ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ทยอยปรับลดวงเงินให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตในประเทศ ผู้อำนวยการอาวุโสสายตลาดเงิน ธปท.กล่าวว่า เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก (WTO) ธปท.จึงได้ทยอยปรับลดวงเงินช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจสำคัญ และกำหนดจะหยุดให้ความช่วยเหลือในปี 45 เป็นต้นไป ซึ่งตามเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกได้กำหนดห้ามทางการ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางของแต่ละประเทศ หรือภาครัฐบาลให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะภาคการส่งออก เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขันระหว่างประเทศ ที่ผ่านมา ธปท.ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ภาคการส่งออก การอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และด้านอื่นๆ ผ่านสถาบันการเงิน รวมวงเงินอนุมัติจำนวน 118,671 ล.บาท โดยยอดการให้กู้สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-ส.ค.43 มีจำนวนทั้งสิ้น 86,360 ล.บาท และมียอดคงค้างการเบิกจ่ายสุทธิ 28,615 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 12)
2. ธปท.ได้ดำเนินการอย่างจริงจังกรณีสถาบันการเงินนำเงินออกนอกประเทศโดยไม่มีธุรกรรมรองรับ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีปริมาณเงินไหลออกนอกประเทศมาก โดยมีบุคคลบางกลุ่มที่มีกระบวนการนำเงินบาทไปแลกเป็นดอลลาร์ สรอ. แล้วนำไปฝากไว้ต่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะจะกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ ขณะเดียวกันผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของ ธพ. เป็นไปตามต้นทุนของแต่ละธนาคาร แต่เชื่อมั่นว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 หรือต่ำกว่าเงินเฟ้ออย่างแน่นอน เพราะถือว่าไม่จูงใจและส่งผลเสียต่อธนาคารในที่สุด ส่วนเรื่องเงินทุนไหลออกนั้น ธปท.มีมาตรการห้ามนำเงินออกนอกประเทศเกิน 50 ล.บาท โดยไม่มีธุรกรรมรองรับอยู่แล้ว ที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยห้าม ธพ.ที่ทำผิดกฎระเบียบเข้ามากู้ยืมเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) เป็นเวลา 10 วัน ทำให้ทั้ง ธพ.ไทยและต่างประเทศ ปฏิบัติถูกระเบียบมากขึ้น เพราะทำให้เสียภาพพจน์ของธนาคารเอง (เดลินิวส์ 12)
3. ธปท.กล่าวถึงการจัดตั้งตลาดอาร์พีเอกชน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.จะผลักดันให้ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) เอกชนดำเนินการให้ได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 แม้ว่ายังมีอุปสรรคการจัดตั้งมาก ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับ ธปท. เช่น การให้กู้และยืมหลักทรัพย์ ภาษี มาตรการลงบัญชี และความไม่พร้อมของผู้เข้าร่วมในตลาด ในระยะแรกที่ให้เอกชนดำเนินการ จะไม่ยกเลิกในส่วนของ ธปท. แต่จะดำเนินการควบคู่กัน โดยเข้าไปเป็นคู่ค้าก่อน เพื่อให้มีการซื้อขายเกิดขึ้นและพัฒนาตลาด (ไทยโพสต์ 12)
4. ก.ล.ต.อนุมัติในหลักการให้ บล.จัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของ รมต. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ ก.ล.ต.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีมติอนุมัติในหลักการให้ บล.ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถประกอบธุรกิจอื่น ได้แก่ การจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของ รมต.เพื่อรองรับข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญใหม่ (แนวหน้า 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. ปริมาณเงินหมุนเวียน M2 + CDs ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 43 ธ. กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ปริมาณเงินหมุนเวียน( M2 )+ บัตรเงินฝาก (CDs) ของญี่ปุ่น อยู่ที่มูลค่า 629.9 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันของปี 42 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่ำสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน มิ.ย. 37 และลดลงจากเดือน ก.ค. 43 ที่มีมูลค่า 632.7 ล้านล้านเยน นักวิเคราะห์ชี้ว่า อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนที่ลดลงในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากการให้สินเชื่อของ ธพ. ที่ลดลงถึงร้อยละ 4.3 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 32 รวมทั้งบริษัทต่างๆพยายามที่จะตัดหนี้สูญ Yasushi Okada หัวหน้าเศรษฐกรแห่ง Credit Suisse First Boston คาดว่า ปริมาณเงินหมุนเวียนจะยังคงลดลง เนื่องจากการให้สินเชื่อของ ธพ. และความต้องการเงินสดของบริษัทต่างๆจะยังไม่กลับมาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเร็วๆนี้ (รอยเตอร์ 11)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 11 ก.