การเงินและการธนาคาร
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 264,153.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 จากรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร เช่น ข้าวและอ้อย เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์และนครสวรรค์
สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มียอดคงค้าง 201,328.3 ล้านบาท ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 1.3 และลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 จากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการ ชำระหนี้ของลูกค้ารายใหญ่บางราย เช่น โรงงานน้ำตาลทราย อย่างไรก็ตาม สาขาธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้มีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อยเพื่อใช้ในการซื้อที่อยู่อาศัยและเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ในเดือนนี้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ กำแพงเพชรและพิจิตร อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อของ ธนาคารพาณิชย์ยังทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร ประเภท 3 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี ร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปี และร้อยละ 4.00-4.75 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่(MLR) อยู่ที่ร้อยละ 8.00-8.50 ต่อปี
ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 23.1 และร้อยละ 21.5 เหลือ 294,759 ฉบับ และ 20,327.9 ล้านบาท จากการที่มีวันหยุดติดต่อกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นสำคัญ ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บลดลงมากที่สำนักหักบัญชีเชียงใหม่-ลำพูน รองลงมาได้แก่ นครสวรรค์ เชียงรายและพิษณุโลก ตามลำดับ ทางด้านปริมาณเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.8 เหลือ 6,411 ฉบับ ขณะที่มูลค่าเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11.6 เป็น 427.5 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บสูงขึ้นจากร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เดือนก่อนเป็นร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 เดือนนี้ แต่ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.3 และร้อยละ 3.2 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 7,241.9 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 6,800.9 ล้านบาท เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เป็น 8,103.5 ล้านบาท ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 15.6 เหลือ 861.6 ล้านบาท เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากดอกเบี้ยเงินฝากและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ลดลงและการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 7,228.4 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินสดขาดดุล 13.5 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,626.7 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน
รายได้นำส่งคลังจังหวัดและคลัง จังหวัด ณ อำเภอ ทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 เหลือ 861.6 ล้านบาท โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 29.1 เหลือ 283.6 ล้านบาท เนื่องจากเงินได้ที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยลดลงถึงร้อยละ 50.0 เหลือ 92.1 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากการจ้างงานลดลงร้อยละ 11.2 เหลือ 191.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เดือนเดียวกัน ปีก่อน จากผลของการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเงินได้สุทธิ 50,000 บาทแรก ส่วนภาษีมูลเพิ่มลดลงร้อยละ 22.3 เหลือ 254.5 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.5 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เป็น 94.0 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.1 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีเป็นสำคัญ
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เป็น 8,103.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เป็น 5,390.0 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ10.5 เดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้รายจ่ายงบกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เป็น 840.6 ล้านบาท และหมวดค่าจ้างชั่วคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เป็น 152.8 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 2,713.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์ฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 และร้อยละ 14.1 เป็น 1,001.5 ล้านบาทและ 1,360.1 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อรายจ่ายจากงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มิยาซาวา) ซึ่งการเบิกจ่ายงวดลงแล้ว โดยมีเพียง 119.2 ล้านบาทเดือนนี้ เทียบกับ 487.4 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้รายจ่ายรวมลดลงร้อยละ 1.0 เหลือ 8,222.7 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 เดือนเดียวกันปีก่อน
อนึ่ง รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มีวงเงินอนุมัติ 8,401.8 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,616.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.6 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยาและลำพูน ร้อยละ 97.2 ร้อยละ 96.5 และร้อยละ 96.3 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออกของภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 มีมูลค่า 94.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.9 เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่หยุดประกอบการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.7 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,584.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.3) โดยเพิ่มขึ้นจากการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและการค้าชายแดนเป็นสำคัญ
การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มี มูลค่า 80.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.6 (ในรูปเงินบาทมี มูลค่า 3,042.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.0) เพิ่มขึ้นจากการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูนเป็นสำคัญ โดยการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 71.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 41.6 เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกาและเอเชีย ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทแปรรูปการเกษตรมีมูลค่า 9.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.8 จากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง
