อุตสาหกรรมซีเมนต์ในไตรมาสสาม ปี 2544 มีปริมาณการผลิตรวม 15.6 ล้านตัน เทียบกับไตรมาสสองปี 2544 มีปริมาณ 15.9 ล้านตัน
ลดลงร้อยละ 1.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีปริมาณ 13.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
ตาราง 1 ปริมาณการผลิต
หน่วย :ล้านตัน
ช่วงเวลา การผลิตซีเมนต์ ปูนเม็ด ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด
2542 55.7 30.0 25.7
2543 56.0 29.6 26.5
% การเปลี่ยนแปลงปี 43/42 0.45 -1.33 3.11
ไตรมาสแรกปี 2543 14.4 7.6 6.8
ไตรมาสสอง ปี 2543 15.4 8.1 7.2
ไตรมาสสาม ปี 2543 13.8 7.2 6.6
ไตรมาสแรกปี 2544 14.7 7.6 7.1
ไตรมาสสอง ปี 2544 15.9 8.3 7.7
ไตรมาสสาม ปี 2544 15.6 8.2 7.4
เปรียบเทียบไตรมาสสาม ปี 44/43 13.3 13.9 12.1
เปรียบเทียบไตรมาส 2/3 ปี 44 -1.9 -1.2 -3.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตแต่ละเดือนในช่วงไตรมาสสาม หลังจากปริมาณการผลิตลดต่ำลงในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากเดือนมิถุนายน ไตรมาส
ก่อนร้อยละ 5.4 มีปริมาณ 4.9 ล้านตัน และเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ร้อยละ 2.5 มีปริมาณ 5.1 ล้านตัน ต่อเนื่องจนถึง
เดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 มีปริมาณ 5.6 ล้านตัน และคาดว่าแนวโน้มของการผลิตในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงหรือคงที่
ในระดับเดียวกันนี้
ปัญหาด้านการผลิต
ยังคงมีกำลังการผลิตส่วนเกินที่สูงอยู่ และปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากการปรับค่าต้นทุนผันแปร (FT) จากการนำเข้า
วัตถุดิบเชื้อเพลิง เช่น ปิโตรเลียมโค้กยังสูงอยู่ อย่างไรก็ตามได้มีการเสนอปรับลดอากรขาเข้าลงจากร้อยละ 5.0 ให้เหลือ ร้อยละ 1.0 ซึ่งอยู่
ในระหว่างการพิจารณาทบทวนและยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ด้านการตลาด
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสสาม มีปริมาณรวม 9.2 ล้านตัน แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 4.9 ล้านตัน หรือ ประมาณร้อยละ
54.0 ของการจำหน่ายทั้งหมดเมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปีเดียวกัน ลดลงร้อยละ 5.2 ซึ่งมีปริมาณ 5.1 ล้านตัน เนื่องจาก ภาคการลงทุนและ
การก่อสร้างยังขยายตัวไม่มากนัก รวมถึงในช่วงดังกล่าวซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้การขนส่งและการก่อสร้างมีความยากลำบากในช่วงนี้
การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศในไตรมาสสามปี 2544 มีปริมาณ 4.2 ล้านตัน หรือร้อยละ 45.0 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งหมด
เมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปีเดียวกันลดลง ร้อยละ 10.6 ซึ่งมีปริมาณ 4.7 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ทำให้เกิดผลกระทบไปถึงประเทศต่าง ๆ ที่เป็น
ประเทศคู่ค้าของประเทศเหล่านี้ โดยตลาดส่งออกหลักปูนซีเมนต์ของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เอเชียกลาง-ใต้ อาเซียน อัฟริกา และอื่น ๆ
โดยมีสัดส่วนดังนี้ คือ สหรัฐ 28 % เอเซียกลาง-ใต้ 27% อาเซีย 25% อัฟริกา 16% อื่น ๆ 4%
การส่งออกในแต่ละเดือนในไตรมาสสาม ปี 2544 มีทิศทางลดลงเนื่องจากเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีการส่งออกสูงสุดมีปริมาณ 1.7 ล้านตัน
และมิถุนายน มีปริมาณ 1.5 ล้านตัน และปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 6.6 มีปริมาณ 1.42
ล้านตัน และในเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ในภาวะทรงตัว และลดลงต่ำสุดในเดือนสุดท้ายของไตรมาสสาม ซึ่งมีปริมาณ 1.3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปริมาณรวมทั้งไตรมาส 3.9 ล้านตัน ยังคงเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9.0
ตาราง 2 : แสดงปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ และปูนเม็ด รายไตรมาส ปี 2543-2544
Product Category Q1/43 Q2/43 Q33/43 Q4/43 2543 Q1/44 Q2/44 Q3/44
ปูนซีเมนต์ ในประเทศ 5.10 4.70 4.56 4.15 18.51 5.29 4.98 4.95
ส่งออก 1.45 2.17 1.76 1.05 6.43 1.38 2.16 2.01
ปูนเม็ด ส่งออก 2.35 2.54 2.09 1.64 8.62 2.47 2.52 2.23
ที่มา : กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปัญหาด้านการตลาดในช่วงไตรมาสสาม เนื่องจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศ
