ฉบับที่ 106/2543
1. ตั้งแต่กลางปี 2541 เป็นต้นมา ธปท. ได้ทยอยลดดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดซื้อคืนลงมาเป็นลำดับ และในขณะนี้ได้คงดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วันไว้ในระดับต่ำ เท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งแม้จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ยังมีความเปราะบาง ซึ่งการลดดอกเบี้ย ดังกล่าว ในช่วงเวลาเดียวกันมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกค้าชั้นดี (MLR) จากระดับกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ลงเหลือปัจจุบันร้อยละ 7.75 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนลงด้วย จากเดิมระดับกว่าร้อยละ 10 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 3
2. ผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย นโยบายดอกเบี้ยต่ำดังกล่าวมิได้เป็นตัวเร่งให้มีเงินทุนไหลออก ดังเห็นได้ว่าในจำนวนเงินทุนไหลออกของภาคเอกชนนั้น สาเหตุสำคัญที่สุดประมาณ 3 ใน 4 เป็นการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งในปี 2540 (ก.ค.-ธ.ค. ภายหลังจากการลอยตัวเงินบาท) 2541 2542 และปี 2543 ช่วง 8 เดือนแรกนั้น มีจำนวน 8,577 15,152 15,935 และ 8,127 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
3. ปัจจัยในการพิจารณาชำระคืนหนี้ต่างประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยระยะยาว มิใช่ดอกเบี้ยระยะสั้น ดังจะเห็นได้ว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดในช่วง 4 ปี คือ เฉลี่ยต่อเดือน 1,430 1,263 1,328 และ 1,016 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ทั้งนี้ แหล่งเงินที่ภาคเอกชนได้มาชำระหนี้นั้น บางรายใช้วิธีออกหุ้นกู้เงินบาทแบบอัตราดอกเบี้ยคงตัว และบางรายกู้จากธนาคารพาณิชย์แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
4. สำหรับรายที่ใช้วิธีออกหุ้นกู้แบบดอกเบี้ยคงตัวนั้น อัตราดอกเบี้ยระยะยาวเงินบาทจะแทบไม่แตกต่างจากต่างประเทศ ดังเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรระยะยาว 10 ปีของไทยกับดอลลาร์และ ยูโรแทบจะไม่ต่างกัน ส่วนรายที่ใช้วิธีกู้ธนาคารพาณิชย์นั้น ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวตาม MLR ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในต่างประเทศคือ LIBOR แล้ว อัตราของไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น การชำระคืนหนี้จึงไม่ได้เกิดจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหารความเสี่ยงของลูกหนี้แต่ละรายเป็นสำคัญ
5. อัตราดอกเบี้ยที่ไทยต่ำกว่าต่างประเทศมากนั้น คือดอกเบี้ยระยะสั้น เช่น ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนแบบ 1 วัน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 ไทยต่ำกว่าสหรัฐฯ ร้อยละ 5.5 ต่อปี ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดระหว่างสถาบันการเงิน และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารระยะ 3 เดือนของไทยต่ำกว่าสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 3.375 ต่อปี ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดผู้ฝากเงินทั่วไป
6. อย่างไรก็ดี ธปท. มีกฎระเบียบควบคุมธนาคารพาณิชย์มิให้เก็งกำไรจากการนี้ โดยมีสัดส่วนฐานะสุทธิเงินตราต่างประเทศต่อเงินกองทุน และสำหรับบุคคลทั่วไป ธปท. ก็มีกฎระเบียบห้ามการนำเงินออกเช่นกัน นอกจากนี้ ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนอาจจะทำให้ไม่คุ้มกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วง 4 ปีนี้ เงินทุนไหลออกจากการเปลี่ยนฐานะสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งของธนาคารพาณิชย์และเอกชนอื่น ๆ นั้น เป็นจำนวนที่ไม่มาก
7. สำหรับเงินทุนไหลออกรายการอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ (ก) ต่างชาติโอนเงินจากการขายหลักทรัพย์ และ (ข) ธนาคารพาณิชย์ในไทยชำระคืน swap แก่ ธปท. นั้น ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวก็มีเหตุผลการพิจารณาเป็นการเฉพาะของตนเอง
8. ผลต่อการอุปโภคบริโภคของเอกชน การที่ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงนั้น ทำให้รายได้ของผู้ฝากเงินลดลง แต่ครัวเรือนที่ผ่อนหนี้อยู่นั้นก็ลดภาระลงด้วย นอกจากนี้ผู้ที่ซื้อของใช้ประเภทที่ต้องอาศัยเงินกู้ก็มีโอกาสซื้อได้มากขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ดอกเบี้ยลดลงนั้น อัตราการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคเอกชนก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราการขยายตัวของการขายรถยนต์ การขายจักรยานยนต์ และสินเชื่อประเภทอุปโภคบริโภคทั้งหลาย
