แท็ก
ข้อมูล
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้ จากข้อมูลของเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีการลงทุนสุทธิที่ปรับตัวลงเป็น 9,528 และ 2,763 ล้านบาท ทั้งนี้เงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลออกก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในไตรมาสนี้มีมูลค่าลดลง
สาขาที่มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สามปี 2544 ได้แก่ การลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม มีการลงทุนสุทธิ 14,076 ล้านบาท รองลงมาคือ การลงทุนในสาขาการค้า อสังหาริมทรัพย์ และบริการ มีปริมาณเงินลงทุน 5,962 290 และ 269 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้การลงทุนสุทธิในสาขา Investment and holding company และสถาบันการเงินมีเงินลงทุนสุทธิติดลบ 4,124 และ 2,533 ล้านบาทตามลำดับ โดยในสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนในหมวดโลหะและอโลหะมากที่สุด มีเงินลงทุนถึง 6,656 ล้านบาท รองลงมาคือ การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งและเคมีภัณฑ์ 2,608 และ 2,388 ล้านบาทตามลำดับ (ตารางที่ 22)
ประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมคือ ประเทศญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิถึง 10,247 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ สหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ 2,941 และ 1,100 ล้านบาท ตามลำดับ โดยใน 2 เดือนนี้มีประเทศเกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาที่มีเงินลงทุนสุทธิติดลบถึง 4,748 4,748 และ 3,025 ล้านบาทตามลำดับ (ตารางที่ 23)
หากคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะพบว่า การลงทุนจากต่างประเทศสุทธิในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สามนั้นเป็นจำนวน 271 ล้านเหรียญฯ เมื่อเทียบกับ 657 และ 975 ล้านเหรียญฯ ในไตรมาสที่หนึ่งและสองตามลำดับของปีเดียวกัน
โดยรวมในปี 2544 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนสิงหาคม ประเทศไทยมีการลงทุนสุทธิทั้งหมด 85,121 ล้านบาท คิดเป็นการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 66.2 รองลงมาคือสาขาการค้าคิดเป็นร้อยละ 24.1 สาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิมากที่สุดในหมวดเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะและอโลหะ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 26.9 12.8 และ 8.3 ตามลำดับ ทั้งนี้การลงทุนสุทธิในหมวดเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงเดือนมิถุนายนและสิงหาคมมีการปรับตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา และการลงทุนสุทธิในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งในปีนี้นั้นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลอดระยะเวลา 8 เดือนในปี 2544 ประเทศญี่ปุ่นยังคงมีการลงทุนสุทธิสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสหภาพยุโรปและสิงคโปร์ตามมาเป็นอันดับสองและอันดับสาม
การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2544 ภาวะการลงทุนยังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2543 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 374 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 121,417 ล้านบาท โดยลดลงจากปีที่แล้วทั้งการลงทุนของต่างชาติและการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทย
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 มากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ และพลาสติก ซึ่งมีเงินลงทุนถึง 45,246.0 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีเงินลงทุน 40,430.5 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากเงินลงทุน 48,019.1 ล้านบาทของช่วง 9 เดือนปีที่แล้วประมาณร้อยละ 15 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนที่มีการลงทุนมากที่สุด โดยมีโครงการทั้งสิ้น 160 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 50,216 ล้านบาท รองลงมาคือนักลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 28 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 33,796 ล้านบาท และนักลงทุนจากประเทศเยอรมนีมี 18 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 13,285 ล้านบาท และการจ้างงานรวมในช่วง 9 เดือนแรกมีประมาณ 76,400 คน
ปริมาณเงินลงทุน
การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในไตรมาสที่สาม (กรกฎาคม-กันยายน) ปี 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 128 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 34,963 ล้านบาท จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่มีมูลค่าเงินลงทุนลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่หนึ่งและสองของปีเดียวกัน โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมแบ่งเป็นโครงการที่เป็นการลงทุนของต่างชาติ 100% 76 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 26,309 ล้านบาท และเป็นโครงการที่เป็นการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทย 52 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 8,653 ล้านบาท การลงทุนจากต่างประเทศสามารถคิดเป็นร้อยละ 77.9 จากการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด (182 โครงการ เงินลงทุน 44,856 ล้านบาท คาดว่าจะมีการจ้างงานประมาณ 31,400 คน) ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนการลงทุนของต่างชาติ 100% และการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทยคิดเป็นร้อยละ 58.7 และ 19.3 (ตารางที่ 24)
