลงทุนในกิจการเดิมมากขึ้น ทำให้มีการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปี 2542 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 8.3 แม้ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 ตามดัชนีราคาขายส่ง แต่หมวดอื่นที่มิใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.7
ด้านการเงิน ณ สิ้นปี 2542 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 526 แห่ง (รวมสาขาย่อย 56 แห่ง) มีการยุบรวมสาขาย่อยและถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) เงินฝากคงค้างลดลงร้อยละ 0.3 ขณะที่สินเชื่อคงค้างลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.0 อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเท่ากับร้อยละ 102 ธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อรายใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขณะเดียวกันยังต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน
เพียงสิ้นเดือนตุลาคม 2542 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภาคส่วนที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 228 ราย เป็นมูลหนี้ 12,710 ล้านบาท แยกเป็นลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของ Debtor-Creditor Agreement จำนวน 21 ราย 10,398 ล้านบาท ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 3 ราย 160 ล้านบาท ลูกหนี้ที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของ Simplified Agreement 207 ราย 2,312 ล้านบาท มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 63 ราย 642 ล้านบาท แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญจากความร่วมมือในการเจรจา การประมาณกระแสเงินสดของกิจการส่งผลกระทบถึงความเพียงพอของรายได้ที่จะชำระค่าดอกเบี้ย
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 โดยการส่งออกยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0 ไทยได้เปรียบดุลการค้าลาว 12,000 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งเกินดุลการค้า 9,711.4 ล้านบาท
การเงินและการธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นธันวาคม 2542 ทั้งสิ้น 232,065.3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.3 โดยมีโครงสร้างเงินฝากดังนี้ เงินฝากกระแสรายวัน สัดส่วนร้อยละ 2.3 เงินฝากออมทรัพย์ สัดส่วนร้อยละ 27.8 และเงินฝากประจำ สัดส่วนร้อยละ 69.9 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่เกิดแรงจูงใจแก่ผู้ฝากเงินนัก ประกอบกับผู้ฝากเงินบางส่วนได้นำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ทางด้านสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 236,730.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.0 ขณะที่ปีก่อนลดลงร้อยละ 10.1 จะเห็นได้ว่าในปี 2542 ยอดสินเชื่อคงค้างลดลงในอัตราที่น้อยลงจากปีก่อน และเมื่อพิจารณาจาก 3 เดือนสุดท้ายของปี 2542 ยอดสินเชื่อคงค้างเริ่มมีแนวโน้มในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะไม่มากนักก็ตาม และเมื่อพิจารณาในด้านโครงสร้างสินเชื่อ ประกอบด้วย เงินให้กู้ยืม สัดส่วนร้อยละ 47.9 เงินเบิกเกินบัญชี สัดส่วนร้อยละ 38.2 ตั๋วเงินและอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 13.9 จะเห็นว่าสัดส่วนเงินให้กู้ยืมในปีนี้สูงขึ้นจากปีก่อน ในขณะที่เงินเบิกเกินบัญชี ตั๋วเงินและอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้มีการลดวงเงินเบิกเกินบัญชี
ด้านอัตราดอกเบี้ยในภาคฯ ปีนี้ จากข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2541 จากนโยบายการผ่อนคลายทางด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะยังไม่ได้ผลมากนัก แต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เริ่มจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ณ สิ้นปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.50-4.50 ต่อปี ในขณะที่สิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.75-7.50 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.25-4.25 ต่อปี จากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.75-7.25 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.25-4.25 ต่อปี ในขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ย MLR ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.00-10.00 ต่อปี จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 11.50-15.00 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับลูกค้าทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 11.50-13.75 ต่อปี จากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 14.75-18.25 ต่อปี จะเห็นได้ว่าในปีนี้แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงมาก แต่การให้สินเชื่อยังมีน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ด้านเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศ ปีนี้มีเงินโอนกลับภูมิลำเนาผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ทั้งปีจากข้อมูลเบื้องต้น 24,236.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.7 เนื่องจากในปีนี้มีจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก จากข้อมูลที่มีอยู่ 10 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ามีจำนวนแรงงานเดินทางไปต่างประเทศ 89,584 คน ในขณะที่ทั้งปี 2541 มีเพียง 60,868 คน มากกว่าปีก่อนทั้งปีถึง 28,716 คน (ข้อมูลจากสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ) ซึ่งในช่วงปลายปี จะมีเดินทางเฉลี่ยประมาณ 10,000 คนต่อเดือน ดังนั้น ในปี 2542 คาดว่าจะมีแรงงานไทยในภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศทั้งสิ้นประมาณ 110,000 คน สำหรับประเทศที่แรงงานไทยนิยมไปทำงานมากสุด 5 อันดับแรก คือ ไต้หวัน รองลงมาได้แก่ สิงคโปร์ อิสราเอล มาเลเซีย และบรูไน ตามลำดับ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารออมสิน
ในปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาค 130 สำนักงาน รับฝากเงิน 46,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากปีก่อน รับฝากเงิน 45,811.7 ล้านบาท ขณะที่มีการถอนเงิน 45,788.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อน ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 26,165.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 จากปีก่อน 27,505.2 ล้านบาท