9. ผลต่อการลงทุนภาคเอกชนและการเจรจาหนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลงนั้น มีผลช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนโดยตรง และเอื้ออำนวยต่อการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของโครงการ และกรณีสำหรับลูกหนี้รายใดที่ธนาคารพาณิชย์ยอมผ่อนปรนขยายเวลาชำระหนี้ เมื่อคิดส่วนลดดอกเบี้ยแล้ว จำนวนที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องตัดหนี้สูญจะน้อยลง
10. ผลต่อส่วนต่างดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาส 2 ปี 2543 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีส่วนต่างดอกเบี้ยที่แท้จริงร้อยละ 1.28 ต่อปี ทั้งนี้ ในการบริหารงานของธนาคารพาณิชย์ ก็จะมีค่าใช้จ่ายด้านบริหารประมาณร้อยละ 2-2.75 ของเงินฝาก
11. มาตรการต่อไป ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจริงจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ต้องยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดียังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังนั้น ธปท. จึงเห็นควรเร่งรัดมาตรการต่อเนื่อง โดยจะกระตุ้นธนาคารรายที่มีความพร้อม ให้ทำการแข่งขันกันนำลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่โอนหนี้เสียไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว ซึ่งเมื่อการปล่อยสินเชื่อดีขึ้น ก็จะนำไปสู่การแข่งขันระดมเงินฝากต่อไปนอกจากนี้ ธปท. ยังเห็นว่ามีมาตรการอื่นที่อาจช่วยเกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อและการเจรจาหนี้ให้ดีขึ้น เช่น ระบบข้อมูลเครดิตที่มีประสิทธิผลอย่างแท้จริง ระบบการเจรจาไกล่เกลี่ยในศาลที่รวดเร็ว และการเพิ่มความสะดวกในการออมด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสำหรับผู้ออมรายย่อย เป็นต้น ซึ่งธปท. จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเรื่องเหล่านี้ต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/25 กันยายน 2543--
-ยก-
1. ตั้งแต่กลางปี 2541 เป็นต้นมา ธปท. ได้ทยอยลดดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดซื้อคืนลงมาเป็นลำดับ และในขณะนี้ได้คงดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วันไว้ในระดับต่ำ เท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งแม้จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ยังมีความเปราะบาง ซึ่งการลดดอกเบี้ย ดังกล่าว ในช่วงเวลาเดียวกันมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกค้าชั้นดี (MLR) จากระดับกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ลงเหลือปัจจุบันร้อยละ 7.75 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนลงด้วย จากเดิมระดับกว่าร้อยละ 10 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 3
2. ผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย นโยบายดอกเบี้ยต่ำดังกล่าวมิได้เป็นตัวเร่งให้มีเงินทุนไหลออก ดังเห็นได้ว่าในจำนวนเงินทุนไหลออกของภาคเอกชนนั้น สาเหตุสำคัญที่สุดประมาณ 3 ใน 4 เป็นการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งในปี 2540 (ก.ค.-ธ.ค. ภายหลังจากการลอยตัวเงินบาท) 2541 2542 และปี 2543 ช่วง 8 เดือนแรกนั้น มีจำนวน 8,577 15,152 15,935 และ 8,127 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
3. ปัจจัยในการพิจารณาชำระคืนหนี้ต่างประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยระยะยาว มิใช่ดอกเบี้ยระยะสั้น ดังจะเห็นได้ว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดในช่วง 4 ปี คือ เฉลี่ยต่อเดือน 1,430 1,263 1,328 และ 1,016 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ทั้งนี้ แหล่งเงินที่ภาคเอกชนได้มาชำระหนี้นั้น บางรายใช้วิธีออกหุ้นกู้เงินบาทแบบอัตราดอกเบี้ยคงตัว และบางรายกู้จากธนาคารพาณิชย์แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
