กระทรวงการคลังเวียดนามได้ประกาศปรับลดการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่มีอัตราภาษีสูงกว่า 20% และอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของความตกลง Common Effective Preferential Tariff (CEPT) ของอาเซียน โดยสินค้า 450 รายการที่มีการจัดเก็บระหว่าง 25 - 50% เช่น เครื่องยนต์ เหล็ก เครื่องสำอาง และรองเท้า ได้ปรับลดลงเหลือ 20% และโดยที่เวียดนามเป็นสมาชิกของ ASEAN Free Trade Zone (AFTA) ดังนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001-2006 รัฐบาลเวียดนามจะปฏิบัติตามข้อตกลงของ CEPT นอกเหนือจากที่ได้ปรับลดภาษีสินค้า 4,230 รายการลงแล้วในปี ค.ศ. 2000 ด้วยการลดภาษีสินค้าอีก 1,900 รายการ และในปี ค.ศ. 2006 จะลดภาษีสินค้า 6,130 รายการ ให้เหลือ 0 - 5% ทั้งนี้สินค้าเกือบทุกชนิด (ยกเว้นสินค้าบางรายการที่ถูกกำหนดให้ยกเลิกภาษีเป็นรายการสุดท้ายในปี ค.ศ. 2018) จะถูกลดภาษีลงเหลือ 0% ในปี ค.ศ. 2015
การดำเนินนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลเวียดนาม นอกจากจะเป็นไปตามข้อกำหนดของ CEPT และของ ASEAN แล้ว ยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเวียดนามเองที่ต้องการลดภาษีสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เพื่อเวียดนามจะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต่อไป โดยเวียดนามจะลดภาษีสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อการส่งออก (Export-Driven Commodities) และสินค้าโรงงานที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ และจะขยายไปถึงสินค้าในประเทศที่ได้รับการปกป้องด้วย ทั้งนี้ สินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในอัตราสูงหรือสินค้าที่ใช้แรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นสินค้ารายการสุดท้าย
นโยบายปรับลดภาษีดังกล่าวของเวียดนามมีผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีนำเข้าเป็นอันดับ 1 โดยในปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 26 ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดในประเทศ ดังนั้น จึงคาดหมายว่ากระทรวงการคลังเวียดนามคงจะพยายามหารายได้จากส่วนอื่นมาชดเชย ซึ่งอาจจะเป็นการขึ้นภาษีภายในประเทศ เป็นต้น
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การปรับลดภาษีสินค้านำเข้าหลายรายการน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจไทยที่ต้องการหาตลาดในเวียดนาม เพราะจะทำให้มีช่องทางในการแข่งขันด้านการตลาดในอันที่จะส่งสินค้าจากไทยไปยังเวียดนามได้มากขึ้น เช่น เครื่องสำอางที่มีการจัดเก็บภาษีนำเข้า 50% จะลดลงเหลือ 20% รองเท้าจาก 40 - 50% เหลือ 20% และเหล็กจาก 40% เหลือ 20% โดยสินค้าประเภทนี้ที่มีลู่ทางในการนำเข้าเวียดนาม คือ Rooting Sheet และ Steel Pipe รวมทั้ง Construction Steel ทั้งนี้ เหล็ก เครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องสำอาง เป็นสินค้าที่นักธุรกิจไทยน่าจะแข่งขันได้ ส่วนรองเท้าเป็นสินค้าที่เวียดนามมีต้นทุนค่าแรงงานในประเทศต่ำกว่าไทย ประมาณ 3 เท่า ซึ่งสามารถแข่งขันกับไทยและประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้
ปัญหาในเรื่องการปรับลดภาษีสินค้านำเข้าและปัญหาทางการค้าเหล่านี้ รัฐบาลเวียดนามได้ตระหนักเป็นอย่างดี จึงกระตุ้นให้บริษัทต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนาม รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจและเอกชนปรับปรุงมาตรฐานการผลิตและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศลดภาษีสินค้าที่ผลิตในประเทศที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติ เพิ่มการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้น
(ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/2544 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
การดำเนินนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลเวียดนาม นอกจากจะเป็นไปตามข้อกำหนดของ CEPT และของ ASEAN แล้ว ยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเวียดนามเองที่ต้องการลดภาษีสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เพื่อเวียดนามจะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต่อไป โดยเวียดนามจะลดภาษีสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อการส่งออก (Export-Driven Commodities) และสินค้าโรงงานที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ และจะขยายไปถึงสินค้าในประเทศที่ได้รับการปกป้องด้วย ทั้งนี้ สินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในอัตราสูงหรือสินค้าที่ใช้แรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นสินค้ารายการสุดท้าย
นโยบายปรับลดภาษีดังกล่าวของเวียดนามมีผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีนำเข้าเป็นอันดับ 1 โดยในปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 26 ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดในประเทศ ดังนั้น จึงคาดหมายว่ากระทรวงการคลังเวียดนามคงจะพยายามหารายได้จากส่วนอื่นมาชดเชย ซึ่งอาจจะเป็นการขึ้นภาษีภายในประเทศ เป็นต้น
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การปรับลดภาษีสินค้านำเข้าหลายรายการน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจไทยที่ต้องการหาตลาดในเวียดนาม เพราะจะทำให้มีช่องทางในการแข่งขันด้านการตลาดในอันที่จะส่งสินค้าจากไทยไปยังเวียดนามได้มากขึ้น เช่น เครื่องสำอางที่มีการจัดเก็บภาษีนำเข้า 50% จะลดลงเหลือ 20% รองเท้าจาก 40 - 50% เหลือ 20% และเหล็กจาก 40% เหลือ 20% โดยสินค้าประเภทนี้ที่มีลู่ทางในการนำเข้าเวียดนาม คือ Rooting Sheet และ Steel Pipe รวมทั้ง Construction Steel ทั้งนี้ เหล็ก เครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องสำอาง เป็นสินค้าที่นักธุรกิจไทยน่าจะแข่งขันได้ ส่วนรองเท้าเป็นสินค้าที่เวียดนามมีต้นทุนค่าแรงงานในประเทศต่ำกว่าไทย ประมาณ 3 เท่า ซึ่งสามารถแข่งขันกับไทยและประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้
ปัญหาในเรื่องการปรับลดภาษีสินค้านำเข้าและปัญหาทางการค้าเหล่านี้ รัฐบาลเวียดนามได้ตระหนักเป็นอย่างดี จึงกระตุ้นให้บริษัทต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนาม รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจและเอกชนปรับปรุงมาตรฐานการผลิตและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศลดภาษีสินค้าที่ผลิตในประเทศที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติ เพิ่มการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้น
(ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/2544 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-