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในปีนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 48,571.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 จากปีก่อน ให้กู้ 38,796.3 ล้านบาท และได้รับชำระคืน 40,292.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากปีก่อน 36,435.6 ล้านบาท ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้าง 72,927.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 64,648.6 ล้านบาท
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 2,040.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากปีก่อน 1,894.8 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อคงค้าง 26,800.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 26,730.7 ล้านบาท โดยมีการปล่อยสินเชื่อมากในจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และอุดรธานี ตามลำดับ
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในปีนี้ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ถึง 125 ราย เป็นเงิน 1,739.9 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ปล่อยกู้เพียง 26 ราย เป็นเงิน 733.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว และร้อยละ 137.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเร่งปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ต้นปีตามนโยบายการสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางที่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องของรัฐบาล
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอนุมัติวงเงินในการปล่อยสินเชื่อทั้งปีเป็นเงิน 500 ล้านบาท ต้นทุนอัตราดอกเบี้ย(MLR) ประมาณร้อยละ 9.5 ต่อปี และคิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี โดยในปีนี้ปล่อยเงินกู้ 37 ราย เป็นเงิน 172.7 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปล่อยกู้ 38 ราย เป็นเงิน 217.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 และร้อยละ 20.7 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงพฤศจิกายน 2541 - มีนาคม 2542 อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการในการพิจารณาการให้สินเชื่อใหม่ ทำให้ในช่วงดังกล่าวไม่มีการอนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด
การคลัง
ในปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และอากรขาเข้า ได้ทั้งสิ้น 17,900 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2 จากปีก่อนซึ่งจัดเก็บได้ 19,079.9 ล้านบาท เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีศุลกากรได้ลดลง ขณะที่ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
ภาษีสรรพากร
ในปีนี้สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคจัดเก็บภาษีอากรได้ทั้งสิ้น 8,700 ล้านบาทเทียบกับปีก่อน 11,336 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.3 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลงทุกหมวด โดยเฉพาะภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคคืนภาษีได้ทั้งสิ้น 800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.5 จากปีก่อน ซึ่งมีการคืนภาษี 1,203.7 ล้านบาท
ภาษีสรรพสามิต
ในปีนี้สำนักงานสรรพสามิตในภาคจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ทั้งสิ้น 9,150 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 7,692.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุราเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ภาษีศุลกากร
ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บอากรขาเข้าในปีนี้ได้ทั้งสิ้น 50 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 51.1 ล้านบาท
ระดับราคา
ภาวะเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 8.3 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 ตามราคาที่ลดลงของข้าว แป้ง และน้ำตาล เป็นสำคัญ ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ตามราคาที่สูงขึ้นของยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การตรวจรักษาและการบริการส่วนบุคคล เป็นต้น
ดัชนีราคาขายส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้ลดลงร้อยละ 8.6 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังสูงขึ้นร้อยละ 5.9 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอสูงขึ้นร้อยละ 2.1 สินค้าเกษตรกรรมและอาหารลดลงร้อยละ 14.1 สินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.9 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 3.2 เคมีและผลิตภัณฑ์เคมีลดลงร้อยละ 7.0 ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดลดลงร้อยละ 3.8
ภาวะสินค้าเกษตรกรรม
สาขากสิกรรม
ในปีนี้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยฝนตกมากในจังหวัดนครพนม หนองคาย สกลนคร และเลย ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา จากการที่ปริมาณน้ำฝนมีการตกกระจายอย่างเหมาะสม ทำให้ปริมาณผลผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในปี 2541 อยู่ในเกณฑ์สูง จูงใจให้ทำการผลิตเพิ่มขึ้น
จากรายงานศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการผลิต 2542/2543 สรุปได้ดังนี้
ข้าวนาปี
เนื้อที่ทำนาในฤดูการผลิตปีนี้ 32,207,701 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 8,495,510 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.2 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 7,168 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.9 ข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 5,471 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.0 ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 4,721 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 34.6 และข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,386 บาท ลดลงร้อยละ 36.0
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวสารเจ้า 5% กระสอบละ 1,555 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20.2 ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 1,089 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 24.1 ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดยาว) กระสอบละ 1,026 บาท ลดลง 37.5 ข้าวสารเหนียว (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 954 บาท ลดลงร้อยละ 38.8
