ข่าวในประเทศ
1. ธปท.กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ต่างประเทศของไทยและพร้อมชำระคืนไอเอ็มเอฟงวดแรกในเดือน พ.ย. ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ต่างประเทศล่าสุดในเดือน ก.ค.43 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 86,088 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 68 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถรับได้ แม้ในสายตาของนักลงทุนจะเห็นว่าเป็นระดับที่ยังไม่มีศักยภาพในการลงทุน แต่โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศดีและอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ประกอบกับถ้ามีการจัดการและบริหารหนี้ต่างประเทศอย่างดี เชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ ธปท.ไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อเร่งรัดให้ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเอกชนได้ชำระคืนเป็นจำนวนมากแล้ว โดยปัจจุบันเอกชนมีภาระหนี้ต่างประเทศเหลือเพียง 51,222 ล.ดอลลาร์ เป็นหนี้ระยะยาว 34,882 ล.ดอลลาร์ ส่วนหนี้ระยะสั้นมีจำนวน 16,340 ล.ดอลลาร์ จากเดิมที่มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่า 80,000 ล.ดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ ธปท.กำลังหาแนวทางจัดการกับหนี้ที่มีอยู่อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะหนี้ที่ต้องชำระคืนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศและเสถียรภาพค่าเงิน และในเดือน พ.ย.43 ธปท.พร้อมชำระคืนไอเอ็มเอฟงวดแรกจำนวน 200 ล.ดอลลาร์ (วัฏจักร 24)
2. ประธานทีดีอาร์ไอคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ในปี 43 ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปี 43 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ตามที่คาดการณ์ไว้ แม้จะชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันสูงและเงินบาทอ่อนค่าลง คาดว่าในไตรมาสที่ 3-4 ผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าเงินบาทจะสะท้อนถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก 1 แสน ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม จากการที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นตัวฉุดมิให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าอัตราการนำเข้าจะสูงขึ้น แต่การใช้จ่ายในประเทศจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำมากนัก สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้จ่ายภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐบาลควรจำกัดและตัดรายจ่ายการนำเข้าที่ไม่จำเป็น (ไทยโพสต์ 24)
3. ตัวเลขการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 (ม.ค.-ก.ย.) มีโครงการได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 831 โครงการ มูลค่าประมาณ 223,800 ล.บาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 70 ส่งผลให้เกิดการจ้างงานจำนวน 176,831 คน โดยนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น รองลงมา คือ ยุโรป และ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 42 มีโครงการได้รับอนุมัติ 494 โครงการ มูลค่าประมาณ 122,400 ล.บาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 119,374 คน ทั้งนี้ โครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออก ประเภทของอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระดาษและพลาสติกประมาณ 67,900 ล.บาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 51,000 ล.บาท (เดลินิวส์ 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ประมาณการว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจะชะลอลงในปี 44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 43 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำ 6 แห่งของเยอรมนี ประมาณการว่า ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) จะเติบโตร้อยละ 2.7 และได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 43 อยู่ที่ร้อยละ 3 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 3.3 ในช่วงครึ่งแรกปี 43 ส่วนอัตราการว่างงานในปี 44 จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 9.2 ในปี 43 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 1.9 ในปี 43 ในวันเดียวกัน สมาคมอุตสาหกรรมการค้าปลีก กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่แข็งแกร่ง รวมทั้งอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และการลดภาษีจะเกื้อหนุนให้ยอดการค้าปลีกในปี 44 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งจะเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 35(รอยเตอร์ 23)
2. ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงเทียบกับเงินยูโรสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 43 ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงเทียบกับเงินยูโร ซื้อขายกันที่ประมาณ 57.69/73 เพนซ์ต่อยูโร เนื่องจากมีการขายเงินยูโรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอังกฤษ ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงสูงสุดในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินของอังกฤษปรากฎว่าเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย ในยามที่เผชิญกับสถาณการณ์ตึงเครียดอย่างรุนแรงในตะวันออกกลางและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น(รอยเตอร์ 23)
