สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผู้เลี้ยงเริ่มระบายสุกรออก เนื่องจากเทศกาลกินเจที่จะมีขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูง แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรจะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.84 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.22 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.22 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.68
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อสัปดาห์นี้อ่อนตัวลงเล็กน้อย ผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมีปริมาณมากขึ้น ความต้องการบริโภคลดลงกำลังซื้อค่อนข้างอ่อนตัว เพราะจะเข้าสู่เทศกาลกินเจ ส่งผลให้ราคาไก่เนื้ออ่อนตัวลง แนวโน้มคาดว่าราคาไก่เนื้อจะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.40 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 30.07 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.92 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.55 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเล็กน้อย ปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ความต้องการบริโภคยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องคาดว่าจะส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 184 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 183 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 182 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 189 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 182 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 186 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 203 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 200 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 188 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 224 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 190 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.94 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.81 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.33 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 31.28 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.20 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 17-23 ก.ย. 2544--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผู้เลี้ยงเริ่มระบายสุกรออก เนื่องจากเทศกาลกินเจที่จะมีขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูง แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรจะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.84 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.22 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.22 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.68
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อสัปดาห์นี้อ่อนตัวลงเล็กน้อย ผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมีปริมาณมากขึ้น ความต้องการบริโภคลดลงกำลังซื้อค่อนข้างอ่อนตัว เพราะจะเข้าสู่เทศกาลกินเจ ส่งผลให้ราคาไก่เนื้ออ่อนตัวลง แนวโน้มคาดว่าราคาไก่เนื้อจะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.40 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 30.07 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.92 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.55 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเล็กน้อย ปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ความต้องการบริโภคยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องคาดว่าจะส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 184 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 183 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 182 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 189 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 182 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 186 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 203 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 200 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 188 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 224 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 190 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.94 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.81 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.33 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 31.28 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.20 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 17-23 ก.ย. 2544--
-สส-