ประมง
1. สถานการณ์การผลิต
จังหวัดตราดส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมแทนตะพาบน้ำ
รายงานข่าวจาก จังหวัดตราด เกี่ยวกับปัญหาราคาตะพาบน้ำตกต่ำลงมาก คือ จากที่เคยขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 300-400 บาท แต่เมื่อมีการเลี้ยงมากขึ้นจนปริมาณเกินความต้องการ ราคาได้ตกต่ำลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-120 บาท ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงตะพาบน้ำได้รับความเดือดร้อน เพราะประสบภาวะการขาดทุน โดยเฉพาะผู้เลี้ยงในระยะหลังไม่มีผลกำไรเหมือนการเลี้ยงในระยะแรก
ดังนั้น จังหวัดตราด ร่วมกับสำนักงานการค้าภายในจึงส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยงปลาทับทิม ซึ่งเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อยแทน เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เคยประสบความล้มเหลวในการเลี้ยงตะพาบน้ำดังกล่าว เพราะปลาทับทิมยังมีตลาดรองรับที่ชัดเจน ทั้งตลาดภายในจังหวัด ต่างจังหวัดและ ต่างประเทศ จัดเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (17-27 ธค.42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,838.32 ตันแยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 781.49 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,056.83 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.64 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.02 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 38.71 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.43 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ปี 42 ญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นจากปี 41 ร้อยละ 0.64
Infofish Trade News. รายงานการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของประเทศญี่ปุ่น ในช่วง มกราคม-ตุลาคม 2543 โดยแจ้งว่าญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 197,852 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากที่นำเข้า 196,598 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.64 โดยนำเข้าจากอินโดนีเซียมากเป็นอันดับหนึ่งมีปริมาณ 40,977 เมตริกตัน อินเดีย 43,235 เมตริกตัน เวียตนาม 22,760 เมตริกตัน ประเทศไทย 14,604 เมตริกตัน จีน 10,860 เมตริกตัน และประเทศอื่น ๆ 76,276 เมตริกตัน
สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นมีการนำเข้ากุ้งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศญี่ปุ่นค่อย ๆ ดีขึ้น ประกอบกับค่าเงินเยนแข็งขึ้นช่วยเพิ่มกำลังซื้อ ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 288.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 360.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 362.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.90 บาท ลดลงจาก 20.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 48.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.20บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 - 62.9% (ระหว่างวันที่ 3-7 มค. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.80 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำวันที่ 3 - 9 ม.ค. 2543--
1. สถานการณ์การผลิต
จังหวัดตราดส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมแทนตะพาบน้ำ
รายงานข่าวจาก จังหวัดตราด เกี่ยวกับปัญหาราคาตะพาบน้ำตกต่ำลงมาก คือ จากที่เคยขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 300-400 บาท แต่เมื่อมีการเลี้ยงมากขึ้นจนปริมาณเกินความต้องการ ราคาได้ตกต่ำลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-120 บาท ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงตะพาบน้ำได้รับความเดือดร้อน เพราะประสบภาวะการขาดทุน โดยเฉพาะผู้เลี้ยงในระยะหลังไม่มีผลกำไรเหมือนการเลี้ยงในระยะแรก
ดังนั้น จังหวัดตราด ร่วมกับสำนักงานการค้าภายในจึงส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยงปลาทับทิม ซึ่งเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อยแทน เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เคยประสบความล้มเหลวในการเลี้ยงตะพาบน้ำดังกล่าว เพราะปลาทับทิมยังมีตลาดรองรับที่ชัดเจน ทั้งตลาดภายในจังหวัด ต่างจังหวัดและ ต่างประเทศ จัดเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (17-27 ธค.42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,838.32 ตันแยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 781.49 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,056.83 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.64 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.02 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 38.71 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.43 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ปี 42 ญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นจากปี 41 ร้อยละ 0.64
Infofish Trade News. รายงานการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของประเทศญี่ปุ่น ในช่วง มกราคม-ตุลาคม 2543 โดยแจ้งว่าญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 197,852 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากที่นำเข้า 196,598 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.64 โดยนำเข้าจากอินโดนีเซียมากเป็นอันดับหนึ่งมีปริมาณ 40,977 เมตริกตัน อินเดีย 43,235 เมตริกตัน เวียตนาม 22,760 เมตริกตัน ประเทศไทย 14,604 เมตริกตัน จีน 10,860 เมตริกตัน และประเทศอื่น ๆ 76,276 เมตริกตัน
สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นมีการนำเข้ากุ้งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศญี่ปุ่นค่อย ๆ ดีขึ้น ประกอบกับค่าเงินเยนแข็งขึ้นช่วยเพิ่มกำลังซื้อ ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 288.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 360.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 362.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.90 บาท ลดลงจาก 20.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 48.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.20บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 - 62.9% (ระหว่างวันที่ 3-7 มค. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.80 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำวันที่ 3 - 9 ม.ค. 2543--