4. สำหรับรายที่ใช้วิธีออกหุ้นกู้แบบดอกเบี้ยคงตัวนั้น อัตราดอกเบี้ยระยะยาวเงินบาทจะแทบไม่แตกต่างจากต่างประเทศ ดังเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรระยะยาว 10 ปีของไทยกับดอลลาร์และ ยูโรแทบจะไม่ต่างกัน ส่วนรายที่ใช้วิธีกู้ธนาคารพาณิชย์นั้น ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวตาม MLR ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในต่างประเทศคือ LIBOR แล้ว อัตราของไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น การชำระคืนหนี้จึงไม่ได้เกิดจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหารความเสี่ยงของลูกหนี้แต่ละรายเป็นสำคัญ
5. อัตราดอกเบี้ยที่ไทยต่ำกว่าต่างประเทศมากนั้น คือดอกเบี้ยระยะสั้น เช่น ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนแบบ 1 วัน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 ไทยต่ำกว่าสหรัฐฯ ร้อยละ 5.5 ต่อปี ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดระหว่างสถาบันการเงิน และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารระยะ 3 เดือนของไทยต่ำกว่าสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 3.375 ต่อปี ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดผู้ฝากเงินทั่วไป
6. อย่างไรก็ดี ธปท. มีกฎระเบียบควบคุมธนาคารพาณิชย์มิให้เก็งกำไรจากการนี้ โดยมีสัดส่วนฐานะสุทธิเงินตราต่างประเทศต่อเงินกองทุน และสำหรับบุคคลทั่วไป ธปท. ก็มีกฎระเบียบห้ามการนำเงินออกเช่นกัน นอกจากนี้ ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนอาจจะทำให้ไม่คุ้มกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วง 4 ปีนี้ เงินทุนไหลออกจากการเปลี่ยนฐานะสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งของธนาคารพาณิชย์และเอกชนอื่น ๆ นั้น เป็นจำนวนที่ไม่มาก
7. สำหรับเงินทุนไหลออกรายการอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ (ก) ต่างชาติโอนเงินจากการขายหลักทรัพย์ และ (ข) ธนาคารพาณิชย์ในไทยชำระคืน swap แก่ ธปท. นั้น ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวก็มีเหตุผลการพิจารณาเป็นการเฉพาะของตนเอง
8. ผลต่อการอุปโภคบริโภคของเอกชน การที่ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงนั้น ทำให้รายได้ของผู้ฝากเงินลดลง แต่ครัวเรือนที่ผ่อนหนี้อยู่นั้นก็ลดภาระลงด้วย นอกจากนี้ผู้ที่ซื้อของใช้ประเภทที่ต้องอาศัยเงินกู้ก็มีโอกาสซื้อได้มากขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ดอกเบี้ยลดลงนั้น อัตราการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคเอกชนก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราการขยายตัวของการขายรถยนต์ การขายจักรยานยนต์ และสินเชื่อประเภทอุปโภคบริโภคทั้งหลาย
9. ผลต่อการลงทุนภาคเอกชนและการเจรจาหนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลงนั้น มีผลช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนโดยตรง และเอื้ออำนวยต่อการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของโครงการ และกรณีสำหรับลูกหนี้รายใดที่ธนาคารพาณิชย์ยอมผ่อนปรนขยายเวลาชำระหนี้ เมื่อคิดส่วนลดดอกเบี้ยแล้ว จำนวนที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องตัดหนี้สูญจะน้อยลง
10. ผลต่อส่วนต่างดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาส 2 ปี 2543 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีส่วนต่างดอกเบี้ยที่แท้จริงร้อยละ 1.28 ต่อปี ทั้งนี้ ในการบริหารงานของธนาคารพาณิชย์ ก็จะมีค่าใช้จ่ายด้านบริหารประมาณร้อยละ 2-2.75 ของเงินฝาก
11. มาตรการต่อไป ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจริงจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ต้องยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดียังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังนั้น ธปท. จึงเห็นควรเร่งรัดมาตรการต่อเนื่อง โดยจะกระตุ้นธนาคารรายที่มีความพร้อม ให้ทำการแข่งขันกันนำลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่โอนหนี้เสียไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว ซึ่งเมื่อการปล่อยสินเชื่อดีขึ้น ก็จะนำไปสู่การแข่งขันระดมเงินฝากต่อไปนอกจากนี้ ธปท. ยังเห็นว่ามีมาตรการอื่นที่อาจช่วยเกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อและการเจรจาหนี้ให้ดีขึ้น เช่น ระบบข้อมูลเครดิตที่มีประสิทธิผลอย่างแท้จริง ระบบการเจรจาไกล่เกลี่ยในศาลที่รวดเร็ว และการเพิ่มความสะดวกในการออมด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสำหรับผู้ออมรายย่อย เป็นต้น ซึ่งธปท. จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเรื่องเหล่านี้ต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/25 กันยายน 2543--
-ยก-