นายเชิดชัย ขันธ์นะภา รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลั ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงข้อมูลฐานะการคลังประจำ
เดือนเมษายน 2544 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านรายได้
ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 เท่ากับ 397,341 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย (ร้อยละ 1.9)
เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้จากการขยายเวลาการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2542 รวมอยู่ประมาณ 17,800 ล้านบาท และยังมี
รายได้พิเศษจากการประมูลสุราเข้ามา จำนวน 15,462 ล้านบาท ประกอบกับการคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 59.8
ซึ่งหากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการขยายเวลาการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิ และรายได้พิเศษจากการประมูลสุรารายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.9
ภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่เก็บได้เพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อากรขาเข้า ภาษีเบียร์ ตลอดจนการนำส่งรายได้
ของรัฐวิสาหกิจ
ส่วนภาษีที่เก็บได้ลดลงที่สำคัญได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีสุรา
เมื่อพิจารณาผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บ หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้พิเศษ ทุกหน่วยงานจะจัดเก็บได้สูงกว่าปีที่แล้ว ดังนี้
กรมสรรพากร เก็บได้ 246,088 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 7,246 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.0 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการขยายเวลาการ
ยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิรายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.3
กรมสรรพสามิต เก็บได้ 100,465 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้ว 1,191 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการประมูล
สุราในส่วนของกรมสรรพสามิต 3,840 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย (ร้อยละ 2.7)
กรมศุลกากร เก็บได้ 53,917 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 3,959 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9
หน่วยงานอื่น เก็บได้ 48,449 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (สูงกว่าร้อยละ 0.1) หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการประมูลสุราในส่วนของ
กรมธนารักษ์ และกรมโรงงานอุตสาหกกรมจำนวน 11,622 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 31.7
2. ด้านรายจ่าย
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีปัจจุบัน (รวมชำระตันเงินกู้) ไปแล้วจำนวน 446,216
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (910,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ตั้งไว้ 452,500 ล้านบาท เล็กน้อย คือ
ประมาณร้อยละ 1.4 แต่สูงกว่าการเบิกจ่ายในปีที่แล้วร้อยละ 6.2
สำหรับเป้าหมายการเบิกจ่ายทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 828,100 ล้านบาท หรือร้อยละ 91 ของวงเงินงบประมาณ
3. ดุลการคลังตามระบบบัญชีการคลัง (Teasury account)
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 103,091 ล้านบาท (ปีที่แล้วขาดดุล 105,047 ล้านบาท) เนื่องจาก
มีการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 113,952 ล้านบาท ในขณะที่ดุลนอกงบประมาณเกินดุล 10,861 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 395,674 ล้านบาท
ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6,133 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 509,626 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
13,356 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 โดยแยกเป็นรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน (ไม่รวมชำระต้นเงิน) 440,782 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน (อัน
ประกอบไปด้วยเงินงบประมาณเหลื่อมจ่าย เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเหลื่อมจ่าย) จำนวย 68,844 ล้านบาท
4. เงินคงคลัง
ณ ต้นปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีเงินคงคลังเป็นจำนวนทั้งสิ้น 72,950 ล้านบาท เมื่อหักยอดการรับ และจ่ายเงินจากคลังระหว่างปีแล้ว
ทำให้รัฐบาลมียอดเงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ประมาณ 49,359 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 36/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-
เดือนเมษายน 2544 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านรายได้
ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 เท่ากับ 397,341 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย (ร้อยละ 1.9)
เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้จากการขยายเวลาการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2542 รวมอยู่ประมาณ 17,800 ล้านบาท และยังมี
รายได้พิเศษจากการประมูลสุราเข้ามา จำนวน 15,462 ล้านบาท ประกอบกับการคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 59.8
ซึ่งหากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการขยายเวลาการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิ และรายได้พิเศษจากการประมูลสุรารายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.9
ภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่เก็บได้เพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อากรขาเข้า ภาษีเบียร์ ตลอดจนการนำส่งรายได้
ของรัฐวิสาหกิจ
ส่วนภาษีที่เก็บได้ลดลงที่สำคัญได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีสุรา
เมื่อพิจารณาผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บ หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้พิเศษ ทุกหน่วยงานจะจัดเก็บได้สูงกว่าปีที่แล้ว ดังนี้
กรมสรรพากร เก็บได้ 246,088 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 7,246 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.0 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการขยายเวลาการ
ยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิรายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.3
กรมสรรพสามิต เก็บได้ 100,465 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้ว 1,191 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการประมูล
สุราในส่วนของกรมสรรพสามิต 3,840 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย (ร้อยละ 2.7)
กรมศุลกากร เก็บได้ 53,917 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 3,959 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9
หน่วยงานอื่น เก็บได้ 48,449 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (สูงกว่าร้อยละ 0.1) หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการประมูลสุราในส่วนของ
กรมธนารักษ์ และกรมโรงงานอุตสาหกกรมจำนวน 11,622 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 31.7
2. ด้านรายจ่าย
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีปัจจุบัน (รวมชำระตันเงินกู้) ไปแล้วจำนวน 446,216
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (910,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ตั้งไว้ 452,500 ล้านบาท เล็กน้อย คือ
ประมาณร้อยละ 1.4 แต่สูงกว่าการเบิกจ่ายในปีที่แล้วร้อยละ 6.2
สำหรับเป้าหมายการเบิกจ่ายทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 828,100 ล้านบาท หรือร้อยละ 91 ของวงเงินงบประมาณ
3. ดุลการคลังตามระบบบัญชีการคลัง (Teasury account)
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 103,091 ล้านบาท (ปีที่แล้วขาดดุล 105,047 ล้านบาท) เนื่องจาก
มีการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 113,952 ล้านบาท ในขณะที่ดุลนอกงบประมาณเกินดุล 10,861 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 395,674 ล้านบาท
ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6,133 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 509,626 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
13,356 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 โดยแยกเป็นรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน (ไม่รวมชำระต้นเงิน) 440,782 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน (อัน
ประกอบไปด้วยเงินงบประมาณเหลื่อมจ่าย เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเหลื่อมจ่าย) จำนวย 68,844 ล้านบาท
4. เงินคงคลัง
ณ ต้นปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีเงินคงคลังเป็นจำนวนทั้งสิ้น 72,950 ล้านบาท เมื่อหักยอดการรับ และจ่ายเงินจากคลังระหว่างปีแล้ว
ทำให้รัฐบาลมียอดเงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ประมาณ 49,359 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 36/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-