สรุปข่าวประจำวัน
ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ขยายเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเอสเอ็มอี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ผ่านสถาบันการเงินตามระเบียบการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.43 ออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่จะถึงกำหนดอายุโครงการในวันที่ 7 เม.ย.45 เป็นวันที่ 7 เม.ย.47 พร้อมทั้งได้ขยายเวลาวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นลูกหนี้ที่เข้าโครงการ โดยเมื่อสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของ ธปท.แล้ว สามารถจัดชั้นเป็นลูกหนี้ปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน 21)
2. กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท.จะเริ่มดำเนินการในไตรมาสแรกปี 45 กรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการของ บสท.จะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 1 ปี 45 หลังจากคณะกรรมการบริหาร บสท.พิจารณาดำเนินการกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว ซึ่งแนวทางการขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ บสท.จะพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้จะมากกว่าการปรับโครงสร้างกิจการ โดยการปรับโครงสร้างหนี้จะใช้เวลา 2-4 เดือน ส่วนการปรับโครงสร้างกิจการจะใช้เวลา 4-6 เดือน ซึ่งขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้าร่วมลงทุนในกิจการประเภทอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล และอุตสาหกรรม (ไทยรัฐ, ไทยโพสต์ 21)
3. ครม.อนุมัติให้ ก.คลังออก พธบ.รัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ รมช.คลังเปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้ ก.คลังออก พธบ.รัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจะครบกำหนดชำระหนี้ในปี 45 จำนวน 90,000 ล.บาท โดยแบ่งเป็น 3 งวด คือ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 8 ธ.ค.44 จำนวน 30,000 ล.บาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.125 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 12 เม.ย.45 จำนวน 50,000 ล.บาท และพันธบัตรอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 15 มิ.ย.45 จำนวน 10,000 ล.บาท สำหรับรูปแบบของ พธบ.อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะออกเป็นพันธบัตรหรือสัญญาเงินกู้ โดยอยู่ระหว่างกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน (ผู้จัดการรายวัน 21)
4. ทีดีอาร์ไอคาดการณ์ภาวะความยากจนของไทยในปี 45 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอคาดการณ์ภาวะความยากจนของไทยในปี 45 ว่าจะอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 18-19 ของประชากร หรือประมาณ 12 ล.คน โดยเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่จะขยายตัวลดลงจากปี 44 ซึ่งคาดว่า ปี 45 ภาวะเศรษฐกิจไทยจะไม่ดีนัก (กรุงเทพธุรกิจ 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ต.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 พ.ย.44 Conference Board รายงานว่า เดือน ต.ค.44 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading index) อยู่ที่ระดับ 109.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน (หลังปรับฤดูกาล) หลังจากลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย.44 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี โดยดัชนีฯ ในเดือน ต.ค.นี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ด้วยเหตุผลว่า ภาวะเศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในเดือน ก.ย. ขณะที่ดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident index) อยู่ที่ระดับ 116.5 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน หลังจากไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนก่อน ส่วนดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (Lagging index) อยู่ที่ระดับ 103.6 ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีชี้นำฯในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้น ได้แก่ การส่งมอบสินค้า ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และความคาดหวังของผู้บริโภค ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ (Ken Goldstein) กล่าวว่า ตัวเลขดัชนีชี้นำฯ ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลเศรษฐกิจในด้านบวกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนับเป็นข่าวดีที่ว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.จะไม่เลวร้ายลงอีก แต่ก็ไม่ดีขึ้นจนว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิเป็นอย่างน้อย (รอยเตอร์ 20)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงมากที่สุดในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 พ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 44 สรอ. ขาดดุลการค้าจำนวน 18.7 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจำนวน 8.4 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 27.1 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ส.ค. 44 ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 35 ที่รัฐบาลเริ่มเก็บสถิติ และขาดดุลลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะขาดดุลฯจำนวน 24.67 พัน ล. ดอลลาร์ โดยการส่งออกในเดือน ก.ย. 44 มีจำนวน 77.29 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากจำนวน 84.5 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือนก่อน นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 42 ขณะที่การนำเข้ามีจำนวน 95.99 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 125.67 พัน ล. ดอลลาร์ ทั้งนี้ การที่ สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงครั้งนี้ เป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ค่าโดยสาร และค่าบริการต่างๆ ลดลง เนื่องจากธุรกิจและผู้บริโภคมีความหวั่นวิตกจากการเกิดการโจมตีทางอากาศและเชื้อโรคแอนธแร็คซ (Anthrax) จึงลดการใช้จ่ายและพักผ่อนอยู่กับบ้าน (รอยเตอร์20)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมเขตยูโรเดือน ก.ย.44 ลดลงร้อยละ 0.5 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 20 พ.ย.44 the European Union ’s statistical agency เปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมเขตยูโรลดลงร้อยละ 0.5 เทียบเดือนต่อเดือน หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 (ตัวเลขที่ปรับใหม่) และลดลงร้อยละ 0.6 เทียบปีต่อปี หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ตัวเลขที่ลดลงเป็นผลมาจากผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศเขตยูโรส่วนใหญ่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสเปน ซึ่งลดลงร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตามมีบางประเทศที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น คือ โปตุเกส และเนเธอร์แลนด์ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 1.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเขตยูโรในเดือนดังกล่าว ลดลงต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.2 เทียบเดือนต่อเดือนและลดลงร้อยละ 1.4 เทียบปีต่อปี (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย.44 44.435 (44.457)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย. 44
