กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (19 พฤษภาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า เมื่อต้นปี 2543 สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ บางรายได้ดำเนินการเสนอร่างกฎหมายเพื่อกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเพชรพลอยและรูปพรรณ ที่เป็นของเทียมจากต่างประเทศ รวมทั้งจากประเทศไทยที่ส่งไปยังตลาดสหรัฐฯ ว่า จะต้องมีการสลักชื่อถิ่นกำเนิดลงบนตัวเครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม (กล่าวคือการระบุถิ่นกำเนิดสินค้าบนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นการเพียงพอ) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมจากไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ต้องการ ให้ผนวกร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าเป็นตัวบทหนึ่งในร่างกฎหมาย African/CBI (Caribbean Basin Initiatives) Trade Bill
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้มีมติเห็นชอบผ่านร่างกฎหมาย African/CBI Trade Bill โดยมีการถอนบทบัญญัติที่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวออกไป
การที่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับอัญมณีข้างต้นได้ถูกถอดถอนไปจากร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น เป็นผลจากการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับ ประเทศสมาชิกอาเซียนและมิตรประเทศอื่นๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการกันโน้มน้าวเจรจาชี้แจงและส่งหนังสือเวียนไปยังสมาชิก รัฐสภาที่มีส่วนเกี่ยวข้องของสหรัฐฯ ให้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงและประโยชน์ที่ประชาชนสหรัฐฯ เองพึงได้รับจากการละเว้นการใช้มาตรการ ดังกล่าว อันจะทำให้คนอเมริกันสามารถซื้อสินค้าราคาถูกลง ขณะเดียวกันผลงานของทีมไทยแลนด์ในสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ก็เป็นประโยชน์ ต่อผู้ส่งออกอัญมณีของไทย ในการลดภาระและค่าใช้จ่ายอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (19 พฤษภาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า เมื่อต้นปี 2543 สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ บางรายได้ดำเนินการเสนอร่างกฎหมายเพื่อกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเพชรพลอยและรูปพรรณ ที่เป็นของเทียมจากต่างประเทศ รวมทั้งจากประเทศไทยที่ส่งไปยังตลาดสหรัฐฯ ว่า จะต้องมีการสลักชื่อถิ่นกำเนิดลงบนตัวเครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม (กล่าวคือการระบุถิ่นกำเนิดสินค้าบนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นการเพียงพอ) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมจากไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ต้องการ ให้ผนวกร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าเป็นตัวบทหนึ่งในร่างกฎหมาย African/CBI (Caribbean Basin Initiatives) Trade Bill
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้มีมติเห็นชอบผ่านร่างกฎหมาย African/CBI Trade Bill โดยมีการถอนบทบัญญัติที่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวออกไป
การที่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับอัญมณีข้างต้นได้ถูกถอดถอนไปจากร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น เป็นผลจากการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับ ประเทศสมาชิกอาเซียนและมิตรประเทศอื่นๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการกันโน้มน้าวเจรจาชี้แจงและส่งหนังสือเวียนไปยังสมาชิก รัฐสภาที่มีส่วนเกี่ยวข้องของสหรัฐฯ ให้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงและประโยชน์ที่ประชาชนสหรัฐฯ เองพึงได้รับจากการละเว้นการใช้มาตรการ ดังกล่าว อันจะทำให้คนอเมริกันสามารถซื้อสินค้าราคาถูกลง ขณะเดียวกันผลงานของทีมไทยแลนด์ในสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ก็เป็นประโยชน์ ต่อผู้ส่งออกอัญมณีของไทย ในการลดภาระและค่าใช้จ่ายอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-