เตรียมส่งบุคลากรร่วมถกเวทีนานาชาติ WGS ที่เวียดนาม ต้น มิ.ย. เผยมีข้อหารือให้ความช่วยเหลือการจัดทำระบบสถิติอุตสาหกรรม กลุ่มประเทศ CLMV
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 8 - 9 มิ.ย. 2548 สศอ.จะจัดส่งบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดทำสถิติอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมนานาชาติ Working Group On Statistics (WGS) Under AMEICC หรือการประชุมคณะทำงานด้านสถิติอุตสาหกรรมโดยคณะกรรมการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee : AMEICC) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม โดยเนื้อหาในการจัดประชุมครั้งนี้จะเป็นการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านการจัดทำสถิติอุตสาหกรรมสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และการพาณิชย์ของกลุ่มประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ 11 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย และ ญี่ปุ่น
“ในแถบภูมิภาคอาเซียนประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างมาก ในเรื่องของการจัดทำสถิติอุตสาหกรรมและการทำดัชนีอุตสาหกรรมที่มีความแม่นยำสูง และสามารถส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการได้รับรู้ถึงทิศทางของภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลร่วมในการประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานด้านการจัดทำระบบสถิติอุตสาหกรรม โดยล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ประเทศฟิลิปปินส์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเข้ามาศึกษาดูงาน และมีอีกหลายประเทศที่ได้แจ้งความประสงค์ เพื่อขอเข้ามาศึกษาดูงาน ที่ สศอ. อย่างต่อเนื่อง นับเป็นความภูมิใจของ สศอ. ที่การจัดทำสถิติอุตสาหกรรมของ สศอ. เป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวางและสามารถเป็นแม่แบบให้กับอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้” นางชุตาภรณ์ กล่าว
นางชุตาภรณ์ ยังเปิดเผยอีกว่า ในที่ประชุม WGS จะมีการเสนอให้ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือเรื่องการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมแก่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า และประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเป็นการให้ความช่วยเหลือการจัดทำระบบสถิติอุตสาหกรรม และแนะนำทางด้านเทคนิคโดยการให้เปล่า และหากมีการร้องขอจากประเทศต่างๆ หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคร่วมกัน สศอ. จะได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ที่มา : ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ โทร 0-2202-4274
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 8 - 9 มิ.ย. 2548 สศอ.จะจัดส่งบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดทำสถิติอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมนานาชาติ Working Group On Statistics (WGS) Under AMEICC หรือการประชุมคณะทำงานด้านสถิติอุตสาหกรรมโดยคณะกรรมการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee : AMEICC) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม โดยเนื้อหาในการจัดประชุมครั้งนี้จะเป็นการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านการจัดทำสถิติอุตสาหกรรมสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และการพาณิชย์ของกลุ่มประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ 11 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย และ ญี่ปุ่น
“ในแถบภูมิภาคอาเซียนประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างมาก ในเรื่องของการจัดทำสถิติอุตสาหกรรมและการทำดัชนีอุตสาหกรรมที่มีความแม่นยำสูง และสามารถส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการได้รับรู้ถึงทิศทางของภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลร่วมในการประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานด้านการจัดทำระบบสถิติอุตสาหกรรม โดยล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ประเทศฟิลิปปินส์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเข้ามาศึกษาดูงาน และมีอีกหลายประเทศที่ได้แจ้งความประสงค์ เพื่อขอเข้ามาศึกษาดูงาน ที่ สศอ. อย่างต่อเนื่อง นับเป็นความภูมิใจของ สศอ. ที่การจัดทำสถิติอุตสาหกรรมของ สศอ. เป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวางและสามารถเป็นแม่แบบให้กับอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้” นางชุตาภรณ์ กล่าว
นางชุตาภรณ์ ยังเปิดเผยอีกว่า ในที่ประชุม WGS จะมีการเสนอให้ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือเรื่องการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมแก่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า และประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเป็นการให้ความช่วยเหลือการจัดทำระบบสถิติอุตสาหกรรม และแนะนำทางด้านเทคนิคโดยการให้เปล่า และหากมีการร้องขอจากประเทศต่างๆ หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคร่วมกัน สศอ. จะได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ที่มา : ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ โทร 0-2202-4274
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-