ฉบับที่ 13/2543
การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 267,739.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 601.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลที่สำคัญทางการเกษตร เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดลำพูน อุทัยธานี พะเยา ลำปาง และนครสวรรค์
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 203,423.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 421.0 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.2 แต่เมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 3.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.9 ของเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากสาขาธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะสาขาธนาคารพาณิชย์ที่มีความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เริ่มมีการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นในธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจส่งออก สินเชื่อแก่แรงงานไปต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น สินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลกและลำพูน
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคารปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.5 ต่อปีของเดือนก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปีของเดือนก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 24 เดือนทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.00-4.75 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.00-8.50 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนกรกฎาคม 2543 มีปริมาณ 346,398 ฉบับ มูลค่า 22,026.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.4 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.3 เป็น 7,240 ฉบับ มูลค่า 379.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจาก ธุรกิจโรงงานน้ำตาล เช็คคืนเพิ่มขึ้นมากที่สำนักงานหักบัญชีกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และแม่ฮ่องสอน สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เดือนก่อน และร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 8,100.8 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 7,892.5 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากรายได้ลดลงร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือ 753.6 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 8,854.4 ล้านบาท
การจัดเก็บรายได้ในภาคเหนือลดลงเกือบทุกชนิด โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 7.1 เหลือ 103.3 ล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 6.4 และร้อยละ 0.9 เหลือ 282.4 ล้านบาท และ 247.9 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากเงินได้อื่นในเดือนนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่สาม โดยเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.2 เป็น 163.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินได้ของการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 8,854.4 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.6 เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายลงทุนร้อยละ 14.0 เป็น 3,024.9 ล้านบาท โดยเฉพาะหมวดเงินอุดหนุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อครุภัณฑ์และเครื่องใช้จากสถาบันการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.0 เป็น 1,083.6 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 3.3 เหลือ 5,829.5 ล้านบาท จากการลดลงของรายจ่ายงบกลางและรายจ่ายหมวดค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ซึ่งในเดือนนี้เบิกจ่าย 54.0 ล้านบาท แล้ว ยอดรวมรายจ่ายลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เหลือ 8,908.4 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
อนึ่งรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 เบิกจ่ายแล้ว 7,827.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.0 ของวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 8,510.2 ล้านบาท จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา คิดเป็นร้อยละ 97.8 ร้อยละ 97.3 และร้อยละ 95.6 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2543 มีมูลค่า 115.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.7 (ในรูป เงินบาทมีมูลค่า 4,611.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 และ ร้อยละ 41.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานและชายแดน
การส่งออกผ่านท่าอากาศยาน มีมูลค่าส่งออก 99.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 และร้อยละ 33.5 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมี มูลค่า 3,966.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 และร้อยละ 44.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.1 เป็นผลจากความต้องการสินค้าในตลาดเอเซียเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ขณะที่ความต้องการของยุโรปและสหรัฐอเมริกาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนมูลค่าการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 19.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.0 และร้อยละ 35.2 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 777.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 78.1 และร้อยละ 46.6) เนื่องจากในปีนี้ส่งออกลำไยได้เพิ่มขึ้น
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 16.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 และร้อยละ 16.0 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 644.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.1 และร้อยละ 25.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกไปพม่า และจีน (ตอนใต้)
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 12.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและ เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 501.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ) การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.9 แต่เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 43.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.6) เนื่องจากในเดือนนี้มีฝนตกมากเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าภายในประเทศลาว ส่วน การส่งออกไปจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 99.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว) จากการส่งออกลำไย อบแห้งเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ซึ่งมีมูลค่าถึง 2.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในปีนี้มีผลผลิตมากและราคาต่ำ
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 86.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 20.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.6 (ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 3,441.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 17.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 40.5) โดยเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านท่าอากาศยาน มีมูลค่า 83.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าร้อยละ 20.5 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,334.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 18.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.3) จำแนกเป็นการนำเข้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 82.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าร้อยละ 20.8 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรเริ่มลดลงหลังโรงงานต่างๆ ติดตั้งไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการส่งออก ส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านท่าอากาศยานนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.9 และร้อยละ 53.8 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 31.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 50.2 และร้อยละ 66.7 ตามลำดับ)
