แท็ก
เครดิต
1. NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
1.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ทั้งสิ้น 607.9 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,628.7 พันล้านบาท ในเดือนนี้ NPL ลดลงสุทธิ 256.6 พันล้านบาท
สาเหตุสำคัญเนื่องจากมีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารของรัฐไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ประกอบกับมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สำเร็จเพิ่มขึ้น และได้มีการตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบแล้วออกจากบัญชี ทำให้อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของระบบสถาบัน
การเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 เท่ากับร้อยละ 13.13 ลดลงจากร้อยละ 17.88 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544
2. NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
แยกตามกลุ่มสถาบันการเงินได้ดังนี้ 1.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 470.5 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 2,646.1
พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 17.78
1.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 90.8 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 1,277.9 พันล้านบาท เท่ากับ
ร้อยละ 7.10
1.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 22.5 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 553.0 พันล้านบาท
เท่ากับร้อยละ 4.06
1.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 24.2 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 151.6 พันล้านบาท เท่ากับ
ร้อยละ 15.95
1.3 ภาคธุรกิจที่มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 จำนวนสูงแยกได้ดังนี้
1.3.1 ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 129.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.34 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.3 ภาคธุรกิจอุปโภคบริโภคมี NPL คงค้าง 110.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.2 ภาคธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 103.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.08 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.4 ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มี NPL คงค้าง 84.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.87 ของ NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์)
การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์) ในเดือนมิถุนายน 2544 แยกรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
2.1.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2544 864.5
2.1.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 2544
- จำนวนใหม่ 13.7
- รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 24.6 38.3
2.1.3 NPL ที่ลดลงในเดือน มิ.ย. 2544
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ -46.1
- เหตุผลอื่น (ดูรายละเอียดในหมายเหตุ) -248.8 -294.9
2.1.4 NPL ลดลงสุทธิในเดือน มิ.ย. 2544 -256.6
2.1.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2544 607.9
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
1) NPL ที่มาชำระจนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 7.4 พันล้านบาท
2) โอน NPL ไปยัง AMC จำนวน 209.5 พันล้านบาท
3) ตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี รวมเป็นจำนวน 20.4 พันล้านบาท
4) อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้องการขายหนี้ เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 11.5 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมิถุนายน 2544 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของ
ธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แยกได้ดังนี้
2.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL ลดลงสุทธิ 24.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.96 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน
495.0 พันล้านบาท
2.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 218.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.63 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อน ซึ่งมี
จำนวน 309.2 พันล้านบาท
3. สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL ลดลงสุทธิ 5.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.50ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมี
จำนวน 27.9 พันล้านบาท
2.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 8.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.31 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน
32.4 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมิถุนายน 2544 แยกตามภาคธุรกิจได้ดังนี้
2.3.1 NPL รายใหม่ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 13.7 พันล้านบาท อยู่ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม 3.8 พันล้านบาท ภาคธุรกิจค้าส่ง
และค้าปลีก 2.0 พันล้านบาท และภาคธุรกิจอุปโภคบริโภค 1.6 พันล้านบาท
2.3.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 24.6 พันล้านบาท อยู่ในภาคธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 6.4
พันล้านบาท ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม 5.5 พันล้านบาท ภาคธุรกิจการบริการ 3.2 พันล้านบาท และภาคธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 2.1
พันล้านบาท
3. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ทั้งสิ้น 4.4 พันล้านบาท
(ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นเดือนก่อน) เท่ากับร้อยละ 5.75 ของสินเชื่อรวม 77.2 พันล้านบาท
3.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ทั้งสิ้น 0.9 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้น
เดือนก่อน) เท่ากับร้อยละ 29.44 ของสินเชื่อรวม 3.2 พันล้านบาท
4. NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ระบบ
สถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544
ทั้งสิ้น 613.3 พันล้านบาท (ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 256.6 พันล้านบาท) เทียบกับสินเชื่อรวม 4,709.1 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ
13.02 ลดลงจากร้อยละ 17.69 ณ สิ้นเดือนก่อน
5. NPL คงค้างหลังหักเงินสำรอง
5.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงิน
สำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 202.5 พันล้านบาท (ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด) ดังนั้น NPL
หลังหักเงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 405.4 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,426.2 พันล้านบาท NPL หลัง
หักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 9.16
5.2 ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันเงินสำรอง
สำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 205.2 พันล้านบาท (ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด) ดังนั้น NPL หลังหัก
เงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 408.0 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,503.8 พันล้านบาท NPL หลังหัก
เงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 9.06
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/3 สิงหาคม 2544--
