ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยถึงการดำเนินการโอนหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ไปยัง บสท. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.)โอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ซึ่งจะเสร็จสิ้นในเดือน พ.ย.44 นี้ และเมื่อได้รับพันธบัตรจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีดอกเบี้ยแล้ว จะทำให้โอกาสในการทำรายได้และรายได้ดอกเบี้ยของ ธพ.เพิ่มขึ้น หลังจากนั้น ธปท.จะหารือกับ ธพ.เป็นรายธนาคาร เพื่อพิจารณาถึงฐานะของ ธพ.แต่ละแห่งและนำมาวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนและจุดแข็ง หากมีจุดอ่อนประการใดจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่อไป สำหรับการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ธพ.แต่ละแห่ง ธปท.จะพยายามชี้ให้เห็นว่าธุรกิจใดที่ ธพ.ต้องพยายามค้นหาเพื่อปล่อยสินเชื่อ แต่ในส่วนของการพิจารณาความเสี่ยงการวิเคราะห์สินเชื่อจะไม่มีการลดมาตรการลงแต่อย่างใด (โลกวันนี้, แนวหน้า 23)
2. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการลดทุนจดทะเบียนของ ธ.กรุงไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงข้อเสนอในการลดทุนจดทะเบียนของ ธ.กรุงไทยว่า ต้องนำหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของธนาคารก่อน และหลังจากขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว จึงนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพิจารณาอีกครั้งว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร คุ้มค่ากับการที่จะลดทุนฯ หรือไม่ หากดำเนินการแล้วเกิดประโยชน์จริงอาจใช้เป็นแบบอย่างกับ ธพ.ของรัฐที่มีทุนจดทะเบียนสูงและมีกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นบ้าง (เดลินิวส์ 23)
3. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงภาวะการส่งออกในปี 44 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อเรื่อง "พลิกวิกฤตเป็นโอกาส" เมื่อ 22 พ.ย.44 ว่า ปี 44 การส่งออกจะลดลงร้อยละ 6 แต่เป็นการดีที่สินค้าส่งออกของไทยไม่ได้กระจุกตัวที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การส่งออกสุทธิของสินค้าและบริการปีนี้จึงหดตัวเพียงร้อยละ 0.2 ส่งผลให้การส่งออกที่เคยเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมาได้หมดไป เหลือเพียงการใช้จ่ายภาครัฐจากการขาดดุล งปม. 1.4 แสน ล.บาท ในปี งปม.45 (ผู้จัดการรายวัน 23)
4. กรมศุลกากรเปิดเผยตัวเลขการจัดเก็บภาษีเดือน ต.ค.44 อธิบดีกรมศุลกากรเปิดเผยว่า เดือน ต.ค.44 กรมศุลกากรมีรายได้สุทธิได้ 9,187.137 ล.บาท จำแนกตามประเภทภาษีอากรดังนี้ อากรขาเข้า 8,482.920 ล.บาท อากรขาออก 8.918 ล.บาท และค่าธรรมเนียม 695.299 ล.บาท ซึ่งรายได้สุทธิดังกล่าวสูงกว่ารายได้สุทธิของเดือน ต.ค.43 จำนวน 1,661.677 ล.บาท หรือร้อยละ 22.08 และสูงกว่าประมาณการจำนวน 255.302 ล.บาท หรือร้อยละ 2.86 การที่กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้สูงขึ้น เป็นผลจากการที่กำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในหลายด้าน รวมทั้งการเข้มงวดกวดขันในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง(แนวหน้า 23)
ข่าวต่างประเทศ
1. จีดีพีของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ รายงานจากโซลเมื่อ 22 พ.ย.44 รมว.คลังเปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 (หลังปรับตัวเลข) สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 และเมื่อเทียบต่อปี จีดีพีในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 1.8 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเท่ากับตัวเลขที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 เช่นเดียวกัน สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 44 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 การที่จีดีพีในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้การลงทุนในภาคการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อผนวกกับอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ได้ช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการส่งออกที่โน้มต่ำลง (รอยเตอร์ 22)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 32.9 ในเดือน ต.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ย.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน ต.ค.44 ยอดเกินดุลการค้า (ก่อนปรับฤดูกาล) มีจำนวน 462.5 พัน ล.เยน (3.75 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 32.9 เทียบต่อปี โดยการส่งออกมีจำนวน 4.071 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 9.0 การนำเข้ามีจำนวน 3.609 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 4.7 ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค.44 เมื่อเทียบต่อปี ยอดเกินดุลฯ ของญี่ปุ่นกับประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ลดลงทั้งสิ้น โดยเกินดุลฯ กับ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.3 เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 25.8 และเกินดุลฯ กับเอเชียลดลงร้อยละ 73.7 (รอยเตอร์ 22)
3. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าผลผลิตอุตสากรรมโดยรวมของญี่ปุ่นจะลดลงขณะที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น ในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ย. 44 จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดยรอยเตอร์ คาดว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค. 44 จะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อน ซึ่งจะลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ขณะเดียวกัน คาดว่า อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 44 จะอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นจากที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่อัตราร้อยละ 5.3 ในเดือน ก.ย. 44 (รอยเตอร์ 22)
4. เศรษฐกิจเยอรมนีหดตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 22 พ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนี ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 หดตัวลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบต่อปี จีดีพีเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 40 และยิ่งย้ำแนวคิดที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างอ่อนๆแล้ว เนื่องจากการลงทุนรวมทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการเกิดวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ย.44 44.352 (44.376)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ย. 44ซื้อ 44.1567 (44.1786) ขาย 44.4562 (44.4814)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.56 (17.21)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (12.99) ดีเซลหมุนเร็ว 11.79 (11.79)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยถึงการดำเนินการโอนหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ไปยัง บสท. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.)โอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ซึ่งจะเสร็จสิ้นในเดือน พ.ย.44 นี้ และเมื่อได้รับพันธบัตรจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีดอกเบี้ยแล้ว จะทำให้โอกาสในการทำรายได้และรายได้ดอกเบี้ยของ ธพ.เพิ่มขึ้น หลังจากนั้น ธปท.จะหารือกับ ธพ.เป็นรายธนาคาร เพื่อพิจารณาถึงฐานะของ ธพ.แต่ละแห่งและนำมาวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนและจุดแข็ง หากมีจุดอ่อนประการใดจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่อไป สำหรับการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ธพ.แต่ละแห่ง ธปท.จะพยายามชี้ให้เห็นว่าธุรกิจใดที่ ธพ.ต้องพยายามค้นหาเพื่อปล่อยสินเชื่อ แต่ในส่วนของการพิจารณาความเสี่ยงการวิเคราะห์สินเชื่อจะไม่มีการลดมาตรการลงแต่อย่างใด (โลกวันนี้, แนวหน้า 23)
2. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการลดทุนจดทะเบียนของ ธ.กรุงไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงข้อเสนอในการลดทุนจดทะเบียนของ ธ.กรุงไทยว่า ต้องนำหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของธนาคารก่อน และหลังจากขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว จึงนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพิจารณาอีกครั้งว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร คุ้มค่ากับการที่จะลดทุนฯ หรือไม่ หากดำเนินการแล้วเกิดประโยชน์จริงอาจใช้เป็นแบบอย่างกับ ธพ.ของรัฐที่มีทุนจดทะเบียนสูงและมีกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นบ้าง (เดลินิวส์ 23)
3. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงภาวะการส่งออกในปี 44 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อเรื่อง "พลิกวิกฤตเป็นโอกาส" เมื่อ 22 พ.ย.44 ว่า ปี 44 การส่งออกจะลดลงร้อยละ 6 แต่เป็นการดีที่สินค้าส่งออกของไทยไม่ได้กระจุกตัวที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การส่งออกสุทธิของสินค้าและบริการปีนี้จึงหดตัวเพียงร้อยละ 0.2 ส่งผลให้การส่งออกที่เคยเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมาได้หมดไป เหลือเพียงการใช้จ่ายภาครัฐจากการขาดดุล งปม. 1.4 แสน ล.บาท ในปี งปม.45 (ผู้จัดการรายวัน 23)
4. กรมศุลกากรเปิดเผยตัวเลขการจัดเก็บภาษีเดือน ต.ค.44 อธิบดีกรมศุลกากรเปิดเผยว่า เดือน ต.ค.44 กรมศุลกากรมีรายได้สุทธิได้ 9,187.137 ล.บาท จำแนกตามประเภทภาษีอากรดังนี้ อากรขาเข้า 8,482.920 ล.บาท อากรขาออก 8.918 ล.บาท และค่าธรรมเนียม 695.299 ล.บาท ซึ่งรายได้สุทธิดังกล่าวสูงกว่ารายได้สุทธิของเดือน ต.ค.43 จำนวน 1,661.677 ล.บาท หรือร้อยละ 22.08 และสูงกว่าประมาณการจำนวน 255.302 ล.บาท หรือร้อยละ 2.86 การที่กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้สูงขึ้น เป็นผลจากการที่กำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในหลายด้าน รวมทั้งการเข้มงวดกวดขันในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง(แนวหน้า 23)
ข่าวต่างประเทศ
1. จีดีพีของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ รายงานจากโซลเมื่อ 22 พ.ย.44 รมว.คลังเปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 (หลังปรับตัวเลข) สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 และเมื่อเทียบต่อปี จีดีพีในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 1.8 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเท่ากับตัวเลขที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 เช่นเดียวกัน สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 44 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 การที่จีดีพีในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้การลงทุนในภาคการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อผนวกกับอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ได้ช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการส่งออกที่โน้มต่ำลง (รอยเตอร์ 22)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 32.9 ในเดือน ต.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ย.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน ต.ค.44 ยอดเกินดุลการค้า (ก่อนปรับฤดูกาล) มีจำนวน 462.5 พัน ล.เยน (3.75 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 32.9 เทียบต่อปี โดยการส่งออกมีจำนวน 4.071 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 9.0 การนำเข้ามีจำนวน 3.609 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 4.7 ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค.44 เมื่อเทียบต่อปี ยอดเกินดุลฯ ของญี่ปุ่นกับประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ลดลงทั้งสิ้น โดยเกินดุลฯ กับ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.3 เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 25.8 และเกินดุลฯ กับเอเชียลดลงร้อยละ 73.7 (รอยเตอร์ 22)
3. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าผลผลิตอุตสากรรมโดยรวมของญี่ปุ่นจะลดลงขณะที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น ในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ย. 44 จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดยรอยเตอร์ คาดว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค. 44 จะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อน ซึ่งจะลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ขณะเดียวกัน คาดว่า อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 44 จะอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นจากที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่อัตราร้อยละ 5.3 ในเดือน ก.ย. 44 (รอยเตอร์ 22)
4. เศรษฐกิจเยอรมนีหดตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 22 พ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนี ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 หดตัวลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบต่อปี จีดีพีเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 40 และยิ่งย้ำแนวคิดที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างอ่อนๆแล้ว เนื่องจากการลงทุนรวมทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการเกิดวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ย.44 44.352 (44.376)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ย. 44ซื้อ 44.1567 (44.1786) ขาย 44.4562 (44.4814)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.56 (17.21)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (12.99) ดีเซลหมุนเร็ว 11.79 (11.79)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-