การส่งออกผ่านชายแดนมีมูลค่า 14.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 20.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 541.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 20.5 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6) เพิ่มขึ้นทั้งจากการ ส่งออกไปพม่า ลาวและจีน (ตอนใต้) โดยการส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 12.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 7.5 จากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกไปลาวมีมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.1 จากความต้องการวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน 16 เท่าตัว จากการส่งออกสินค้าประเภทยางรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้าของภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 มีมูลค่า 80.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,034.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0) เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มีมูลค่า 77.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,929.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 ) โดยการนำเข้าของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมี มูลค่า 76.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 0.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 และร้อยละ 31.0 ตามลำดับ จากการนำเข้า วัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้าผ่านชายแดนมีมูลค่า 2.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.3 และร้อยละ 3.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 104.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.3 และร้อยละ 2.6) ตามการนำเข้าจากพม่าและลาว ที่ลดลงเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าจากพม่ามีมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 จากการนำเข้าโค กระบือและไม้ท่อน ลดลง ส่วนการนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 9.1 จากการนำเข้าเครื่องจักรกลที่เข้าไปทำงานในลาวที่ลดลง ทางด้านการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว จากการนำเข้าแอปเปิ้ลและสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น
ดุลการค้าระหว่างภาคเหนือกับต่างประเทศ เดือนเมษายน 2543 เกินดุล 14.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 22.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เดือนก่อน และเกินดุลเล็กน้อย เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน ตามมูลค่าการส่งออก ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2543 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 จากการ ลดลงของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ ราคาสินค้าที่ลดลงมาก ได้แก่ ราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 1.6 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาสินค้าในหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 0.9 จากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการบริโภคลดลง ขณะที่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ราคาสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.2 ตามต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2543 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 2.4 จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยลดลงมากในราคาสินค้าหมวดอาหารที่ซื้อจากตลาด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ตามลำดับ
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ พฤษภาคม 2543--
-ยก-
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 264,153.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 จากรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร เช่น ข้าวและอ้อย เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์และนครสวรรค์
สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มียอดคงค้าง 201,328.3 ล้านบาท ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 1.3 และลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 จากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการ ชำระหนี้ของลูกค้ารายใหญ่บางราย เช่น โรงงานน้ำตาลทราย อย่างไรก็ตาม สาขาธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้มีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อยเพื่อใช้ในการซื้อที่อยู่อาศัยและเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ในเดือนนี้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ กำแพงเพชรและพิจิตร อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อของ ธนาคารพาณิชย์ยังทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร ประเภท 3 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี ร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปี และร้อยละ 4.00-4.75 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่(MLR) อยู่ที่ร้อยละ 8.00-8.50 ต่อปี
ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 23.1 และร้อยละ 21.5 เหลือ 294,759 ฉบับ และ 20,327.9 ล้านบาท จากการที่มีวันหยุดติดต่อกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นสำคัญ ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บลดลงมากที่สำนักหักบัญชีเชียงใหม่-ลำพูน รองลงมาได้แก่ นครสวรรค์ เชียงรายและพิษณุโลก ตามลำดับ ทางด้านปริมาณเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.8 เหลือ 6,411 ฉบับ ขณะที่มูลค่าเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11.6 เป็น 427.5 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บสูงขึ้นจากร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เดือนก่อนเป็นร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 เดือนนี้ แต่ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.3 และร้อยละ 3.2 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 7,241.9 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 6,800.9 ล้านบาท เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เป็น 8,103.5 ล้านบาท ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 15.6 เหลือ 861.6 ล้านบาท เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากดอกเบี้ยเงินฝากและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ลดลงและการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 7,228.4 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินสดขาดดุล 13.5 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,626.7 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน
