การเงินและการธนาคาร
ยอดเงินฝากคงค้างที่ธนาคารพาณิชย์ในเขตภาคเหนืออยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 มียอดคงค้างรวม 275,882.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 จากการจำหน่ายพืชผลการเกษตร เช่น อ้อยที่ราคารับซื้อสูงขึ้น เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย น่าน และแม่ฮ่องสอน
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 169,088.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.2 ลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน และลำปางอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 และร้อยละ 3.00 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย จากร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี เหลือ ร้อยละ 7.25-7.70 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนเมษายน 2544 มีปริมาณ 346,230 ฉบับ มูลค่า 22,840.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ17.5 และร้อยละ 12.4 โดยเพิ่มขึ้นมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดสุโขทัย แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ส่วน ปริมาณเช็คคืน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 6,540 ฉบับ ขณะที่มูลค่าเช็คคืนลดลงร้อยละ 8.7 เหลือ 390.3 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.7 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ เทียบกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เมื่อเดือนก่อน และร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 ของระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนเมษายน 2544 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 6,941.7 ล้านบาท ลดลงเทียบกับที่ขาดดุล 7,241.9 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน จากการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ขณะที่รายจ่ายลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือ เดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 เป็น 1,028.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.6 ระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลร้อยละ 41.1 และร้อยละ 67.5 เป็น 400.0 ล้านบาท และ 157.5 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 เป็น 284.7 ล้านบาท จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลลดลงร้อยละ 1.6 เหลือ 7,970.3 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายลงทุนที่ลดลงร้อยละ 11.3 เหลือ 2,406.1 ล้านบาท โดยลดลงมากทั้งในหมวดค่าครุภัณฑ์ฯและหมวดเงินอุดหนุนร้อยละ 17.0 และร้อยละ 17.3 เหลือ 1,128.7 ล้านบาท และ 827.9 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 5,564.2 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นในหมวดรายจ่ายอื่นและค่าสาธารณูปโภค ถึงกว่าเท่าตัวและ ร้อยละ 12.9 เป็น 165.5 ล้านบาทและ 68.7 ล้านบาท ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือในเดือนเมษายน 2544 มีมูลค่า 87.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,968.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7) จากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 เหลือ 68.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงเป็นเดือนแรกหลังจากที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปลายปีก่อนตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการส่งออกผ่านชายแดนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.7 เหลือ 392.4 ล้านบาท (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 8.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.7) โดยการส่งออกไปพม่าลดลงจากระยะเวลาเดียวปีก่อนร้อยละ 54.2 เหลือ 216.1 ล้านบาท (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 4.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 61.8) จากปัญหาประเทศเพื่อนบ้านยังคงเข้มงวดการนำเข้าและปิดด่านการค้าชายแดนบางแห่ง และทางการไทยเข้มงวดการส่งออกสินค้ายุทธปัจจัย ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) และลาว เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 4 เท่าตัว และร้อยละ 27.4 เป็น 117.4 ล้านบาท และ 58.9 ล้านบาท ตามลำดับ
การนำเข้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 เหลือ 74.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,387.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6) จากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าวัตถุดิบของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 70.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนมีมูลค่า 171.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 63.5 จากการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาว และจีน โดยการนำเข้าจากพม่ามีมูลค่า 84.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.2 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าโคมีชีวิต อาหารทะเล และเฟอร์นิเจอร์ไม้เพิ่มขึ้น การนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 55.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 และการนำเข้าจากจีนมีมูลค่า 31.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 12.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 14.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทเกินดุล 581 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 550.5 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน)
ระดับราคา
ระดับราคาสินค้าในเดือนเมษายน 2544 สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.2 และหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.7
ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้มากที่สุดถึงร้อยละ 6.8 เนื่องจากสภาพอากาศร้อนทำให้พืชผักโตช้าและเสียหายบางส่วน รองลงมาคือกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.0 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 3.2 และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 2.9 จากการลดราคาเพื่อส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ
ส่วนราคาสินค้าหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 โดยในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารสูงขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 7.6 ตามภาวะราคา น้ำมันที่สูงขึ้น รองลงมาได้แก่ หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 จากการที่รัฐบาลปรับภาษีสรรพสามิตสูงขึ้นในเดือนนี้ ส่วนหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 2.1 จากการปรับค่าต้นทุนกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังมีทิศทางที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยยอดจดทะเบียน รถจักรยานยนต์เดือนมีนาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เป็น 12,802 คัน ชะลอตัวเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 เดือนก่อน ส่วนยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 เหลือ 2,057 คัน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 เป็น 284.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จากการเร่งรัดจัดเก็บ