ย.43 .สำนักวางแผนเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (EPA) รายงานว่า ไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นตามราคาที่แท้จริง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากไตรมาสเดือน ม.ค.-มี.ค.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 และเพิ่มสูงเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย ร้อยละ 0.7 หากคิดอัตราเฉลี่ยต่อปี GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ต่อปี ในไตรมาสเดือน ม.ค.-มี.ค.43 โดยในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนถึง 3 ใน 5 ของระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อน การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งเป็นปัจจัยเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นลำดับที่ 2 ลดลงร้อยละ 3.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อน และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 จากที่ลดลงร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่า ตัวเลข GDP ในไตรมาสนี้ จะใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการพิจารณาวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์ 11)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เทียบต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ผลผลิตฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 และยังเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับเดือน ก.ค. 43 Gao Huiqing หัวหน้าเศรษฐกรของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ กล่าวว่า การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ผลผลิตฯเพิ่มขึ้น แต่คาดว่า อัตราการส่งออกจะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี 43 เนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวโน้มต่ำลง(รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11ก.ย. 43 41.461 (41.476)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 11 ก.ย.43
ซื้อ 41.2751 (41.2352) ขาย 41.5746 (41.5423)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 31.34 (29.26)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ทยอยปรับลดวงเงินให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตในประเทศ ผู้อำนวยการอาวุโสสายตลาดเงิน ธปท.กล่าวว่า เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก (WTO) ธปท.จึงได้ทยอยปรับลดวงเงินช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจสำคัญ และกำหนดจะหยุดให้ความช่วยเหลือในปี 45 เป็นต้นไป ซึ่งตามเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกได้กำหนดห้ามทางการ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางของแต่ละประเทศ หรือภาครัฐบาลให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะภาคการส่งออก เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขันระหว่างประเทศ ที่ผ่านมา ธปท.ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ภาคการส่งออก การอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และด้านอื่นๆ ผ่านสถาบันการเงิน รวมวงเงินอนุมัติจำนวน 118,671 ล.บาท โดยยอดการให้กู้สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-ส.ค.43 มีจำนวนทั้งสิ้น 86,360 ล.บาท และมียอดคงค้างการเบิกจ่ายสุทธิ 28,615 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 12)
2. ธปท.ได้ดำเนินการอย่างจริงจังกรณีสถาบันการเงินนำเงินออกนอกประเทศโดยไม่มีธุรกรรมรองรับ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีปริมาณเงินไหลออกนอกประเทศมาก โดยมีบุคคลบางกลุ่มที่มีกระบวนการนำเงินบาทไปแลกเป็นดอลลาร์ สรอ. แล้วนำไปฝากไว้ต่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะจะกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ ขณะเดียวกันผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของ ธพ. เป็นไปตามต้นทุนของแต่ละธนาคาร แต่เชื่อมั่นว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 หรือต่ำกว่าเงินเฟ้ออย่างแน่นอน เพราะถือว่าไม่จูงใจและส่งผลเสียต่อธนาคารในที่สุด ส่วนเรื่องเงินทุนไหลออกนั้น ธปท.มีมาตรการห้ามนำเงินออกนอกประเทศเกิน 50 ล.บาท โดยไม่มีธุรกรรมรองรับอยู่แล้ว ที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยห้าม ธพ.ที่ทำผิดกฎระเบียบเข้ามากู้ยืมเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) เป็นเวลา 10 วัน ทำให้ทั้ง ธพ.ไทยและต่างประเทศ ปฏิบัติถูกระเบียบมากขึ้น เพราะทำให้เสียภาพพจน์ของธนาคารเอง (เดลินิวส์ 12)
