WTO ประกาศให้ไทย ชนะคดีประวัติศาสตร์เรื่องกุ้งกับเต่าทะเล -------------------------------------------------------------------------------- องค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ได้ประกาศผลการตัดสินกรณีพิพาทระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในกรณีพิพาท เรื่องกุ้งกับเต่าทะเลว่ามาตรการห้ามนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ขัดกับบทบัญญัติของ GATT พร้อมกับเสนอแนะให้สหรัฐฯ แก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความตกลง WTO การตัดสินขององค์กรอุทธรณ์นี้ ถือเป็นที่สุดแล้วอย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละ- เอียดของการตัดสินขององค์กรอุทธรณ์ จะเห็นว่า องค์กรอุทธรณ์เอาใจสหรัฐฯและ NGOs ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างออกนอกหน้า เพื่อลดกระแสแรงกดดันเรื่องสิ่งแวดล้อม องค์กรอุทธรณ์ ตัดสินว่า มาตรการห้ามนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ เพื่ออนุรักษ์เต่าทะเลขัดกับบทบัญญัติของ GATT มาตรา 11 ว่าด้วยการห้ามนำเข้า และไม่สามารถนำเอาข้อยกเว้น ภายใต้มาตรา 20 มาเป็นเหตุผลในการใช้มาตรการดังกล่าวได้ แม้ว่ามาตรการของสหรัฐฯ ดังกล่าวจะสอดคล้อง กับข้อ (g) ของมาตรา 20 เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะสูญสิ้นไป แต่การใช้ มาตรการดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบทนำ (chapeau) ของมาตรา 20 ว่าด้วยเรื่องการเลือก ปฏิบัติตามอำเภอใจและอย่างไม่มีเหตุผล (unjustifiable and arbitrary discrimination) นอกจากนี้ องค์กรอุทธรณ์ ยังไม่เห็นด้วยกับวิธีการพิจารณาและผลการพิจารณาคดีนี้ของ คณะผู้พิจารณา (panel) ที่ได้มีผลสรุปก่อนหน้านี้ ว่ามาตรการของสหรัฐฯ มีผลคุกคามต่อ ระบบการค้าพหุภาคี โดยใช้วิธีการพิจารณาความสอดคล้องกับบทนำของมาตรา 20 ก่อนที่ จะไปพิจารณา ข้อย่อยอื่นๆ ภายใต้มาตรา 20 โดยองค์กรอุทธรณ์สรุปว่า ในการพิจารณา มาตรา 20 นั้น จะต้องพิจารณาข้อย่อยซึ่งเป็นเงื่อนไขของมาตรา 20 ก่อน จากนั้นจึงจะไป พิจารณาบทนำต่อไป ในการพิจารณาความสอดคล้องของมาตรการของสหรัฐฯ ว่าสอดคล้อง กับบทบัญญัติของ WTO หรือไม่นั้น องค์กรอุทธรณ์เห็นว่า มาตรา 20 ข้อ (g) ของความ ตกลง GATT มีขอบเขตครอบคลุมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต และเห็นว่าเต่าทะเลเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จะสูญสิ้นไปภายใต้ มาตรา 20 นี้ และเห็นว่า มาตรการห้ามนำเข้ากุ้ง โดยการบังคับให้ใช้เครื่องมือ TEDs ในการอนุรักษ์เต่าทะเล เป็น มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ โดยตรง เนื่องจากการจับกุ้งในทะเล เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการทำลายเต่าทะเล แต่องค์กรอุทธรณ์เห็นว่าในบทนำของมาตรา 20 ดังกล่าว ยังมีเงื่อนไขที่สำคัญกำหนดไว้ว่าการใช้มาตรการดังกล่าว จะต้องไม่ถูกใช้ไปใน ทางที่เลือกปฏิบัติตามอำเภอใจและอย่างไม่มีเหตุผล และเมื่อตรวจสอบการใช้มาตรการ ของ สหรัฐฯ ก็พบว่ามาตรการของสหรัฐฯ ขัดกับบทนำ อาทิเช่น (1) สหรัฐฯ มีการบังคับให้ ประเทศต่างๆ ใช้เครื่องมือ TEDs เพื่ออนุรักษ์เต่าทะเลโดยไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขที่แตกต่าง ของ ประเทศต่างๆ (2) สหรัฐฯ เลือกปฏิบัติกับกุ้งที่ถูกจับโดยเรือที่ใช้เครื่องมือ TEDs โดยห้ามนำเข้าหากกุ้งนั้นมาจากประเทศที่ไม่ได้รับการรับรองว่ามีโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล เท่าเทียมกับสหรัฐฯ (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ ไม่ได้ดำเนินการปฏิบัติอย่างมี หลักเกณฑ์หรือมีความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณาให้การรับรองประเทศที่จะสามารถส่ง ออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ ได้ รวมทั้งการไม่เปิดให้มีการทบทวนผลพิจารณาในเรื่องดังกล่าวด้วย (4) สหรัฐฯ ใช้มาตรการฝ่ายเดียวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์เต่าทะเล แทนที่ จะใช้หรือมีความพยายามที่จะใช้วิธีการเสนอทำความตกลงสองฝ่าย หลายฝ่ายหรือพหุภาคี ใน การอนุรักษ์เต่าทะเลกับประเทศที่ถูกอุทธรณ์ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่ได้บัญญัติไว้ ในความ ตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และ (5) สหรัฐฯ เลือกปฏิบัติในการให้เวลาปรับตัวของ ประเทศผู้ส่งออกกุ้งต่างๆ ที่แตกต่างกัน ประเด็นเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สหรัฐฯ จะต้องแก้ไข กฎหมาย และ/หรือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับ WTO การตัดสินว่า มาตรการห้ามนำ เข้ากุ้งของสหรัฐฯ โดยการบังคับให้ใช้เครื่องมือ TEDs เพื่ออนุรักษ์เต่าทะเล สอดคล้อง กับมาตรา 20 (g) ว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรที่จะสูญสิ้นไปนั้น มีนัยที่สำคัญต่อการใช้ มาตรการทางการค้าเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงแอบแฝง ถือว่าเป็นคดีตัวอย่างหรือ บรรทัดฐานที่ประเทศต่างๆ อาจใช้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นข้ออ้างในการกีดกัน การนำเข้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในของตน เนื่องจากยังมีประเด็นกำกวมอยู่ว่าหาก ประเทศหนึ่งประเทศใดขอเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเรื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่อีก ฝ่ายหนึ่งคัดค้าน หรือการเจรจานั้นยังไม่บรรลุผล ประเทศที่ขอเจรจาจะสามารถใช้มาตรการ ทางการค้าเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้หรือไม่ เป็นคำถามที่องค์กรอุทธรณ์ทิ้งไว้ให้ เป็นปมปัญหาต่อไป นอกจากนี้ ผลการตัดสินนี้ยังเป็นการชี้นำในการเจรจาเพื่อจัดทำความ ตกลงว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมในการเจรจารอบใหม่ของ WTO ที่จะมีขึ้นในป 2543 ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วผลักดันมาโดยตลอดประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ องค์กร อุทธรณ์ได้กลับคำตัดสินของคณะผู้พิจารณาในเรื่องการยอมรับข้อมูล ที่คณะผู้พิจารณาไม่ได้ ร้องขอจากผู้ที่ไม่ใช่คู่กรณี รวมทั้ง NGOs ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติ ของความตกลงว่าด้วยการยุติข้อพิพาท (DSU) โดยองค์กรอุทธรณ์เห็นว่าการเสนอข้อคิดเห็น /ข้อต่อสู้ (submission) ในกระบวนการยุติข้อพิพาทนั้น ทำได้เฉพาะ (1) คู่กรณีหรือประเทศ ที่มีส่วนได้เสีย หรือ (2) เมื่อคณะผู้พิจารณาร้องขอ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของคณะผู้พิจารณา แต่ บัดนี้ องค์กรอุทธรณ์ได้ตีความขยายขอบเขตกว้างมากขึ้นกว่าเดิม โดยเห็นว่า หากคู่กรณี ได้ผนวกข้อมูลของผู้ที่ไม่ได้เป็นคู่กรณีไว้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารข้อคิดเห็น/ข้อต่อสู้ของตน แม้ว่าจะไม่ได้มีการร้องขอจากคณะผู้พิจารณาและองค์กรอุทธรณ์ก็ตาม ก็สามารถรับมาเป็น ส่วนหนึ่งในกระบวนการพิจารณาได้ และก็ไม่ขัดกับบทบัญญัติของความตกลงว่าด้วยการ ยุติข้อพิพาทแต่อย่างใด การตัดสินเช่นนี้ เป็นการตีความบทบัญญัติว่าด้วยการยุติข้อพิพาท ที่เปิดช่องให้กับบุคคลภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NGOs ที่จะสามารถแสดงข้อคิดเห็น ของตนในกระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO ได้ในอนาคตอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสนองตอบ ความต้องการของกลุ่ม NGOs ที่มีแรงกดดันอย่างสูง ทั้งในด้านการเมืองและ สังคมโลก และมีผลต่อความเป็นธรรมต่อกระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO เนื่องจาก NGOs ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่เป็น NGOs ของประเทศพัฒนาแล้ว และเป็น NGOs ข้ามชาติที่มีเครือข่ายทั่วโลก รวมทั้งมีเงินทุนสนับสนุนที่จะค้นคว้าหาข้อมูลมาสนับสนุนความต้องการของตน นอกจากนี้ การรับพิจารณาข้อมูลของ NGOs ยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับประเทศกำลังพัฒนาในการต่อสู้ ในกรณีพิพาท เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านบุคลากร และเงินทุนในการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา กฎหมายเพื่อวิเคราะห์และมีข้อโต้แย้งข้อมูลดังกล่าวผลการตัดสินในครั้งนี้ ยืนยันหลักการที่ ไทยได้ยกขึ้นต่อสู้ว่า สมาชิกใดๆ ไม่สามารถที่จะใช้มาตรการกีดกันการค้าหรือห้ามนำเข้าที่ เป็นการเลือกปฏิบัติได้ แต่การตัดสินครั้งนี้ได้ตีความต่างจากการตีความที่มีมาโดยตลอด กล่าวคือได้ตีความคำว่า "natural resources" ว่ารวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต และเปิดประเด็นให้ตีความได้ว่าการใช้มาตรการทางการค้าเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถ กระทำได้ หากไม่มีการเลือกปฏิบัติ ดังนั้นจึงเป็นอุทาหรณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสังคมโลกที่ทุกฝ่ายจะต้องตื่นตัว และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการผลิตและการส่งออก ซึ่งทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องคอย ติดตาม เฝ้าระวัง และตรวจสอบมาตรการของประเทศต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิดว่ามาตรการนั้นๆ จะต้องไม่ขัดกับความตกลง WTO ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-