กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
หลังจากเข้ารับหน้าที่บริหารรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ต่อจากรัฐบาลชุดประธานาธิบดีคลินตันนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ จะต้องนำทีมบริหารสานต่อปัญหาข้อพิพาททางการค้าใน WTO ที่ยังค้างอยู่ อาทิเช่น กรณีพิพาทกับสหภาพยุโรปเรื่องกล้วย ซึ่งองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ได้มีมติแล้วว่า มาตรการจำกัดการนำเข้า การขาย และจัดจำหน่ายกล้วยของสหภาพยุโรปขัดกับความตกลง WTO และแม้ว่าสหภาพยุโรปจะปรับแก้ไขมาตรการ แต่องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO เห็นว่า มาตรการที่ปรับใหม่ก็ยังไม่สอดคล้องกับหลักการของ WTO จึงมีมติเห็นชอบให้สหรัฐฯ ตอบโต้ทางการค้าสหภาพยุโรปได้ ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีคลินตันจึงได้แจ้งรายการสินค้าที่ประสงค์จะหมุนเวียนเพื่อตอบโต้ทางการค้าสหภาพยุโรป ในวงเงิน 191.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ยังมิได้ประกาศใช้เนื่องจากยังสงวนท่าทีเพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพยุโรปไว้ รัฐบาลชุดใหม่ของนายบุช จึงมีหน้าที่เข้ามาสานต่อว่า จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ เองก็เผชิญปัญหาความเป็นไปได้ที่จะถูกตอบโต้ทางการค้าจากสหภาพยุโรป จากกรณีที่องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO มีมติให้กฎหมายของสหรัฐฯ ที่ยกเว้นภาษีรายได้ซึ่งสืบเนื่องมาจากการส่งออก ให้แก่ผู้ประกอบการของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ (Foreign Sales Corporations : FSC) เป็น มาตรการอุดหนุนส่งออกที่ขัดต่อความตกลง WTO ทำให้สหรัฐฯ ต้องปรับแก้ไขกฎหมาย อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรปก็ยังเห็นว่ากฎหมายที่ปรับแก้ไขใหม่ของสหรัฐฯ ไม่สอดคล้องกับความตกลง จึงได้ประกาศที่จะตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯ ในมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ WTO มีมติ
เรื่องการปรับกฎหมายของสหรัฐฯ ว่าสอดคล้องกับความตกลง WTO หรือไม่ รวมทั้งมูลค่าการค้าที่จะอนุญาตให้สหภาพยุโรปตอบโต้สหรัฐฯ นอกจากนั้น ในเดือนมีนาคม 2544 เป็นกำหนดที่สหรัฐฯ จะรับทราบคำตัดสินของคณะผู้พิจารณาของ WTO ในกรณีที่ถูกกล่าวหาจากสหภาพยุโรปว่า กฎหมายมาตรา 211 Omnibus Appropriations Act ปี 1998 ของสหรัฐฯ ขัดต่อความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO เนื่องจากไม่ยอมให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า "ฮาวานาคลับ" แก่รัมของบริษัท Pernod Ricard จากฝรั่งเศส ซึ่งควบกิจการกับบริษัทของคิวบา
กรณีพิพาทเรื่องกุ้งกับเต่า ที่องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ตัดสินว่า วิธีการที่รัฐบาลสหรัฐฯ นำกฎหมายที่บังคับให้เรือจับกุ้งต้องติดเครื่องมือที่แยกเต่าทะเลออกจากการจับกุ้ง มิฉะนั้นจะห้ามนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศที่ไม่ได้รับการรับรองการติดเครื่องมือดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่สมเหตุสมผล ทำให้สหรัฐฯ ต้องปรับวิธีการให้สอดคล้องกับความตกลง และในเดือน ตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา มาเลเซียได้นำเรื่องขึ้นร้องต่อ WTO เนื่องจากเห็นว่า สหรัฐฯ ยังมิได้ดำเนินการปรับมาตรการเรื่องการห้ามนำเข้ากุ้งให้สอดคล้องกับความตกลง ขณะนี้เรื่องยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของ WTO โดยคณะผู้พิจารณาของ WTO มีกำหนดจะเวียนผลการตัดสินต่อประเทศสมาชิกในวันที่ 22 มีนาคม 2544 ทั้งนี้ ไทย แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง เอกวาดอร์ เม็กซิโก ได้ขอสงวนสิทธิเป็นฝ่ายที่สามในการพิจารณาคดีนี้ด้วย เพื่อมีสิทธิยื่น submission และได้รับ submission ของคู่กรณี
กรณีกฎหมายทุ่มตลาดปี 1916 ของสหรัฐฯ ซึ่งองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO มีมติแล้วว่ากฎหมายของสหรัฐฯ ขัดต่อความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดของ WTO และสหรัฐฯ จะต้องทบทวนแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง รัฐบาลของนายบุชจะต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อปรับแก้ไขกฎหมายต่อไป กรณีที่สหรัฐฯ ออกกฎหมาย Byrd Amendment ให้นำภาษีที่เก็บได้จากการตอบโต้การทุ่มตลาดไปจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อให้อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวนำไปใช้ประโยชน์ เป็นกฎหมายที่ถูกผลักดันโดยวุฒิสมาชิกเบิดร์ จากพรรคเดโมเครต ในสมัยรัฐบาลคลินตัน ซึ่งขณะนี้ไทยได้ร่วมกับสมาชิก WTO อีก 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี สหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลี ขอหารือกับสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO โดยเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดของ WTO ทั้งนี้ หากการหารือไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ก็จะต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งจะเป็นภาระของรัฐบาลชุดใหม่ของนายบุชที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
