กรุงเทพฯ--25--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่นาย Joseph Deiss รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาพันธรัฐสวิส ได้เยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2543 เพื่อหารือข้อราชการในประเด็นต่างๆ ทั้ง ในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนหาลู่ทางส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งผลการเยือนดังนี้
1. ในระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะ นาย ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี นาย Deiss ได้แสดงความชื่นชมพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงรับสั่งในโอกาสที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าฯว่าทรงห่วงใยปัญหาปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านโภชนาการ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ด้านการชลประทาน การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งเรื่อง GMOs และ การพึ่งพาสินค้าและเทคโนโลยีต่างประเทศทางด้านเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยในอนาคตได้ นอกจากนั้นได้ทรงขอให้ไทยและสมาพันธรัฐสวิส ร่วมมือกันทางสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านชีววิทยา ซึ่งนาย Deiss กล่าวว่า รู้สึกปลื้มปิติมากทรงมีพระราชปฏิสันถารด้วย ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งคงเนื่องจากทรงผูกพันกับประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งได้ทรงศึกษาและประทับอยู่เป็นเวลานาน
นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณรัฐบาลสวิส ที่ได้ให้ความร่วมมือทางด้านวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศไทยด้วยดีมาโดยตลอด โดยเฉพาะการให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศไทย และความสนับสนุนด้านการเงินแก่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology-AIT) อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองภายในของประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้ให้ความสนใจสอบถามถึงนโยบายการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งนาย Deiss ได้แจ้งว่า แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์ ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และองค์การสหประชาชาติ แต่รัฐบาลสวิสกำลังรณรงค์เพื่อให้สวิตเซอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และองค์การสหประชาชาติ และจะมีการจัดให้ประชาชนสวิส ลงประชามติในปี ค.ศ. 2002 หรืออย่างช้าในช่วงครึ่งแรกของปี ค.ศ.2003 และหวังว่า รัฐบาลจะสามารถเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาสวิสในปีหน้า
2. การเข้าเยี่ยมคารวะและหารือทวิภาคีกับ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 10 ตุลาคม ศกนี้ ดร. สุรินทร์ ฯ ได้ขอบคุณรัฐบาลสวิสที่ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ โดยจัดสรรพื้นที่ในสวนสาธารณะ Parc du Denantou เมืองโลซานน์ ให้เป็นสถานที่สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความผูกพันของพระมหากษัตริย์ไทยกับเมืองโลซานน์ ซึ่งเป็น สถานที่ที่ทรงเจริญพระชันษาและประทับอยู่เมืองนี้มานาน และในการให้การสนับสนุนบัณฑิตไทยจำนวน 12 คน ไปฝึกงานที่บริษัทของสวิสทางด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และหวังว่ารัฐบาลสวิสจะให้การสนับสนุนการฝึกอบรมในลักษณะนี้ต่อไป
ดร. สุรินทร์ ฯ ขอบคุณฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้ให้สิทธิ GSP แก่สินค้าเกษตรของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 และเนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยกับสวิตเซอร์แลนด์เอื้ออำนวย ซึ่งกันและกัน จึงขอให้ฝ่ายสวิสสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็กในไทย โดยขยายความร่วมมือไปในสินค้าอื่นที่จะเอื้ออำนวยกันได้ และทั้งสองฝ่ายควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างภาคเอกชนให้มากขึ้น ในการนี้ นาย Deiss แจ้งว่า สวิสสนใจที่จะลงทุนด้านเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะในการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย หรือ ASEAN อื่น ซึ่งได้หารือในเรื่องนี้ในระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วยแล้ว ทั้งนี้ จะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะเป็น new dimension ของการลงทุนของสวิสในภูมิภาคนี้
