นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ รองอธิบดีกรมทะเบียนการค้า เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม APLMF ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 2 — 4 ตุลาคม 2543 และเข้าสัมมนา Legal Metrology for ASEAN Countries ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 5 — 6 ตุลาคม 2543 ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การประชุม APLMF ครั้งที่ 7
ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงงานชั่งตวงวัดที่กำกับดูแลโดยกฎหมาย (Legal Metrology) เป็นงาน ที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกฎหมายชั่งตวงวัดเป็นกฎหมายหนึ่งในกฎหมายทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการกีดกันทางการค้า และขณะนี้ประเทศในเอเซียแปซิฟิคหลายประเทศกำลังปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและโครงสร้างองค์กรการบริหารงานด้าน Legal Metrology ที่ประชุม จึงขอให้แต่ละประเทศได้ให้ความสำคัญต่องานชั่งตวงวัด และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายชั่งตวงวัด ขอให้พยายามปรับใช้มาตรฐานการชั่งตวงวัดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology (OIML) ทั้งนี้ APLMF จะ ตั้งคณะทำงานเพื่อปรึกษาด้านดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของประเทศสมาชิกในด้านนี้ สำหรับ ในปี 2543 / 2544 APLMF จะจัดให้มีการฝึกอบรมด้านการตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิก ในเรื่องต่าง ๆ เช่น
เครื่องชั่งน้ำหนักที่มีพิกัดกำลังสูง (High capacity weighing)
มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีพิกัดกำลังสูง (High capacity flow measurements)
การตรวจสอบสินค้าหีบห่อและการคำนวณหาค่าความไม่แน่นอนทางชั่งตวงวัด
(Good packed by Measurement and Measurement uncertainty in Legal Metrology)
สำหรับเครื่องชั่งตวงวัดแบบใหม่ ๆ APLMF จะติดตามและสนับสนุนการแก้ไข Recommendation on taximeter ของ OIML นอกจากนั้น ได้สนับสนุนการทำงานของคณะทำงานด้าน Medical Measurements เพื่อกำหนดมาตรฐานของเครื่องมือวัดทางการแพทย์ด้วย จัดหาทุนสำหรับการศึกษาการกำหนดมาตรฐานและตรวจรับรองเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกในประเทศญี่ปุ่น (Rice Measurement Control System of Japan) ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอของประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก นอกจากนั้น จะขอความสนับสนุนด้านเงินงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวจาก APEC SCSC เพื่อให้การดำเนินการ ตามโครงการประสบผลสำเร็จ นอกจากนั้น ตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ยังยินดีที่จะให้ความสนับสนุนประเทศไทยในการศึกษาเรื่องการกำหนดมาตรฐานและการตรวจรับรองเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกโดยตรง เช่น สำนักงานมาตรวิทยาแห่งชาติสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (PTB) เป็นต้น ด้านสินค้าหีบห่อ คณะทำงานได้ศึกษาและประสานงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมาย I ของ OIML สำหรับการรับรองสินค้าหีบห่อที่ได้ตรวจสอบแล้ว และจะพยายามให้มีเครื่องหมายรับรองของประเทศในภูมิภาค Asia-Pacific ในทำนองเดียวกัน รวมทั้งการพยายามทำให้กลุ่มประเทศ ACEC ใช้มาตรฐานสินค้าหีบห่อเดียวกัน
การสัมมนา Legal Metrology for ASEAN ครั้งที่ 2
การสัมมนาครั้งนี้สืบเนื่องจากการจัดสัมมนาในเรื่องความสำคัญของการชั่งตวงวัดที่กำกับ ดูแลโดยกฎหมาย และความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 โดยมีตัวแทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่สนใจ จำนวน 26 คน เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งมีผลสรุปที่สำคัญ คือ เพื่อให้ความร่วมมือทางด้านชั่งตวงวัดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไปด้วยดี เห็นควรให้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้าน Legal Metrology ขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในช่วงแรกจัดตั้งเป็น ASEAN Sub-Committee on Legal Metrology (ASCLM) อยู่ภายใต้ ASEAN Consultative Committee for Standard and Quality (ACCSQ) ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาขอให้ตัวแทนประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้ง ASCLM ดังกล่าว
การฝึกอบรมบุคลากรด้านการตรวจรับรองเครื่องชั่งตวงวัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภูมิภาคนี้ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า จะพยายามจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือสำหรับประเทศไทยนอกจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันที่มีโครงการความร่วมมือในด้านดังกล่าวแล้ว นิวซีแลนด์ยังเสนอให้ความช่วยเหลือในด้าน Legal Metrology กับประเทศไทยด้วย
