กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนเจ้าหน้าที่อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ประจำปี 2544 ระหว่างวันที่ 22-29 เมษายน 2544 ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน ราชการของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และสำนักเลขาธิการอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลของประเทศอาเซียนมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ด้วยตนเอง และพัฒนาความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมโครงการ ในส่วนของประเทศไทย มี เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าร่วม
ฝ่ายสาธารณรัฐเกาหลีได้จัดให้คณะผู้แทนอาเซียนเข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับนโยบายหลักของสาธารณรัฐเกาหลีที่หน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วยเรื่อง
1) ความร่วมมือด้านการพัฒนาของเกาหลีใต้กับประเทศกำลังพัฒนา และโครงการ ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับอาเซียน
2) ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ
3) นโยบายของเกาหลีใต้ต่อเอเชียตะวันออก
4) นโยบายของเกาหลีใต้ต่อและความสัมพันธ์กับอาเซียน
5) กองทุน Economic Development Cooperation Fund (EDCF) ของเกาหลีใต้
คณะผู้แทนได้รับทราบข้อมูลและแลกเปลี่ยนความเห็นกับเจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ความร่วมมือด้านการพัฒนา เกาหลีใต้ให้ความสำคัญในลำดับต้นกับความร่วมมือด้านการพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในด้านทรัพยากรมนุษย์ (HRD) โดยมี Korea International Cooperation Agency (KOICA) เป็นหน่วยงานดำเนินการ และขณะนี้ KOICA ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการพัฒนา HRD ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน (knowledge-based industries) นอกเหนือจากเดิมที่เน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการพัฒนาประเทศเป็นหลัก
- KOICA ให้ความสำคัญในลำดับต้นกับการจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศเอเชีย โดยเฉพาะอาเซียน โดยในระหว่างปี 2534-2543 KOICA ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศอาเซียนในรูปความ ช่วยเหลือให้เปล่าและความช่วยเหลือทางวิชาการเป็นจำนวน 66.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 20.8 % ของมูลค่าการให้ความช่วยเหลือทั้งหมด และในปี 2544 จะให้ความช่วยเหลือดังกล่าวแก่อาเซียนจำนวน 12.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 27.3 % ของงบประมาณความช่วยเหลือทั้งหมด
- นอกจากนี้เมื่อปี 2543 KOICA ได้เริ่มดำเนินโครงการเฉพาะสำหรับอาเซียน คือ Special Training Program for ASEAN Countries เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเกาหลีใต้ในด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนา IT ซึ่งได้มีการจัดฝึกอบรมจำนวน 31 หลักสูตรให้แก่ผู้ฝึกอบรม อาเซียนจำนวน 600 คน และในปีนี้ จะจัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ฝึกอบรมอาเซียนจำนวน 1,000 คน โดยจะมีการอบรมด้าน IT จำนวน 25 หลักสูตร
- ความสัมพันธ์กับอาเซียน เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับอาเซียนอย่างมาก โดยจะมุ่งขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และอาเซียนยังมีความสำคัญในฐานะหุ้นส่วนในความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยขณะนี้ กำลังมีการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งหากสามารถจัดตั้งได้ ก็จะข่วยขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ เกาหลีใต้ประสงค์จะเสริมสร้างความ ร่วมมือด้านการพัฒนากับอาเซียน โดยเฉพาะในกรอบเขตเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง รวมทั้งสนใจร่วมมือด้าน IT และด้านการเงินเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นอีกของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในส่วนของความร่วมมือในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เกาหลีใต้สนใจร่วมมือในด้านการขจัดปัญหาความยากจน การศึกษา พลังงาน และการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ การดำเนินนโยบาย Sunshine Policy หรือ Engagement Policy ที่ผ่านมาประสบผลทำให้มีการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้เมื่อปี 2543 แต่ในชั้นนี้ ยังไม่สามารถตกลงกำหนดจัดการประชุมสุดยอดดังกล่าวขึ้นอีกในปีนี้เนื่องจากต้องรอการทบทวนนโยบายของสหรัฐฯ ต่อเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ หวังว่าการประชุมสุดยอดครั้งที่ 2 จะส่งผลให้มีการลดความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีและช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจทั้งทางด้านการเมืองและทหาร ซึ่งไม่ได้มีความคืบหน้าขึ้นเลยนับตั้งแต่การประชุมสุดยอดครั้งแรก สำหรับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ในปี 2545 จะมุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนของประชาชน (people exchange era)
- เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการคงบทบาทของสหรัฐฯ ในคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งการดึงให้ญี่ปุ่นและจีนเข้ามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี และมีความพอใจที่อาเซียนได้เชิญให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมในการประชุม ARF ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 การเข้าร่วมหารือในกรอบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจะช่วยทำให้ทั้งสองประเทศมีความเชื่อมั่นที่จะคงการหารือกับประเทศต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีต่อไป
- กองทุน Economic Development Cooperation Fund (EDCF) ของเกาหลีใต้ เป็น กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนา โดยให้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนสำหรับดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และการพัฒนาทรัพยากรธรรม ชาติ ที่ผ่านมาได้ให้เงินกู้แก่ประเทศในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี 2543 ให้เงินกู้แก่กลุ่มประเทศ ดังกล่าวจำนวน 968.2 พันล้านวอน หรือ 64% ของเงินกู้ทั้งหมด
นอกจากนี้ คณผู้แทนอาเซียนได้เยี่ยมชมกิจการของบริษัทเอกชนที่สำคัญของเกาหลีใต้ประกอบด้วย
1) บริษัท Samsung SDS เป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของบริษัท Samsung ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2528 ให้บริการด้าน IT สำหรับการประกอบธุรกิจ โดยมีศูนย์ e-Data Center ตั้งอยู่ที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และมี e-Training Center และ Samsung Multi-Campus สำหรับเป็นที่ฝึกอบรมด้าน IT ขณะนี้ ประกอบธุรกิจอยู่ใน 63 ประเทศ และมีแผนการจะจัดตั้งบริษัทในไทยในปี 2545
2) บริษัท Hyundai Motors Co. เป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิตเครื่องยนต์และรถยนต์ประเภทต่างๆ ของเกาหลีใต้
3) บริษัท Hyundai Heavy Industry Co. ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเรือเดินสมุทร เครื่องยนต์และเครื่องจักรกล โรงงานอุตสาหรรม การบริการด้านวิศวกรรม/ก่อสร้าง การผลิตอุปกรณ์ อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและก่อสร้าง และการวิจัยและการพัฒนา
โดยสรุป การเข้าร่วมในโครงการเยือนเกาหลีใต้ครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะได้ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งนโยบายในด้านหลักๆ และต่ออาเซียน อีกทั้งได้เปิดโอกาสให้ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากประเทศอาเซียนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อประสานงานและเสริมสร้างมิตรไมตรีระหว่างกันต่อๆ ไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนเจ้าหน้าที่อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ประจำปี 2544 ระหว่างวันที่ 22-29 เมษายน 2544 ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน ราชการของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และสำนักเลขาธิการอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลของประเทศอาเซียนมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ด้วยตนเอง และพัฒนาความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมโครงการ ในส่วนของประเทศไทย มี เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าร่วม
ฝ่ายสาธารณรัฐเกาหลีได้จัดให้คณะผู้แทนอาเซียนเข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับนโยบายหลักของสาธารณรัฐเกาหลีที่หน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วยเรื่อง
1) ความร่วมมือด้านการพัฒนาของเกาหลีใต้กับประเทศกำลังพัฒนา และโครงการ ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับอาเซียน
2) ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ
3) นโยบายของเกาหลีใต้ต่อเอเชียตะวันออก
4) นโยบายของเกาหลีใต้ต่อและความสัมพันธ์กับอาเซียน
5) กองทุน Economic Development Cooperation Fund (EDCF) ของเกาหลีใต้
คณะผู้แทนได้รับทราบข้อมูลและแลกเปลี่ยนความเห็นกับเจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ความร่วมมือด้านการพัฒนา เกาหลีใต้ให้ความสำคัญในลำดับต้นกับความร่วมมือด้านการพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในด้านทรัพยากรมนุษย์ (HRD) โดยมี Korea International Cooperation Agency (KOICA) เป็นหน่วยงานดำเนินการ และขณะนี้ KOICA ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการพัฒนา HRD ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน (knowledge-based industries) นอกเหนือจากเดิมที่เน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการพัฒนาประเทศเป็นหลัก
- KOICA ให้ความสำคัญในลำดับต้นกับการจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศเอเชีย โดยเฉพาะอาเซียน โดยในระหว่างปี 2534-2543 KOICA ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศอาเซียนในรูปความ ช่วยเหลือให้เปล่าและความช่วยเหลือทางวิชาการเป็นจำนวน 66.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 20.8 % ของมูลค่าการให้ความช่วยเหลือทั้งหมด และในปี 2544 จะให้ความช่วยเหลือดังกล่าวแก่อาเซียนจำนวน 12.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 27.3 % ของงบประมาณความช่วยเหลือทั้งหมด