ที่เป็นตลาดส่งออกของไทย ซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและมีประเทศผู้นำเข้าบางประเทศนำมาตรการ Anti Dumping มาตอบโต้
ผู้ส่งออกของไทยรวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนยังคงใช้มาตรการด้านภาษี NTB นอกจากนี้ จากการเกิดภาวะวิกฤตในสหรัฐในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ซึ่งสหรัฐเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย แม้ในระยะสั้นยังไม่ส่งผลกระทบก็ตามแต่ในระยะกลางและระยะยาวย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอนจึงจำเป็น
จะต้องเตรียมหาตลาดใหม่ ๆ มารองรับอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดในประเทศไทยคาดว่าจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีก่อนเนื่องจาาการลงทุนและ
การก่อสร้างยังขยายตัวไม่มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการผลักดันโครงการสาธารณูปโภค โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐรวมทั้ง
การกระตุ้นกำลังการซื้อด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ เพื่อก่อให้เกิดความต้องการใช้ปูนมากขึ้น
นโยบายและมาตรการ
นโยบายและมาตรการในการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ภาครัฐได้มีมาตรการสนับสนุนออกมาอย่างต่อเนื่อง
ได้แก่
1. เรื่องของการเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ผู้บริโภค หรือเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระ โดยผ่านมาตรการต่าง ๆ
- มาตรการด้านภาษี ได้แก่ การเพิ่มค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเพิ่ม
ค่าเสื่อมเป็นรายจ่ายของนิติบุคคล สำหรับซื้ออาคารถาวร การลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ การลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนหรือจดจำนอง
อสังหาริมทรัพย์
- มาตรการด้านการเงิน ได้แก่ การให้วงเงินสินเชื่อ 100% สำหรับข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่มีกำลังซื้อแน่นอน
- มาตรการซื้อ/เช่าอสังหาริมทรัพย์ของเอกชน สถาบันการเงิน หรือ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยรัฐและรัฐวิสาหกิจ
- มาตรการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว
2. การปรับโครงสร้างหนี้สำหรับสถาบันการเงินมีความคล่องตัวในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
นอกจากนี้ภาครัฐได้เตรียมการออกมาตรฐการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น การนำเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ ให้ข้าราชการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยผ่านทางธนาคาร และผ่อนชำระในระยะยาว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาในรายละเอียดของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สรุป
ภาวะการผลิตปูนซีเมนต์ในช่วงไตรมาสสาม ถือว่าอยู่ในระดับคงที่ หรือปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสสอง แต่มีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 คาดว่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับไตรมาสสาม
ในส่วนของการตลาดในประเทศของไตรมาสสาม ซึ่งลดลงจากไตรมาสสองเพียงเล็กน้อย เป็นผลเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัว และ
ในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมและมีฝนชุก ทำให้เกิดการชะลอตัวในการก่อสร้างลง ซึ่งถือเป็นภาวะปกติสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในช่วงปี และ
ด้านตลาดต่างประเทศ มีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมายังคงมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการ
ผลักดันมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ของรัฐออกมาเป็นระยะ ๆ น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยรวม รวมถึงการผลักดันโครงการ
สาธารณูปโภค โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะช่วยให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศโดยรวม
เพิ่มขึ้น ในส่วนของตลาดต่างประเทศแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกจะอยู่ในภาวะที่ถดถอย ผนวกกับเกิดเหตุวิกฤตการในสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออก
หลักที่สำคัญของไทย ซึ่งจะยังไม่ส่งผลในระยะสั้น ดังนั้นผู้ส่งออกได้มีการหาตลาดใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าปริมาณการ