เนื่องจากงานด้าน Legal Metrology เป็นงานพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้าและอุตสาหกรรม จำเป็นต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์บทบาทของงาน Legal Metrology ให้ประชาชนและผู้บริหารประเทศได้ทราบ
--กรมทะเบียนการค้า ตุลาคม 2543--
-อน-
การประชุม APLMF ครั้งที่ 7
ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงงานชั่งตวงวัดที่กำกับดูแลโดยกฎหมาย (Legal Metrology) เป็นงาน ที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกฎหมายชั่งตวงวัดเป็นกฎหมายหนึ่งในกฎหมายทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการกีดกันทางการค้า และขณะนี้ประเทศในเอเซียแปซิฟิคหลายประเทศกำลังปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและโครงสร้างองค์กรการบริหารงานด้าน Legal Metrology ที่ประชุม จึงขอให้แต่ละประเทศได้ให้ความสำคัญต่องานชั่งตวงวัด และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายชั่งตวงวัด ขอให้พยายามปรับใช้มาตรฐานการชั่งตวงวัดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology (OIML) ทั้งนี้ APLMF จะ ตั้งคณะทำงานเพื่อปรึกษาด้านดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของประเทศสมาชิกในด้านนี้ สำหรับ ในปี 2543 / 2544 APLMF จะจัดให้มีการฝึกอบรมด้านการตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิก ในเรื่องต่าง ๆ เช่น
เครื่องชั่งน้ำหนักที่มีพิกัดกำลังสูง (High capacity weighing)
มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีพิกัดกำลังสูง (High capacity flow measurements)
การตรวจสอบสินค้าหีบห่อและการคำนวณหาค่าความไม่แน่นอนทางชั่งตวงวัด
(Good packed by Measurement and Measurement uncertainty in Legal Metrology)
สำหรับเครื่องชั่งตวงวัดแบบใหม่ ๆ APLMF จะติดตามและสนับสนุนการแก้ไข Recommendation on taximeter ของ OIML นอกจากนั้น ได้สนับสนุนการทำงานของคณะทำงานด้าน Medical Measurements เพื่อกำหนดมาตรฐานของเครื่องมือวัดทางการแพทย์ด้วย จัดหาทุนสำหรับการศึกษาการกำหนดมาตรฐานและตรวจรับรองเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกในประเทศญี่ปุ่น (Rice Measurement Control System of Japan) ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอของประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก นอกจากนั้น จะขอความสนับสนุนด้านเงินงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวจาก APEC SCSC เพื่อให้การดำเนินการ ตามโครงการประสบผลสำเร็จ นอกจากนั้น ตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ยังยินดีที่จะให้ความสนับสนุนประเทศไทยในการศึกษาเรื่องการกำหนดมาตรฐานและการตรวจรับรองเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกโดยตรง เช่น สำนักงานมาตรวิทยาแห่งชาติสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (PTB) เป็นต้น ด้านสินค้าหีบห่อ คณะทำงานได้ศึกษาและประสานงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมาย I ของ OIML สำหรับการรับรองสินค้าหีบห่อที่ได้ตรวจสอบแล้ว และจะพยายามให้มีเครื่องหมายรับรองของประเทศในภูมิภาค Asia-Pacific ในทำนองเดียวกัน รวมทั้งการพยายามทำให้กลุ่มประเทศ ACEC ใช้มาตรฐานสินค้าหีบห่อเดียวกัน
การสัมมนา Legal Metrology for ASEAN ครั้งที่ 2
การสัมมนาครั้งนี้สืบเนื่องจากการจัดสัมมนาในเรื่องความสำคัญของการชั่งตวงวัดที่กำกับ ดูแลโดยกฎหมาย และความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 โดยมีตัวแทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่สนใจ จำนวน 26 คน เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งมีผลสรุปที่สำคัญ คือ เพื่อให้ความร่วมมือทางด้านชั่งตวงวัดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไปด้วยดี เห็นควรให้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้าน Legal Metrology ขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในช่วงแรกจัดตั้งเป็น ASEAN Sub-Committee on Legal Metrology (ASCLM) อยู่ภายใต้ ASEAN Consultative Committee for Standard and Quality (ACCSQ) ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาขอให้ตัวแทนประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้ง ASCLM ดังกล่าว
การฝึกอบรมบุคลากรด้านการตรวจรับรองเครื่องชั่งตวงวัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภูมิภาคนี้ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า จะพยายามจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือสำหรับประเทศไทยนอกจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันที่มีโครงการความร่วมมือในด้านดังกล่าวแล้ว นิวซีแลนด์ยังเสนอให้ความช่วยเหลือในด้าน Legal Metrology กับประเทศไทยด้วย
เนื่องจากงานด้าน Legal Metrology เป็นงานพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้าและอุตสาหกรรม จำเป็นต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์บทบาทของงาน Legal Metrology ให้ประชาชนและผู้บริหารประเทศได้ทราบ
--กรมทะเบียนการค้า ตุลาคม 2543--
-อน-