ประเภทกิจการลงทุน
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่สามของปีนี้มากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีเงินลงทุนถึง 11,508.5 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ และพลาสติก อุตสาหกรรมเบา และผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มีเงินลงทุน 9,132.4 5,057.9 และ 4,774.8 ล้านบาทตามลำดับ
หากพิจารณาเปรียบเทียบการลงทุนกับไตรมาสที่สองของปีเดียวกัน จะพบว่ามีมูลค่าการลงทุนลดลง ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่สามนี้ที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า คิดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 562.7 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเบา เพิ่มขึ้นร้อยละ 355.1 ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว จะพบว่าทุกประเภทกิจการนอกจากอุตสาหกรรมบริการมีการลงทุนที่ปรับตัวลง (ตารางที่ 25)
แหล่งเงินลงทุน
ในไตรมาสที่สามปี 2544 นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนหลักที่มีการลงทุนมากที่สุด โดยมีโครงการลงทุนทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 12,332 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 50,099 ล้านบาท และลดลงจากไตรมาสที่แล้วคิดเป็นมูลค่า 12,569 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนคิดเป็น 5,659 5,206 และ 3,590 ล้านบาท ตามลำดับ เราสามารถสังเกตุได้ว่าการลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นอันดับหนึ่งในไตรมาสที่ผ่านมาตกลงมาเป็นอันดับสามในไตรมาสนี้
หากพิจารณาเปรียบเทียบการลงทุนจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า นักลงทุนจากประเทศจีน และประเทศเยอรมนี ยังคงให้ความสนใจขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่นักลงทุนจากประเทศอื่นๆ มีการลงทุนในอัตราส่วนที่ลดลง (ตารางที่ 26)
แนวโน้มในไตรมาสที่สี่
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทยในไตรมาสที่สี่นี้ มีการคาดการณ์ว่าจะลดลง จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซบเชาลงทั้งนี้มีผลมาจากการวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมา และประเทศญี่ปุ่นได้มีทบทวนตัวเลขคาดการณ์การหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจากขยายตัว 1.7% เป็นหดตัว 0.9% ดังนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นจึงยังอยู่ในท่ามกลางการชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลถึงการจ้างงานลดต่ำ การชะลอตัวลงของการส่งออก การผลิตและการลงทุนด้านเงินทุน (จากการแถลงข่าวของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง วันที่ 8 พฤศจิกายน) สำหรับการลงทุนในปี 2545 ทาง BOI เชื่อว่าภาวะการลงทุนจะใกล้เคียงกับปีนี้ (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 ตุลาคม)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
สาขาที่มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สามปี 2544 ได้แก่ การลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม มีการลงทุนสุทธิ 14,076 ล้านบาท รองลงมาคือ การลงทุนในสาขาการค้า อสังหาริมทรัพย์ และบริการ มีปริมาณเงินลงทุน 5,962 290 และ 269 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้การลงทุนสุทธิในสาขา Investment and holding company และสถาบันการเงินมีเงินลงทุนสุทธิติดลบ 4,124 และ 2,533 ล้านบาทตามลำดับ โดยในสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนในหมวดโลหะและอโลหะมากที่สุด มีเงินลงทุนถึง 6,656 ล้านบาท รองลงมาคือ การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งและเคมีภัณฑ์ 2,608 และ 2,388 ล้านบาทตามลำดับ (ตารางที่ 22)
ประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมคือ ประเทศญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิถึง 10,247 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ สหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ 2,941 และ 1,100 ล้านบาท ตามลำดับ โดยใน 2 เดือนนี้มีประเทศเกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาที่มีเงินลงทุนสุทธิติดลบถึง 4,748 4,748 และ 3,025 ล้านบาทตามลำดับ (ตารางที่ 23)
หากคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะพบว่า การลงทุนจากต่างประเทศสุทธิในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สามนั้นเป็นจำนวน 271 ล้านเหรียญฯ เมื่อเทียบกับ 657 และ 975 ล้านเหรียญฯ ในไตรมาสที่หนึ่งและสองตามลำดับของปีเดียวกัน
โดยรวมในปี 2544 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนสิงหาคม ประเทศไทยมีการลงทุนสุทธิทั้งหมด 85,121 ล้านบาท คิดเป็นการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 66.2 รองลงมาคือสาขาการค้าคิดเป็นร้อยละ 24.1 สาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิมากที่สุดในหมวดเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะและอโลหะ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 26.9 12.8 และ 8.3 ตามลำดับ ทั้งนี้การลงทุนสุทธิในหมวดเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงเดือนมิถุนายนและสิงหาคมมีการปรับตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา และการลงทุนสุทธิในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งในปีนี้นั้นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลอดระยะเวลา 8 เดือนในปี 2544 ประเทศญี่ปุ่นยังคงมีการลงทุนสุทธิสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสหภาพยุโรปและสิงคโปร์ตามมาเป็นอันดับสองและอันดับสาม
การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2544 ภาวะการลงทุนยังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2543 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 374 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 121,417 ล้านบาท โดยลดลงจากปีที่แล้วทั้งการลงทุนของต่างชาติและการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทย
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 มากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ และพลาสติก ซึ่งมีเงินลงทุนถึง 45,246.0 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีเงินลงทุน 40,430.5 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากเงินลงทุน 48,019.1 ล้านบาทของช่วง 9 เดือนปีที่แล้วประมาณร้อยละ 15 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนที่มีการลงทุนมากที่สุด โดยมีโครงการทั้งสิ้น 160 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 50,216 ล้านบาท รองลงมาคือนักลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 28 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 33,796 ล้านบาท และนักลงทุนจากประเทศเยอรมนีมี 18 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 13,285 ล้านบาท และการจ้างงานรวมในช่วง 9 เดือนแรกมีประมาณ 76,400 คน
ปริมาณเงินลงทุน
การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในไตรมาสที่สาม (กรกฎาคม-กันยายน) ปี 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 128 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 34,963 ล้านบาท จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่มีมูลค่าเงินลงทุนลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่หนึ่งและสองของปีเดียวกัน โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมแบ่งเป็นโครงการที่เป็นการลงทุนของต่างชาติ 100% 76 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 26,309 ล้านบาท และเป็นโครงการที่เป็นการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทย 52 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 8,653 ล้านบาท การลงทุนจากต่างประเทศสามารถคิดเป็นร้อยละ 77.9 จากการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด (182 โครงการ เงินลงทุน 44,856 ล้านบาท คาดว่าจะมีการจ้างงานประมาณ 31,400 คน) ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนการลงทุนของต่างชาติ 100% และการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทยคิดเป็นร้อยละ 58.7 และ 19.3 (ตารางที่ 24)
ประเภทกิจการลงทุน
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่สามของปีนี้มากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีเงินลงทุนถึง 11,508.5 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ และพลาสติก อุตสาหกรรมเบา และผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มีเงินลงทุน 9,132.4 5,057.9 และ 4,774.8 ล้านบาทตามลำดับ
หากพิจารณาเปรียบเทียบการลงทุนกับไตรมาสที่สองของปีเดียวกัน จะพบว่ามีมูลค่าการลงทุนลดลง ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่สามนี้ที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า คิดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 562.7 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเบา เพิ่มขึ้นร้อยละ 355.1 ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว จะพบว่าทุกประเภทกิจการนอกจากอุตสาหกรรมบริการมีการลงทุนที่ปรับตัวลง (ตารางที่ 25)
แหล่งเงินลงทุน
ในไตรมาสที่สามปี 2544 นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนหลักที่มีการลงทุนมากที่สุด โดยมีโครงการลงทุนทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 12,332 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 50,099 ล้านบาท และลดลงจากไตรมาสที่แล้วคิดเป็นมูลค่า 12,569 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนคิดเป็น 5,659 5,206 และ 3,590 ล้านบาท ตามลำดับ เราสามารถสังเกตุได้ว่าการลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นอันดับหนึ่งในไตรมาสที่ผ่านมาตกลงมาเป็นอันดับสามในไตรมาสนี้
หากพิจารณาเปรียบเทียบการลงทุนจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า นักลงทุนจากประเทศจีน และประเทศเยอรมนี ยังคงให้ความสนใจขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่นักลงทุนจากประเทศอื่นๆ มีการลงทุนในอัตราส่วนที่ลดลง (ตารางที่ 26)
แนวโน้มในไตรมาสที่สี่
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทยในไตรมาสที่สี่นี้ มีการคาดการณ์ว่าจะลดลง จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซบเชาลงทั้งนี้มีผลมาจากการวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมา และประเทศญี่ปุ่นได้มีทบทวนตัวเลขคาดการณ์การหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจากขยายตัว 1.7% เป็นหดตัว 0.9% ดังนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นจึงยังอยู่ในท่ามกลางการชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลถึงการจ้างงานลดต่ำ การชะลอตัวลงของการส่งออก การผลิตและการลงทุนด้านเงินทุน (จากการแถลงข่าวของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง วันที่ 8 พฤศจิกายน) สำหรับการลงทุนในปี 2545 ทาง BOI เชื่อว่าภาวะการลงทุนจะใกล้เคียงกับปีนี้ (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 ตุลาคม)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--