กรุงเทพฯ--7 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
มื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2534 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับรองข้อมติฯ ที่ 692 (1991) จัดตั้งกองทุนชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาชาติ (UN Compensation Fund) โดยมีรายได้หลักมาจากรายได้ร้อยละ 30 (ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 25) ของการส่งออกน้ำมันของอิรักภายใต้ข้อตกลง Oil-for-Food พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาติ (UN Compensation Commission หรือ UNCC) ขึ้นด้วย เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ คำร้องขอรับเงินค่าชดเชยฯ สำหรับการสูญเสียและความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคล บริษัท รัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นผลโดยตรงจากกรณีอิรักรุกรานและครอบครองคูเวตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อปี 2533
ในการยื่นขอรับเงินค่าชดเชยฯ นั้น UNCC ได้จัดประเภทคำร้องขอรับเงิน ชดเชยขึ้น 6 ประเภท ได้แก่
- คำร้องประเภท A เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับการต้องเดินทางออกจาก อิรัก หรือคูเวต
- คำร้องประเภท B เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับการได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือการเสียชีวิต
- คำร้องประเภท C เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นใน วงเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- คำร้องประเภท D เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิน วงเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- คำร้องประเภท E เป็นคำร้องของบริษัทและองค์กรอื่นๆ
- คำร้องประเภท F เป็นคำร้องของรัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ รัฐบาลไทยได้ยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยฯ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา โดยกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมเป็นผู้รวบรวมคำร้องในนามส่วนบุคคลและรัฐบาล (ได้แก่ คำร้องประเภท A,B,C,D และ F) และกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รวบรวมคำร้องของบริษัทและองค์กรอื่นๆ ทั้งโดยตรง และโดยผ่านกระทรวงพาณิชย์ (ได้แก่ คำร้องประเภท E) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานประสานจะรวบรวมคำร้องพร้อม Statement of Claims ทั้งหมดมอบให้ คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เป็นผู้ดำเนินการขอรับเงินชดเชยฯ จาก UNCC ที่นครเจนีวาต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยฯ ทุกประเภทคำร้อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ร่วมกันดำเนินการติดต่อขอรับเงินชดเชยค่าเสียหายจาก UNCC ตลอดมา และได้ประสบผลสำเร็จในการติดตามเรียกเงินชดเชยฯ โดย UNCC ได้อนุมัติจ่ายเงินชดเชยฯ อย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นจำนวนรวม 42,295,027 ดอลลาร์สหรัฐ คือประมาณ 1,848 ล้านบาท โดยแยกตามประเภทของคำร้องที่ได้รับเงินได้ดังนี้
- คำร้องประเภท A จำนวน 24,731,465 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ รวม 6,211 คน
- คำร้องประเภท B จำนวน 22,497 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ์ ได้รับเงินชดเชยฯ รวม 4 คน
- คำร้องประเภท C จำนวน 1,604,831 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ รวม 178 คน
- คำร้องประเภท E จำนวน 9,687,326 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
- คำร้องประเภท F จำนวน 6,248,908 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่กระทรวงการคลังซึ่ง เป็นเงินชดเชยค่าเสียหายของรัฐบาลไทยจ่ายสำรองไปก่อนสำหรับค่าโดยสารเครื่องบิน ค่ายานพาหนะภายในประเทศสำหรับคนงานไทยที่เดินทางกลับจากคูเวตจนถึงภูมิลำเนาเดิมในประเทศไทย รวมทั้งค่าอาหารและค่ายารักษาโรคสำหรับคนงานดังกล่าวทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะติดตามผลการพิจารณาคำร้องส่วนที่เหลือต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
มื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2534 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับรองข้อมติฯ ที่ 692 (1991) จัดตั้งกองทุนชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาชาติ (UN Compensation Fund) โดยมีรายได้หลักมาจากรายได้ร้อยละ 30 (ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 25) ของการส่งออกน้ำมันของอิรักภายใต้ข้อตกลง Oil-for-Food พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาติ (UN Compensation Commission หรือ UNCC) ขึ้นด้วย เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ คำร้องขอรับเงินค่าชดเชยฯ สำหรับการสูญเสียและความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคล บริษัท รัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นผลโดยตรงจากกรณีอิรักรุกรานและครอบครองคูเวตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อปี 2533
ในการยื่นขอรับเงินค่าชดเชยฯ นั้น UNCC ได้จัดประเภทคำร้องขอรับเงิน ชดเชยขึ้น 6 ประเภท ได้แก่
- คำร้องประเภท A เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับการต้องเดินทางออกจาก อิรัก หรือคูเวต
- คำร้องประเภท B เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับการได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือการเสียชีวิต
- คำร้องประเภท C เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นใน วงเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- คำร้องประเภท D เป็นคำร้องส่วนบุคคล สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิน วงเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- คำร้องประเภท E เป็นคำร้องของบริษัทและองค์กรอื่นๆ
- คำร้องประเภท F เป็นคำร้องของรัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ รัฐบาลไทยได้ยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยฯ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา โดยกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมเป็นผู้รวบรวมคำร้องในนามส่วนบุคคลและรัฐบาล (ได้แก่ คำร้องประเภท A,B,C,D และ F) และกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รวบรวมคำร้องของบริษัทและองค์กรอื่นๆ ทั้งโดยตรง และโดยผ่านกระทรวงพาณิชย์ (ได้แก่ คำร้องประเภท E) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานประสานจะรวบรวมคำร้องพร้อม Statement of Claims ทั้งหมดมอบให้ คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เป็นผู้ดำเนินการขอรับเงินชดเชยฯ จาก UNCC ที่นครเจนีวาต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยฯ ทุกประเภทคำร้อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ร่วมกันดำเนินการติดต่อขอรับเงินชดเชยค่าเสียหายจาก UNCC ตลอดมา และได้ประสบผลสำเร็จในการติดตามเรียกเงินชดเชยฯ โดย UNCC ได้อนุมัติจ่ายเงินชดเชยฯ อย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นจำนวนรวม 42,295,027 ดอลลาร์สหรัฐ คือประมาณ 1,848 ล้านบาท โดยแยกตามประเภทของคำร้องที่ได้รับเงินได้ดังนี้
- คำร้องประเภท A จำนวน 24,731,465 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ รวม 6,211 คน
- คำร้องประเภท B จำนวน 22,497 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ์ ได้รับเงินชดเชยฯ รวม 4 คน
- คำร้องประเภท C จำนวน 1,604,831 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ รวม 178 คน
- คำร้องประเภท E จำนวน 9,687,326 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
- คำร้องประเภท F จำนวน 6,248,908 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่กระทรวงการคลังซึ่ง เป็นเงินชดเชยค่าเสียหายของรัฐบาลไทยจ่ายสำรองไปก่อนสำหรับค่าโดยสารเครื่องบิน ค่ายานพาหนะภายในประเทศสำหรับคนงานไทยที่เดินทางกลับจากคูเวตจนถึงภูมิลำเนาเดิมในประเทศไทย รวมทั้งค่าอาหารและค่ายารักษาโรคสำหรับคนงานดังกล่าวทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะติดตามผลการพิจารณาคำร้องส่วนที่เหลือต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-