สำหรับความร่วมมือทางด้านวิชาการ ดร. สุรินทร์ฯ แสดงความหวังว่า สวิสจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือระดับสถาบันการศึกษาต่างๆ ของสวิสและไทย ในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์ นักศึกษาและนักวิชาการของประเทศทั้งสองต่อไป นอกจากนั้น รัฐมนตรีทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ดร. สุรินทร์ฯ ได้ขอบคุณที่รัฐบาล สวิสได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ AIT และหวังว่าจะให้การสนับสนุนต่อไป เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เนื่องจากร้อยละ 60 ของนักศึกษาที่ศึกษาที่ AIT มาจากประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และขอบคุณรัฐบาลสวิสที่เป็นผู้ให้ที่สำคัญรายหนึ่งของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission — MRC) นับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 และหวังว่าสวิตเซอร์แลนด์จะให้ความช่วยเหลือแก่ MRC ต่อไป
รัฐมนตรีสมาพันธรัฐสวิสได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า รวมทั้งปัญหา ผู้หนีภัยตามชายแดนไทย และได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการประชุม Human Security ครั้งต่อไปที่จอร์แดน นอกจากนั้น นาย Deiss ได้แจ้งว่า รัฐบาลสวิสประสงค์จะเข้าร่วมกลุ่ม ASEM ในอนาคต ขณะเดียวกันก็ได้ให้คำมั่นว่า รัฐบาลสวิสยินดีสนับสนุนไทยในการสมัครเข้าร่วมเป็น “หุ้นส่วนของความร่วมมือ” (Partners for Cooperation) ขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organisation for Security and Cooperation in Europe —OSCE) ด้วย
3. หลังจากนั้น ได้มีพิธีแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างไทยและสมาพันธรัฐสวิส ซึ่งได้มีการลงนามแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในโอกาสการ เยือนไทยของนาย Arnold Koller ประธานาธิบดีสมาพันธรัฐสวิสในขณะนั้น หลังจากการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาดังกล่าว ดร. สุรินทร์ ฯ และ นาย Joseph Deiss ได้แถลงข่าวร่วมกันต่อสื่อมวลชนไทยและสวิส โดยเห็นพ้องร่วมกันสรุปได้ว่า ทั้งสองประเทศได้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าการเดินทางเยือนไทยของ นาย Deiss ในครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้าใจของทั้งสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่นาย Joseph Deiss รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาพันธรัฐสวิส ได้เยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2543 เพื่อหารือข้อราชการในประเด็นต่างๆ ทั้ง ในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนหาลู่ทางส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งผลการเยือนดังนี้
1. ในระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะ นาย ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี นาย Deiss ได้แสดงความชื่นชมพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงรับสั่งในโอกาสที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าฯว่าทรงห่วงใยปัญหาปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านโภชนาการ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ด้านการชลประทาน การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งเรื่อง GMOs และ การพึ่งพาสินค้าและเทคโนโลยีต่างประเทศทางด้านเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยในอนาคตได้ นอกจากนั้นได้ทรงขอให้ไทยและสมาพันธรัฐสวิส ร่วมมือกันทางสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านชีววิทยา ซึ่งนาย Deiss กล่าวว่า รู้สึกปลื้มปิติมากทรงมีพระราชปฏิสันถารด้วย ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งคงเนื่องจากทรงผูกพันกับประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งได้ทรงศึกษาและประทับอยู่เป็นเวลานาน
นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณรัฐบาลสวิส ที่ได้ให้ความร่วมมือทางด้านวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศไทยด้วยดีมาโดยตลอด โดยเฉพาะการให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศไทย และความสนับสนุนด้านการเงินแก่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology-AIT) อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองภายในของประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้ให้ความสนใจสอบถามถึงนโยบายการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งนาย Deiss ได้แจ้งว่า แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์ ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และองค์การสหประชาชาติ แต่รัฐบาลสวิสกำลังรณรงค์เพื่อให้สวิตเซอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และองค์การสหประชาชาติ และจะมีการจัดให้ประชาชนสวิส ลงประชามติในปี ค.ศ. 2002 หรืออย่างช้าในช่วงครึ่งแรกของปี ค.ศ.2003 และหวังว่า รัฐบาลจะสามารถเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาสวิสในปีหน้า
