ไต้หวันจัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสูง แต่การที่ไต้หวันมีพื้นที่น้อยไม่เพียงพอที่จะปลูกยางพาราส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยางพาราในไต้หวันสูงกว่าประเทศเกษตรกรรมอื่นๆ และต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางจากต่างประเทศเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์และอุตสาหกรรมรถยนต์ ในปี 2543 ไต้หวันนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางสูงถึง 273.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากปีก่อน ผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ยางนอกชนิดอัดลม รองลงมาคือผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ และเครื่องแต่งกายและของใช้ที่ประกอบเครื่องแต่งกาย ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยและเวชภัณฑ์ และยางที่หล่อดอกใหม่ ตามลำดับ
ปัจจุบันไต้หวันเป็นตลาดผลิตภัณฑ์ยางสำคัญอันดับ 10 ของไทย ในปี 2543 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปไต้หวันเป็นมูลค่า 22.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากปีก่อน โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ยาง ในไต้หวันราวร้อยละ 8.2 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางรวม ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้ไทยสามารถขยายตลาดผลิตภัณฑ์ยางไปไต้หวันได้เพิ่มขึ้น ได้แก่
- ความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลกเนื่องจาก รัฐบาลไทยส่งเสริมการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ประกอบกับราคายางพาราในตลาดโลกปี 2543 มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรเร่งกรีดยาง ผลผลิตยางพาราของไทยจึงมีปริมาณเพิ่มขึ้นและเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพื่อส่งออก
- การปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางของไทย อาทิ การลดภาษีเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการแปรรูปยางจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และการลดภาษียางสังเคราะห์ที่ใช้ผสมกับยางธรรมชาติจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นต้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางของไทยลดลง
- ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบยางพารา โดยเฉพาะมาเลเซียมีปัญหาขาดแคลนแรงงานกรีดยางเนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางหันไปเพาะปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้วัตถุดิบยางพาราธรรมชาติที่มาเลเซียผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ส่งออกไทยที่จะขยายตลาดทดแทนส่วนแบ่งตลาดของมาเลเซียที่ลดลง
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ยางในตลาดไต้หวันที่น่าสนใจมีดังนี้
1. ภาษีนำเข้า ไต้หวันเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ดังนี้
- ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่และยางใน
- ใช้กับอากาศยาน ยกเว้นภาษีนำเข้า
- ใช้กับรถจักรยานและจักรยานยนต์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 10
- ใช้กับรถยนต์นั่ง เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 15
- ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 10
- ถุงมือยาง เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยและเวชภัณฑ์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5
- ยางหล่อดอกใหม่ที่ใช้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 20
2. ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดไต้หวัน สามารถจำแนกตามผลิตภัณฑ์ยางได้ดังนี้
- ยางรถยนต์ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
- เครื่องแต่งกายและของใช้ที่ประกอบกับเครื่องแต่งกาย ถุงมือยาง ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย
- ผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยและเวชภัณฑ์ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และเยอรมนี ตามลำดับ
- ยางที่หล่อดอกใหม่ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 7 รองจากจีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ตามลำดับ
3. ช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยทั่วไปการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางของไต้หวันนิยมนำเข้าผ่านพ่อค้าคนกลางหรือตัวแทนจำหน่าย (Agent) ซึ่งจะเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก และผู้บริโภคต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-
ปัจจุบันไต้หวันเป็นตลาดผลิตภัณฑ์ยางสำคัญอันดับ 10 ของไทย ในปี 2543 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปไต้หวันเป็นมูลค่า 22.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากปีก่อน โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ยาง ในไต้หวันราวร้อยละ 8.2 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางรวม ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้ไทยสามารถขยายตลาดผลิตภัณฑ์ยางไปไต้หวันได้เพิ่มขึ้น ได้แก่
- ความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลกเนื่องจาก รัฐบาลไทยส่งเสริมการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ประกอบกับราคายางพาราในตลาดโลกปี 2543 มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรเร่งกรีดยาง ผลผลิตยางพาราของไทยจึงมีปริมาณเพิ่มขึ้นและเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพื่อส่งออก
- การปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางของไทย อาทิ การลดภาษีเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการแปรรูปยางจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และการลดภาษียางสังเคราะห์ที่ใช้ผสมกับยางธรรมชาติจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นต้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางของไทยลดลง
- ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบยางพารา โดยเฉพาะมาเลเซียมีปัญหาขาดแคลนแรงงานกรีดยางเนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางหันไปเพาะปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้วัตถุดิบยางพาราธรรมชาติที่มาเลเซียผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ส่งออกไทยที่จะขยายตลาดทดแทนส่วนแบ่งตลาดของมาเลเซียที่ลดลง
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ยางในตลาดไต้หวันที่น่าสนใจมีดังนี้
1. ภาษีนำเข้า ไต้หวันเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ดังนี้
- ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่และยางใน
- ใช้กับอากาศยาน ยกเว้นภาษีนำเข้า
- ใช้กับรถจักรยานและจักรยานยนต์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 10
- ใช้กับรถยนต์นั่ง เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 15
- ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 10
- ถุงมือยาง เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยและเวชภัณฑ์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5
- ยางหล่อดอกใหม่ที่ใช้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 20
2. ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดไต้หวัน สามารถจำแนกตามผลิตภัณฑ์ยางได้ดังนี้
- ยางรถยนต์ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
- เครื่องแต่งกายและของใช้ที่ประกอบกับเครื่องแต่งกาย ถุงมือยาง ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย
- ผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยและเวชภัณฑ์ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และเยอรมนี ตามลำดับ
- ยางที่หล่อดอกใหม่ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันมากเป็นอันดับ 7 รองจากจีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ตามลำดับ
3. ช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยทั่วไปการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางของไต้หวันนิยมนำเข้าผ่านพ่อค้าคนกลางหรือตัวแทนจำหน่าย (Agent) ซึ่งจะเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก และผู้บริโภคต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-