นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยผลการใช้เพดาน/โควตา GSP ของญี่ปุ่น สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ในระยะ 2 เดือนแรก ของปีงบประมาณญี่ปุ่น 2543/44 ( 1 เมษายน 2543 - 31 มีนาคม 2544 ) สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จากรายงานของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว สรุปได้ ดังนี้
1. สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP สำหรับประเทศผู้รับสิทธิทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากมีการใช้สิทธิ GSP เกินกว่าเพดาน/โควตารวมที่กำหนดไว้ จำนวน 23 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เมนทอล โซเดี่ยมกลูตาเมท น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ เด็กซ์ตริน พลาสติกบางรายการ หนังสัตว์ดิบและหนังผสม ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ ไม้ไผ่ ไม้แผ่น เสื่อ ฝ้าย ถุงมือถัก เสื้อผ้าของสตรีและเด็กผู้หญิง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าปูโต๊ะ ถุงและกระสอบ รองเท้าหนัง รองเท้ายาง รองเท้าพลาสติก ร่ม โลหะผสมเหล็ก ทองแดงบริสุทธิ์ที่ยังไม่ขึ้นรูป สังกะสีที่ยังไม่ขึ้นรูป
2. สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP เป็นการเฉพาะ สำหรับประเทศผู้รับสิทธิบาง ประเทศ ได้แก่ จีน ไทย ปากีสถาน เวียดนาม อิรัค มาเลเซีย และอัฟริกาใต้ เนื่องจากมีการใช้สิทธิ GSP เกิน 1 ใน 4 ของเพดาน/โควตารวม ที่กำหนดไว้แต่สินค้ายังมี เพดาน/โควตา GSP เหลืออยู่ เช่น แบเรียมซอลท์ โพลิเอทธิลีน โพลิสไตรีน เครื่องรูปพรรณ เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่องเครื่องจักสาน ดอกไม้เพลิง พรมและสิ่งทอปูพื้น ไม้กวาด แปรง เป็นต้น โดยบางประเทศถูกระงับสิทธิ GSP มากกว่า 1 กลุ่มสินค้า
สำหรับประเทศไทย มีสินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP รวม 26 กลุ่มสินค้า เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ประเทศผู้รับสิทธิ GSP ทุกประเทศถูกระงับสิทธิ 23 กลุ่ม และอีก 3 กลุ่มสินค้าที่ไทยถูกระงับสิทธิ GSP เนื่องจากไทยใช้สิทธิ GSP เกิน 1 ใน 4 ของเพดาน/โควตารวม ที่กำหนดไว้ ได้แก่ โพลิเอทธิลีน โพลิสไตรีน (HS.39. (01-04,06)ex,3911.10ex,3914.00ex) ที่รัดลำตัว ถุงมือ สต๊อกกิ้ง (HS.6209ex 6212,6216.00, 6217.10ex ) และเครื่องรูปพรรณ สายนาฬิกา (HS.7113 )
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่นเริ่มให้สิทธิ GSP ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2514 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2534 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2544 ระยะเวลา 10 ปี สินค้าที่ให้สิทธิ GSP มีทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แต่มีการจำกัดการนำเข้าภายใต้ GSP เฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมไว้เป็นแบบโควตารวม ( global quota ) ซึ่งปัจุบันมีจำนวน 125 กลุ่มสินค้า หากสินค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้มีการใช้โควตารวมถึงเพดานที่กำหนดไว้ การใช้สิทธิ GSP ในกลุ่มสินค้านั้นก็จะถูกระงับสิทธิ GSP ลง หรือกรณีที่ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ใด มีการใช้สิทธิ GSP ในสินค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเกินกว่า 1 ใน 4 ของเพดาน/โควตาสูงสุดที่กำหนดไว้ ( Maximum Country Amount : MCA ) ประเทศนั้นก็จะถูกระงับสิทธิ GSP สินค้ากลุ่มนั้นทันที อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP ทุกรายการ จะได้รับคืนสิทธิ GSP โดยอัตโนมัติในปีงบประมาณถัดไป
สำหรับผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่กองสิทธิประโยน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ : 5474819 โทรสาร : 5474816
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-
1. สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP สำหรับประเทศผู้รับสิทธิทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากมีการใช้สิทธิ GSP เกินกว่าเพดาน/โควตารวมที่กำหนดไว้ จำนวน 23 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เมนทอล โซเดี่ยมกลูตาเมท น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ เด็กซ์ตริน พลาสติกบางรายการ หนังสัตว์ดิบและหนังผสม ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ ไม้ไผ่ ไม้แผ่น เสื่อ ฝ้าย ถุงมือถัก เสื้อผ้าของสตรีและเด็กผู้หญิง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าปูโต๊ะ ถุงและกระสอบ รองเท้าหนัง รองเท้ายาง รองเท้าพลาสติก ร่ม โลหะผสมเหล็ก ทองแดงบริสุทธิ์ที่ยังไม่ขึ้นรูป สังกะสีที่ยังไม่ขึ้นรูป
2. สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP เป็นการเฉพาะ สำหรับประเทศผู้รับสิทธิบาง ประเทศ ได้แก่ จีน ไทย ปากีสถาน เวียดนาม อิรัค มาเลเซีย และอัฟริกาใต้ เนื่องจากมีการใช้สิทธิ GSP เกิน 1 ใน 4 ของเพดาน/โควตารวม ที่กำหนดไว้แต่สินค้ายังมี เพดาน/โควตา GSP เหลืออยู่ เช่น แบเรียมซอลท์ โพลิเอทธิลีน โพลิสไตรีน เครื่องรูปพรรณ เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่องเครื่องจักสาน ดอกไม้เพลิง พรมและสิ่งทอปูพื้น ไม้กวาด แปรง เป็นต้น โดยบางประเทศถูกระงับสิทธิ GSP มากกว่า 1 กลุ่มสินค้า
สำหรับประเทศไทย มีสินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP รวม 26 กลุ่มสินค้า เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ประเทศผู้รับสิทธิ GSP ทุกประเทศถูกระงับสิทธิ 23 กลุ่ม และอีก 3 กลุ่มสินค้าที่ไทยถูกระงับสิทธิ GSP เนื่องจากไทยใช้สิทธิ GSP เกิน 1 ใน 4 ของเพดาน/โควตารวม ที่กำหนดไว้ ได้แก่ โพลิเอทธิลีน โพลิสไตรีน (HS.39. (01-04,06)ex,3911.10ex,3914.00ex) ที่รัดลำตัว ถุงมือ สต๊อกกิ้ง (HS.6209ex 6212,6216.00, 6217.10ex ) และเครื่องรูปพรรณ สายนาฬิกา (HS.7113 )
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่นเริ่มให้สิทธิ GSP ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2514 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2534 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2544 ระยะเวลา 10 ปี สินค้าที่ให้สิทธิ GSP มีทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แต่มีการจำกัดการนำเข้าภายใต้ GSP เฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมไว้เป็นแบบโควตารวม ( global quota ) ซึ่งปัจุบันมีจำนวน 125 กลุ่มสินค้า หากสินค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้มีการใช้โควตารวมถึงเพดานที่กำหนดไว้ การใช้สิทธิ GSP ในกลุ่มสินค้านั้นก็จะถูกระงับสิทธิ GSP ลง หรือกรณีที่ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ใด มีการใช้สิทธิ GSP ในสินค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเกินกว่า 1 ใน 4 ของเพดาน/โควตาสูงสุดที่กำหนดไว้ ( Maximum Country Amount : MCA ) ประเทศนั้นก็จะถูกระงับสิทธิ GSP สินค้ากลุ่มนั้นทันที อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ GSP ทุกรายการ จะได้รับคืนสิทธิ GSP โดยอัตโนมัติในปีงบประมาณถัดไป
สำหรับผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่กองสิทธิประโยน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ : 5474819 โทรสาร : 5474816
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-