ประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้ความตกลง Trade-Related Investment Measures (TRIMs) ในองค์การการค้าโลกที่จะต้องยกเลิกการใช้เงื่อนไข local content ที่บังคับใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในสิ้นปี 2542 ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ไทยได้บังคับใช้เงื่อนไขนี้สำหรับอุตสาหกรรม 2 ประเภท ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมยานยนต์ และ 2) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม โดยในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ตามกำหนด
สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 ให้คงมาตรการ local content ในอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มไว้จนถึงปี 2547 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจได้สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรและการพัฒนาภาคการเกษตร รวมถึงกิจการด้านโคนมและอุตสาหกรรมนม ซึ่งในการนี้ ไทยได้มีหนังสือถึงประธานคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าขององค์การการค้าโลก เพื่อขอขยายเวลาผ่อนผันการใช้มาตรการนี้ออกไปอีก 5 ปี (ถึงปี 2547) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ทั้งนี้ มีประเทศอีกจำนวน 9 ประเทศที่ได้ยื่นคำขอต่ออายุช่วงเวลาผ่อนผันการใช้มาตรการดังกล่าวต่อ WTO ได้แก่ ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย เม็กซิโก อาเจนติน่า ชิลี โรมาเนีย มาเลเซีย ปากีสถาน และอียิปต์ โดยบางประเทศได้ขอขยายเวลา นานถึง 7 ปี
เพื่อเป็นการประนีประนอม ประธานคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าได้เสนอแนวทาง 2+2 เพื่อหาข้อยุติในเรื่องการขยายเวลามาตรการ TRIMs กล่าวคือ ให้ต่ออายุแก่ประเทศที่ได้ยื่นคำขอไว้แล้วเป็นเวลา 2 ปี (1 ม.ค. 2543-31 ธ.ค. 2544) และหากประเทศใดต้องการขอต่ออายุมาตรการออกไปอีก ต้องยื่นคำร้องภายใน 30 มิถุนายน 2544 โดยมีเงื่อนไขว่า การต่ออายุครั้งหลังนี้จะต้องไม่เกิน 2 ปี และเป็นการต่อครั้งสุดท้าย และจะต้องยื่นแผนการยกเลิกมาตรการ (phase-out plan) หรือทำรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ
เนื่องจากแนวทางออกนี้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ครม. จึงได้ ทบทวนมติเดิมโดยให้แก้ไขการขยายเวลาผ่อนผันเป็นระยะเวลา 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี (ถึงปี 2546) และไทยได้ยื่นคำขอต่ออายุ มาตรการในช่วงที่สอง (2545-2546) ต่อคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2544 พร้อมกับเอกสารประกอบแสดงปัญหาที่ไม่สามารถยกเลิกมาตรการได้ตามกำหนด และแผนการยกเลิกมาตรการฯ และได้รับแจ้งว่า ที่ประชุม คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ให้ไทยขยายเวลาการใช้มาตรการ local content สำหรับอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มไปจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2546 แล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยื่นรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการยกเลิกมาตรการฯ ให้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 9-14 พฤศจิกายน 2544 ที่ประเทศกาตาร์ ได้รับทราบในเรื่องนี้แล้ว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-
สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 ให้คงมาตรการ local content ในอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มไว้จนถึงปี 2547 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจได้สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรและการพัฒนาภาคการเกษตร รวมถึงกิจการด้านโคนมและอุตสาหกรรมนม ซึ่งในการนี้ ไทยได้มีหนังสือถึงประธานคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าขององค์การการค้าโลก เพื่อขอขยายเวลาผ่อนผันการใช้มาตรการนี้ออกไปอีก 5 ปี (ถึงปี 2547) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ทั้งนี้ มีประเทศอีกจำนวน 9 ประเทศที่ได้ยื่นคำขอต่ออายุช่วงเวลาผ่อนผันการใช้มาตรการดังกล่าวต่อ WTO ได้แก่ ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย เม็กซิโก อาเจนติน่า ชิลี โรมาเนีย มาเลเซีย ปากีสถาน และอียิปต์ โดยบางประเทศได้ขอขยายเวลา นานถึง 7 ปี
เพื่อเป็นการประนีประนอม ประธานคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าได้เสนอแนวทาง 2+2 เพื่อหาข้อยุติในเรื่องการขยายเวลามาตรการ TRIMs กล่าวคือ ให้ต่ออายุแก่ประเทศที่ได้ยื่นคำขอไว้แล้วเป็นเวลา 2 ปี (1 ม.ค. 2543-31 ธ.ค. 2544) และหากประเทศใดต้องการขอต่ออายุมาตรการออกไปอีก ต้องยื่นคำร้องภายใน 30 มิถุนายน 2544 โดยมีเงื่อนไขว่า การต่ออายุครั้งหลังนี้จะต้องไม่เกิน 2 ปี และเป็นการต่อครั้งสุดท้าย และจะต้องยื่นแผนการยกเลิกมาตรการ (phase-out plan) หรือทำรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ
เนื่องจากแนวทางออกนี้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ครม. จึงได้ ทบทวนมติเดิมโดยให้แก้ไขการขยายเวลาผ่อนผันเป็นระยะเวลา 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี (ถึงปี 2546) และไทยได้ยื่นคำขอต่ออายุ มาตรการในช่วงที่สอง (2545-2546) ต่อคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2544 พร้อมกับเอกสารประกอบแสดงปัญหาที่ไม่สามารถยกเลิกมาตรการได้ตามกำหนด และแผนการยกเลิกมาตรการฯ และได้รับแจ้งว่า ที่ประชุม คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ให้ไทยขยายเวลาการใช้มาตรการ local content สำหรับอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มไปจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2546 แล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยื่นรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการยกเลิกมาตรการฯ ให้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 9-14 พฤศจิกายน 2544 ที่ประเทศกาตาร์ ได้รับทราบในเรื่องนี้แล้ว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-