ในยุควิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน ภาวะผู้ซื้อในต่างประเทศล้มละลาย เป็นความเสี่ยงทางการค้าอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทย อาจพบได้ในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาประเทศคู่ค้าที่ผู้ส่งออกไทย มีการติดต่อค้าขายด้วยมากที่สุดนั้น ถือได้ว่ามีสถิติการล้มละลายทางธุรกิจและบุคคลสูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการจดทะเบียนประกอบธุรกิจในสหรัฐอเมริกา สามารถทำได้โดยง่าย ไม่มีขั้นตอนหรือเงื่อนไขที่ยุ่งยาก ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายของประเทศ ให้โอกาสลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวในการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งให้ความคุ้มครองลูกหนี้ มิให้ถูกเจ้าหนี้เรียกร้องทรัพย์สินคืน ในช่วงระยะเวลาของการฟื้นฟูกิจการนั้นๆ
กฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกาประกอบไปด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 8 บท แต่บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการเลือกปฏิบัติของลูกหนี้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้วมีเพียง 3 บทได้แก่ บทบัญญัติที่ 7 (Chapter 7) บทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11) และบทบัญญัติที่ 13 (Chapter 13) โดยกระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นจากลูกหนี้ที่กำลังจะล้มละลาย หรือถูกฟ้องล้มละลายแล้ว ไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอความคุ้มครอง ซึ่งหากศาลรับฟ้อง ลูกหนี้รายนั้นๆ จะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า "Automatic Stay" คือ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย โดยเจ้าหนี้ทุกรายไม่มีสิทธิที่จะมาเรียกร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ และเมื่อขั้นตอนนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ลูกหนี้สามารถเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายล้มละลาย 3 บทข้างต้น ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของตน โดยแต่ละบทบัญญัติมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไปดังนี้
1. บทบัญญัติที่ 7 (Chapter 7)
บริษัทที่ล้มละลายในสหรัฐอเมริกามากกว่า 90% เลือกปฏิบัติตามแนวทางของบทบัญญัติที่ 7 คือ หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคล หรือบริษัทล้มละลายแล้ว ศาลจะแต่งตั้งผู้พิทักษ์ทรัพย์ (Trustee) ให้เป็นผู้ดำเนินการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ และแบ่งแยกประมูลขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีทรัพย์สินของลูกหนี้บางประเภทที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ยังเป็นของลูกหนี้ (Exempt-Property) เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดครอง เช่น กรมธรรมประกันชีวิต หรือเครื่องประดับอัญมณีที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น อนึ่งการได้รับการยกเว้นนี้มีใช้เฉพาะบทบัญญัติที่ 7 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้กับบทบัญญัติที่ 11 และบทบัญญัติที่ 13
2. บทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11)
บริษัทที่เลือกปฏิบัติตามแนวทางบทบัญญัติที่ 11 หมายถึงบริษัทนั้นๆ มีความประสงค์ที่จะขอฟื้นฟูกิจการของตน โดยหยุดพักการชำระหนี้ไว้ชั่วคราวภายใต้การดำเนินงานปกติ
ในเบื้องต้น ภายหลังจากที่ศาลมีคำฟ้องให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้ว บริษัทจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ โดยศาลจะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรหรือไม่ที่ลูกหนี้ควรมีโอกาสที่จะได้รับการฟื้นฟูกิจการ หากมีเหตุผลสมควร ศาลจะสั่งให้ลูกหนี้นั้นฟื้นฟูกิจการ โดยเริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการให้เป็นผู้ร่าง และเสนอแผนเพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ รวมทั้งขอให้ศาลรับรองแผน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติจริง จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืน จึงถือเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนดไว้ตามแผน กล่าวคือ ลูกหนี้หมดภาระหน้าที่และสามารถเข้ามาบริหารกิจการได้ตามปกติต่อไป
บทบัญญัติที่ 11 มีลักษณะที่น่าสนใจบางประการ ได้แก่ กรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วปรากฏว่าผู้บริหารของบริษัทลูกหนี้ไม่ได้มีเจตนาฉ้อฉล ผู้ที่มีอำนาจในการบริหารงานของบริษัทต่อไปก็คือตัวลูกหนี้เอง (Debt in Possession) กล่าวคือ ไม่ต้องแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาบริหารบริษัท
