นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และโฆษกกรมการค้า- ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานการค้าต่างประเทศจังหวัดขอนแก่นว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยแขวงเวียงจันทน์ ได้ประกาศห้ามนำเข้าสินค้าจากไทย 3 ประเภท คือ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ปีก และสัตว์น้ำ รวม 62 ชนิด ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543 โดยอ้างว่าสินค้าไทยดังกล่าวไม่มีใบรับรองกำกับและไม่เข้าข่ายข้อกำหนดของทางการ สปป.ลาว ที่กำหนดให้การค้าชายแดนต้องผ่านบริษัทลาวที่ได้จดทะเบียนเท่านั้น โฆษกกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า เรื่องนี้นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนได้สั่งการให้ รีบติดตามหาทางแก้ไขปัญหานี้โดยเร็ว ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการประสานกับพาณิชย์จังหวัดหนองคายและทูตพาณิชย์ไทยประจำนครเวียงจันทน์ ขอความร่วมมือโน้มน้าวฝ่ายลาวให้ ยกเลิกประกาศการห้ามนำเข้าสินค้า 3 ประเภทดังกล่าว
ขณะเดียวกันกรมการค้าต่างประเทศ ได้ติดต่อทูตพาณิชย์ลาว ประจำประเทศไทย ขอทราบข้อเท็จจริงและร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อมิให้กระทบต่อ ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-ลาวที่มีความกระชับและพัฒนาดีขึ้นมาโดยลำดับ ตั้งแต่ไทยให้ความ ช่วยเหลือสนับสนุนการซื้อสินค้าเกษตรจากลาวภายใต้ WTO 23 รายการ และลดหย่อนภาษีสินค้าเกษตรให้อีก 17 รายการ ซึ่งฝ่ายลาวก็ได้แสดงความขอบคุณและยินดีมาโดยตลอด โฆษกกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า ทูตพาณิชย์ลาวประจำประเทศไทย ได้แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและท่องเที่ยวของ สปป.ลาว (นายพูมี ทิบพะวอน) แล้ว ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ลาว ยังไม่ทราบเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการออกประกาศในระดับแขวง และรับที่จะติดตามข้อเท็จจริงเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
ขณะเดียวกันเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทูตพาณิชย์ลาว ประจำประเทศไทยได้เดินทางไปนคร เวียงจันทร์ เพื่อนำเรื่องนี้ขึ้นหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและท่องเที่ยวของ สปป.ลาว โดยตรงอีกครั้ง เพื่อหาทางยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะติดตามประสานงานเรื่องนี้กับฝ่ายลาวอย่างใกล้ชิดและจะแจ้งผลความคืบหน้าให้ทราบต่อไป สำหรับสินค้าที่ สปป.ลาว ประกาศห้ามนำเข้าทางแขวงนครเวียงจันทน์ ประกอบด้วย ประเภทผัก 30 ชนิด เช่น กะหล่ำปลี ผักบุ้ง ผักกาด หัวปลี ต้นหอมสด กระเทียม หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง หน่อไม้ ถั่วฝักยาว พริกดิบ แตงกวา มะเขือเทศ มันฝรั่ง ผักกาดหอม คะน้า มะเขือ สะระแหน่ ผักชี น้ำเต้า ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มะนาว มะระ ตั้งโอ๋ เป็นต้น ประเภทผลไม้ 15 ชนิด คือ ชมพู่มะเหมี่ยว ละมุด ฝรั่ง สับปะรด แตงโม มะม่วง ขนุน มะขาม ลำไย มะละกอ แคนตาลูบ ทุเรียน พุดทรา น้อยหน่า และมะพร้าว ประเภทเนื้อสัตว์ปีกและสัตว์น้ำ ประกอบด้วย เนื้อกระบือ เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ เป็ด ไก่งวง ห่าน นกกระทา ปลาช่อน ปลาดุก ปลาสวาย ปลาไน ไข่ ปลาไหล กบเขียด ปลานิล และแมงดา จากการที่ไทยได้ให้สิทธิพิเศษแก่ สปป.ลาว ในการส่งสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร และพยายาม ลดอุปสรรคที่เป็นปัญหาด้านการค้าทางชายแดนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการค้าชายแดนทั้งสองฝ่าย เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ปี 2541 ปริมาณการค้ารวมประมาณ 16,483 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 15,000 ล้านบาท นำเข้า 1,483 บาท และปี 2542 ปริมาณการค้ารวมประมาณ 18,750 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 15,928 ล้านบาท นำเข้า 2,822 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 47) สำหรับสินค้าที่ สปป.ลาว ห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยทั้ง 3 ประเภทนั้นมีมูลค่าไม่มากนักไม่ถึง 2 % เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกไป สปป.ลาว ทั้งหมด แต่กรมการค้าต่างประเทศก็ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้น และกำลังหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกับ สปป.ลาว อย่างเร่งด่วนต่อไป