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ยอดเงินฝากคงค้างที่ธนาคารพาณิชย์ในเขตภาคเหนืออยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 มียอดคงค้างรวม 275,882.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 จากการจำหน่ายพืชผลการเกษตร เช่น อ้อยที่ราคารับซื้อสูงขึ้น เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย น่าน และแม่ฮ่องสอน
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 169,088.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.2 ลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน และลำปางอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 และร้อยละ 3.00 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย จากร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี เหลือ ร้อยละ 7.25-7.70 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนเมษายน 2544 มีปริมาณ 346,230 ฉบับ มูลค่า 22,840.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ17.5 และร้อยละ 12.4 โดยเพิ่มขึ้นมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดสุโขทัย แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ส่วน ปริมาณเช็คคืน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 6,540 ฉบับ ขณะที่มูลค่าเช็คคืนลดลงร้อยละ 8.7 เหลือ 390.3 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.7 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ เทียบกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เมื่อเดือนก่อน และร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 ของระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนเมษายน 2544 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 6,941.7 ล้านบาท ลดลงเทียบกับที่ขาดดุล 7,241.9 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน จากการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ขณะที่รายจ่ายลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือ เดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 เป็น 1,028.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.6 ระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลร้อยละ 41.1 และร้อยละ 67.5 เป็น 400.0 ล้านบาท และ 157.5 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 เป็น 284.7 ล้านบาท จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลลดลงร้อยละ 1.6 เหลือ 7,970.3 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายลงทุนที่ลดลงร้อยละ 11.3 เหลือ 2,406.1 ล้านบาท โดยลดลงมากทั้งในหมวดค่าครุภัณฑ์ฯและหมวดเงินอุดหนุนร้อยละ 17.0 และร้อยละ 17.3 เหลือ 1,128.7 ล้านบาท และ 827.9 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 5,564.2 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นในหมวดรายจ่ายอื่นและค่าสาธารณูปโภค ถึงกว่าเท่าตัวและ ร้อยละ 12.9 เป็น 165.5 ล้านบาทและ 68.7 ล้านบาท ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือในเดือนเมษายน 2544 มีมูลค่า 87.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,968.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7) จากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 เหลือ 68.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงเป็นเดือนแรกหลังจากที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปลายปีก่อนตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการส่งออกผ่านชายแดนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.7 เหลือ 392.4 ล้านบาท (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 8.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.7) โดยการส่งออกไปพม่าลดลงจากระยะเวลาเดียวปีก่อนร้อยละ 54.2 เหลือ 216.1 ล้านบาท (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 4.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 61.8) จากปัญหาประเทศเพื่อนบ้านยังคงเข้มงวดการนำเข้าและปิดด่านการค้าชายแดนบางแห่ง และทางการไทยเข้มงวดการส่งออกสินค้ายุทธปัจจัย ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) และลาว เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 4 เท่าตัว และร้อยละ 27.4 เป็น 117.4 ล้านบาท และ 58.9 ล้านบาท ตามลำดับ
การนำเข้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 เหลือ 74.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,387.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6) จากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าวัตถุดิบของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 70.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนมีมูลค่า 171.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 63.5 จากการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาว และจีน โดยการนำเข้าจากพม่ามีมูลค่า 84.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.2 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าโคมีชีวิต อาหารทะเล และเฟอร์นิเจอร์ไม้เพิ่มขึ้น การนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 55.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 และการนำเข้าจากจีนมีมูลค่า 31.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 12.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 14.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทเกินดุล 581 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 550.5 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน)
ระดับราคา
ระดับราคาสินค้าในเดือนเมษายน 2544 สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.2 และหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.7
ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้มากที่สุดถึงร้อยละ 6.8 เนื่องจากสภาพอากาศร้อนทำให้พืชผักโตช้าและเสียหายบางส่วน รองลงมาคือกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.0 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 3.2 และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 2.9 จากการลดราคาเพื่อส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ
ส่วนราคาสินค้าหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 โดยในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารสูงขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 7.6 ตามภาวะราคา น้ำมันที่สูงขึ้น รองลงมาได้แก่ หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 จากการที่รัฐบาลปรับภาษีสรรพสามิตสูงขึ้นในเดือนนี้ ส่วนหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 2.1 จากการปรับค่าต้นทุนกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังมีทิศทางที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยยอดจดทะเบียน รถจักรยานยนต์เดือนมีนาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เป็น 12,802 คัน ชะลอตัวเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 เดือนก่อน ส่วนยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 เหลือ 2,057 คัน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 เป็น 284.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จากการเร่งรัดจัดเก็บ
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-