รายได้นำส่งคลังจังหวัดและคลัง จังหวัด ณ อำเภอ ทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 เหลือ 861.6 ล้านบาท โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 29.1 เหลือ 283.6 ล้านบาท เนื่องจากเงินได้ที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยลดลงถึงร้อยละ 50.0 เหลือ 92.1 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากการจ้างงานลดลงร้อยละ 11.2 เหลือ 191.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เดือนเดียวกัน ปีก่อน จากผลของการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเงินได้สุทธิ 50,000 บาทแรก ส่วนภาษีมูลเพิ่มลดลงร้อยละ 22.3 เหลือ 254.5 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.5 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เป็น 94.0 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.1 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีเป็นสำคัญ
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เป็น 8,103.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เป็น 5,390.0 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ10.5 เดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้รายจ่ายงบกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เป็น 840.6 ล้านบาท และหมวดค่าจ้างชั่วคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เป็น 152.8 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 2,713.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์ฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 และร้อยละ 14.1 เป็น 1,001.5 ล้านบาทและ 1,360.1 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อรายจ่ายจากงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มิยาซาวา) ซึ่งการเบิกจ่ายงวดลงแล้ว โดยมีเพียง 119.2 ล้านบาทเดือนนี้ เทียบกับ 487.4 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้รายจ่ายรวมลดลงร้อยละ 1.0 เหลือ 8,222.7 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 เดือนเดียวกันปีก่อน
อนึ่ง รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มีวงเงินอนุมัติ 8,401.8 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,616.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.6 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยาและลำพูน ร้อยละ 97.2 ร้อยละ 96.5 และร้อยละ 96.3 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออกของภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 มีมูลค่า 94.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.9 เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่หยุดประกอบการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.7 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,584.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.3) โดยเพิ่มขึ้นจากการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและการค้าชายแดนเป็นสำคัญ
การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มี มูลค่า 80.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.6 (ในรูปเงินบาทมี มูลค่า 3,042.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.0) เพิ่มขึ้นจากการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูนเป็นสำคัญ โดยการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 71.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 41.6 เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกาและเอเชีย ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทแปรรูปการเกษตรมีมูลค่า 9.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.8 จากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง
การส่งออกผ่านชายแดนมีมูลค่า 14.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 20.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 541.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 20.5 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6) เพิ่มขึ้นทั้งจากการ ส่งออกไปพม่า ลาวและจีน (ตอนใต้) โดยการส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 12.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 7.5 จากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกไปลาวมีมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.1 จากความต้องการวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน 16 เท่าตัว จากการส่งออกสินค้าประเภทยางรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้าของภาคเหนือเดือนเมษายน 2543 มีมูลค่า 80.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,034.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0) เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มีมูลค่า 77.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,929.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 ) โดยการนำเข้าของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมี มูลค่า 76.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 0.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 และร้อยละ 31.0 ตามลำดับ จากการนำเข้า วัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้าผ่านชายแดนมีมูลค่า 2.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.3 และร้อยละ 3.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 104.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.3 และร้อยละ 2.6) ตามการนำเข้าจากพม่าและลาว ที่ลดลงเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าจากพม่ามีมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 จากการนำเข้าโค กระบือและไม้ท่อน ลดลง ส่วนการนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 9.1 จากการนำเข้าเครื่องจักรกลที่เข้าไปทำงานในลาวที่ลดลง ทางด้านการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว จากการนำเข้าแอปเปิ้ลและสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น
ดุลการค้าระหว่างภาคเหนือกับต่างประเทศ เดือนเมษายน 2543 เกินดุล 14.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 22.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เดือนก่อน และเกินดุลเล็กน้อย เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน ตามมูลค่าการส่งออก ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2543 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 จากการ ลดลงของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ ราคาสินค้าที่ลดลงมาก ได้แก่ ราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 1.6 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาสินค้าในหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 0.9 จากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการบริโภคลดลง ขณะที่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ราคาสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.2 ตามต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2543 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 2.4 จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยลดลงมากในราคาสินค้าหมวดอาหารที่ซื้อจากตลาด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ตามลำดับ
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ พฤษภาคม 2543--
-ยก-