3. เงินเฟ้อของเยอรมนีมีแนวโน้มลดลง รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 23 ต.ค.43 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ต.ค.43 เงินเฟ้อของเยอรมนี เทียบต่อปีมีแนวโน้มจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 จากที่ระดับร้อยละ 2.5 ในเดือน ก.ย.43 โดยคาดว่าราคาผู้บริโภคจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย.43 การคาดหมายดังกล่าวมีขึ้นหลังจากสหพันธรัฐแซกโซนีรายงานว่าในเดือน ต.ค.43 ราคาผู้บริโภค เทียบต่อปีลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หรืออยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.2 ในเดือน ก.ย.43 ทั้งนี้ สหพันธรัฐแซกโซนีเป็น 1 ใน 6 สหพันธรัฐ ที่ตัวเลขราคาผู้บริโภคถูกนำมาใช้ในการคำนวณตัวเลขเบื้องต้นของเงินเฟ้อเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าการอ่อนตัวของเงินเฟ้อในเยอรมนีจะสะท้อนภาพภาวะเงินเฟ้อของทั้งเขตยูโรหรือไม่ (รอยเตอร์ 23)
4. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของ สรอ. ลดลง 7,000 คน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ต.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 ต.ค.43 ก.แรงงาน สรอ. รายงานว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ต.ค.43 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของ สรอ. ลดลง 7,000 คน อยู่ที่จำนวน 307,000 คน จากตัวเลขปรับใหม่ ที่มีจำนวน 314,000 คน ในสัปดาห์ก่อน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ อัตราเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์ ซึ่งใช้วัดแนวโน้มตลาดแรงงานได้แน่นอนกว่า ลดลงมาอยู่ที่ 302,750 คน จากที่มีจำนวน 303,500 คนในสัปดาห์ก่อน เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 (รอยเตอร์ 19)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 ต.ค. 43 43.401 (43.641)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 ต.ค. 43
ซื้อ 43.1501 (43.5211) ขาย 43.4602 (43.8356)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,500) ขาย 5,650 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.76 (29.18)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ต่างประเทศของไทยและพร้อมชำระคืนไอเอ็มเอฟงวดแรกในเดือน พ.ย. ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ต่างประเทศล่าสุดในเดือน ก.ค.43 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 86,088 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 68 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถรับได้ แม้ในสายตาของนักลงทุนจะเห็นว่าเป็นระดับที่ยังไม่มีศักยภาพในการลงทุน แต่โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศดีและอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ประกอบกับถ้ามีการจัดการและบริหารหนี้ต่างประเทศอย่างดี เชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ ธปท.ไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อเร่งรัดให้ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเอกชนได้ชำระคืนเป็นจำนวนมากแล้ว โดยปัจจุบันเอกชนมีภาระหนี้ต่างประเทศเหลือเพียง 51,222 ล.ดอลลาร์ เป็นหนี้ระยะยาว 34,882 ล.ดอลลาร์ ส่วนหนี้ระยะสั้นมีจำนวน 16,340 ล.ดอลลาร์ จากเดิมที่มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่า 80,000 ล.ดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ ธปท.กำลังหาแนวทางจัดการกับหนี้ที่มีอยู่อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะหนี้ที่ต้องชำระคืนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศและเสถียรภาพค่าเงิน และในเดือน พ.ย.43 ธปท.พร้อมชำระคืนไอเอ็มเอฟงวดแรกจำนวน 200 ล.ดอลลาร์ (วัฏจักร 24)
2. ประธานทีดีอาร์ไอคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ในปี 43 ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปี 43 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ตามที่คาดการณ์ไว้ แม้จะชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันสูงและเงินบาทอ่อนค่าลง คาดว่าในไตรมาสที่ 3-4 ผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าเงินบาทจะสะท้อนถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก 1 แสน ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม จากการที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นตัวฉุดมิให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าอัตราการนำเข้าจะสูงขึ้น แต่การใช้จ่ายในประเทศจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำมากนัก สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้จ่ายภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐบาลควรจำกัดและตัดรายจ่ายการนำเข้าที่ไม่จำเป็น (ไทยโพสต์ 24)
3. ตัวเลขการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 (ม.ค.-ก.ย.) มีโครงการได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 831 โครงการ มูลค่าประมาณ 223,800 ล.บาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 70 ส่งผลให้เกิดการจ้างงานจำนวน 176,831 คน โดยนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น รองลงมา คือ ยุโรป และ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 42 มีโครงการได้รับอนุมัติ 494 โครงการ มูลค่าประมาณ 122,400 ล.บาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 119,374 คน ทั้งนี้ โครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออก ประเภทของอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระดาษและพลาสติกประมาณ 67,900 ล.บาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 51,000 ล.บาท (เดลินิวส์ 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ประมาณการว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจะชะลอลงในปี 44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 43 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำ 6 แห่งของเยอรมนี ประมาณการว่า ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) จะเติบโตร้อยละ 2.7 และได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 43 อยู่ที่ร้อยละ 3 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 3.3 ในช่วงครึ่งแรกปี 43 ส่วนอัตราการว่างงานในปี 44 จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 9.2 ในปี 43 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 1.9 ในปี 43 ในวันเดียวกัน สมาคมอุตสาหกรรมการค้าปลีก กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่แข็งแกร่ง รวมทั้งอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และการลดภาษีจะเกื้อหนุนให้ยอดการค้าปลีกในปี 44 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งจะเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 35(รอยเตอร์ 23)
2. ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงเทียบกับเงินยูโรสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 43 ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงเทียบกับเงินยูโร ซื้อขายกันที่ประมาณ 57.69/73 เพนซ์ต่อยูโร เนื่องจากมีการขายเงินยูโรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอังกฤษ ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงสูงสุดในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินของอังกฤษปรากฎว่าเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย ในยามที่เผชิญกับสถาณการณ์ตึงเครียดอย่างรุนแรงในตะวันออกกลางและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น(รอยเตอร์ 23)
3. เงินเฟ้อของเยอรมนีมีแนวโน้มลดลง รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 23 ต.ค.43 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ต.ค.43 เงินเฟ้อของเยอรมนี เทียบต่อปีมีแนวโน้มจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 จากที่ระดับร้อยละ 2.5 ในเดือน ก.ย.43 โดยคาดว่าราคาผู้บริโภคจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย.43 การคาดหมายดังกล่าวมีขึ้นหลังจากสหพันธรัฐแซกโซนีรายงานว่าในเดือน ต.ค.43 ราคาผู้บริโภค เทียบต่อปีลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หรืออยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.2 ในเดือน ก.ย.43 ทั้งนี้ สหพันธรัฐแซกโซนีเป็น 1 ใน 6 สหพันธรัฐ ที่ตัวเลขราคาผู้บริโภคถูกนำมาใช้ในการคำนวณตัวเลขเบื้องต้นของเงินเฟ้อเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าการอ่อนตัวของเงินเฟ้อในเยอรมนีจะสะท้อนภาพภาวะเงินเฟ้อของทั้งเขตยูโรหรือไม่ (รอยเตอร์ 23)
4. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของ สรอ. ลดลง 7,000 คน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ต.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 ต.ค.43 ก.แรงงาน สรอ. รายงานว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ต.ค.43 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของ สรอ. ลดลง 7,000 คน อยู่ที่จำนวน 307,000 คน จากตัวเลขปรับใหม่ ที่มีจำนวน 314,000 คน ในสัปดาห์ก่อน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ อัตราเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์ ซึ่งใช้วัดแนวโน้มตลาดแรงงานได้แน่นอนกว่า ลดลงมาอยู่ที่ 302,750 คน จากที่มีจำนวน 303,500 คนในสัปดาห์ก่อน เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 (รอยเตอร์ 19)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 ต.ค. 43 43.401 (43.641)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 ต.ค. 43
ซื้อ 43.1501 (43.5211) ขาย 43.4602 (43.8356)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,500) ขาย 5,650 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.76 (29.18)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-