WTO จะจัดประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9 — 13 พฤศจิกายน 2544 ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ในส่วนของไทย ฯพณฯนายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมอยู่ในคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก (หรือที่เรียกย่อๆ ว่า คณะอนุกรรมการ WTO) ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณากรอบท่าทีของไทยในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 และได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบท่าทีไทย สาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ไทยให้การสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ที่ sufficiently broad based มีความสมดุล มีความยืดหยุ่น และคำนึงถึงความสามารถของประเทศสมาชิกตามระดับการพัฒนาประเทศ
1. เรื่องที่ไทยให้ความสำคัญ ได้แก่
1.1 เกษตร
(1) ให้มีการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรอย่างจริงจัง โดยนำไปสู่การยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกทุกชนิดในที่สุด ลดการอุดหนุนภายในลงให้มาก และเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กว้างขึ้นอีก
(2) ต้องมีการให้แต้มต่อ (Special and Differential Treatment : S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ชัดเจน จริงจัง และขยายเพิ่มขึ้นจากเดิม
(3) มีความชัดเจนเรื่องการกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอนในการเจรจา
1.2 กฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว สนับสนุนให้มีการเจรจาปรับปรุงความตกลงเกี่ยวกับกฎ ระเบียบการค้า (Rules) ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่สมาชิกโดยรวม ประกอบด้วยเรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุนและอากรตอบโต้ การอุดหนุนประมง และมาตรการปกป้อง
1.3 ขบวนการยุติข้อพิพาท ให้มีการปรับปรุงกระบวนการระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement) ของ WTO ให้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.4 การปฏิบัติตามพันธกรณี (Implementation) ที่ควรมีการแก้ไขเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี เพื่อให้ประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทยมากขึ้น เช่น สิ่งทอ มาตรการสุขอนามัย มาตรการปกป้อง อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และการทุ่มตลาด
1.5 การปฏิบัติเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา (S&D) ต้องการให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว เช่น การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่าง (S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด
1.6 สิทธิบัตรยา สนับสนุนให้มีเรื่อง Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPS และ Public Health ในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหา access to essential drugs และความสัมพันธ์ระหว่าง TRIPS กับ Convention on Biological Diversity (CBD)
2. เรื่องที่รับให้มีการเจรจาได้
2.1 บริการ เข้าร่วมเจรจาต่อไป รวมทั้งผลักดันให้ประเทศที่เปิดตลาดบริการสามารถใช้มาตรการคุ้มกันหรือปกป้องได้ ในกรณีมีการลงทุน จากต่างชาติเข้ามากเกินไปจนทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ (Emergency Safeguard Measures : ESMs)
2.2 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เข้าร่วมเจรจาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
2.3 การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม ผลักดันให้มีเงื่อนไขพิเศษหรือแต้มต่อสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องระยะเวลาและอัตราภาษีที่จะลด
2.4 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนในหลักการเรื่องการจัดทำ Work Programme พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไป ขยายเวลาการยกเว้นการเก็บภาษี Electronic Transmission (moratorium) เป็นการชั่วคราวถึงการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5 และสนับสนุนให้มีการจัดทำแผนงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะของประเทศกำลังพัฒนา
2.5 ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ ไทยควรเข้าร่วมในความตกลงนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าประเทศกำลังพัฒนาควรมีเวลาในการปรับตัวด้วย
3. เรื่องที่ไม่ต้องการเจรจาจัดทำความตกลงใหม่
3.1 การค้ากับการลงทุน และ การค้ากับนโยบายการแข่งขัน สนับสนุนให้คณะทำงานใน WTO ดำเนินการศึกษาต่อไป เพื่อให้ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยมีความเข้าในในเรื่องดังกล่าวอย่างถ่องแท้ก่อน จึงค่อยพิจารณาว่าควรจะมีการเจรจาทำความตกลงในเรื่องนี้หรือไม่ในโอกาสต่อไป
3.2 การอำนวยความสะดวกทางการค้า สนับสนุนให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยอำนวยความสะดวกด้านการค้า แต่ไม่จำเป็นต้องจัดทำเป็นความตกลงฉบับใหม่
3.3 สิ่งแวดล้อม สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ต้องไม่นำไปเป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า จึงควรให้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมทำการศึกษาต่อไป