ซื้อ 44.2637 (44.2790) ขาย 44.5595 (44.5756)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,750) ขาย 5,800 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.24 (16.50)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (12.99) ดีเซลหมุนเร็ว 11.99 (11.99)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ขยายเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเอสเอ็มอี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ผ่านสถาบันการเงินตามระเบียบการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.43 ออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่จะถึงกำหนดอายุโครงการในวันที่ 7 เม.ย.45 เป็นวันที่ 7 เม.ย.47 พร้อมทั้งได้ขยายเวลาวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นลูกหนี้ที่เข้าโครงการ โดยเมื่อสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของ ธปท.แล้ว สามารถจัดชั้นเป็นลูกหนี้ปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน 21)
2. กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท.จะเริ่มดำเนินการในไตรมาสแรกปี 45 กรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการของ บสท.จะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 1 ปี 45 หลังจากคณะกรรมการบริหาร บสท.พิจารณาดำเนินการกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว ซึ่งแนวทางการขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ บสท.จะพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้จะมากกว่าการปรับโครงสร้างกิจการ โดยการปรับโครงสร้างหนี้จะใช้เวลา 2-4 เดือน ส่วนการปรับโครงสร้างกิจการจะใช้เวลา 4-6 เดือน ซึ่งขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้าร่วมลงทุนในกิจการประเภทอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล และอุตสาหกรรม (ไทยรัฐ, ไทยโพสต์ 21)
3. ครม.อนุมัติให้ ก.คลังออก พธบ.รัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ รมช.คลังเปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้ ก.คลังออก พธบ.รัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจะครบกำหนดชำระหนี้ในปี 45 จำนวน 90,000 ล.บาท โดยแบ่งเป็น 3 งวด คือ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 8 ธ.ค.44 จำนวน 30,000 ล.บาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.125 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 12 เม.ย.45 จำนวน 50,000 ล.บาท และพันธบัตรอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 15 มิ.ย.45 จำนวน 10,000 ล.บาท สำหรับรูปแบบของ พธบ.อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะออกเป็นพันธบัตรหรือสัญญาเงินกู้ โดยอยู่ระหว่างกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน (ผู้จัดการรายวัน 21)
4. ทีดีอาร์ไอคาดการณ์ภาวะความยากจนของไทยในปี 45 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอคาดการณ์ภาวะความยากจนของไทยในปี 45 ว่าจะอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 18-19 ของประชากร หรือประมาณ 12 ล.คน โดยเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่จะขยายตัวลดลงจากปี 44 ซึ่งคาดว่า ปี 45 ภาวะเศรษฐกิจไทยจะไม่ดีนัก (กรุงเทพธุรกิจ 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ต.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 พ.ย.44 Conference Board รายงานว่า เดือน ต.ค.44 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading index) อยู่ที่ระดับ 109.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน (หลังปรับฤดูกาล) หลังจากลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย.44 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี โดยดัชนีฯ ในเดือน ต.ค.นี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ด้วยเหตุผลว่า ภาวะเศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในเดือน ก.ย. ขณะที่ดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident index) อยู่ที่ระดับ 116.5 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน หลังจากไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนก่อน ส่วนดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (Lagging index) อยู่ที่ระดับ 103.6 ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีชี้นำฯในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้น ได้แก่ การส่งมอบสินค้า ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และความคาดหวังของผู้บริโภค ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ (Ken Goldstein) กล่าวว่า ตัวเลขดัชนีชี้นำฯ ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลเศรษฐกิจในด้านบวกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนับเป็นข่าวดีที่ว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.จะไม่เลวร้ายลงอีก แต่ก็ไม่ดีขึ้นจนว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิเป็นอย่างน้อย (รอยเตอร์ 20)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงมากที่สุดในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 พ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 44 สรอ. ขาดดุลการค้าจำนวน 18.7 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจำนวน 8.4 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 27.1 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ส.ค. 44 ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 35 ที่รัฐบาลเริ่มเก็บสถิติ และขาดดุลลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะขาดดุลฯจำนวน 24.67 พัน ล. ดอลลาร์ โดยการส่งออกในเดือน ก.ย. 44 มีจำนวน 77.29 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากจำนวน 84.5 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือนก่อน นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 42 ขณะที่การนำเข้ามีจำนวน 95.99 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 125.67 พัน ล. ดอลลาร์ ทั้งนี้ การที่ สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงครั้งนี้ เป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ค่าโดยสาร และค่าบริการต่างๆ ลดลง เนื่องจากธุรกิจและผู้บริโภคมีความหวั่นวิตกจากการเกิดการโจมตีทางอากาศและเชื้อโรคแอนธแร็คซ (Anthrax) จึงลดการใช้จ่ายและพักผ่อนอยู่กับบ้าน (รอยเตอร์20)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมเขตยูโรเดือน ก.ย.44 ลดลงร้อยละ 0.5 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 20 พ.ย.44 the European Union ’s statistical agency เปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมเขตยูโรลดลงร้อยละ 0.5 เทียบเดือนต่อเดือน หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 (ตัวเลขที่ปรับใหม่) และลดลงร้อยละ 0.6 เทียบปีต่อปี หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ตัวเลขที่ลดลงเป็นผลมาจากผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศเขตยูโรส่วนใหญ่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสเปน ซึ่งลดลงร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตามมีบางประเทศที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น คือ โปตุเกส และเนเธอร์แลนด์ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 1.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเขตยูโรในเดือนดังกล่าว ลดลงต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.2 เทียบเดือนต่อเดือนและลดลงร้อยละ 1.4 เทียบปีต่อปี (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย.44 44.435 (44.457)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย. 44
ซื้อ 44.2637 (44.2790) ขาย 44.5595 (44.5756)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,750) ขาย 5,800 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.24 (16.50)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (12.99) ดีเซลหมุนเร็ว 11.99 (11.99)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-