ข่าวในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินเร่งติดตามดูปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเพื่อพิจารณาปัจจัยและตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินและดอกเบี้ยว่า จากตัวเลขเดือน ม.ค. 44 เศรษฐกิจมีความเสี่ยงต่อการทรุดตัวมากกว่าตัวเลขในการประชุมครั้งก่อน เนื่องจากปัจจัยภายในประเทศยังคงขยายตัวไม่มาก โดยการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตยังคงทรงตัวในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยต่างประเทศมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะฟื้นตัวจริงในไตรมาสที่ 3 ของปี 44 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ที่ผ่านมาเริ่มส่งผลชัดเจนต่อการส่งออกไทยมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้สั่งการให้ ธปท. เร่งหาแนวทางและวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายการคลังเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะนำผลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใส่แบบจำลองเศรษฐกิจและทราบภาพรวมได้ก่อนวันที่ 1 มี.ค. 44 (ไทยรัฐ, โลกวันนี้ 22)
2. ธปท. รายงานฐานะเงินกองทุนของ ธพ. ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 43 ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ในปี 43 ธพ.ของไทยทั้งระบบสามารถดำรงเงินกองทุนได้ทั้งสิ้นรวม 401,475.4 ล.บาท โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของทั้งระบบเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 11.4 เกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยแบ่งเป็น (1). ธพ. เอกชน 5 แห่ง มีเงินกองทุนรวม 294,525.8 ล.บาท และมี BIS Ratio เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.82 (2) ธพ.เอกชนที่ต่างชาติถือหุ้นใหญ่ 4 แห่ง มีเงินกองทุนรวม 32,884.8 ล.บาท และมี BIS Ratio เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 13.69 (3) ธพ.ของรัฐ 4 แห่ง มีเงินกองทุนรวม 74,064.8 ล.บาท มี BIS Ratio เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 9.45 ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ธพ. มีความพร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อ เพราะมีทุนเพียงพอและมีการกันสำรองครบ (แนวหน้า 22)
3. รมว.คลังแต่งตั้งทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเรียบร้อยแล้ว โดยทีมที่ปรึกษาดังกล่าวเป็นนักวิชาการและนักธุรกิจที่ไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองจำนวนทั้งสิ้น 10 คน ประกอบด้วย 1) ด้านการเงิน การคลัง และสถาบันการเงิน ๕ฮประธานกรรมการธนาคารเอเชีย (นายชวลิต ธนะชานันท์) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผน บริษัทหลักทรัพย์เมอร์รินลินช์ภัทร จำกัด (นายศุภวุฒิ สายเชื้อ) และอดีตปลัด ก.คลัง (นายศุภชัย พิศิษฐวานิช) 2) ด้านตลาดทุน คืออดีตประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (นายสังเวียน อินทรวิชัย) นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (นายวิโรจน์ นวลแข) 3) ด้านภาคผลิตและการพาณิชย์ คือประธานกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (นายธนินท์ เจียรวนนท์) ประธานกลุ่มสหกรุ้ป (นายบุณยสิทธิ โชควัฒนา) และอดีตปลัด ก.พาณิชย์ (นายสมพล เกียรติไพบูลย์) และด้านการพัฒนาชนบท คืออดีต ผอ.ธนาคารออมสิน (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์ 22)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ม.ค.44 สูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค.43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 21 ก.พ.44 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม (CPI) เดือน ม.ค.44 ของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบกับร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.43 สูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เช่นกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core rate) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.43 และสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่ว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และ 0.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ การสูงขึ้นของ CPI ในเดือน ม.ค. ดังกล่าว เป็นผลมาจากต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อที่เริ่มก่อตัวขึ้นนี้อาจนำไปสู่การดำเนินการด้วยความระมัดระวังของ ธ.กลาง สรอ. (Fed) ต่อการตัดสินใจที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 20 มี.ค.44 รายงานครั้งนี้ทำให้เกิดความคาดหมายว่า การคุกคามจากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอาจนำไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ Fed เพียงร้อยละ 0.25 มากกว่าจะปรับลดลงมากถึงร้อยละ 0.5 เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการมาแล้วในเดือน ม.