1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ชี้แจงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณของดัชนี MSCI ใหม่ จากวิธี Full Market Capitalization Method เป็น Free Float Adjusting Method ว่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นไทย คือ สนับสนุนให้จำนวนหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น และสนับสนุนการกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
2. การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ ที่บ.ล.จ.ลงทุนเพิ่มเติมได้ คือ ให้ลงทุนใน option ในฐานะซื้อ (Long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออกได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544
3. การปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับธุรกิจจัดการลงทุนอื่น โดยสมาชิกกองทุนฯ สามารถเสนอนโยบายการลงทุนได้หลากหลายมากขึ้น แต่อย่างน้อยบริษัทจัดการต้องเสนอนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำด้วยทุกครั้ง และสมาชิกสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้อย่างน้อยปีละครั้ง โดยให้บริษัทจัดการเสนอนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ โดยอ้างอิง Portfolio Duration และให้จัดทำรายงาน Portfolio Duration และเสนอ คณะกรรมการกองทุนฯ นอกจากนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหลักทรัพย์เช่นเดียวกับ กองทุนรวมอื่น ๆ รวมทั้งสามารถลงทุนเพื่อรองรับตราสารและนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Index Option อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของบริษัทหนึ่งๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ทั้งนี้ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2544 แต่สำหรับการรายงานฯ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
4. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) เพื่อส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาว รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนที่ ไม่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่ต้องการออมเพื่อการเกษียณอายุ สามารถออมเงินผ่าน RMF ได้
ลักษณะสำคัญของ RMF มีลักษณะเป็นกองทุนรวมรูปแบบหนึ่ง แต่มีเงื่อนไขพิเศษกว่าคือ ผู้ลงทุนต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และจะไถ่ถอนเงินลงทุนโดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และมีการลงทุน มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งเมื่อรวมกับกองทุนรวมทุกประเภทแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ผู้ลงทุนได้รับในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ต้องไม่ขาดการลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเกินกว่า 1 ปี และผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกัน สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในการลงทุนในหน่วยลงทุน RMF โดย ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้ เมื่อนับรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2544 เป็นต้นไป)
5. การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจัดการ ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล สามารถประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติม ดังนี้
1) การเป็นตัวกลางในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแนะนำผู้ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจจัดการ หรือจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2) การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือ รับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมอื่น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2544 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2544 เป็นต้นไป)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
2. การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ ที่บ.ล.จ.ลงทุนเพิ่มเติมได้ คือ ให้ลงทุนใน option ในฐานะซื้อ (Long position) ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออกได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544
3. การปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับธุรกิจจัดการลงทุนอื่น โดยสมาชิกกองทุนฯ สามารถเสนอนโยบายการลงทุนได้หลากหลายมากขึ้น แต่อย่างน้อยบริษัทจัดการต้องเสนอนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำด้วยทุกครั้ง และสมาชิกสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้อย่างน้อยปีละครั้ง โดยให้บริษัทจัดการเสนอนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ โดยอ้างอิง Portfolio Duration และให้จัดทำรายงาน Portfolio Duration และเสนอ คณะกรรมการกองทุนฯ นอกจากนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหลักทรัพย์เช่นเดียวกับ กองทุนรวมอื่น ๆ รวมทั้งสามารถลงทุนเพื่อรองรับตราสารและนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Index Option อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของบริษัทหนึ่งๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ทั้งนี้ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2544 แต่สำหรับการรายงานฯ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
4. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) เพื่อส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาว รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนที่ ไม่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่ต้องการออมเพื่อการเกษียณอายุ สามารถออมเงินผ่าน RMF ได้
ลักษณะสำคัญของ RMF มีลักษณะเป็นกองทุนรวมรูปแบบหนึ่ง แต่มีเงื่อนไขพิเศษกว่าคือ ผู้ลงทุนต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และจะไถ่ถอนเงินลงทุนโดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และมีการลงทุน มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งเมื่อรวมกับกองทุนรวมทุกประเภทแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ผู้ลงทุนได้รับในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ต้องไม่ขาดการลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเกินกว่า 1 ปี และผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกัน สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในการลงทุนในหน่วยลงทุน RMF โดย ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้ เมื่อนับรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2544 เป็นต้นไป)
5. การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจัดการ ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล สามารถประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติม ดังนี้
1) การเป็นตัวกลางในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแนะนำผู้ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจจัดการ หรือจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2) การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือ รับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมอื่น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2544 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2544 เป็นต้นไป)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-