เมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ประธานาธิบดี บิล คลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกา และผู้นำประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีก 33 ประเทศในแถบทวีปอเมริกา ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศในอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียน (ยกเว้นประเทศคิวบา) ได้จัดการประชุมสุดยอดทวีปอเมริกา (Summit of the Americas) ขึ้นครั้งแรกที่เมืองไมอามี่ มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในด้านการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมือง ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งถือว่าเป็นการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคที่สำคัญ เพราะมีประชากรรวมกันถึง 800 ล้านคน และมี GDP ของทุกประเทศรวมกันถึง 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำของ 34 ประเทศได้ร่วมกันแถลงการณ์ในปฏิญญาแห่ง หลักการ (Declaration of Principle) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อที่จะร่วมมือกันในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาให้บรรลุผลสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) โดยมี ใจความสำคัญระบุไว้ว่า ประเทศสมาชิกจะต้องมีข้อผูกพันที่จะไม่ใช้มาตรการใหม่ ๆ ที่จะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้า รวมทั้งการจัดทำข้อตกลงใดๆ ก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของ GATT 1994 และ WTO และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อประเทศอื่น
จากแผนปฏิบัติการในเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา ได้กำหนดให้มีการประชุมรัฐมนตรีการค้า (Trade Ministerial Meeting) ขึ้นเพื่อดำเนินการยกร่างแผนการดำเนินงานจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา โดยจัดประชุมขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2538 (1995) เป็นต้นมา ผลการประชุมที่สำคัญและมีส่วนผลักดันให้เกิดจุดเริ่มต้นในการดำเนินงาน จัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาอย่างเป็นทางการ คือ การประชุมรัฐมนตรีการค้าครั้งที่สี่ในเดือนมีนาคม 1998 ที่เมืองซาน โฮเซ ประเทศคอสตาริกา โดยหลังการประชุมได้มีการแถลงการณ์"ปฏิญญาแห่งซาน โฮเซ" (Declaration of San Jose) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ส่วนสำคัญที่สุดของปฏิญญานี้ คือ การจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiation Committee) จำนวน 9 กลุ่มอันได้แก่ การเปิดตลาด การลงทุน การค้าบริการ การจัดซื้อโดยภาครัฐ การระงับข้อพิพาท สินค้าเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การอุดหนุนภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและภาษีตอบโต้การอุดหนุน และนโยบายการแข่งขัน การประชุมในกรอบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเจรจาหาข้อตกลงในการส่งเสริมการค้าและลดข้อกีดกันทางการค้าระหว่างกัน และจัดให้มีการเจรจาในกลุ่มต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศจะต้องมีส่วนร่วมและต้องมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นประธานและรองประธานคณะกรรมการฯ ตามวาระที่กำหนด เพื่อให้สามารถบรรลุผลในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
การประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 3
ในการประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่เมืองควิเบค ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน ที่ผ่านมาสาระสำคัญของการประชุมนี้อยู่ที่การให้ความสำคัญกับประชาชนในทวีปอเมริกาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการ 3 ด้านคือ สร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย (Strengthening Democracy) สร้างความมั่งคั่ง (Creating Prosperity) และให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์ (Realizing Human Potential)
โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าการรวมกลุ่มเศรษฐกิจจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกัน ดังนั้นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องประกอบไปด้วย ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีที่เปิดกว้าง การเปิดตลาดการค้า การระดมทุนและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงทางการเงิน นโยบายรัฐบาลที่เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยี การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ส่วนในเรื่องของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกานั้น ได้มีผลความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการยกร่างข้อตกลงเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (preliminary draft FTAA Agreement) โดยดำเนินการตามข้อตกลงจากการประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 1 (ไมอามี่) และได้กำหนดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอเมริกาให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2005 และให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม 2005 แต่ก็มีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้อยู่บ้างจากการประชุม รัฐมนตรีการค้า (Trade Ministerial Meeting) ครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2544 ที่เมืองบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา สหรัฐฯ ได้สนับสนุนข้อเสนอของชิลีที่พยายามผลักดันให้การเจรจา FTAA มีผลบังคับใช้ในปี 2003 แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากได้รับการคัดค้านจากประเทศสมาชิกหลายประเทศ โดยเฉพาะ บราซิล และกลุ่มประเทศสมาชิก MERCOSUR ซึ่งประกอบไปด้วย อาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย
หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง รัฐบาลของทุกประเทศจะเริ่มเจรจาในระหว่าง การประชุม Summit Implementation Review Group (SIRG) ที่จะจัดขึ้นที่เมืองควิเบค ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2544 เพื่อดำเนินการตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในปฏิญญาเมืองควิเบค (Declaration of Quebec City) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
ผลกระทบต่อประเทศไทย
ด้านการค้า : ในอนาคตประเทศไทยคงจะต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันจากประเทศสมาชิก FTAA ซึ่งในขณะนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ 10 อันดับแรก ได้เริ่มมีประเทศสมาชิก FTAA เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของไทยแล้ว ซึ่งนอกจากเม็กซิโกและแคนาดาซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ อีกได้แก่ คอสตาริกา บราซิล เอกวาดอร์ เวเนซูเอลา ชิลี ฮอนดูรัส และสาธารณรัฐโดมินิกัน
อย่างไรก็ดีความสำเร็จในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาจะมีส่วนช่วยขยายการค้าและเพิ่มรายได้ของประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะกลายเป็นตลาดที่มีอำนาจการซื้อที่ไทยควรจะให้ความสำคัญต่อไป
ด้านการลงทุน : เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว สหรัฐฯ ยังยึดหลักนโยบายการค้าและการลงทุนเสรี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการลงทุนของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ อย่างไรก็ดีภาวะการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจทำให้มีการชะลอการลงทุนในต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน และหากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ สหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนฐานการ ลงทุนในต่างประเทศจากภูมิภาคเอเซียไปยังประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาได้ เพราะจะมีข้อได้เปรียบทั้งในเรื่องอัตราภาษี สิทธิพิเศษและความสะดวกต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงประกอบกับระยะทางที่ใกล้ทำให้ขนส่งสะดวกและประหยัดกว่ามาก
ข้อสังเกต
จากระดับการพัฒนาและความเจริญของแต่ละประเทศ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การเมือง และสังคม ซึ่งความแตกต่างกันในเรื่องนี้ อาจกลายเป็นอุปสรรคที่นำไปสู่ความล่าช้าในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาที่กำหนดไว้ภายในปี 2005 ก็เป็นได้ นอกจากนั้นการที่เวเนซูเอลาได้แจ้งในที่ประชุมว่าอาจไม่สามารถรับกำหนดเวลาใช้บังคับในปี 2005 และบราซิลซึ่งยังสงวนท่าทีอยู่เนื่องจากเห็นว่าอัตราภาษีของสหรัฐฯ นั้นต่ำอยู่แล้ว อาจจะไม่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้นัก คงจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จของการเจรจาในที่สุด
ในระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า "เรามีทางเลือกระหว่าง เราสามารถรวมตัวเป็นตลาดร่วมเพื่อจะสามารถแข่งขันได้ในระยะยาวกับตะวันออกไกลและยุโรป หรือเราจะต่างคนต่างอยู่" ซึ่งเป็นข้อน่าคิดว่า เมื่ออเมริกาและยุโรปต่างรวมเป็นหนึ่งแล้วเอเซียควรทำอย่างไร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำของ 34 ประเทศได้ร่วมกันแถลงการณ์ในปฏิญญาแห่ง หลักการ (Declaration of Principle) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อที่จะร่วมมือกันในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาให้บรรลุผลสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) โดยมี ใจความสำคัญระบุไว้ว่า ประเทศสมาชิกจะต้องมีข้อผูกพันที่จะไม่ใช้มาตรการใหม่ ๆ ที่จะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้า รวมทั้งการจัดทำข้อตกลงใดๆ ก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของ GATT 1994 และ WTO และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อประเทศอื่น
จากแผนปฏิบัติการในเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา ได้กำหนดให้มีการประชุมรัฐมนตรีการค้า (Trade Ministerial Meeting) ขึ้นเพื่อดำเนินการยกร่างแผนการดำเนินงานจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา โดยจัดประชุมขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2538 (1995) เป็นต้นมา ผลการประชุมที่สำคัญและมีส่วนผลักดันให้เกิดจุดเริ่มต้นในการดำเนินงาน จัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาอย่างเป็นทางการ คือ การประชุมรัฐมนตรีการค้าครั้งที่สี่ในเดือนมีนาคม 1998 ที่เมืองซาน โฮเซ ประเทศคอสตาริกา โดยหลังการประชุมได้มีการแถลงการณ์"ปฏิญญาแห่งซาน โฮเซ" (Declaration of San Jose) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ส่วนสำคัญที่สุดของปฏิญญานี้ คือ การจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiation Committee) จำนวน 9 กลุ่มอันได้แก่ การเปิดตลาด การลงทุน การค้าบริการ การจัดซื้อโดยภาครัฐ การระงับข้อพิพาท สินค้าเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การอุดหนุนภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและภาษีตอบโต้การอุดหนุน และนโยบายการแข่งขัน การประชุมในกรอบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเจรจาหาข้อตกลงในการส่งเสริมการค้าและลดข้อกีดกันทางการค้าระหว่างกัน และจัดให้มีการเจรจาในกลุ่มต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศจะต้องมีส่วนร่วมและต้องมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นประธานและรองประธานคณะกรรมการฯ ตามวาระที่กำหนด เพื่อให้สามารถบรรลุผลในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
การประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 3
ในการประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่เมืองควิเบค ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน ที่ผ่านมาสาระสำคัญของการประชุมนี้อยู่ที่การให้ความสำคัญกับประชาชนในทวีปอเมริกาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการ 3 ด้านคือ สร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย (Strengthening Democracy) สร้างความมั่งคั่ง (Creating Prosperity) และให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์ (Realizing Human Potential)
โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าการรวมกลุ่มเศรษฐกิจจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกัน ดังนั้นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องประกอบไปด้วย ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีที่เปิดกว้าง การเปิดตลาดการค้า การระดมทุนและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงทางการเงิน นโยบายรัฐบาลที่เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยี การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ส่วนในเรื่องของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกานั้น ได้มีผลความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการยกร่างข้อตกลงเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (preliminary draft FTAA Agreement) โดยดำเนินการตามข้อตกลงจากการประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 1 (ไมอามี่) และได้กำหนดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอเมริกาให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2005 และให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม 2005 แต่ก็มีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้อยู่บ้างจากการประชุม รัฐมนตรีการค้า (Trade Ministerial Meeting) ครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2544 ที่เมืองบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา สหรัฐฯ ได้สนับสนุนข้อเสนอของชิลีที่พยายามผลักดันให้การเจรจา FTAA มีผลบังคับใช้ในปี 2003 แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากได้รับการคัดค้านจากประเทศสมาชิกหลายประเทศ โดยเฉพาะ บราซิล และกลุ่มประเทศสมาชิก MERCOSUR ซึ่งประกอบไปด้วย อาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย
หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง รัฐบาลของทุกประเทศจะเริ่มเจรจาในระหว่าง การประชุม Summit Implementation Review Group (SIRG) ที่จะจัดขึ้นที่เมืองควิเบค ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2544 เพื่อดำเนินการตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในปฏิญญาเมืองควิเบค (Declaration of Quebec City) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
ผลกระทบต่อประเทศไทย
ด้านการค้า : ในอนาคตประเทศไทยคงจะต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันจากประเทศสมาชิก FTAA ซึ่งในขณะนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ 10 อันดับแรก ได้เริ่มมีประเทศสมาชิก FTAA เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของไทยแล้ว ซึ่งนอกจากเม็กซิโกและแคนาดาซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ อีกได้แก่ คอสตาริกา บราซิล เอกวาดอร์ เวเนซูเอลา ชิลี ฮอนดูรัส และสาธารณรัฐโดมินิกัน
อย่างไรก็ดีความสำเร็จในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาจะมีส่วนช่วยขยายการค้าและเพิ่มรายได้ของประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะกลายเป็นตลาดที่มีอำนาจการซื้อที่ไทยควรจะให้ความสำคัญต่อไป
ด้านการลงทุน : เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว สหรัฐฯ ยังยึดหลักนโยบายการค้าและการลงทุนเสรี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการลงทุนของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ อย่างไรก็ดีภาวะการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจทำให้มีการชะลอการลงทุนในต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน และหากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ สหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนฐานการ ลงทุนในต่างประเทศจากภูมิภาคเอเซียไปยังประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาได้ เพราะจะมีข้อได้เปรียบทั้งในเรื่องอัตราภาษี สิทธิพิเศษและความสะดวกต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงประกอบกับระยะทางที่ใกล้ทำให้ขนส่งสะดวกและประหยัดกว่ามาก
ข้อสังเกต
จากระดับการพัฒนาและความเจริญของแต่ละประเทศ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การเมือง และสังคม ซึ่งความแตกต่างกันในเรื่องนี้ อาจกลายเป็นอุปสรรคที่นำไปสู่ความล่าช้าในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาที่กำหนดไว้ภายในปี 2005 ก็เป็นได้ นอกจากนั้นการที่เวเนซูเอลาได้แจ้งในที่ประชุมว่าอาจไม่สามารถรับกำหนดเวลาใช้บังคับในปี 2005 และบราซิลซึ่งยังสงวนท่าทีอยู่เนื่องจากเห็นว่าอัตราภาษีของสหรัฐฯ นั้นต่ำอยู่แล้ว อาจจะไม่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้นัก คงจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จของการเจรจาในที่สุด
ในระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า "เรามีทางเลือกระหว่าง เราสามารถรวมตัวเป็นตลาดร่วมเพื่อจะสามารถแข่งขันได้ในระยะยาวกับตะวันออกไกลและยุโรป หรือเราจะต่างคนต่างอยู่" ซึ่งเป็นข้อน่าคิดว่า เมื่ออเมริกาและยุโรปต่างรวมเป็นหนึ่งแล้วเอเซียควรทำอย่างไร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-