หลังจากเข้ารับหน้าที่บริหารรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ต่อจากรัฐบาลชุดประธานาธิบดีคลินตันนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ จะต้องนำทีมบริหารสานต่อปัญหาข้อพิพาททางการค้าใน WTO ที่ยังค้างอยู่ อาทิเช่น กรณีพิพาทกับสหภาพยุโรปเรื่องกล้วย ซึ่งองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ได้มีมติแล้วว่า มาตรการจำกัดการนำเข้า การขาย และจัดจำหน่ายกล้วยของสหภาพยุโรปขัดกับความตกลง WTO และแม้ว่าสหภาพยุโรปจะปรับแก้ไขมาตรการ แต่องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO เห็นว่า มาตรการที่ปรับใหม่ก็ยังไม่สอดคล้องกับหลักการของ WTO จึงมีมติเห็นชอบให้สหรัฐฯ ตอบโต้ทางการค้าสหภาพยุโรปได้ ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีคลินตันจึงได้แจ้งรายการสินค้าที่ประสงค์จะหมุนเวียนเพื่อตอบโต้ทางการค้าสหภาพยุโรป ในวงเงิน 191.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ยังมิได้ประกาศใช้เนื่องจากยังสงวนท่าทีเพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพยุโรปไว้ รัฐบาลชุดใหม่ของนายบุช จึงมีหน้าที่เข้ามาสานต่อว่า จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ เองก็เผชิญปัญหาความเป็นไปได้ที่จะถูกตอบโต้ทางการค้าจากสหภาพยุโรป จากกรณีที่องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO มีมติให้กฎหมายของสหรัฐฯ ที่ยกเว้นภาษีรายได้ซึ่งสืบเนื่องมาจากการส่งออก ให้แก่ผู้ประกอบการของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ (Foreign Sales Corporations : FSC) เป็น มาตรการอุดหนุนส่งออกที่ขัดต่อความตกลง WTO ทำให้สหรัฐฯ ต้องปรับแก้ไขกฎหมาย อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรปก็ยังเห็นว่ากฎหมายที่ปรับแก้ไขใหม่ของสหรัฐฯ ไม่สอดคล้องกับความตกลง จึงได้ประกาศที่จะตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯ ในมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ WTO มีมติ
เรื่องการปรับกฎหมายของสหรัฐฯ ว่าสอดคล้องกับความตกลง WTO หรือไม่ รวมทั้งมูลค่าการค้าที่จะอนุญาตให้สหภาพยุโรปตอบโต้สหรัฐฯ นอกจากนั้น ในเดือนมีนาคม 2544 เป็นกำหนดที่สหรัฐฯ จะรับทราบคำตัดสินของคณะผู้พิจารณาของ WTO ในกรณีที่ถูกกล่าวหาจากสหภาพยุโรปว่า กฎหมายมาตรา 211 Omnibus Appropriations Act ปี 1998 ของสหรัฐฯ ขัดต่อความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO เนื่องจากไม่ยอมให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า "ฮาวานาคลับ" แก่รัมของบริษัท Pernod Ricard จากฝรั่งเศส ซึ่งควบกิจการกับบริษัทของคิวบา
กรณีพิพาทเรื่องกุ้งกับเต่า ที่องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ตัดสินว่า วิธีการที่รัฐบาลสหรัฐฯ นำกฎหมายที่บังคับให้เรือจับกุ้งต้องติดเครื่องมือที่แยกเต่าทะเลออกจากการจับกุ้ง มิฉะนั้นจะห้ามนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศที่ไม่ได้รับการรับรองการติดเครื่องมือดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่สมเหตุสมผล ทำให้สหรัฐฯ ต้องปรับวิธีการให้สอดคล้องกับความตกลง และในเดือน ตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา มาเลเซียได้นำเรื่องขึ้นร้องต่อ WTO เนื่องจากเห็นว่า สหรัฐฯ ยังมิได้ดำเนินการปรับมาตรการเรื่องการห้ามนำเข้ากุ้งให้สอดคล้องกับความตกลง ขณะนี้เรื่องยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของ WTO โดยคณะผู้พิจารณาของ WTO มีกำหนดจะเวียนผลการตัดสินต่อประเทศสมาชิกในวันที่ 22 มีนาคม 2544 ทั้งนี้ ไทย แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง เอกวาดอร์ เม็กซิโก ได้ขอสงวนสิทธิเป็นฝ่ายที่สามในการพิจารณาคดีนี้ด้วย เพื่อมีสิทธิยื่น submission และได้รับ submission ของคู่กรณี
กรณีกฎหมายทุ่มตลาดปี 1916 ของสหรัฐฯ ซึ่งองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO มีมติแล้วว่ากฎหมายของสหรัฐฯ ขัดต่อความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดของ WTO และสหรัฐฯ จะต้องทบทวนแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง รัฐบาลของนายบุชจะต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อปรับแก้ไขกฎหมายต่อไป กรณีที่สหรัฐฯ ออกกฎหมาย Byrd Amendment ให้นำภาษีที่เก็บได้จากการตอบโต้การทุ่มตลาดไปจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อให้อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวนำไปใช้ประโยชน์ เป็นกฎหมายที่ถูกผลักดันโดยวุฒิสมาชิกเบิดร์ จากพรรคเดโมเครต ในสมัยรัฐบาลคลินตัน ซึ่งขณะนี้ไทยได้ร่วมกับสมาชิก WTO อีก 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี สหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลี ขอหารือกับสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO โดยเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดของ WTO ทั้งนี้ หากการหารือไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ก็จะต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งจะเป็นภาระของรัฐบาลชุดใหม่ของนายบุชที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-