1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ของผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 0.91 บาท ราคาลดลงจาก กก.ละ 0.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 8.88 บาท ราคาลดลงจากกก.ละ 9.13 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
เดือนมกราคม มาเลเซียสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้ 1.06 ล้านตันสูงกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 10 และในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าผลผลิตจะมีเท่ากับ 900,000, ตัน เมื่อเทียบกับการส่งออกที่ค่อนข้างซบเซาในขณะนี้ คาดว่าในสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ สต๊อคคงเหลือจะมีอย่างน้อย 1.50 ล้านตัน
การแข่งขันด้านราคาส่งออกระหว่างมาเลเซีย - อินโดนีเซีย ทวีความรุนแรงขึ้น โดยต่างต้องการระบายน้ำมันส่วนเกินออกสู่ตลาดต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อมิให้ราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำไปกว่านี้ มาเลเซีย - อินโดนีเซียจึงตกลงที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้าน้ำมันปาล์ม (ALLIANCE) ร่วมกัน โดยรายละเอียดจะมีการเจรจาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ โดยความร่วมมือนี้จะยังครอบคลุมการร่วมลงทุนกัน การส่งเสริมการขายร่วมกันรวมทั้งการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาร่วมกัน อย่างไรก็ตามวงการค้าต่างคาดว่าความร่วมมือทางการค้าของทั้ง 2 ประเทศคงเป็นไปได้ยาก และราคาในตลาดโลกอาจไม่กระเตื้องขึ้นเนื่องจากอุปทานมีมาก และต้องแข่งขันกับน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งมีราคาลดลงเช่นกัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์เฉลี่ยตันละ 694.10 ดอลลาร์มาเลเซีย (7.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 700.82 ดอลลาร์มาเลเซีย (7.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์เฉลี่ยตันละ 237.50 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (10.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 244.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้ของผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 0.91 บาท ราคาลดลงจาก กก.ละ 0.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 8.88 บาท ราคาลดลงจากกก.ละ 9.13 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
เดือนมกราคม มาเลเซียสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้ 1.06 ล้านตันสูงกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 10 และในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าผลผลิตจะมีเท่ากับ 900,000, ตัน เมื่อเทียบกับการส่งออกที่ค่อนข้างซบเซาในขณะนี้ คาดว่าในสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ สต๊อคคงเหลือจะมีอย่างน้อย 1.50 ล้านตัน
การแข่งขันด้านราคาส่งออกระหว่างมาเลเซีย - อินโดนีเซีย ทวีความรุนแรงขึ้น โดยต่างต้องการระบายน้ำมันส่วนเกินออกสู่ตลาดต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อมิให้ราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำไปกว่านี้ มาเลเซีย - อินโดนีเซียจึงตกลงที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้าน้ำมันปาล์ม (ALLIANCE) ร่วมกัน โดยรายละเอียดจะมีการเจรจาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ โดยความร่วมมือนี้จะยังครอบคลุมการร่วมลงทุนกัน การส่งเสริมการขายร่วมกันรวมทั้งการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาร่วมกัน อย่างไรก็ตามวงการค้าต่างคาดว่าความร่วมมือทางการค้าของทั้ง 2 ประเทศคงเป็นไปได้ยาก และราคาในตลาดโลกอาจไม่กระเตื้องขึ้นเนื่องจากอุปทานมีมาก และต้องแข่งขันกับน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งมีราคาลดลงเช่นกัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์เฉลี่ยตันละ 694.10 ดอลลาร์มาเลเซีย (7.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 700.82 ดอลลาร์มาเลเซีย (7.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์เฉลี่ยตันละ 237.50 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (10.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 244.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-