นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการ GSP ของสหภาพยุโรปว่า ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ดำเนินการทบทวนโครงการ GSP โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2543 ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงโครงการ GSP ในด้านต่างๆ ซึ่งล่าสุดกรมการค้าต่าง-ประเทศได้รับทราบความคืบหน้าดังนี้
ในส่วนของการบริหารโครงการ GSP นาย Plasa ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่ดูแลเรื่อง GSP สหภาพยุโรปคนใหม่เห็นว่า โครงการ GSP ปัจจุบันมีความซับซ้อนเกินไปเนื่องจากมีการแบ่งการให้สิทธิ (GSP margin) สินค้า GSP เป็น 4 กลุ่มตามประเภทความอ่อนไหวของสินค้าซึ่งอาจทำให้ประเทศผู้รับสิทธิใช้ประโยชน์จากโครงการ GSP ได้ไม่เต็มที่ จึงจะพยายามผลักดันข้อเสนอเพื่อปรับปรุงโครงการให้มีสินค้า GSP บัญชีเดียวและมีอัตรา GSP อัตราเดียวเท่ากันหมด รวมทั้งให้มีการเพิ่มรายการสินค้า GSP และจำนวนประเทศผู้รับสิทธิ แต่จะให้คงความแตกต่างของอัตรา GSP สำหรับประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาน้อยที่สุดไว้ ซึ่งปัจจุบันประเทศพัฒนาน้อยที่สุดได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้า GSP ทุกรายการ
ในส่วนของการทบทวนการตัดสิทธิ ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายไทยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้าไทยถูกตัดสิทธิไปแล้ว 9 กลุ่มสินค้า ล่าสุดปรากฏว่า คณะกรร-มาธิการยุโรปยังไม่มีผลการตัดสินใจที่เป็นทางการออกมาว่าจะดำเนินการตามกลไกการตัดสิทธิอย่างไร แต่คาดว่า ตัวเลขสถิติที่นำมาใช้ในการคำนวณการตัดสิทธิจะเป็นตัวเลขล่าสุดที่คณะกรรมาธิการยุโรปหาได้
สำหรับในประเด็นอื่นๆ ยังไม่มีความคืบหน้านัก คือ ประเด็นการยื่นขอรับสิทธิเพิ่มเติมภายใต้มาตรการจูงใจ ปรากฏว่า ล่าสุดยังไม่มีประเทศใดยื่นคำร้องเพิ่มเติมนอกจากประเทศมอลโดวาและรัสเซีย โดยคำร้องของมอลโดวาได้รับพิจารณาให้สิทธิ ขณะที่คำร้องของรัสเซียยังไม่มีการพิจารณาใดๆ เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง สำหรับประเด็นมาตรการด้านยาเสพติดยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ส่วนประเด็นการจัดทำรายงานเกี่ยวกับผลกระทบ GSP ในปีนี้มีความล่าช้า เนื่องจากมีปัญหาบุคลากรที่มีความชำนาญด้าน GSP ลดลง
สหภาพยุโรปกำหนดจะมีการประชุมคณะกรรมการ GSP ในช่วงก่อนปลายเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับ GSP เพิ่มเติม ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะได้ติดตามความคืบหน้ามาแจ้งให้ทราบต่อไป
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2543--
-อน-
ในส่วนของการบริหารโครงการ GSP นาย Plasa ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่ดูแลเรื่อง GSP สหภาพยุโรปคนใหม่เห็นว่า โครงการ GSP ปัจจุบันมีความซับซ้อนเกินไปเนื่องจากมีการแบ่งการให้สิทธิ (GSP margin) สินค้า GSP เป็น 4 กลุ่มตามประเภทความอ่อนไหวของสินค้าซึ่งอาจทำให้ประเทศผู้รับสิทธิใช้ประโยชน์จากโครงการ GSP ได้ไม่เต็มที่ จึงจะพยายามผลักดันข้อเสนอเพื่อปรับปรุงโครงการให้มีสินค้า GSP บัญชีเดียวและมีอัตรา GSP อัตราเดียวเท่ากันหมด รวมทั้งให้มีการเพิ่มรายการสินค้า GSP และจำนวนประเทศผู้รับสิทธิ แต่จะให้คงความแตกต่างของอัตรา GSP สำหรับประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาน้อยที่สุดไว้ ซึ่งปัจจุบันประเทศพัฒนาน้อยที่สุดได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้า GSP ทุกรายการ
ในส่วนของการทบทวนการตัดสิทธิ ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายไทยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้าไทยถูกตัดสิทธิไปแล้ว 9 กลุ่มสินค้า ล่าสุดปรากฏว่า คณะกรร-มาธิการยุโรปยังไม่มีผลการตัดสินใจที่เป็นทางการออกมาว่าจะดำเนินการตามกลไกการตัดสิทธิอย่างไร แต่คาดว่า ตัวเลขสถิติที่นำมาใช้ในการคำนวณการตัดสิทธิจะเป็นตัวเลขล่าสุดที่คณะกรรมาธิการยุโรปหาได้
สำหรับในประเด็นอื่นๆ ยังไม่มีความคืบหน้านัก คือ ประเด็นการยื่นขอรับสิทธิเพิ่มเติมภายใต้มาตรการจูงใจ ปรากฏว่า ล่าสุดยังไม่มีประเทศใดยื่นคำร้องเพิ่มเติมนอกจากประเทศมอลโดวาและรัสเซีย โดยคำร้องของมอลโดวาได้รับพิจารณาให้สิทธิ ขณะที่คำร้องของรัสเซียยังไม่มีการพิจารณาใดๆ เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง สำหรับประเด็นมาตรการด้านยาเสพติดยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ส่วนประเด็นการจัดทำรายงานเกี่ยวกับผลกระทบ GSP ในปีนี้มีความล่าช้า เนื่องจากมีปัญหาบุคลากรที่มีความชำนาญด้าน GSP ลดลง
สหภาพยุโรปกำหนดจะมีการประชุมคณะกรรมการ GSP ในช่วงก่อนปลายเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับ GSP เพิ่มเติม ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะได้ติดตามความคืบหน้ามาแจ้งให้ทราบต่อไป
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2543--
-อน-