มันสำปะหลัง
เนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังปีนี้ 3,812,636 ไร่ ได้ผลผลิต 8,702,310 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.1 และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันกิโลกรัมละ 0.87 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 40.0 มันเส้นกิโลกรัมละ 2.07 บาท ลดลงร้อยละ 19.8 มันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.61 บาท ลดลงร้อยละ 18.9 เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก และการส่งออกผลผลิตลดลงสาเหตุจากค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีนี้ 2,228,570 ไร่ ได้ผลผลิต 1,106,465 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.3 และร้อยละ 8.8 ตามลำดับ ราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.19 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 32.3 เนื่องจากการขยายตัวของสาขาปศุสัตว์บางสินค้าลดลง ทำให้ความต้องการข้าวโพดเพื่อผลิตอาหารสัตว์ลดลง
อ้อยโรงงาน
เนื้อที่เพาะปลูกอ้อยในปีนี้ 2,170,578 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.7 ได้ผลผลิต 21,127,241 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น
ปอแก้ว
เนื้อที่ปลูกปอในปีนี้ 164,718 ไร่ ได้ผลผลิต 38,539 ตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 20.8 และร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.2 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีน้อย สาเหตุจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลง ตามราคาผลผลิตที่ตกต่ำในปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังไม่มีการลงทุนใหม่ เนื่องจากรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ประกอบกับสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ส่วนใหญ่เป็นการขยายโครงการเดิมที่มีลู่ทางการตลาดดี สำหรับผู้ประกอบการจากส่วนกลางยังให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก รวมทั้งนักลงทุนจากต่างชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศแถบยุโรปสนใจเข้ามาประกอบกิจการมากขึ้น ส่วนนักลงทุนจากญี่ปุ่นกลับชะลอการลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน
จากรายงานของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 43 โครงการ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี 44 โครงการ หรือลดลงร้อยละ 2.3 แต่ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 31,401 ล้านบาท เนื่องจากมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานี ใช้เงินลงทุนสูงถึง 25,770 ล้านบาท
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมเบา ประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกระเป๋า จังหวัดนครราชสีมายังเป็นแหล่งที่ตั้งโรงงานมากที่สุด จำนวน 25 โครงการ สำหรับโครงการร่วมทุนกับต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และแคนาดา
โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่
1. บริษัท ซี-เกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 1,118 ล้านบาท จ้างคนงาน 8,500 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา
2. บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชุดถ่ายเลือดสำหรับโรคไตและชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบ ชุดสายน้ำเกลือ เงินลงทุน 372.5 ล้านบาท จ้างคนงาน 585 คน ที่จังหวัดขอนแก่น
3. บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตแร่โปแตช เงินลงทุน 25,770 ล้านบาท จ้างคนงาน 912 คน ที่จังหวัดอุดรธานี
4. บริษัท เพรส คราฟ (ประเทศไทย) จำกัด ทำการเคลือบผิวด้วยวิธี Electrostatic Painting เงินลงทุน 96 ล้านบาท จ้างคนงาน 72 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา
5. บริษัท เอเชียโมดิไฟด์ สตาร์ช จำกัด ผลิตแป้งแปรรูปจากมันสำปะหลัง เงินลงทุน 424 ล้านบาท จ้างคนงาน 80 คน ที่จังหวัดกาฬสินธุ์
6. บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทำเหมืองผลิตทองคำแท่ง เงินลงทุน 894 ล้านบาท จ้างคนงาน 66 คน ที่จังหวัดเลย
7. บริษัท ไทย-เยอรมัน โซล่า จำกัด ผลิตเครื่องทำน้ำพุ โคมไฟฟ้า เครื่องเติมออกซิเจนพลังแสงอาทิตย์ เงินลงทุน 5.5 ล้านบาท จ้างคนงาน 66 คน ที่จังหวัดขอนแก่น
ภาคการก่อสร้าง
ภาคการก่อสร้างอยู่ในสภาพซบเซา ธนาคารพาณิชย์ยังชะลอการให้สินเชื่อด้านการก่อสร้างรายใหม่ อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงกลางปี รวมทั้งโครงการก่อสร้างภาครัฐยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะถนน สะพาน และอาคารสำนักงานราชการ
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีนี้ 593,850 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 16.1 จากปีก่อนซึ่งมีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง 708,110.5 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (สัดส่วนร้อยละ 60.0) และอาคารพาณิชย์ (สัดส่วนร้อยละ 31.3) สำหรับการก่อสร้างภาคบริการ ได้แก่ หอพัก ปั้มน้ำมัน คาร์แคร์ อาคารเรียน คลีนิค โชว์รูมรถยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 6.2)
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และสกลนคร ตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ในจังหวัดนครราชสีมา มุกดาหาร มหาสารคาม และขอนแก่น นอกเหนือการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งหยุดดำเนินการไประยะหนึ่ง
การซื้อขายที่ดิน
ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้การซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น 13,939.9 ล้านบาท ลดลงจาก 10 เดือนแรกของปีก่อนร้อยละ 5.8 และจำนวนธุรกรรมการซื้อขายตลอด 10 เดือนแรกปี 2542 มี 90,535 ราย ลดลงร้อยละ 14.8 เช่นเดียวกัน ภาวะธุรกิจการซื้อขายที่ดินในภาคยังคงซบเซา
จังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงสุด รองลงมาเป็นขอนแก่น และอุดรธานี ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
จากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดว่าปี 2542 ชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใกล้เคียงกับปีก่อน และคาดว่าในอนาคตจะมีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปีนี้เป็นปีสิ้นสุดแห่งปีการท่องเที่ยวไทย อย่างไรก็ตาม ทางการควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวต่อไป เนื่องจากการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีจุดขายที่ชาวต่างประเทศให้ความสนใจ อาทิ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและประเพณี โบราณสถานและโบราณวัตถุ และทัศนียภาพที่สวยงามของธรรมชาติ เช่น แม่น้ำโขง
