กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1981 ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อบรรลุการเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) อันหมายถึง การยกเว้นภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันที่ประเทศสมาชิก GCC ทุกประเทศเรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มเป็นอัตราเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2001 ความคืบหน้าในการก้าวสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1983 ด้วยการยกเว้นภาษีศุลกากรและไม่มีข้อจำกัดทางการค้าสำหรับการค้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม (ยกเว้นน้ำมัน) ระหว่างประเทศสมาชิก GCC อย่างไรก็ตาม การที่สมาชิกกลุ่ม GCC พึ่งพาการส่งออกสินค้าน้ำมันเช่นเดียวกัน ทำให้การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ อัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันที่ประเทศสมาชิก GCC แต่ละประเทศเรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่ม ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยมีอัตราตั้งแต่ 4% จนถึง 20%
เป้าหมายสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มปรากฏผลเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นในการประชุมกลุ่ม GCC ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1999 โดยสมาชิกกลุ่ม GCC ตกลงกำหนดรายการ สินค้าที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันจำนวน 1,286 รายการ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มสินค้านำเข้าที่ไม่มีการจัดเก็บภาษี คือ อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าเท่ากับ 0%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่จำเป็นต่อการบริโภค จัดเก็บภาษีในอัตราต่ำราว 4% ถึง 9%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตราสูงราว 6% ถึง 12%
อย่างไรก็ตาม ความตกลงเรื่องการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันนั้น ยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากประเทศสมาชิก GCC แต่ละประเทศมีความจำเป็นและมีนโยบายในการจัดเก็บภาษีศุลกากรแตกต่างกัน อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราต่ำไม่เกิน 4% เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อผู้บริโภคและการค้าในประเทศ และจะกระทบต่อภาคการส่งออกต่อ (re-export sector) ขณะที่บาห์เรนและซาอุดีอาระเบีย มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราสูงถึง 20% เนื่องจากบาห์เรนมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันน้อย จึงต้องพึ่งพารายได้จากการจัดเก็บภาษีศุลกากรแทน ส่วนซาอุดีอาระเบีย ต้องการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราสูงเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าภายในประเทศ เป็นต้น
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145
--ที่มา ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร--
-อน-
เป้าหมายสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มปรากฏผลเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นในการประชุมกลุ่ม GCC ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1999 โดยสมาชิกกลุ่ม GCC ตกลงกำหนดรายการ สินค้าที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันจำนวน 1,286 รายการ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มสินค้านำเข้าที่ไม่มีการจัดเก็บภาษี คือ อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าเท่ากับ 0%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่จำเป็นต่อการบริโภค จัดเก็บภาษีในอัตราต่ำราว 4% ถึง 9%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตราสูงราว 6% ถึง 12%
อย่างไรก็ตาม ความตกลงเรื่องการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันนั้น ยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากประเทศสมาชิก GCC แต่ละประเทศมีความจำเป็นและมีนโยบายในการจัดเก็บภาษีศุลกากรแตกต่างกัน อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราต่ำไม่เกิน 4% เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อผู้บริโภคและการค้าในประเทศ และจะกระทบต่อภาคการส่งออกต่อ (re-export sector) ขณะที่บาห์เรนและซาอุดีอาระเบีย มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราสูงถึง 20% เนื่องจากบาห์เรนมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันน้อย จึงต้องพึ่งพารายได้จากการจัดเก็บภาษีศุลกากรแทน ส่วนซาอุดีอาระเบีย ต้องการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราสูงเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าภายในประเทศ เป็นต้น
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145
--ที่มา ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร--
-อน-