ในระหว่างการทำแผนฟื้นฟูกิจการ หากลูกหนี้มีเจ้าหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นมา เจ้าหนี้ใหม่จะมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้เดิม โดยเจ้าหนี้ใหม่จะได้รับชำระหนี้คืนก่อนเจ้าหนี้เดิม นอกจากนี้ กฎหมายของสหรัฐอเมริกายังให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ในช่วง 120 วันแรกที่ศาลรับฟ้องมิให้เจ้าหนี้มาเรียกร้องหรือทวงถาม และคุ้มครองให้ลูกหนี้เท่านั้นที่มีสิทธิทำแผนฟื้นฟูกิจการได้
3. บทบัญญัติที่ 13 (Chapter 13)
ภายใต้บทบัญญัติที่ 13 ลูกหนี้สามารถขอผ่อนผันจ่ายชำระหนี้เป็นบางส่วนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีโดยไม่ต้องมีผู้พิทักษ์ทรัพย์มาดูแลและแบ่งแยกขายทรัพย์สินของตนเหมือนกับลูกหนี้ที่เลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ 7 ทั้งนี้ ศาลต้องให้ความเห็นชอบว่าลูกหนี้รายนั้นๆ ยังพอจะมีความสามารถในการชำระหนี้บางส่วนได้
บทบัญญัติที่ 13 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกหนี้ที่กำลังคิดจะปฏิบัติตามแนวทางของบทบัญญัติที่ 7 เพียงแต่บทบัญญัติที่ 13 จะเหมาะสมกับลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว (Wage Earner) และมีมูลค่าหนี้ไม่สูงมากนัก
การยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นบุคคลหรือบริษัทล้มละลาย ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเห็นได้กับผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง เช่น Samsonite Inc., Caldor Inc. หรือ Bradless Inc. ซึ่งต่างก็เคยยื่นคำร้องภายใต้บทบัญญัติที่ 11 มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงแม้กฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกาจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ซื้อในประเทศของตน แต่ในทางกลับกันผู้ส่งออกจากประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยกลับกลายเป็นผู้รับความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวแทน เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระค้าสินค้า ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของการล้มละลายหรือสาเหตุอื่นๆ ก็ตาม บริการประกันการส่งออกของ ธสน. เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยส่งออกได้อย่างมั่นใจ สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อเข้าร่วมฟังสัมมนาย่อยได้ที่ส่วนรับประกันการส่งออก 3 ธสน. โทร. 0 2271 3700 ต่อ 1732-5
ข้อมูลจาก : ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2544--
-อน-
กฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกาประกอบไปด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 8 บท แต่บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการเลือกปฏิบัติของลูกหนี้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้วมีเพียง 3 บทได้แก่ บทบัญญัติที่ 7 (Chapter 7) บทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11) และบทบัญญัติที่ 13 (Chapter 13) โดยกระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นจากลูกหนี้ที่กำลังจะล้มละลาย หรือถูกฟ้องล้มละลายแล้ว ไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอความคุ้มครอง ซึ่งหากศาลรับฟ้อง ลูกหนี้รายนั้นๆ จะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า "Automatic Stay" คือ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย โดยเจ้าหนี้ทุกรายไม่มีสิทธิที่จะมาเรียกร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ และเมื่อขั้นตอนนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ลูกหนี้สามารถเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายล้มละลาย 3 บทข้างต้น ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของตน โดยแต่ละบทบัญญัติมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไปดังนี้
1. บทบัญญัติที่ 7 (Chapter 7)