2. การเข้าเยี่ยมคารวะและหารือทวิภาคีกับ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 10 ตุลาคม ศกนี้ ดร. สุรินทร์ ฯ ได้ขอบคุณรัฐบาลสวิสที่ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ โดยจัดสรรพื้นที่ในสวนสาธารณะ Parc du Denantou เมืองโลซานน์ ให้เป็นสถานที่สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความผูกพันของพระมหากษัตริย์ไทยกับเมืองโลซานน์ ซึ่งเป็น สถานที่ที่ทรงเจริญพระชันษาและประทับอยู่เมืองนี้มานาน และในการให้การสนับสนุนบัณฑิตไทยจำนวน 12 คน ไปฝึกงานที่บริษัทของสวิสทางด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และหวังว่ารัฐบาลสวิสจะให้การสนับสนุนการฝึกอบรมในลักษณะนี้ต่อไป
ดร. สุรินทร์ ฯ ขอบคุณฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้ให้สิทธิ GSP แก่สินค้าเกษตรของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 และเนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยกับสวิตเซอร์แลนด์เอื้ออำนวย ซึ่งกันและกัน จึงขอให้ฝ่ายสวิสสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็กในไทย โดยขยายความร่วมมือไปในสินค้าอื่นที่จะเอื้ออำนวยกันได้ และทั้งสองฝ่ายควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างภาคเอกชนให้มากขึ้น ในการนี้ นาย Deiss แจ้งว่า สวิสสนใจที่จะลงทุนด้านเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะในการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย หรือ ASEAN อื่น ซึ่งได้หารือในเรื่องนี้ในระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วยแล้ว ทั้งนี้ จะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะเป็น new dimension ของการลงทุนของสวิสในภูมิภาคนี้
สำหรับความร่วมมือทางด้านวิชาการ ดร. สุรินทร์ฯ แสดงความหวังว่า สวิสจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือระดับสถาบันการศึกษาต่างๆ ของสวิสและไทย ในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์ นักศึกษาและนักวิชาการของประเทศทั้งสองต่อไป นอกจากนั้น รัฐมนตรีทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ดร. สุรินทร์ฯ ได้ขอบคุณที่รัฐบาล สวิสได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ AIT และหวังว่าจะให้การสนับสนุนต่อไป เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เนื่องจากร้อยละ 60 ของนักศึกษาที่ศึกษาที่ AIT มาจากประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และขอบคุณรัฐบาลสวิสที่เป็นผู้ให้ที่สำคัญรายหนึ่งของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission — MRC) นับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 และหวังว่าสวิตเซอร์แลนด์จะให้ความช่วยเหลือแก่ MRC ต่อไป
รัฐมนตรีสมาพันธรัฐสวิสได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า รวมทั้งปัญหา ผู้หนีภัยตามชายแดนไทย และได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการประชุม Human Security ครั้งต่อไปที่จอร์แดน นอกจากนั้น นาย Deiss ได้แจ้งว่า รัฐบาลสวิสประสงค์จะเข้าร่วมกลุ่ม ASEM ในอนาคต ขณะเดียวกันก็ได้ให้คำมั่นว่า รัฐบาลสวิสยินดีสนับสนุนไทยในการสมัครเข้าร่วมเป็น “หุ้นส่วนของความร่วมมือ” (Partners for Cooperation) ขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organisation for Security and Cooperation in Europe —OSCE) ด้วย
3. หลังจากนั้น ได้มีพิธีแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างไทยและสมาพันธรัฐสวิส ซึ่งได้มีการลงนามแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในโอกาสการ เยือนไทยของนาย Arnold Koller ประธานาธิบดีสมาพันธรัฐสวิสในขณะนั้น หลังจากการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาดังกล่าว ดร. สุรินทร์ ฯ และ นาย Joseph Deiss ได้แถลงข่าวร่วมกันต่อสื่อมวลชนไทยและสวิส โดยเห็นพ้องร่วมกันสรุปได้ว่า ทั้งสองประเทศได้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าการเดินทางเยือนไทยของ นาย Deiss ในครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้าใจของทั้งสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-