ส่งออกโดยรวมในปี 2544 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ลดลงร้อยละ 1.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีปริมาณ 13.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
ตาราง 1 ปริมาณการผลิต
หน่วย :ล้านตัน
ช่วงเวลา การผลิตซีเมนต์ ปูนเม็ด ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด
2542 55.7 30.0 25.7
2543 56.0 29.6 26.5
% การเปลี่ยนแปลงปี 43/42 0.45 -1.33 3.11
ไตรมาสแรกปี 2543 14.4 7.6 6.8
ไตรมาสสอง ปี 2543 15.4 8.1 7.2
ไตรมาสสาม ปี 2543 13.8 7.2 6.6
ไตรมาสแรกปี 2544 14.7 7.6 7.1
ไตรมาสสอง ปี 2544 15.9 8.3 7.7
ไตรมาสสาม ปี 2544 15.6 8.2 7.4
เปรียบเทียบไตรมาสสาม ปี 44/43 13.3 13.9 12.1
เปรียบเทียบไตรมาส 2/3 ปี 44 -1.9 -1.2 -3.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตแต่ละเดือนในช่วงไตรมาสสาม หลังจากปริมาณการผลิตลดต่ำลงในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากเดือนมิถุนายน ไตรมาส
ก่อนร้อยละ 5.4 มีปริมาณ 4.9 ล้านตัน และเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ร้อยละ 2.5 มีปริมาณ 5.1 ล้านตัน ต่อเนื่องจนถึง
เดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 มีปริมาณ 5.6 ล้านตัน และคาดว่าแนวโน้มของการผลิตในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงหรือคงที่
ในระดับเดียวกันนี้
ปัญหาด้านการผลิต
ยังคงมีกำลังการผลิตส่วนเกินที่สูงอยู่ และปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากการปรับค่าต้นทุนผันแปร (FT) จากการนำเข้า
วัตถุดิบเชื้อเพลิง เช่น ปิโตรเลียมโค้กยังสูงอยู่ อย่างไรก็ตามได้มีการเสนอปรับลดอากรขาเข้าลงจากร้อยละ 5.0 ให้เหลือ ร้อยละ 1.0 ซึ่งอยู่
ในระหว่างการพิจารณาทบทวนและยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ด้านการตลาด
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสสาม มีปริมาณรวม 9.2 ล้านตัน แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 4.9 ล้านตัน หรือ ประมาณร้อยละ
54.0 ของการจำหน่ายทั้งหมดเมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปีเดียวกัน ลดลงร้อยละ 5.2 ซึ่งมีปริมาณ 5.1 ล้านตัน เนื่องจาก ภาคการลงทุนและ
การก่อสร้างยังขยายตัวไม่มากนัก รวมถึงในช่วงดังกล่าวซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้การขนส่งและการก่อสร้างมีความยากลำบากในช่วงนี้
การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศในไตรมาสสามปี 2544 มีปริมาณ 4.2 ล้านตัน หรือร้อยละ 45.0 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งหมด
เมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปีเดียวกันลดลง ร้อยละ 10.6 ซึ่งมีปริมาณ 4.7 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ทำให้เกิดผลกระทบไปถึงประเทศต่าง ๆ ที่เป็น
ประเทศคู่ค้าของประเทศเหล่านี้ โดยตลาดส่งออกหลักปูนซีเมนต์ของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เอเชียกลาง-ใต้ อาเซียน อัฟริกา และอื่น ๆ
โดยมีสัดส่วนดังนี้ คือ สหรัฐ 28 % เอเซียกลาง-ใต้ 27% อาเซีย 25% อัฟริกา 16% อื่น ๆ 4%
การส่งออกในแต่ละเดือนในไตรมาสสาม ปี 2544 มีทิศทางลดลงเนื่องจากเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีการส่งออกสูงสุดมีปริมาณ 1.7 ล้านตัน
และมิถุนายน มีปริมาณ 1.5 ล้านตัน และปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 6.6 มีปริมาณ 1.42
ล้านตัน และในเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ในภาวะทรงตัว และลดลงต่ำสุดในเดือนสุดท้ายของไตรมาสสาม ซึ่งมีปริมาณ 1.3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปริมาณรวมทั้งไตรมาส 3.9 ล้านตัน ยังคงเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9.0
ตาราง 2 : แสดงปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ และปูนเม็ด รายไตรมาส ปี 2543-2544
Product Category Q1/43 Q2/43 Q33/43 Q4/43 2543 Q1/44 Q2/44 Q3/44
ปูนซีเมนต์ ในประเทศ 5.10 4.70 4.56 4.15 18.51 5.29 4.98 4.95
ส่งออก 1.45 2.17 1.76 1.05 6.43 1.38 2.16 2.01
ปูนเม็ด ส่งออก 2.35 2.54 2.09 1.64 8.62 2.47 2.52 2.23
ที่มา : กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปัญหาด้านการตลาดในช่วงไตรมาสสาม เนื่องจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศ
ที่เป็นตลาดส่งออกของไทย ซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและมีประเทศผู้นำเข้าบางประเทศนำมาตรการ Anti Dumping มาตอบโต้
