นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.)ในฐานะเป็นหน่วยงานประสานงานหลักของกลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านการค้าและการพัฒนา ณ จุดแรกเริ่ม (Implementing Technical Group on Trade and In Situ Development) ตามแผนงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT) กำหนดจัดประชุมการเพิ่มขีดความสามารถทางการค้า (Business matching) ระหว่างผู้ประกอบการไทยจาก 8 จังหวัดภาคใต้ในพื้นที่ IMT-GT ของไทย ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช และจาก 6 รัฐ IMT-GT ของมาเลเซีย ได้แก่ เกดะห์ ปะลิส เประ ปีนัง สลังงอร์ กลันตัน ระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2548 ณ โรงแรมลี การ์เด้นส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นกิจกรรมเชิงรุกสานต่อจากการที่กรมฯ ได้นำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชนไทยไปเยือนมาเลเซียระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2548 ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างดี ในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการ ลงทุนกับมาเลเซีย
วัตถุประสงค์ของจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักธุรกิจการค้าของทั้ง 2 ฝ่ายได้พบปะเจรจาการค้าในสินค้าที่มีความต้องการซื้อขายตรงกัน สินค้าที่คาดว่าจะมีการเจรจาซื้อขายกัน เช่น พืชผักผลไม้สด/บรรจุกระป๋อง อาหารทะเล ยางพารา ไม้แปรรูป วัสดุก่อสร้าง/เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเซรามิค นอกจากนี้จะได้มีการหารือและแนะนำให้มีการใช้ระบบการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจการค้าและส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าไทย-มาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2547-2548 อยู่ในภาวะชะลอตัว แม้ว่ามูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 189,418.54 ล้านบาท เมื่อปี 2546 เป็น 233,356.63 ล้านบาท ในปี 2547 หรือเพิ่มร้อยละ 23.2 ซึ่งลดลงมากเมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มร้อยละ 46.7 ปี 2546 และในระยะ 6 เดือนแรกปี 2548(มกราคม-มิถุนายน)การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย มีมูลค่า 126,659.33 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 19.0 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 28.4 ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2547 (มีมูลค่า 106,452.24 ล้านบาท) สาเหตุของการชะลอตัวเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการได้มีโอกาสพบปะเจรจากัน เป็นกิจกรรมในทางปฏิบัติที่มีส่วนช่วยผลักดันการค้าให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
วัตถุประสงค์ของจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักธุรกิจการค้าของทั้ง 2 ฝ่ายได้พบปะเจรจาการค้าในสินค้าที่มีความต้องการซื้อขายตรงกัน สินค้าที่คาดว่าจะมีการเจรจาซื้อขายกัน เช่น พืชผักผลไม้สด/บรรจุกระป๋อง อาหารทะเล ยางพารา ไม้แปรรูป วัสดุก่อสร้าง/เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเซรามิค นอกจากนี้จะได้มีการหารือและแนะนำให้มีการใช้ระบบการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจการค้าและส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าไทย-มาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2547-2548 อยู่ในภาวะชะลอตัว แม้ว่ามูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 189,418.54 ล้านบาท เมื่อปี 2546 เป็น 233,356.63 ล้านบาท ในปี 2547 หรือเพิ่มร้อยละ 23.2 ซึ่งลดลงมากเมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มร้อยละ 46.7 ปี 2546 และในระยะ 6 เดือนแรกปี 2548(มกราคม-มิถุนายน)การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย มีมูลค่า 126,659.33 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 19.0 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 28.4 ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2547 (มีมูลค่า 106,452.24 ล้านบาท) สาเหตุของการชะลอตัวเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการได้มีโอกาสพบปะเจรจากัน เป็นกิจกรรมในทางปฏิบัติที่มีส่วนช่วยผลักดันการค้าให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-