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน มีมูลค่า 2.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งจากเดือน ก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 และร้อยละ 8.3 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 107.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ) จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าลดลงเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 4.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 15.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 74.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.6 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1) ลดลงเนื่องจากการนำเข้าโค-กระบือลดลง และไม่มีการนำเข้าไม้ซุง อย่างไรก็ตาม มีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้จากพม่า มากขึ้น ส่วน การนำเข้าจากลาว มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 26.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 29.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าร้อยละ 24.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4) จากการนำเข้ากระบือมีชีวิตและถ่านหินลิกไนต์เพิ่มขึ้น ส่วน การนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 0.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.9 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 70.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3) เนื่องจากความต้องการสินค้าของจีนลดลง
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2543 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในอัตราร้อยละ 0.2 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.3 และลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 จากการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 2.2 เนื่องจากสภาพ อากาศเอื้ออำนวยทำให้ปริมาณผักสดออกสู่ตลาดมากขึ้น กลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาด (เช่น น้ำมันพืช กะปิ น้ำปลา น้ำตาลทราย ฯลฯ) ลดลงร้อยละ 2.0 จากการที่น้ำมันพืชและมะพร้าวขูดมีต้นทุนลดลง กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.5 และกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.2 จาก ภาวะผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นและภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เนื่องจากข้าวหอมมะลิมีปริมาณเหลือน้อยและเป็นที่ต้องการของตลาด กลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภค (เช่น ข้าวแกงอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน) ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.6 ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากราคายาที่สั่งจากต่างประเทศสูงขึ้น ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 0.6 เนื่องจากภาวะการแข่งขันสูงทั้งสุราที่ผลิตในประเทศและสุราที่นำเข้าจากต่างประเทศ และสินค้าหมวดเคหสถานราคาลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากผู้ให้เช่าลดค่าเช่าเพื่อจูงใจ
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวจากที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงช่วง 5 เดือนแรกปี 2543 ทั้งนี้เป็นผลจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ นอกจากนั้นแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐ เช่น โครงการมิยาซาวาเริ่มอ่อนตัว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้รายได้ของกลุ่มมีรายได้สูงลดลง
ยอดรถยนต์จดทะเบียน ในเดือนมิถุนายนมีปริมาณ 2,262 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 68.3 ในเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของทั้งรถยนต์ นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเกือบทุกจังหวัด ส่วนยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียน มีปริมาณเท่ากับ 13,082 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกจังหวัดภาคเหนือ ด้านการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) ในเดือนกรกฎาคม 2543 จัดเก็บได้ 247.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/31 สิงหาคม 2543--
-ยก-
การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 267,739.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 601.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลที่สำคัญทางการเกษตร เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดลำพูน อุทัยธานี พะเยา ลำปาง และนครสวรรค์
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 203,423.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 421.0 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.2 แต่เมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 3.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.9 ของเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากสาขาธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะสาขาธนาคารพาณิชย์ที่มีความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เริ่มมีการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นในธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจส่งออก สินเชื่อแก่แรงงานไปต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น สินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลกและลำพูน
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคารปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.5 ต่อปีของเดือนก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปีของเดือนก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 24 เดือนทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.00-4.75 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.00-8.50 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนกรกฎาคม 2543 มีปริมาณ 346,398 ฉบับ มูลค่า 22,026.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.4 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.3 เป็น 7,240 ฉบับ มูลค่า 379.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจาก ธุรกิจโรงงานน้ำตาล เช็คคืนเพิ่มขึ้นมากที่สำนักงานหักบัญชีกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และแม่ฮ่องสอน สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เดือนก่อน และร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 8,100.8 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 7,892.5 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากรายได้ลดลงร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือ 753.6 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 8,854.4 ล้านบาท
การจัดเก็บรายได้ในภาคเหนือลดลงเกือบทุกชนิด โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 7.1 เหลือ 103.3 ล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 6.4 และร้อยละ 0.9 เหลือ 282.4 ล้านบาท และ 247.9 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากเงินได้อื่นในเดือนนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่สาม โดยเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.2 เป็น 163.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินได้ของการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 8,854.4 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.6 เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายลงทุนร้อยละ 14.0 เป็น 3,024.9 ล้านบาท โดยเฉพาะหมวดเงินอุดหนุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อครุภัณฑ์และเครื่องใช้จากสถาบันการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.0 เป็น 1,083.6 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 3.3 เหลือ 5,829.5 ล้านบาท จากการลดลงของรายจ่ายงบกลางและรายจ่ายหมวดค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ซึ่งในเดือนนี้เบิกจ่าย 54.0 ล้านบาท แล้ว ยอดรวมรายจ่ายลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เหลือ 8,908.4 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