บริษัทที่ล้มละลายในสหรัฐอเมริกามากกว่า 90% เลือกปฏิบัติตามแนวทางของบทบัญญัติที่ 7 คือ หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคล หรือบริษัทล้มละลายแล้ว ศาลจะแต่งตั้งผู้พิทักษ์ทรัพย์ (Trustee) ให้เป็นผู้ดำเนินการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ และแบ่งแยกประมูลขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีทรัพย์สินของลูกหนี้บางประเภทที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ยังเป็นของลูกหนี้ (Exempt-Property) เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดครอง เช่น กรมธรรมประกันชีวิต หรือเครื่องประดับอัญมณีที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น อนึ่งการได้รับการยกเว้นนี้มีใช้เฉพาะบทบัญญัติที่ 7 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้กับบทบัญญัติที่ 11 และบทบัญญัติที่ 13
2. บทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11)
บริษัทที่เลือกปฏิบัติตามแนวทางบทบัญญัติที่ 11 หมายถึงบริษัทนั้นๆ มีความประสงค์ที่จะขอฟื้นฟูกิจการของตน โดยหยุดพักการชำระหนี้ไว้ชั่วคราวภายใต้การดำเนินงานปกติ
ในเบื้องต้น ภายหลังจากที่ศาลมีคำฟ้องให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้ว บริษัทจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ โดยศาลจะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรหรือไม่ที่ลูกหนี้ควรมีโอกาสที่จะได้รับการฟื้นฟูกิจการ หากมีเหตุผลสมควร ศาลจะสั่งให้ลูกหนี้นั้นฟื้นฟูกิจการ โดยเริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการให้เป็นผู้ร่าง และเสนอแผนเพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ รวมทั้งขอให้ศาลรับรองแผน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติจริง จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืน จึงถือเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนดไว้ตามแผน กล่าวคือ ลูกหนี้หมดภาระหน้าที่และสามารถเข้ามาบริหารกิจการได้ตามปกติต่อไป
บทบัญญัติที่ 11 มีลักษณะที่น่าสนใจบางประการ ได้แก่ กรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วปรากฏว่าผู้บริหารของบริษัทลูกหนี้ไม่ได้มีเจตนาฉ้อฉล ผู้ที่มีอำนาจในการบริหารงานของบริษัทต่อไปก็คือตัวลูกหนี้เอง (Debt in Possession) กล่าวคือ ไม่ต้องแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาบริหารบริษัท
ในระหว่างการทำแผนฟื้นฟูกิจการ หากลูกหนี้มีเจ้าหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นมา เจ้าหนี้ใหม่จะมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้เดิม โดยเจ้าหนี้ใหม่จะได้รับชำระหนี้คืนก่อนเจ้าหนี้เดิม นอกจากนี้ กฎหมายของสหรัฐอเมริกายังให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ในช่วง 120 วันแรกที่ศาลรับฟ้องมิให้เจ้าหนี้มาเรียกร้องหรือทวงถาม และคุ้มครองให้ลูกหนี้เท่านั้นที่มีสิทธิทำแผนฟื้นฟูกิจการได้
3. บทบัญญัติที่ 13 (Chapter 13)
ภายใต้บทบัญญัติที่ 13 ลูกหนี้สามารถขอผ่อนผันจ่ายชำระหนี้เป็นบางส่วนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีโดยไม่ต้องมีผู้พิทักษ์ทรัพย์มาดูแลและแบ่งแยกขายทรัพย์สินของตนเหมือนกับลูกหนี้ที่เลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ 7 ทั้งนี้ ศาลต้องให้ความเห็นชอบว่าลูกหนี้รายนั้นๆ ยังพอจะมีความสามารถในการชำระหนี้บางส่วนได้
บทบัญญัติที่ 13 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกหนี้ที่กำลังคิดจะปฏิบัติตามแนวทางของบทบัญญัติที่ 7 เพียงแต่บทบัญญัติที่ 13 จะเหมาะสมกับลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว (Wage Earner) และมีมูลค่าหนี้ไม่สูงมากนัก
การยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นบุคคลหรือบริษัทล้มละลาย ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเห็นได้กับผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง เช่น Samsonite Inc., Caldor Inc. หรือ Bradless Inc. ซึ่งต่างก็เคยยื่นคำร้องภายใต้บทบัญญัติที่ 11 มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงแม้กฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกาจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ซื้อในประเทศของตน แต่ในทางกลับกันผู้ส่งออกจากประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยกลับกลายเป็นผู้รับความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวแทน เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระค้าสินค้า ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของการล้มละลายหรือสาเหตุอื่นๆ ก็ตาม บริการประกันการส่งออกของ ธสน. เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยส่งออกได้อย่างมั่นใจ สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อเข้าร่วมฟังสัมมนาย่อยได้ที่ส่วนรับประกันการส่งออก 3 ธสน. โทร. 0 2271 3700 ต่อ 1732-5
ข้อมูลจาก : ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2544--
-อน-