การจ้างงาน
การจ้างคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2542 มีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานทั้งสิ้น 53,928 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากปีก่อนที่มีผู้สมัครงานทั้งสิ้น 50,304 คน
ตำแหน่งงานว่างในปีนี้มีทั้งสิ้น 47,471 อัตรา ลดลงร้อยละ 26.8 จากปีก่อนที่มีตำแหน่งงานว่าง 64,871 อัตรา
การบรรจุงานมีทั้งสิ้น 22,474 คน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.0 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.3 ของผู้สมัครงาน และเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.3 ของความต้องการแรงงานทั้งสิ้น
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้มี 15,567.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 26.6 แยกเป็นการส่งออก 13,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เป็นการนำเข้า 1,867.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 ไทยเกินดุลการค้าลาวถึง 11,832.1 ล้านบาท
การส่งออก
ปีนี้มีการส่งออก 13,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 จากปีก่อนซึ่งส่งออก 11,006.5 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการสินค้าของลาวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุน ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค
การส่งออก 8,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่งออก 4,178.3 ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออกยานพาหนะและส่วนประกอบถึง 4,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ) 1,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.7
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญในหมวดนี้ที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ ยารักษาโรค 110 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.4 เครื่องแต่งกาย 82 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 อาหารสัตว์ 81 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.7
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
การส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 1,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.9 จากปีก่อนส่งออก 808.2 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในลาวค่อนข้างมาก วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนและอุปกรณ์ตัดเย็บ 910 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว กระดาษและกระดาษแข็ง 55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 สินค้าวัถตุดิบอื่น ๆ เช่น พืชไร่ เคมีภัณฑ์ สินแร่ เม็ดพลาสติก ฯลฯ 262 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 แต่มีการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าเพียง 73 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 65.0 จากปีก่อนส่งออก 208.3 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ส่งออก 1,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 จากปีก่อน ส่งออก 1,038.2 ล้านบาท
การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าจากลาวปี 2542 ขยายตัวสูงขึ้น โดยมีการนำเข้ารวม 1,867.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 1,295.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44.2 เนื่องจากทางการลาวให้สัมปทานการทำไม้เพิ่มขึ้น ทำให้การนำเข้าไม้ 1,361.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนนำเข้า 673.4 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าเศษโลหะ 69.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 โค-กระบือและผลิตภัณฑ์ 34.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ของป่า (ชันดิบ น้ำมันยางดิบ ลูกเร่ว เปลือกบง ฯลฯ) 37.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 188 ล้านบาท (เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องจักรใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2
การค้าผ่านแดน
สินค้านำเข้าลาวปี 2542 มูลค่า 12,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 25.7 เนื่องจากลาวนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2,400 ล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากเยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลี เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ 1,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ยานพาหนะและส่วนประกอบจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 910 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 2,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 บุหรี่จากสิงคโปร์ 3,560 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5
ด้านการส่งออกสินค้าจากลาวผ่านแดนไทยไปประเทศที่สาม 4,550 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 25.7 สินค้าที่จัดส่งไปสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ เมล็ดกาแฟดิบ 660 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.5 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 3,100 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0 แต่มีการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ไปญี่ปุ่น ไต้หวัน 520 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9
แนวโน้มปี 2543
สำหรับปี 2543 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น เป็นผลจากการผลิตนอกภาคเกษตร ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นน้อย สภาพคล่องทางการเงินสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ตลอดจนการเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งนโยบายการคลังที่เร่งการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาชน ส่วนผลผลิตภาคเกษตรชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากพืชผลสำคัญราคาไม่จูงใจ แต่ยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น รวมทั้งศักยภาพการผลิตปศุสัตว์และประมงยังสูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-