-ยก-
1.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ทั้งสิ้น 607.9 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,628.7 พันล้านบาท ในเดือนนี้ NPL ลดลงสุทธิ 256.6 พันล้านบาท
สาเหตุสำคัญเนื่องจากมีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารของรัฐไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ประกอบกับมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สำเร็จเพิ่มขึ้น และได้มีการตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบแล้วออกจากบัญชี ทำให้อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของระบบสถาบัน
การเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 เท่ากับร้อยละ 13.13 ลดลงจากร้อยละ 17.88 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544
2. NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
แยกตามกลุ่มสถาบันการเงินได้ดังนี้ 1.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 470.5 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 2,646.1
พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 17.78
1.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 90.8 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 1,277.9 พันล้านบาท เท่ากับ
ร้อยละ 7.10
1.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 22.5 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 553.0 พันล้านบาท
เท่ากับร้อยละ 4.06
1.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 24.2 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 151.6 พันล้านบาท เท่ากับ
ร้อยละ 15.95
1.3 ภาคธุรกิจที่มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 จำนวนสูงแยกได้ดังนี้
1.3.1 ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 129.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.34 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.3 ภาคธุรกิจอุปโภคบริโภคมี NPL คงค้าง 110.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.2 ภาคธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 103.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.08 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.4 ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มี NPL คงค้าง 84.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.87 ของ NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์)
การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์) ในเดือนมิถุนายน 2544 แยกรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
2.1.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2544 864.5
2.1.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 2544
- จำนวนใหม่ 13.7
- รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 24.6 38.3
2.1.3 NPL ที่ลดลงในเดือน มิ.ย. 2544
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ -46.1
- เหตุผลอื่น (ดูรายละเอียดในหมายเหตุ) -248.8 -294.9
2.1.4 NPL ลดลงสุทธิในเดือน มิ.ย. 2544 -256.6
2.1.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2544 607.9
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
1) NPL ที่มาชำระจนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 7.4 พันล้านบาท
2) โอน NPL ไปยัง AMC จำนวน 209.5 พันล้านบาท
3) ตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี รวมเป็นจำนวน 20.4 พันล้านบาท
4) อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้องการขายหนี้ เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 11.5 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมิถุนายน 2544 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของ
ธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แยกได้ดังนี้
2.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL ลดลงสุทธิ 24.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.96 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน
495.0 พันล้านบาท
2.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 218.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.63 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อน ซึ่งมี
จำนวน 309.2 พันล้านบาท
3. สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL ลดลงสุทธิ 5.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.50ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมี
จำนวน 27.9 พันล้านบาท
2.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 8.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.31 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน
32.4 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมิถุนายน 2544 แยกตามภาคธุรกิจได้ดังนี้
2.3.1 NPL รายใหม่ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 13.7 พันล้านบาท อยู่ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม 3.8 พันล้านบาท ภาคธุรกิจค้าส่ง
และค้าปลีก 2.0 พันล้านบาท และภาคธุรกิจอุปโภคบริโภค 1.6 พันล้านบาท
2.3.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 24.6 พันล้านบาท อยู่ในภาคธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 6.4
พันล้านบาท ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม 5.5 พันล้านบาท ภาคธุรกิจการบริการ 3.2 พันล้านบาท และภาคธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 2.1
พันล้านบาท
3. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ทั้งสิ้น 4.4 พันล้านบาท
(ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นเดือนก่อน) เท่ากับร้อยละ 5.75 ของสินเชื่อรวม 77.2 พันล้านบาท
3.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ทั้งสิ้น 0.9 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้น
เดือนก่อน) เท่ากับร้อยละ 29.44 ของสินเชื่อรวม 3.2 พันล้านบาท
4. NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ระบบ
สถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544
ทั้งสิ้น 613.3 พันล้านบาท (ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 256.6 พันล้านบาท) เทียบกับสินเชื่อรวม 4,709.1 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ
13.02 ลดลงจากร้อยละ 17.69 ณ สิ้นเดือนก่อน
5. NPL คงค้างหลังหักเงินสำรอง
5.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงิน
สำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 202.5 พันล้านบาท (ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด) ดังนั้น NPL
หลังหักเงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 405.4 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,426.2 พันล้านบาท NPL หลัง
หักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 9.16
5.2 ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันเงินสำรอง
สำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 205.2 พันล้านบาท (ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด) ดังนั้น NPL หลังหัก
เงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 408.0 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,503.8 พันล้านบาท NPL หลังหัก
เงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 9.06
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/3 สิงหาคม 2544--
-ยก-