--กรมการส่งเสริมการส่งออก พฤษภาคม 2543--
-ยก-
ขณะเดียวกันกรมการค้าต่างประเทศ ได้ติดต่อทูตพาณิชย์ลาว ประจำประเทศไทย ขอทราบข้อเท็จจริงและร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อมิให้กระทบต่อ ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-ลาวที่มีความกระชับและพัฒนาดีขึ้นมาโดยลำดับ ตั้งแต่ไทยให้ความ ช่วยเหลือสนับสนุนการซื้อสินค้าเกษตรจากลาวภายใต้ WTO 23 รายการ และลดหย่อนภาษีสินค้าเกษตรให้อีก 17 รายการ ซึ่งฝ่ายลาวก็ได้แสดงความขอบคุณและยินดีมาโดยตลอด โฆษกกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า ทูตพาณิชย์ลาวประจำประเทศไทย ได้แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและท่องเที่ยวของ สปป.ลาว (นายพูมี ทิบพะวอน) แล้ว ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ลาว ยังไม่ทราบเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการออกประกาศในระดับแขวง และรับที่จะติดตามข้อเท็จจริงเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
ขณะเดียวกันเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทูตพาณิชย์ลาว ประจำประเทศไทยได้เดินทางไปนคร เวียงจันทร์ เพื่อนำเรื่องนี้ขึ้นหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและท่องเที่ยวของ สปป.ลาว โดยตรงอีกครั้ง เพื่อหาทางยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะติดตามประสานงานเรื่องนี้กับฝ่ายลาวอย่างใกล้ชิดและจะแจ้งผลความคืบหน้าให้ทราบต่อไป สำหรับสินค้าที่ สปป.ลาว ประกาศห้ามนำเข้าทางแขวงนครเวียงจันทน์ ประกอบด้วย ประเภทผัก 30 ชนิด เช่น กะหล่ำปลี ผักบุ้ง ผักกาด หัวปลี ต้นหอมสด กระเทียม หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง หน่อไม้ ถั่วฝักยาว พริกดิบ แตงกวา มะเขือเทศ มันฝรั่ง ผักกาดหอม คะน้า มะเขือ สะระแหน่ ผักชี น้ำเต้า ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มะนาว มะระ ตั้งโอ๋ เป็นต้น ประเภทผลไม้ 15 ชนิด คือ ชมพู่มะเหมี่ยว ละมุด ฝรั่ง สับปะรด แตงโม มะม่วง ขนุน มะขาม ลำไย มะละกอ แคนตาลูบ ทุเรียน พุดทรา น้อยหน่า และมะพร้าว ประเภทเนื้อสัตว์ปีกและสัตว์น้ำ ประกอบด้วย เนื้อกระบือ เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ เป็ด ไก่งวง ห่าน นกกระทา ปลาช่อน ปลาดุก ปลาสวาย ปลาไน ไข่ ปลาไหล กบเขียด ปลานิล และแมงดา จากการที่ไทยได้ให้สิทธิพิเศษแก่ สปป.ลาว ในการส่งสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร และพยายาม ลดอุปสรรคที่เป็นปัญหาด้านการค้าทางชายแดนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการค้าชายแดนทั้งสองฝ่าย เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ปี 2541 ปริมาณการค้ารวมประมาณ 16,483 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 15,000 ล้านบาท นำเข้า 1,483 บาท และปี 2542 ปริมาณการค้ารวมประมาณ 18,750 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 15,928 ล้านบาท นำเข้า 2,822 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 47) สำหรับสินค้าที่ สปป.ลาว ห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยทั้ง 3 ประเภทนั้นมีมูลค่าไม่มากนักไม่ถึง 2 % เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกไป สปป.ลาว ทั้งหมด แต่กรมการค้าต่างประเทศก็ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้น และกำลังหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกับ สปป.ลาว อย่างเร่งด่วนต่อไป
--กรมการส่งเสริมการส่งออก พฤษภาคม 2543--
-ยก-