3. ธปท.กล่าวถึงการจัดตั้งตลาดอาร์พีเอกชน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.จะผลักดันให้ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) เอกชนดำเนินการให้ได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 แม้ว่ายังมีอุปสรรคการจัดตั้งมาก ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับ ธปท. เช่น การให้กู้และยืมหลักทรัพย์ ภาษี มาตรการลงบัญชี และความไม่พร้อมของผู้เข้าร่วมในตลาด ในระยะแรกที่ให้เอกชนดำเนินการ จะไม่ยกเลิกในส่วนของ ธปท. แต่จะดำเนินการควบคู่กัน โดยเข้าไปเป็นคู่ค้าก่อน เพื่อให้มีการซื้อขายเกิดขึ้นและพัฒนาตลาด (ไทยโพสต์ 12)
4. ก.ล.ต.อนุมัติในหลักการให้ บล.จัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของ รมต. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ ก.ล.ต.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีมติอนุมัติในหลักการให้ บล.ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถประกอบธุรกิจอื่น ได้แก่ การจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของ รมต.เพื่อรองรับข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญใหม่ (แนวหน้า 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. ปริมาณเงินหมุนเวียน M2 + CDs ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 43 ธ. กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ปริมาณเงินหมุนเวียน( M2 )+ บัตรเงินฝาก (CDs) ของญี่ปุ่น อยู่ที่มูลค่า 629.9 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันของปี 42 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่ำสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน มิ.ย. 37 และลดลงจากเดือน ก.ค. 43 ที่มีมูลค่า 632.7 ล้านล้านเยน นักวิเคราะห์ชี้ว่า อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนที่ลดลงในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากการให้สินเชื่อของ ธพ. ที่ลดลงถึงร้อยละ 4.3 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 32 รวมทั้งบริษัทต่างๆพยายามที่จะตัดหนี้สูญ Yasushi Okada หัวหน้าเศรษฐกรแห่ง Credit Suisse First Boston คาดว่า ปริมาณเงินหมุนเวียนจะยังคงลดลง เนื่องจากการให้สินเชื่อของ ธพ. และความต้องการเงินสดของบริษัทต่างๆจะยังไม่กลับมาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเร็วๆนี้ (รอยเตอร์ 11)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 11 ก.ย.43 .สำนักวางแผนเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (EPA) รายงานว่า ไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นตามราคาที่แท้จริง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากไตรมาสเดือน ม.ค.-มี.ค.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 และเพิ่มสูงเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย ร้อยละ 0.7 หากคิดอัตราเฉลี่ยต่อปี GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ต่อปี ในไตรมาสเดือน ม.ค.-มี.ค.43 โดยในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนถึง 3 ใน 5 ของระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อน การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งเป็นปัจจัยเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นลำดับที่ 2 ลดลงร้อยละ 3.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อน และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 จากที่ลดลงร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่า ตัวเลข GDP ในไตรมาสนี้ จะใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการพิจารณาวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์ 11)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เทียบต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ผลผลิตฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 และยังเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับเดือน ก.ค. 43 Gao Huiqing หัวหน้าเศรษฐกรของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ กล่าวว่า การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ผลผลิตฯเพิ่มขึ้น แต่คาดว่า อัตราการส่งออกจะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี 43 เนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวโน้มต่ำลง(รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11ก.ย. 43 41.461 (41.476)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 11 ก.ย.43
ซื้อ 41.2751 (41.2352) ขาย 41.5746 (41.5423)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 31.34 (29.26)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-