- นอกจากนี้เมื่อปี 2543 KOICA ได้เริ่มดำเนินโครงการเฉพาะสำหรับอาเซียน คือ Special Training Program for ASEAN Countries เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเกาหลีใต้ในด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนา IT ซึ่งได้มีการจัดฝึกอบรมจำนวน 31 หลักสูตรให้แก่ผู้ฝึกอบรม อาเซียนจำนวน 600 คน และในปีนี้ จะจัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ฝึกอบรมอาเซียนจำนวน 1,000 คน โดยจะมีการอบรมด้าน IT จำนวน 25 หลักสูตร
- ความสัมพันธ์กับอาเซียน เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับอาเซียนอย่างมาก โดยจะมุ่งขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และอาเซียนยังมีความสำคัญในฐานะหุ้นส่วนในความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยขณะนี้ กำลังมีการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งหากสามารถจัดตั้งได้ ก็จะข่วยขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ เกาหลีใต้ประสงค์จะเสริมสร้างความ ร่วมมือด้านการพัฒนากับอาเซียน โดยเฉพาะในกรอบเขตเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง รวมทั้งสนใจร่วมมือด้าน IT และด้านการเงินเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นอีกของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในส่วนของความร่วมมือในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เกาหลีใต้สนใจร่วมมือในด้านการขจัดปัญหาความยากจน การศึกษา พลังงาน และการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ การดำเนินนโยบาย Sunshine Policy หรือ Engagement Policy ที่ผ่านมาประสบผลทำให้มีการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้เมื่อปี 2543 แต่ในชั้นนี้ ยังไม่สามารถตกลงกำหนดจัดการประชุมสุดยอดดังกล่าวขึ้นอีกในปีนี้เนื่องจากต้องรอการทบทวนนโยบายของสหรัฐฯ ต่อเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ หวังว่าการประชุมสุดยอดครั้งที่ 2 จะส่งผลให้มีการลดความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีและช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจทั้งทางด้านการเมืองและทหาร ซึ่งไม่ได้มีความคืบหน้าขึ้นเลยนับตั้งแต่การประชุมสุดยอดครั้งแรก สำหรับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ในปี 2545 จะมุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนของประชาชน (people exchange era)
- เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการคงบทบาทของสหรัฐฯ ในคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งการดึงให้ญี่ปุ่นและจีนเข้ามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี และมีความพอใจที่อาเซียนได้เชิญให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมในการประชุม ARF ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 การเข้าร่วมหารือในกรอบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจะช่วยทำให้ทั้งสองประเทศมีความเชื่อมั่นที่จะคงการหารือกับประเทศต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีต่อไป
- กองทุน Economic Development Cooperation Fund (EDCF) ของเกาหลีใต้ เป็น กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนา โดยให้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนสำหรับดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และการพัฒนาทรัพยากรธรรม ชาติ ที่ผ่านมาได้ให้เงินกู้แก่ประเทศในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี 2543 ให้เงินกู้แก่กลุ่มประเทศ ดังกล่าวจำนวน 968.2 พันล้านวอน หรือ 64% ของเงินกู้ทั้งหมด
นอกจากนี้ คณผู้แทนอาเซียนได้เยี่ยมชมกิจการของบริษัทเอกชนที่สำคัญของเกาหลีใต้ประกอบด้วย
1) บริษัท Samsung SDS เป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของบริษัท Samsung ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2528 ให้บริการด้าน IT สำหรับการประกอบธุรกิจ โดยมีศูนย์ e-Data Center ตั้งอยู่ที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และมี e-Training Center และ Samsung Multi-Campus สำหรับเป็นที่ฝึกอบรมด้าน IT ขณะนี้ ประกอบธุรกิจอยู่ใน 63 ประเทศ และมีแผนการจะจัดตั้งบริษัทในไทยในปี 2545
2) บริษัท Hyundai Motors Co. เป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิตเครื่องยนต์และรถยนต์ประเภทต่างๆ ของเกาหลีใต้
3) บริษัท Hyundai Heavy Industry Co. ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเรือเดินสมุทร เครื่องยนต์และเครื่องจักรกล โรงงานอุตสาหรรม การบริการด้านวิศวกรรม/ก่อสร้าง การผลิตอุปกรณ์ อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและก่อสร้าง และการวิจัยและการพัฒนา
โดยสรุป การเข้าร่วมในโครงการเยือนเกาหลีใต้ครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะได้ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งนโยบายในด้านหลักๆ และต่ออาเซียน อีกทั้งได้เปิดโอกาสให้ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากประเทศอาเซียนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อประสานงานและเสริมสร้างมิตรไมตรีระหว่างกันต่อๆ ไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-