ผู้ส่งออกของไทยรวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนยังคงใช้มาตรการด้านภาษี NTB นอกจากนี้ จากการเกิดภาวะวิกฤตในสหรัฐในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ซึ่งสหรัฐเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย แม้ในระยะสั้นยังไม่ส่งผลกระทบก็ตามแต่ในระยะกลางและระยะยาวย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอนจึงจำเป็น
จะต้องเตรียมหาตลาดใหม่ ๆ มารองรับอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดในประเทศไทยคาดว่าจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีก่อนเนื่องจาาการลงทุนและ
การก่อสร้างยังขยายตัวไม่มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการผลักดันโครงการสาธารณูปโภค โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐรวมทั้ง
การกระตุ้นกำลังการซื้อด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ เพื่อก่อให้เกิดความต้องการใช้ปูนมากขึ้น
นโยบายและมาตรการ
นโยบายและมาตรการในการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ภาครัฐได้มีมาตรการสนับสนุนออกมาอย่างต่อเนื่อง
ได้แก่
1. เรื่องของการเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ผู้บริโภค หรือเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระ โดยผ่านมาตรการต่าง ๆ
- มาตรการด้านภาษี ได้แก่ การเพิ่มค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเพิ่ม
ค่าเสื่อมเป็นรายจ่ายของนิติบุคคล สำหรับซื้ออาคารถาวร การลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ การลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนหรือจดจำนอง
อสังหาริมทรัพย์
- มาตรการด้านการเงิน ได้แก่ การให้วงเงินสินเชื่อ 100% สำหรับข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่มีกำลังซื้อแน่นอน
- มาตรการซื้อ/เช่าอสังหาริมทรัพย์ของเอกชน สถาบันการเงิน หรือ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยรัฐและรัฐวิสาหกิจ
- มาตรการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว
2. การปรับโครงสร้างหนี้สำหรับสถาบันการเงินมีความคล่องตัวในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
นอกจากนี้ภาครัฐได้เตรียมการออกมาตรฐการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น การนำเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ ให้ข้าราชการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยผ่านทางธนาคาร และผ่อนชำระในระยะยาว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาในรายละเอียดของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สรุป
ภาวะการผลิตปูนซีเมนต์ในช่วงไตรมาสสาม ถือว่าอยู่ในระดับคงที่ หรือปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสสอง แต่มีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 คาดว่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับไตรมาสสาม
ในส่วนของการตลาดในประเทศของไตรมาสสาม ซึ่งลดลงจากไตรมาสสองเพียงเล็กน้อย เป็นผลเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัว และ
ในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมและมีฝนชุก ทำให้เกิดการชะลอตัวในการก่อสร้างลง ซึ่งถือเป็นภาวะปกติสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในช่วงปี และ
ด้านตลาดต่างประเทศ มีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมายังคงมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการ
ผลักดันมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ของรัฐออกมาเป็นระยะ ๆ น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยรวม รวมถึงการผลักดันโครงการ
สาธารณูปโภค โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะช่วยให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศโดยรวม
เพิ่มขึ้น ในส่วนของตลาดต่างประเทศแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกจะอยู่ในภาวะที่ถดถอย ผนวกกับเกิดเหตุวิกฤตการในสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออก
หลักที่สำคัญของไทย ซึ่งจะยังไม่ส่งผลในระยะสั้น ดังนั้นผู้ส่งออกได้มีการหาตลาดใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าปริมาณการ
ส่งออกโดยรวมในปี 2544 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--