ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ขอเข้าตรวจสอบการทำงานบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนถึงผู้บริหารบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ทุกแห่งเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ตรวจสอบของ ธปท.สามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงาน ฐานะการเงิน และหลักฐานต่างๆ ภายในอาคารสำนักงานที่ใช้เป็นที่ทำการของเอเอ็มซีได้ เนื่องจากต้องการให้การบริหารงานของเอเอ็มซีมีความโปร่งใส มีการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเข้าไปกำกับดูแลผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดจะทำให้ ธปท.ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงาน เพื่อจะได้ให้คำแนะนำและหามาตรการเสริม ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลที่โอนมาจาก ธพ.ได้ ทั้งนี้ ธปท.ได้ขอให้เอเอ็มซีส่งหนังสือยินยอมมายัง ธปท.ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่ได้ออกหนังสือเวียนเมื่อ 6 ต.ค.43 (วัฏจักร 11)
2. คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ประธานมูลนิธิวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมการนโยบายการเงินกล่าวภายหลังการประชุมเพื่อเตรียมการประชุมฯ ในวันที่ 17 ต.ค.43 ว่า คณะกรรมการฯ ได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่การใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลงส่งผลให้เงินเฟ้อในปี 43 สูงขึ้นไม่มากนัก และยังอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 แต่จะสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบได้หรือไม่ในปี 44 คงต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีกครั้ง โดยในปี 43 ธปท.คงไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อ แต่อาจพิจารณาสมมติฐานที่เกี่ยวข้องใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (มติชน 11)
3. ผลการสำรวจความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมของหอการค้าไทย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นประจำเดือน ก.ย.43 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงจากระดับ 68.9 เหลือ 68.2 ความเชื่อมั่นต่อโอกาสในการหางานทำลดลงจาก 59.6 เหลือ 58.8 และความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคตลดลงจาก 97.4 เหลือ 96.4 การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจในสายตาของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับไม่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นยังคงเป็นปัจจัยเดิม ได้แก่ ราคาน้ำมัน การอ่อนตัวของค่าเงินบาท ดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ราคาสินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งปํญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (แนวหน้า 11)
4. ธปท.ยังไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับเงินทุนเคลื่อนย้าย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า การชำระคืนหนี้ต่างประเทศในปีนี้เฉลี่ยประมาณ 1,000 ล.ดอลลาร์ ซึ่งไม่ผิดปกติเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยเดือนละ 1,400 ล.ดอลลาร์ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุหลักที่มีเงินไหลออกจำนวน 2,000 ล.ดอลลาร์นั้น เนื่องมาจากปัญหาวายทูเค ที่ ธ.ต่างประเทศได้ทำสว็อปเพื่อเสริมสภาพคล่อง (กรุงเทพธุรกิจ 11)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 สำนักงานวางแผนเศรษฐกิจ(EPA)ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลโดยรวม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากที่ลดลงร้อยละ 7.6 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะที่คำสั่งซื้อฯของภาคเอกชนที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทต่อเรือและผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ใช้เป็นเครื่องวัดที่สำคัญของการใช้จ่ายลงทุนของบริษัท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.6 อยู่ที่มูลค่า 1.203 ล้านล้านเยน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 11.7 ในเดือน ก.ค. 43 และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.3 โดยมีช่วงประมาณร้อยละ 5.3-15.8 นอกจากนั้น EPA ประมาณการว่า ในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกน จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 10)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 ก. การค้าและอุตสาหกรรม (MTI)ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ตามราคาที่แท้จริง เทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 นอกจากนั้น MTI ได้ปรับตัวเลข GDP ในช่วงครึ่งแรกปี 43 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.2 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 8.8 และปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 43 เป็นประมาณร้อยละ 9 จากช่วงระหว่างร้อยละ 7.5-8.5(รอยเตอร์ 10)
3. เงินเฟ้อของเยอรมนีเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ทเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน ก.ย. 43 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภค หลังปรับตัวเลข เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี จากรายงานเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นการสูงสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้คาดว่าราคาผู้บริโภคของกลุ่มประเทศยูโรในเดือน ก.ย. 43 จะสูงขึ้นด้วย.. (รอยเตอร์ 10)
4. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อยในปี 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 10 ต.ค.43 สถาบัน IW (Institut der Deutschen Wirtschaft) รายงานว่า ในปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เทียบกับเป้าหมายในปี 43 ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.0 โดยคาดว่าราคาน้ำมันและภาษีพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ทั้งในปี 43 และปี 44 ส่วนคนว่างงานจะลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับระหว่าง ต่ำกว่า 3 แสน คน - 3.57 ล.คน ในปี 44 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 โดย IW สรุปว่า เยอรมนีจะไม่สามารถรักษาระดับการขยายตัวที่ดีเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไว้ได้ตลอด แต่เศรษฐกิจของเยอรมนีจะยังได้รับการสนับสนุนจากการการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าในปี 44 การส่งออกจะยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 จากเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ในปี 43 (รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 ต.ค. 43 42.764 (42.521)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 10 ต.ค. 43
