นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำของภาคอุตสาหกรรม ในภาคตะวันออก ว่าแม้วันนี้รัฐบาลจะกำลังแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาแบบโยนปัญหาจากกลุ่มหนึ่งไปเป็นปัญหาของอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลควรจะเตรียมความพร้อมในการรองรับการขาดแคลนน้ำของภาคอุตสาหกรรม ที่มีปริมาณแน่นอน ตามที่กรมชลประทานได้รายงานรัฐบาลล่วงหน้ามากว่า 2 ปี จากการติดตามรัฐบาลกลับไม่ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว
แต่วันนี้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็พยายามสร้างภาพให้เกิดความเชื่อมั่นเพื่อกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจที่มีปัญหา โดยจะเอาแหล่งน้ำทางการเกษตรของจังหวัดระยองไปทดแทนปริมาณที่ขาดในภาคอุตสาหกรรม และยังมีการขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อมาทดแทนน้ำที่ต้องใช้
‘การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้ ประชาชนที่จังหวัดระยองรับไม่ได้ เม้ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญ และเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่สูง แต่ว่าเป็นการเอาปัญหาจากภาคอุตสาหกรรมมาทิ้งให้ภาคเกษตร โดยเฉพาะแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อาจถูกใช้ไป ซึ่งชาวระยองส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรตลอดปี หากว่าน้ำทางการเกษตรถูกนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมจนเกือบหมด ในหน้าแล้งเกษตรกรก็จะได้รับผลกระทบเรื่องน้ำ’ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนน้ำใต้ดิน หากมีการใช้ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ 1. แผ่นดินทรุด ซึ่งรัฐบาลพูดมาตลอดว่าจะไม่เกิดผลกระทบในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่ความเป็นจริงแล้ว ประชาชนยังมีความระแวง 2. เมื่อสูบน้ำไปใช้ในปริมาณมากๆ จังหวัดที่เป็นพื้นที่ใกล้ทะเล จะมีสารคลอไรด์เข้ามา เมื่อมีการสูบน้ำไปใช้สารคลอไรด์ จะเข้ามาปะปนกับน้ำใต้ดิน ซึ่งในอนาคตทำให้การที่จะนำน้ำใต้ดินมาใช้ในการเกษตร ก็จะเกิดปัญหา ดังตนเห็นว่าการแก้ปัญหาระยะสั้นโดยการนำน้ำใต้ดิน หรือวิธีนำน้ำภาคการเกษตรไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่ประชาชนในภาคตะวันออกไม่เห็นด้วย และที่สำคัญความจำเป็นในการใช้ในภาคอุตสาหกรรมมีถึง 5 แสน ลูกบาตรเมตรต่อวัน แต่น้ำที่จะนำมาใช้โดยดึงมาจากทั้ง 2 แหล่ง มีปริมาณ 1 พันลูกบาตรเมตรต่อวัน และน้ำก็มีปริมาณคลอไรด์เจือปน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
นายสาธิต กล่าวเสนอว่า วิธีแก้ปัญหาก็คือรัฐบาลต้องยอมรับความจริง และควรประเมินสถานการณ์ความจำเป็นที่ใช้น้ำในฤดูแล้งนี้ และควรไปดูตัวเลขความจำเป็นในการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมว่าเป็นจำนวนที่ชัดเจนเป็นเท่าไหร่ และเมื่อน้ำมีปริมาณไม่เพียงพอกับความจำเป็นในภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลควรประกาศลดกำลังผลิตเพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ที่จะได้เห็นตรงกันและรับรู้ความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นการสร้างภาพอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2548--จบ--
แต่วันนี้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็พยายามสร้างภาพให้เกิดความเชื่อมั่นเพื่อกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจที่มีปัญหา โดยจะเอาแหล่งน้ำทางการเกษตรของจังหวัดระยองไปทดแทนปริมาณที่ขาดในภาคอุตสาหกรรม และยังมีการขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อมาทดแทนน้ำที่ต้องใช้
‘การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้ ประชาชนที่จังหวัดระยองรับไม่ได้ เม้ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญ และเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่สูง แต่ว่าเป็นการเอาปัญหาจากภาคอุตสาหกรรมมาทิ้งให้ภาคเกษตร โดยเฉพาะแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อาจถูกใช้ไป ซึ่งชาวระยองส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรตลอดปี หากว่าน้ำทางการเกษตรถูกนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมจนเกือบหมด ในหน้าแล้งเกษตรกรก็จะได้รับผลกระทบเรื่องน้ำ’ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนน้ำใต้ดิน หากมีการใช้ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ 1. แผ่นดินทรุด ซึ่งรัฐบาลพูดมาตลอดว่าจะไม่เกิดผลกระทบในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่ความเป็นจริงแล้ว ประชาชนยังมีความระแวง 2. เมื่อสูบน้ำไปใช้ในปริมาณมากๆ จังหวัดที่เป็นพื้นที่ใกล้ทะเล จะมีสารคลอไรด์เข้ามา เมื่อมีการสูบน้ำไปใช้สารคลอไรด์ จะเข้ามาปะปนกับน้ำใต้ดิน ซึ่งในอนาคตทำให้การที่จะนำน้ำใต้ดินมาใช้ในการเกษตร ก็จะเกิดปัญหา ดังตนเห็นว่าการแก้ปัญหาระยะสั้นโดยการนำน้ำใต้ดิน หรือวิธีนำน้ำภาคการเกษตรไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่ประชาชนในภาคตะวันออกไม่เห็นด้วย และที่สำคัญความจำเป็นในการใช้ในภาคอุตสาหกรรมมีถึง 5 แสน ลูกบาตรเมตรต่อวัน แต่น้ำที่จะนำมาใช้โดยดึงมาจากทั้ง 2 แหล่ง มีปริมาณ 1 พันลูกบาตรเมตรต่อวัน และน้ำก็มีปริมาณคลอไรด์เจือปน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
นายสาธิต กล่าวเสนอว่า วิธีแก้ปัญหาก็คือรัฐบาลต้องยอมรับความจริง และควรประเมินสถานการณ์ความจำเป็นที่ใช้น้ำในฤดูแล้งนี้ และควรไปดูตัวเลขความจำเป็นในการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมว่าเป็นจำนวนที่ชัดเจนเป็นเท่าไหร่ และเมื่อน้ำมีปริมาณไม่เพียงพอกับความจำเป็นในภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลควรประกาศลดกำลังผลิตเพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ที่จะได้เห็นตรงกันและรับรู้ความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นการสร้างภาพอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2548--จบ--