กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ได้จัดประชุมครั้งที่ 1/2544 ระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2544 ณ โรงแรมสยาม ซิตี้ กรุงเทพฯ โดยมีสาระสรุป ดังนี้ ข้อมูลภูมิหลัง
1. ไทยและกัมพูชามีเขตทางทะเล เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา
2. เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตทางทะเลของกัมพูชา และเมื่อปี 2516 ไทยประกาศเขตทางทะเลของไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เจรจาเรื่องการแบ่งเขตทางทะเลอย่างเป็นทางการมาแล้ว 3 ครั้ง คือ เมื่อเดือนธันวาคม 2516 เดือนเมษายน 2538 และเดือนกรกฎาคม 2538 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร
3. ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายน 2544 นั้น ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Memorandum of Understanding between the Royal Thai Government and the Royal Government of Cambodia regarding the Area of their Overlapping Maritime Claims to the Continental Shelf) ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
3.1 ตกลงแบ่งเขตทางทะเล ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายในเขตพื้นที่ ทับซ้อนที่กำหนดให้มีการแบ่งเขตทางทะเล (เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป)
3.2 จัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ทับซ้อนที่กำหนดให้มีการพัฒนาร่วม (ใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา) โดยการดำเนินการดังกล่าวจะทำในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ (indivisible package) และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว จึงให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee) ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากฝ่ายไทยกับกัมพูชา ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากแต่ละประเทศแยกต่างหาก โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคของฝ่ายไทย นั้น ได้รับการอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544
4. บันทึกความเข้าใจดังกล่าว และการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจนี้ ไม่มี ผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละฝ่ายแต่อย่างใด จนกว่าการแบ่งเขตสำหรับการอ้างสิทธิทางทะเลของประเทศทั้งสองจะมีผลบังคับใช้ ผลการประชุม ครั้งที่ 1/2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 1/2544 และพิธีลงนามบันทึกผลการประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ในขณะนี้ ไทยมีประเด็นเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชาเพียงประเทศเดียว เท่านั้นและเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชานี้ เป็นเขตที่มีศักยภาพในด้านก๊าซธรรมชาติและ น้ำมันสูงมาก ซึ่งบริษัทน้ำมันต่างชาติได้ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ รัฐบาลของไทยและกัมพูชาต้องพิจารณาตกลงแก้ไขประเด็นต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อน
2) การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการนำเอาบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ที่ได้มีการลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 มาสู่การปฏิบัติ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธาน
3) ในส่วนของฝ่ายไทยนั้น มีหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วย เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เนื่องจากสาระของการหารือนั้น เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการตกลงแบ่งเขตทางทะเลส่วนบน (เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป) และการพัฒนาพื้นที่ร่วม หรือ Joint Development Area-JDA (ใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา) เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
4) จากการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมเต็มคณะครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยจริงใจและไว้เนื้อเชื่อใจกันได้ และจากการประชุมเต็มคณะ ดังกล่าว ทำให้มีเนื้อหาสาระที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก จึงได้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการ โดยมีนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายไทย และนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา (รับผิดชอบด้านกิจการเขตแดน) เป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ซึ่งได้มีกำหนดการประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 โดยคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา จะประชุมกันในเดือนมีนาคม 2544 ที่จังหวัดภูเก็ต
5) สาระสำคัญที่คณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องหารือกัน คือ เรื่องเทคนิคทางกฎหมายในการแบ่งเขตทางทะเล เช่น การลากเส้นแบ่งเขต เป็นต้น และเรื่องรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ร่วมว่าจะเป็นแบบใด เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ได้จัดประชุมครั้งที่ 1/2544 ระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2544 ณ โรงแรมสยาม ซิตี้ กรุงเทพฯ โดยมีสาระสรุป ดังนี้ ข้อมูลภูมิหลัง
1. ไทยและกัมพูชามีเขตทางทะเล เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา
2. เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตทางทะเลของกัมพูชา และเมื่อปี 2516 ไทยประกาศเขตทางทะเลของไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เจรจาเรื่องการแบ่งเขตทางทะเลอย่างเป็นทางการมาแล้ว 3 ครั้ง คือ เมื่อเดือนธันวาคม 2516 เดือนเมษายน 2538 และเดือนกรกฎาคม 2538 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร
3. ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายน 2544 นั้น ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Memorandum of Understanding between the Royal Thai Government and the Royal Government of Cambodia regarding the Area of their Overlapping Maritime Claims to the Continental Shelf) ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
3.1 ตกลงแบ่งเขตทางทะเล ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายในเขตพื้นที่ ทับซ้อนที่กำหนดให้มีการแบ่งเขตทางทะเล (เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป)
3.2 จัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ทับซ้อนที่กำหนดให้มีการพัฒนาร่วม (ใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา) โดยการดำเนินการดังกล่าวจะทำในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ (indivisible package) และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว จึงให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee) ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากฝ่ายไทยกับกัมพูชา ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากแต่ละประเทศแยกต่างหาก โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคของฝ่ายไทย นั้น ได้รับการอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544
4. บันทึกความเข้าใจดังกล่าว และการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจนี้ ไม่มี ผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละฝ่ายแต่อย่างใด จนกว่าการแบ่งเขตสำหรับการอ้างสิทธิทางทะเลของประเทศทั้งสองจะมีผลบังคับใช้ ผลการประชุม ครั้งที่ 1/2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 1/2544 และพิธีลงนามบันทึกผลการประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ในขณะนี้ ไทยมีประเด็นเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชาเพียงประเทศเดียว เท่านั้นและเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชานี้ เป็นเขตที่มีศักยภาพในด้านก๊าซธรรมชาติและ น้ำมันสูงมาก ซึ่งบริษัทน้ำมันต่างชาติได้ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ รัฐบาลของไทยและกัมพูชาต้องพิจารณาตกลงแก้ไขประเด็นต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อน
2) การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการนำเอาบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ที่ได้มีการลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 มาสู่การปฏิบัติ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธาน
3) ในส่วนของฝ่ายไทยนั้น มีหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วย เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เนื่องจากสาระของการหารือนั้น เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการตกลงแบ่งเขตทางทะเลส่วนบน (เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป) และการพัฒนาพื้นที่ร่วม หรือ Joint Development Area-JDA (ใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา) เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
4) จากการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมเต็มคณะครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยจริงใจและไว้เนื้อเชื่อใจกันได้ และจากการประชุมเต็มคณะ ดังกล่าว ทำให้มีเนื้อหาสาระที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก จึงได้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการ โดยมีนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายไทย และนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา (รับผิดชอบด้านกิจการเขตแดน) เป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ซึ่งได้มีกำหนดการประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 โดยคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา จะประชุมกันในเดือนมีนาคม 2544 ที่จังหวัดภูเก็ต
5) สาระสำคัญที่คณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องหารือกัน คือ เรื่องเทคนิคทางกฎหมายในการแบ่งเขตทางทะเล เช่น การลากเส้นแบ่งเขต เป็นต้น และเรื่องรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ร่วมว่าจะเป็นแบบใด เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-