กรุงเทพฯ--24 พ.ศ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (24 พฤศจิกายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ว่า ระเบียบวาระการประชุมในครั้งนี้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. สิ่งท้าทายต่อ อาเซียน (Challenges to ASEAN) และ
2. การเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายต่างๆ ของอาเซียน (Meeting the Challenges) โดยในระหว่างการพักหารือนั้น ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันหารือเป็นการภายในเฉพาะตน (ASEAN Huddle) ในระหว่างการพักรับประทางน้ำชา/กาแฟ ที่ประชุมเห็นว่า อาเซียนกำลังประสบปัญหาวิกฤต ซึ่งก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูเกียรติภูมิ และความแข็งแกร่งของอาเซียนให้กลับคืนมา ด้วยการพยายามรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และในขณะเดียวกัน ก็พยายามลดช่องว่างระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดทั้งการลดช่องว่างด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่และสมาชิกเก่าที่มีระดับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดย ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ให้มีระดับ ใกล้เคียงกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดที่จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขของภูมิภาคร่วมกัน นอกจากนี้ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) จะต้องเดินหน้าต่อไป ใน ขณะเดียวกันอาเซียนควรจะต้องมองเห็นถึงปัญหาของภูมิภาคอย่างรอบด้าน อาทิการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมต่างๆ ฯลฯ เพื่อลดช่องว่างของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นด้วยว่า การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง เป็นเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการ เช่น โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์กับคุนหมิง (Singapore-Kunming Railway Link) การขนส่งในแม่น้ำโขง ตลอดจนเส้นทางการลำเลียงขนส่งทางเรือ (shipping lanes) ซึ่งเชื่อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นหมู่เกาะและที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่
โดยการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างเครือข่ายการขนส่ง (transport networking) ที่จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ผู้นำอาเซียนเห็นว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มิได้เป็นสมาชิกของเอเปก (กัมพูชา ลาว พม่า) ควรจะเข้าร่วมอยู่ในคณะทำงาน (working group) ของเอเปก ในขณะเดียวกัน ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีฐานะเป็นสมาชิกของอาเซมก็ควรแจ้งความสนใจของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มิได้เป็นสมาชิกขององค์ดังกล่าวให้ที่ประชุมอาเซมได้รับทราบ อย่างไรก็ตาม เรื่องที่สำคัญก็คือ อาเซียนจะต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะการแสดงให้ประเทศภายนอกภูมิภาคได้รับทราบว่า อาเซียนยังคงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญและมีความแข็งแกร่ง โดยการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ได้ริเริ่มไว้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ASEAN Investment Road Show และการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) นาย Estrada ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้แสดงความเห็นว่า เป็นเวลาประมาณ 39 ปีแล้วที่ ประเทศเอเชียมิได้มีโอกาสได้เป็นเลขาธิการสหประชาชาติ ฉะนั้นจึงเป็นวาระที่เอเชียน่าจะพิจารณาผู้สมัครจากภูมิภาคนี้ ซึ่งตนเห็นว่า ผู้ที่อยู่ในข่ายน่าจะได้แก่ นายเซีย ซอน รัฐมนตรี ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ นายคี ชอร์ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอาลี อาลาตัส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ประการสุดท้าย ที่ประชุมเห็นชอบที่จะเลิกรูปแบบการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ โดยให้เรียกการประชุมสุดยอดครั้งต่อ ๆ ไปว่า “การประชุมสุดยอดอาเซียน” (ASEAN Summit) ซึ่งจะมีประจำทุก ๆ ปี ทั้งนี้ ให้การจัดมีความเป็นทางการน้อยที่สุดด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (24 พฤศจิกายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ว่า ระเบียบวาระการประชุมในครั้งนี้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. สิ่งท้าทายต่อ อาเซียน (Challenges to ASEAN) และ
2. การเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายต่างๆ ของอาเซียน (Meeting the Challenges) โดยในระหว่างการพักหารือนั้น ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันหารือเป็นการภายในเฉพาะตน (ASEAN Huddle) ในระหว่างการพักรับประทางน้ำชา/กาแฟ ที่ประชุมเห็นว่า อาเซียนกำลังประสบปัญหาวิกฤต ซึ่งก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูเกียรติภูมิ และความแข็งแกร่งของอาเซียนให้กลับคืนมา ด้วยการพยายามรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และในขณะเดียวกัน ก็พยายามลดช่องว่างระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดทั้งการลดช่องว่างด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่และสมาชิกเก่าที่มีระดับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดย ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ให้มีระดับ ใกล้เคียงกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดที่จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขของภูมิภาคร่วมกัน นอกจากนี้ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) จะต้องเดินหน้าต่อไป ใน ขณะเดียวกันอาเซียนควรจะต้องมองเห็นถึงปัญหาของภูมิภาคอย่างรอบด้าน อาทิการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมต่างๆ ฯลฯ เพื่อลดช่องว่างของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นด้วยว่า การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง เป็นเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการ เช่น โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์กับคุนหมิง (Singapore-Kunming Railway Link) การขนส่งในแม่น้ำโขง ตลอดจนเส้นทางการลำเลียงขนส่งทางเรือ (shipping lanes) ซึ่งเชื่อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นหมู่เกาะและที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่
โดยการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างเครือข่ายการขนส่ง (transport networking) ที่จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ผู้นำอาเซียนเห็นว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มิได้เป็นสมาชิกของเอเปก (กัมพูชา ลาว พม่า) ควรจะเข้าร่วมอยู่ในคณะทำงาน (working group) ของเอเปก ในขณะเดียวกัน ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีฐานะเป็นสมาชิกของอาเซมก็ควรแจ้งความสนใจของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มิได้เป็นสมาชิกขององค์ดังกล่าวให้ที่ประชุมอาเซมได้รับทราบ อย่างไรก็ตาม เรื่องที่สำคัญก็คือ อาเซียนจะต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะการแสดงให้ประเทศภายนอกภูมิภาคได้รับทราบว่า อาเซียนยังคงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญและมีความแข็งแกร่ง โดยการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ได้ริเริ่มไว้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ASEAN Investment Road Show และการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) นาย Estrada ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้แสดงความเห็นว่า เป็นเวลาประมาณ 39 ปีแล้วที่ ประเทศเอเชียมิได้มีโอกาสได้เป็นเลขาธิการสหประชาชาติ ฉะนั้นจึงเป็นวาระที่เอเชียน่าจะพิจารณาผู้สมัครจากภูมิภาคนี้ ซึ่งตนเห็นว่า ผู้ที่อยู่ในข่ายน่าจะได้แก่ นายเซีย ซอน รัฐมนตรี ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ นายคี ชอร์ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอาลี อาลาตัส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ประการสุดท้าย ที่ประชุมเห็นชอบที่จะเลิกรูปแบบการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ โดยให้เรียกการประชุมสุดยอดครั้งต่อ ๆ ไปว่า “การประชุมสุดยอดอาเซียน” (ASEAN Summit) ซึ่งจะมีประจำทุก ๆ ปี ทั้งนี้ ให้การจัดมีความเป็นทางการน้อยที่สุดด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-