ซื้อ 42.5024 (42.3496) ขาย 42.8113 (42.6602)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,400) ขาย 5,600 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.89 (30.72)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ขอเข้าตรวจสอบการทำงานบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนถึงผู้บริหารบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ทุกแห่งเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ตรวจสอบของ ธปท.สามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงาน ฐานะการเงิน และหลักฐานต่างๆ ภายในอาคารสำนักงานที่ใช้เป็นที่ทำการของเอเอ็มซีได้ เนื่องจากต้องการให้การบริหารงานของเอเอ็มซีมีความโปร่งใส มีการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเข้าไปกำกับดูแลผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดจะทำให้ ธปท.ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงาน เพื่อจะได้ให้คำแนะนำและหามาตรการเสริม ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลที่โอนมาจาก ธพ.ได้ ทั้งนี้ ธปท.ได้ขอให้เอเอ็มซีส่งหนังสือยินยอมมายัง ธปท.ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่ได้ออกหนังสือเวียนเมื่อ 6 ต.ค.43 (วัฏจักร 11)
2. คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ประธานมูลนิธิวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมการนโยบายการเงินกล่าวภายหลังการประชุมเพื่อเตรียมการประชุมฯ ในวันที่ 17 ต.ค.43 ว่า คณะกรรมการฯ ได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่การใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลงส่งผลให้เงินเฟ้อในปี 43 สูงขึ้นไม่มากนัก และยังอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 แต่จะสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบได้หรือไม่ในปี 44 คงต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีกครั้ง โดยในปี 43 ธปท.คงไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อ แต่อาจพิจารณาสมมติฐานที่เกี่ยวข้องใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (มติชน 11)
3. ผลการสำรวจความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมของหอการค้าไทย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นประจำเดือน ก.ย.43 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงจากระดับ 68.9 เหลือ 68.2 ความเชื่อมั่นต่อโอกาสในการหางานทำลดลงจาก 59.6 เหลือ 58.8 และความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคตลดลงจาก 97.4 เหลือ 96.4 การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจในสายตาของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับไม่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นยังคงเป็นปัจจัยเดิม ได้แก่ ราคาน้ำมัน การอ่อนตัวของค่าเงินบาท ดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ราคาสินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งปํญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (แนวหน้า 11)
4. ธปท.ยังไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับเงินทุนเคลื่อนย้าย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า การชำระคืนหนี้ต่างประเทศในปีนี้เฉลี่ยประมาณ 1,000 ล.ดอลลาร์ ซึ่งไม่ผิดปกติเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยเดือนละ 1,400 ล.ดอลลาร์ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุหลักที่มีเงินไหลออกจำนวน 2,000 ล.ดอลลาร์นั้น เนื่องมาจากปัญหาวายทูเค ที่ ธ.ต่างประเทศได้ทำสว็อปเพื่อเสริมสภาพคล่อง (กรุงเทพธุรกิจ 11)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 สำนักงานวางแผนเศรษฐกิจ(EPA)ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลโดยรวม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากที่ลดลงร้อยละ 7.6 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะที่คำสั่งซื้อฯของภาคเอกชนที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทต่อเรือและผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ใช้เป็นเครื่องวัดที่สำคัญของการใช้จ่ายลงทุนของบริษัท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.6 อยู่ที่มูลค่า 1.203 ล้านล้านเยน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 11.7 ในเดือน ก.ค. 43 และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.3 โดยมีช่วงประมาณร้อยละ 5.3-15.8 นอกจากนั้น EPA ประมาณการว่า ในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกน จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 10)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 ก. การค้าและอุตสาหกรรม (MTI)ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ตามราคาที่แท้จริง เทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 นอกจากนั้น MTI ได้ปรับตัวเลข GDP ในช่วงครึ่งแรกปี 43 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.2 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 8.8 และปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 43 เป็นประมาณร้อยละ 9 จากช่วงระหว่างร้อยละ 7.5-8.5(รอยเตอร์ 10)
3. เงินเฟ้อของเยอรมนีเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ทเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน ก.ย. 43 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภค หลังปรับตัวเลข เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี จากรายงานเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นการสูงสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้คาดว่าราคาผู้บริโภคของกลุ่มประเทศยูโรในเดือน ก.ย. 43 จะสูงขึ้นด้วย.. (รอยเตอร์ 10)
4. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อยในปี 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 10 ต.ค.43 สถาบัน IW (Institut der Deutschen Wirtschaft) รายงานว่า ในปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เทียบกับเป้าหมายในปี 43 ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.0 โดยคาดว่าราคาน้ำมันและภาษีพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ทั้งในปี 43 และปี 44 ส่วนคนว่างงานจะลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับระหว่าง ต่ำกว่า 3 แสน คน - 3.57 ล.คน ในปี 44 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 โดย IW สรุปว่า เยอรมนีจะไม่สามารถรักษาระดับการขยายตัวที่ดีเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไว้ได้ตลอด แต่เศรษฐกิจของเยอรมนีจะยังได้รับการสนับสนุนจากการการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าในปี 44 การส่งออกจะยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 จากเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ในปี 43 (รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 ต.ค. 43 42.764 (42.521)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 10 ต.ค. 43
ซื้อ 42.5024 (42.3496) ขาย 42.8113 (42.6602)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,400) ขาย 5,600 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.89 (30.72)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-