อนึ่งรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 เบิกจ่ายแล้ว 7,827.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.0 ของวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 8,510.2 ล้านบาท จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา คิดเป็นร้อยละ 97.8 ร้อยละ 97.3 และร้อยละ 95.6 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2543 มีมูลค่า 115.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.7 (ในรูป เงินบาทมีมูลค่า 4,611.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 และ ร้อยละ 41.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานและชายแดน
การส่งออกผ่านท่าอากาศยาน มีมูลค่าส่งออก 99.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 และร้อยละ 33.5 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมี มูลค่า 3,966.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 และร้อยละ 44.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.1 เป็นผลจากความต้องการสินค้าในตลาดเอเซียเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ขณะที่ความต้องการของยุโรปและสหรัฐอเมริกาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนมูลค่าการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 19.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.0 และร้อยละ 35.2 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 777.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 78.1 และร้อยละ 46.6) เนื่องจากในปีนี้ส่งออกลำไยได้เพิ่มขึ้น
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 16.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 และร้อยละ 16.0 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 644.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.1 และร้อยละ 25.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกไปพม่า และจีน (ตอนใต้)
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 12.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและ เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 501.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ) การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.9 แต่เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 43.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.6) เนื่องจากในเดือนนี้มีฝนตกมากเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าภายในประเทศลาว ส่วน การส่งออกไปจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 99.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว) จากการส่งออกลำไย อบแห้งเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ซึ่งมีมูลค่าถึง 2.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในปีนี้มีผลผลิตมากและราคาต่ำ
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 86.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 20.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.6 (ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 3,441.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 17.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 40.5) โดยเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านท่าอากาศยาน มีมูลค่า 83.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าร้อยละ 20.5 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,334.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 18.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.3) จำแนกเป็นการนำเข้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 82.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าร้อยละ 20.8 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรเริ่มลดลงหลังโรงงานต่างๆ ติดตั้งไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการส่งออก ส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านท่าอากาศยานนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.9 และร้อยละ 53.8 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 31.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 50.2 และร้อยละ 66.7 ตามลำดับ)
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน มีมูลค่า 2.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งจากเดือน ก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 และร้อยละ 8.3 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 107.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ) จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าลดลงเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 4.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 15.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 74.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.6 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1) ลดลงเนื่องจากการนำเข้าโค-กระบือลดลง และไม่มีการนำเข้าไม้ซุง อย่างไรก็ตาม มีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้จากพม่า มากขึ้น ส่วน การนำเข้าจากลาว มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 26.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 29.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าร้อยละ 24.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4) จากการนำเข้ากระบือมีชีวิตและถ่านหินลิกไนต์เพิ่มขึ้น ส่วน การนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 0.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.9 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 70.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3) เนื่องจากความต้องการสินค้าของจีนลดลง
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2543 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในอัตราร้อยละ 0.2 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.3 และลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 จากการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 2.2 เนื่องจากสภาพ อากาศเอื้ออำนวยทำให้ปริมาณผักสดออกสู่ตลาดมากขึ้น กลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาด (เช่น น้ำมันพืช กะปิ น้ำปลา น้ำตาลทราย ฯลฯ) ลดลงร้อยละ 2.0 จากการที่น้ำมันพืชและมะพร้าวขูดมีต้นทุนลดลง กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.5 และกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.2 จาก ภาวะผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นและภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เนื่องจากข้าวหอมมะลิมีปริมาณเหลือน้อยและเป็นที่ต้องการของตลาด กลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภค (เช่น ข้าวแกงอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน) ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.6 ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากราคายาที่สั่งจากต่างประเทศสูงขึ้น ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 0.6 เนื่องจากภาวะการแข่งขันสูงทั้งสุราที่ผลิตในประเทศและสุราที่นำเข้าจากต่างประเทศ และสินค้าหมวดเคหสถานราคาลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากผู้ให้เช่าลดค่าเช่าเพื่อจูงใจ
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวจากที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงช่วง 5 เดือนแรกปี 2543 ทั้งนี้เป็นผลจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ นอกจากนั้นแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐ เช่น โครงการมิยาซาวาเริ่มอ่อนตัว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้รายได้ของกลุ่มมีรายได้สูงลดลง
ยอดรถยนต์จดทะเบียน ในเดือนมิถุนายนมีปริมาณ 2,262 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 68.3 ในเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของทั้งรถยนต์ นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเกือบทุกจังหวัด ส่วนยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียน มีปริมาณเท่ากับ 13,082 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกจังหวัดภาคเหนือ ด้านการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) ในเดือนกรกฎาคม 2543 จัดเก็บได้ 247.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/31 สิงหาคม 2543--
-ยก-