นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษ GSP โดยการลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้า สำหรับสินค้า ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนา (รวมทั้งประเทศไทย) และประเทศด้อยพัฒนา ตั้งแต่ปี 2514 เป็นต้นมา โดยกำหนดเป็น โครงการละ 10 ปี ซึ่งโครงการปัจจุบันจะหมดอายุ ในวันที่ 31 มีนาคม 2544 นั้น ญี่ปุ่นจะต่ออายุโครงการ GSP ออกไปอีก 10 ปี ตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 ถึง 31 มีนาคม 2554 ภายใต้โครงการใหม่นี้ ญี่ปุ่นยังคงกำหนดเพดานนำเข้าภายใต้ GSP สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการเช่นเดิม และได้ปรับปรุงการให้สิทธิ GSP เพิ่มเติม ได้แก่
1. ยกเลิกเพดานนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการ เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เหล็กและเหล็กกล้า ท่อทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ผ้าทอทำด้วยปอกระเจา ผ้าปัก กระสอบและถุงชนิดที่ใช้บรรจุของ เป็นต้น
2. ลดระดับมูลค่านำเข้าขั้นสูงจากแต่ละประเทศ ( Maximum Country Amounts — MCA ) ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิทธิ GSP สินค้าบางรายการจากบางประเทศ ที่ญี่ปุ่นนำเข้าเกิน MCA โดยลดลงจากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน คือ 1 ใน 4 ( ร้อยละ 25 ) เหลือ 1 ใน 5 ( ร้อยละ 20 ) ของเพดานนำเข้า
3. ปรับปรุงวิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP ภายใต้เพดานนำเข้า และ MCA จากวิธีควบคุมรายวัน และ ควบคุมรายเดือน ในโครงการ GSP ปัจจุบัน เหลือเพียงวิธีเดียว คือ ควบคุมรายเดือน คือ เมื่อมีการนำเข้าเกินจำนวนที่กำหนด จะระงับสิทธิทันที ไม่มีการผ่อนปรนให้นำเข้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดังที่ปฏิบัติในปัจจุบัน โดยจะเก็บภาษีในอัตราปกติ MFN ตั้งแต่กลางเดือนของเดือนถัดจากเดือนที่นำเข้าเกินเพดาน หรือ MCA
4. กำหนดอัตราภาษี GSP สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ภายใต้เพดานนำเข้าไว้ 5 อัตรา คือ ร้อยละ 0 , 20 , 40 , 60 , 80 ของอัตราภาษีปกติ MFN
5. ญี่ปุ่น เน้นการปฏิบัติเป็นพิเศษแก่ ประเทศด้อยพัฒนามากขึ้น ด้วยการเพิ่มรายการสินค้าที่จะให้การยกเว้นภาษี และโควต้าปลอดภาษี เช่น ผลไม้สด/แห้ง กุ้ง/ปูกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง หนังฟอก ด้ายไหม ผ้าไหม ชุดชั้นใน เสื้อผ้า ถุงมือ รองเท้า เป็นต้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สินค้าไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการยกเลิกเพดานนำเข้า เช่น กระสอบและถุงใช้บรรจุสิ่งของ ผ้าปัก ท่อเหล็ก แผ่นทองเหลือง/บรอนซ์ ลวดที่หุ้มฉนวนไฟฟ้า เนื่องจาก หากสินค้าดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้เพดาน ในโครงการใหม่ จะไม่ได้รับการผ่อนปรน และถูกระงับสิทธิ GSP ทันที ถ้ามีการนำเข้าเกินเพดาน ส่วนกรณีการลดระดับ MCA จาก 1 ใน 4 เหลือ 1 ใน 5 ของเพดาน ตลอดจนญี่ปุ่นหันมาใช้มาตรการไม่ผ่อนปรนนี้ อาจทำให้สินค้าบางรายการ ซึ่งญี่ปุ่นไม่เคยระงับสิทธิ GSP แม้ว่ามีการนำเข้าจากทุกประเทศเกินเพดาน คือ แป้งมันสำปะหลังแปรรูป พิกัด 3505.10-1 ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้สินค้าไทยที่ญี่ปุ่นเคยระงับสิทธิ GSP เพราะ นำเข้าเกิน 1 ใน 4 ของเพดาน อาจถูกระงับสิทธิ GSP เร็วขึ้น เช่น โพลิเอทิลีน สายนาฬิกาทำด้วยโลหะมีค่า ด้ายทำจากเศษไหม เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่อง ของเล่น เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เป็น
ผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
โทรศัพท์ : 547-4817 โทรสาร : 547-4816
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-
1. ยกเลิกเพดานนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการ เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เหล็กและเหล็กกล้า ท่อทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ผ้าทอทำด้วยปอกระเจา ผ้าปัก กระสอบและถุงชนิดที่ใช้บรรจุของ เป็นต้น
2. ลดระดับมูลค่านำเข้าขั้นสูงจากแต่ละประเทศ ( Maximum Country Amounts — MCA ) ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิทธิ GSP สินค้าบางรายการจากบางประเทศ ที่ญี่ปุ่นนำเข้าเกิน MCA โดยลดลงจากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน คือ 1 ใน 4 ( ร้อยละ 25 ) เหลือ 1 ใน 5 ( ร้อยละ 20 ) ของเพดานนำเข้า
3. ปรับปรุงวิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP ภายใต้เพดานนำเข้า และ MCA จากวิธีควบคุมรายวัน และ ควบคุมรายเดือน ในโครงการ GSP ปัจจุบัน เหลือเพียงวิธีเดียว คือ ควบคุมรายเดือน คือ เมื่อมีการนำเข้าเกินจำนวนที่กำหนด จะระงับสิทธิทันที ไม่มีการผ่อนปรนให้นำเข้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดังที่ปฏิบัติในปัจจุบัน โดยจะเก็บภาษีในอัตราปกติ MFN ตั้งแต่กลางเดือนของเดือนถัดจากเดือนที่นำเข้าเกินเพดาน หรือ MCA
4. กำหนดอัตราภาษี GSP สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ภายใต้เพดานนำเข้าไว้ 5 อัตรา คือ ร้อยละ 0 , 20 , 40 , 60 , 80 ของอัตราภาษีปกติ MFN
5. ญี่ปุ่น เน้นการปฏิบัติเป็นพิเศษแก่ ประเทศด้อยพัฒนามากขึ้น ด้วยการเพิ่มรายการสินค้าที่จะให้การยกเว้นภาษี และโควต้าปลอดภาษี เช่น ผลไม้สด/แห้ง กุ้ง/ปูกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง หนังฟอก ด้ายไหม ผ้าไหม ชุดชั้นใน เสื้อผ้า ถุงมือ รองเท้า เป็นต้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สินค้าไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการยกเลิกเพดานนำเข้า เช่น กระสอบและถุงใช้บรรจุสิ่งของ ผ้าปัก ท่อเหล็ก แผ่นทองเหลือง/บรอนซ์ ลวดที่หุ้มฉนวนไฟฟ้า เนื่องจาก หากสินค้าดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้เพดาน ในโครงการใหม่ จะไม่ได้รับการผ่อนปรน และถูกระงับสิทธิ GSP ทันที ถ้ามีการนำเข้าเกินเพดาน ส่วนกรณีการลดระดับ MCA จาก 1 ใน 4 เหลือ 1 ใน 5 ของเพดาน ตลอดจนญี่ปุ่นหันมาใช้มาตรการไม่ผ่อนปรนนี้ อาจทำให้สินค้าบางรายการ ซึ่งญี่ปุ่นไม่เคยระงับสิทธิ GSP แม้ว่ามีการนำเข้าจากทุกประเทศเกินเพดาน คือ แป้งมันสำปะหลังแปรรูป พิกัด 3505.10-1 ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้สินค้าไทยที่ญี่ปุ่นเคยระงับสิทธิ GSP เพราะ นำเข้าเกิน 1 ใน 4 ของเพดาน อาจถูกระงับสิทธิ GSP เร็วขึ้น เช่น โพลิเอทิลีน สายนาฬิกาทำด้วยโลหะมีค่า ด้ายทำจากเศษไหม เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่อง ของเล่น เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เป็น
ผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
โทรศัพท์ : 547-4817 โทรสาร : 547-4816
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-