ค. เพื่อป้องกันความซบเซาทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น (รอยเตอร์ 21)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ21 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงอยู่ที่มูลค่า 32.99 พัน ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขที่ปรับแล้ว ขาดดุลฯ มูลค่า 33.13 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ย.43 นับเป็นการขาดดุลการค้าลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยในเดือน ธ.ค. 43 การนำเข้าสินค้าและบริการ มีมูลค่า 122.81 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.7 จากมูลค่า 123.68 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ย. 43 ขณะที่การส่งออกโดยรวมมีมูลค่า 89.82 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.8 จากมูลค่า 90.56 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ย. 43 อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งปี 43 ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 369.7 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 264.97 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี 42(รอยเตอร์21)
3. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อ 21 ก.พ. 44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันตก เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 97.5 จากตัวเลขปรับแล้วที่ระดับ 96.8 ในเดือน ธ.ค. 43 ขณะเดียวกัน ดัชนีภาวะธุรกิจในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 64.6 จากที่ระดับ 92.2 แต่ดัชนีการคาดหวังทางธุรกิจ ลดลงอยู่ที่ระดับ 100.3 จากระดับ 101.5 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานครั้งนี้พลิกความคาดหมายของตลาดที่คาดไว้ว่า ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ ในเดือน ม.ค. 44 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 96.0 และส่งผลให้ค่าเงินยูโรในวันที่ 21 ก.พ. 44 เพิ่มขึ้นมากกว่า 0.25 เซ็นต์ มาอยู่ที่ระดับประมาณ 0.1970 ดอลลาร์ สรอ. /ยูโร อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Ifo กล่าวเตือนว่า ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจในเดือน ม.ค. 44ไม่ได้ส่งสัญญานชัดเจนว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากดัชนีคาดหวังทางธุรกิจในเดือนเดียวกันลดลง.(รอยเตอร์21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 21 ก.พ. 44 42.873 (42.720)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 21 ก.พ. 44ซื้อ 42.6188 (42.5156) ขาย 42.9255 (42.8287)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,200) ขาย 5,300 (5,300)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.99 (23.73)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินเร่งติดตามดูปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเพื่อพิจารณาปัจจัยและตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินและดอกเบี้ยว่า จากตัวเลขเดือน ม.ค. 44 เศรษฐกิจมีความเสี่ยงต่อการทรุดตัวมากกว่าตัวเลขในการประชุมครั้งก่อน เนื่องจากปัจจัยภายในประเทศยังคงขยายตัวไม่มาก โดยการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตยังคงทรงตัวในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยต่างประเทศมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะฟื้นตัวจริงในไตรมาสที่ 3 ของปี 44 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ที่ผ่านมาเริ่มส่งผลชัดเจนต่อการส่งออกไทยมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้สั่งการให้ ธปท. เร่งหาแนวทางและวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายการคลังเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะนำผลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใส่แบบจำลองเศรษฐกิจและทราบภาพรวมได้ก่อนวันที่ 1 มี.ค. 44 (ไทยรัฐ, โลกวันนี้ 22)
2. ธปท. รายงานฐานะเงินกองทุนของ ธพ. ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 43 ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ในปี 43 ธพ.ของไทยทั้งระบบสามารถดำรงเงินกองทุนได้ทั้งสิ้นรวม 401,475.4 ล.บาท โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของทั้งระบบเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 11.4 เกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยแบ่งเป็น (1). ธพ. เอกชน 5 แห่ง มีเงินกองทุนรวม 294,525.8 ล.บาท และมี BIS Ratio เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.82 (2) ธพ.เอกชนที่ต่างชาติถือหุ้นใหญ่ 4 แห่ง มีเงินกองทุนรวม 32,884.8 ล.บาท และมี BIS Ratio เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 13.69 (3) ธพ.ของรัฐ 4 แห่ง มีเงินกองทุนรวม 74,064.8 ล.บาท มี BIS Ratio เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 9.45 ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ธพ. มีความพร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อ เพราะมีทุนเพียงพอและมีการกันสำรองครบ (แนวหน้า 22)
