ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.1 และของหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.3 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 10.0) เนื่องจากเป็นช่วงหมดฤดูกาลของผลไม้บางชนิด อาทิ ส้มเขียวหวาน สับปะรด เงาะ และสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้ปริมาณผักสดบางชนิดออกสู่ตลาดลดลง อาทิ ผักกาดขาว แตงกวา รองลงมาได้แก่หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ร้อยละ 0.8) ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มมากที่สุด (ร้อยละ 0.9) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นสำคัญ รองลงมาได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดเคหสถาน และหมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา (ร้อยละ 0.1)
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 และไม่เปลี่ยนปลง จากเดือนก่อนดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 2.5 รองลงมาได้แก่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 1.2 และ 0.7 ตามลำดับ โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาผลผลิตจากการประมงสูงขึ้น (ร้อยละ 4.6) เนื่องจากเป็นช่วงฤดูมรสุมทำให้ปริมาณปลาและสัตว์น้ำทะเลลดลง ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.8) ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นสำคัญ และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ราคาหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.9) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 และไม่เปลี่ยนปลง จากเดือนก่อนดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 2.5 รองลงมาได้แก่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 1.2 และ 0.7 ตามลำดับ โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาผลผลิตจากการประมงสูงขึ้น (ร้อยละ 4.6) เนื่องจากเป็นช่วงฤดูมรสุมทำให้ปริมาณปลาและสัตว์น้ำทะเลลดลง ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.8) ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นสำคัญ และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ราคาหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.9) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-