เรื่องที่คัดค้าน
แรงงาน คัดค้านการนำเรื่องแรงงานเข้าไปเจรจาในองค์การการค้าโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก (หรือที่เรียกย่อๆ ว่า คณะอนุกรรมการ WTO) ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณากรอบท่าทีของไทยในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 และได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบท่าทีไทย สาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ไทยให้การสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ที่ sufficiently broad based มีความสมดุล มีความยืดหยุ่น และคำนึงถึงความสามารถของประเทศสมาชิกตามระดับการพัฒนาประเทศ
1. เรื่องที่ไทยให้ความสำคัญ ได้แก่
1.1 เกษตร
(1) ให้มีการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรอย่างจริงจัง โดยนำไปสู่การยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกทุกชนิดในที่สุด ลดการอุดหนุนภายในลงให้มาก และเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กว้างขึ้นอีก
(2) ต้องมีการให้แต้มต่อ (Special and Differential Treatment : S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ชัดเจน จริงจัง และขยายเพิ่มขึ้นจากเดิม
(3) มีความชัดเจนเรื่องการกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอนในการเจรจา
1.2 กฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว สนับสนุนให้มีการเจรจาปรับปรุงความตกลงเกี่ยวกับกฎ ระเบียบการค้า (Rules) ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่สมาชิกโดยรวม ประกอบด้วยเรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุนและอากรตอบโต้ การอุดหนุนประมง และมาตรการปกป้อง
1.3 ขบวนการยุติข้อพิพาท ให้มีการปรับปรุงกระบวนการระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement) ของ WTO ให้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.4 การปฏิบัติตามพันธกรณี (Implementation) ที่ควรมีการแก้ไขเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี เพื่อให้ประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทยมากขึ้น เช่น สิ่งทอ มาตรการสุขอนามัย มาตรการปกป้อง อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และการทุ่มตลาด
1.5 การปฏิบัติเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา (S&D) ต้องการให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว เช่น การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่าง (S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด
1.6 สิทธิบัตรยา สนับสนุนให้มีเรื่อง Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPS และ Public Health ในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหา access to essential drugs และความสัมพันธ์ระหว่าง TRIPS กับ Convention on Biological Diversity (CBD)
2. เรื่องที่รับให้มีการเจรจาได้
2.1 บริการ เข้าร่วมเจรจาต่อไป รวมทั้งผลักดันให้ประเทศที่เปิดตลาดบริการสามารถใช้มาตรการคุ้มกันหรือปกป้องได้ ในกรณีมีการลงทุน จากต่างชาติเข้ามากเกินไปจนทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ (Emergency Safeguard Measures : ESMs)
2.2 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เข้าร่วมเจรจาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
2.3 การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม ผลักดันให้มีเงื่อนไขพิเศษหรือแต้มต่อสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องระยะเวลาและอัตราภาษีที่จะลด
2.4 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนในหลักการเรื่องการจัดทำ Work Programme พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไป ขยายเวลาการยกเว้นการเก็บภาษี Electronic Transmission (moratorium) เป็นการชั่วคราวถึงการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5 และสนับสนุนให้มีการจัดทำแผนงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะของประเทศกำลังพัฒนา
2.5 ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ ไทยควรเข้าร่วมในความตกลงนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าประเทศกำลังพัฒนาควรมีเวลาในการปรับตัวด้วย
3. เรื่องที่ไม่ต้องการเจรจาจัดทำความตกลงใหม่
3.1 การค้ากับการลงทุน และ การค้ากับนโยบายการแข่งขัน สนับสนุนให้คณะทำงานใน WTO ดำเนินการศึกษาต่อไป เพื่อให้ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยมีความเข้าในในเรื่องดังกล่าวอย่างถ่องแท้ก่อน จึงค่อยพิจารณาว่าควรจะมีการเจรจาทำความตกลงในเรื่องนี้หรือไม่ในโอกาสต่อไป
3.2 การอำนวยความสะดวกทางการค้า สนับสนุนให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยอำนวยความสะดวกด้านการค้า แต่ไม่จำเป็นต้องจัดทำเป็นความตกลงฉบับใหม่
3.3 สิ่งแวดล้อม สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ต้องไม่นำไปเป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า จึงควรให้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมทำการศึกษาต่อไป
เรื่องที่คัดค้าน
แรงงาน คัดค้านการนำเรื่องแรงงานเข้าไปเจรจาในองค์การการค้าโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-