3. รมว.คลังแต่งตั้งทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเรียบร้อยแล้ว โดยทีมที่ปรึกษาดังกล่าวเป็นนักวิชาการและนักธุรกิจที่ไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองจำนวนทั้งสิ้น 10 คน ประกอบด้วย 1) ด้านการเงิน การคลัง และสถาบันการเงิน ๕ฮประธานกรรมการธนาคารเอเชีย (นายชวลิต ธนะชานันท์) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผน บริษัทหลักทรัพย์เมอร์รินลินช์ภัทร จำกัด (นายศุภวุฒิ สายเชื้อ) และอดีตปลัด ก.คลัง (นายศุภชัย พิศิษฐวานิช) 2) ด้านตลาดทุน คืออดีตประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (นายสังเวียน อินทรวิชัย) นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (นายวิโรจน์ นวลแข) 3) ด้านภาคผลิตและการพาณิชย์ คือประธานกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (นายธนินท์ เจียรวนนท์) ประธานกลุ่มสหกรุ้ป (นายบุณยสิทธิ โชควัฒนา) และอดีตปลัด ก.พาณิชย์ (นายสมพล เกียรติไพบูลย์) และด้านการพัฒนาชนบท คืออดีต ผอ.ธนาคารออมสิน (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์ 22)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ม.ค.44 สูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค.43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 21 ก.พ.44 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม (CPI) เดือน ม.ค.44 ของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบกับร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.43 สูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เช่นกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core rate) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.43 และสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่ว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และ 0.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ การสูงขึ้นของ CPI ในเดือน ม.ค. ดังกล่าว เป็นผลมาจากต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อที่เริ่มก่อตัวขึ้นนี้อาจนำไปสู่การดำเนินการด้วยความระมัดระวังของ ธ.กลาง สรอ. (Fed) ต่อการตัดสินใจที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 20 มี.ค.44 รายงานครั้งนี้ทำให้เกิดความคาดหมายว่า การคุกคามจากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอาจนำไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ Fed เพียงร้อยละ 0.25 มากกว่าจะปรับลดลงมากถึงร้อยละ 0.5 เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการมาแล้วในเดือน ม.ค. เพื่อป้องกันความซบเซาทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น (รอยเตอร์ 21)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ21 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงอยู่ที่มูลค่า 32.99 พัน ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขที่ปรับแล้ว ขาดดุลฯ มูลค่า 33.13 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ย.43 นับเป็นการขาดดุลการค้าลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยในเดือน ธ.ค. 43 การนำเข้าสินค้าและบริการ มีมูลค่า 122.81 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.7 จากมูลค่า 123.68 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ย. 43 ขณะที่การส่งออกโดยรวมมีมูลค่า 89.82 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.8 จากมูลค่า 90.56 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ย. 43 อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งปี 43 ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 369.7 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 264.97 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี 42(รอยเตอร์21)
3. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อ 21 ก.พ. 44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันตก เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 97.5 จากตัวเลขปรับแล้วที่ระดับ 96.8 ในเดือน ธ.ค. 43 ขณะเดียวกัน ดัชนีภาวะธุรกิจในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 64.6 จากที่ระดับ 92.2 แต่ดัชนีการคาดหวังทางธุรกิจ ลดลงอยู่ที่ระดับ 100.3 จากระดับ 101.5 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานครั้งนี้พลิกความคาดหมายของตลาดที่คาดไว้ว่า ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ ในเดือน ม.ค. 44 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 96.0 และส่งผลให้ค่าเงินยูโรในวันที่ 21 ก.พ. 44 เพิ่มขึ้นมากกว่า 0.25 เซ็นต์ มาอยู่ที่ระดับประมาณ 0.1970 ดอลลาร์ สรอ. /ยูโร อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Ifo กล่าวเตือนว่า ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจในเดือน ม.ค. 44ไม่ได้ส่งสัญญานชัดเจนว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากดัชนีคาดหวังทางธุรกิจในเดือนเดียวกันลดลง.(รอยเตอร์21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 21 ก.พ. 44 42.873 (42.720)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 21 ก.พ. 44ซื้อ 42.6188 (42.5156) ขาย 42.9255 (42.8287)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,200) ขาย 5,300 (5,300)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.99 (23.73)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-